ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 3453
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

๕เหรียญ"มหามงคล" : ชั่วโมงเซียนโดย อ.ยุทธ โตอดิเทพ

[คัดลอกลิงก์]
ผู้ที่จัดพระชุดเบญจภาคี คือ “ตรียัมปวาย” นี้เองที่ได้จัดทำทำเนียบชุดพระเครื่อง “เบญจภาคี” ขึ้นในปี ๒๔๙๕ โดยเมื่อแรกเริ่มยังคงเป็นเพียง “ไตรภาคี” คือมีเพียง ๓ องค์เท่านั้น อันประกอบด้วย พระสมเด็จวัดระฆัง เป็นองค์ประธาน ซ้าย-ขวา เป็นพระนางพญา จ.พิษณุโลก และพระรอด จ.ลำพูน     หลังจากนั้นไม่นานจึงได้ผนวก “พระซุ้มกอ” จ.กำแพงเพชร และ “พระผงสุพรรณ” จ.สุพรรณบุรี กลายเป็น “พระเบญจภาคี” หมายถึง พระเครื่องชุดหนึ่งประกอบด้วยพระจำนวน ๕ องค์

        เรื่องของการจัดพระชุดเบญจภาคีนั้น นักเลงพระยุคก่อน และเซียนพระสมัยปัจจุบัน ได้มีการจัดพระเครื่องเป็นชุดเบญจภาคี แยกย่อยออกไปอีกหลายชุด เช่น พระเบญจภาคียอดขุนพล เบญจภาคีพระปิดตา (เนื้อผง เนื้อโลหะ) เบญจภาคีเหรียญพระพุทธ เบญจภาคีเหรียญพระสงฆ์ ฯลฯ รวมทั้งเบญจภาคีเครื่องราง

        เบญจภาคีเครื่องราง-ของขลัง ของเมืองไทย ได้แก่ ปลัดขิก หลวงพ่อเหลือ เสือ หลวงพ่อปาน หนุมาน หลวงพ่อสุ่น วัวปั้นหุ่น หลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง เบี้ยแก้กันของหลวงปู่รอด วัดนายโรง

        พระปิดตาเนื้อผงคลุกรักชุดเบญจภาคีที่นักเลงพระจัดลำดับกันไว้นั้น ประกอบด้วย พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง พระปิดตาหลวงปู่จีน วัดท่าลาด พระปิดตาหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน พระปิดตาหลวงปู่ภู่ วัดนอก ชลบุรี

        ในกรณีของการจัดเหรียญเบญจภาคีพระสงฆ์นั้น เดิมทีประกอบด้วย ๑.เหรียญหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง กทม. สร้าง พ.ศ.๒๔๖๗  ๒.เหรียญหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม จ.พระนครศรีอยุธยา สร้าง พ.ศ. ๒๔๖๙  ๓.เหรียญหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท สร้าง พ.ศ. ๒๔๖๖  ๔.หลวงพ่อฉุย วัดคงคาราม จ.เพชรบุรี สร้าง พ.ศ. ๒๔๖๕ และ ๕.เหรียญหลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่ กทม. สร้าง พ.ศ.๒๔๗๗ ซึ่งปัจจุบันนี้เหรียญเหล่านี้มีค่านิยมหลักหลายๆ ล้าน

        อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนี้การสะสมพระเครื่องนั้น นอกจากพุทธคุณ พุทธศิลป์ รวมทั้งเพื่อพุทธพาณิชย์แล้ว พระที่มีชื่อรุ่นอันเป็นนามมงคลก็ได้รับความสนใจอยู่ไม่น้อย สำหรับพระเครื่องที่มีชื่อรุ่นอันเป็นนนามมงคลที่ได้รับความนิยม ๕ อันดับแรก ของพระอริยสงฆ์ที่โด่งดังเด่น รวมทั้งมีประสบการณ์เด่นชัด ประกอบด้วย

        ๑.เหรียญพ่อ แม่ หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ต.ดอนยายหนู อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ สร้าง  พ.ศ.๒๕๓๔ มี ๓ เนื้อ คือ เงิน สร้าง ๑๓๐ เหรียญ ค่านิยม หลักหมื่นกลางๆทองแดง สร้าง ๕,๐๐๐ เหรียญ ค่านิยม หลักพัน ทองแดงกะไหล่ทอง ๕,๐๐๐ เหรียญ ค่านิยมหลักพันกลางๆ  เป็นการจำลองเหรียญพรหมมุณี (สมเด็จสังฆราชแพ) วัดสุทัศนฯ พ.ศ.๒๔๖๑ แคล้วคลาด เจริญรุ่งเรืองเหรียญของท่านที่ได้รับความที่นิยมสูงสุดเป็นเหรียญรุ่นแรก เนื้อเงิน สร้าง พ.ศ.๒๕๓๐ เช่าหากันในราคาสูงไม่ต่ำกว่า ๓๐๐,๐๐๐ บาท

        ๒.เหรียญ อายุยืน ครึ่งองค์ หลวงปู่สี ฉันทสิริ วัดเขาถ้ำบุญนาค อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๗ มีทั้งหมด ๓ เนื้อ เงินค่านิยม หลักแสนต้นๆ นวะค่านิยม หลักหมื่นปลายๆ และ ทองแดง ค่านิยมหลักหมื่นต้นๆ ส่วนเหรียญของท่านที่ได้รับความที่นิยมสูงสุดเป็นเหรียญอายุยืนเต็มองค์ เนื้อทองคำ สร้าง พ.ศ.๒๕๑๗ ค่านิยมหลักล้าน

        ๓.เหรียญเมตตา หลวงปู่สิม  พุทธาจาโร  วัดถ้ำผาปล่อง ต.เชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่  สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๗ มีทั้งหมด ๕ เนื้อ ประกอบด้วย ทองคำ ค่านิยม หลักแสนกลางๆ เนื้อเงิน ค่านิยม หลักหมื่นปลายๆ นวะ ค่านิยมหลักหมื่นกลางๆ เนื้อทองแดง ค่านิยมหลักหมื่นต้นๆ และ กะไหล่ทอง ค่านิยม หลักหมื่นต้นๆ พุทธคุณเด่นทางเมตตา

        ๔.เหรียญเจริญพรล่าง หลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๗ มี ๓ เนื้อ  คือ ทองคำ ค่านิยมหลักล้านต้นๆ เงิน ค่านิยมหลักแสนกลางๆ และทองแดงหลักหมื่นปลายๆ พุทธเด่นทางเมตตามหานิยม และแคล้วคลาด เหรียญของท่านที่ได้รับความที่นิยมสูงสุดเป็นเหรียญเนื้อทองคำ

        และ ๕. เหรียญมหาลาภ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง อ.เมือง จ.อุทัยธานี สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๙ เป็นเหรียญรุ่นแรก มีเนื้อเดียว คือ อัลปาก้าชุบนิเกิล ค่านิยมหลักพัน จำนวนการสร้าง ๑๐,๐๐๐ เหรียญ เนื่องจากพระของหลวงพ่อฤษีลิงดำได้สร้างไว้จำนวนมหาศาล เฉพาะรุ่นคำข้าว น่าจะมีการสร้างหลักหลายล้านองค์ แม้ว่าท่านจะมรณภาพมาหลายปีแล้ว แต่เหรียญรุ่นดังกล่าวก็ยังมีให้เช่าบูชาที่วัด

        สุดท้ายนี้ต้องขอบขอบคุณ นายวิเชียร อินทะพันธ์ นักธุรกิจหนุ่มทำธุรกิจเหล็ก และเจ้าของร้าน พรหลวงปู่สี
ขอบคุณคร้าบ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้