ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 5127
ตอบกลับ: 11
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

10 เรื่องน่ารู้ของคลื่นสึนามิ

[คัดลอกลิงก์]
10 เรื่องน่ารู้ของคลื่นสึนามิ

                        


                                วันนี้ ทีมงาน toptenthailand ขอนำเสนอ เรื่องราวความรู้ของ คลื่นยักษ์ ที่หลายคนไม่รู้ว่าคืออะไร ทำไมถึงคลื่นเป็นคลื่นสึนามิ เรามีคำตอบที่นี่ อยากรู้ไปดูกันเลย                                                        


2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-17 13:05 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        10.สึนามิอื่นๆ ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต
                                                   


                            ครั้งที่ 1 20 มกราคม พ.ศ. 2150 (ค.ศ. 1607) : ประชาชนจำนวนหลายพันคนที่อาศัยอยู่ตามชายฝั่งช่องแคบอังกฤษ (Bristol Channel) จมน้ำเสียชีวิต ขณะที่บ้านเรือนที่อยู่อาศัยและหมู่บ้านหลายแห่งถูกน้ำพัดกวาดหายลงไปในทะเลจากกระแสน้ำที่เอ่อท่วมอย่าวรวดเร็ว
                ครั้งที่ 2 มหันตภัยสึนามิครั้งเลวร้ายที่สุดอีกครั้งหนึ่ง ถาโถมเข้าถล่มหมู่บ้านหลายหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ตามชายฝั่งเกาะซานริกู (Sanriku) ประเทศญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2439 (ค.ศ. 1896) คลื่นที่มีความสูงกว่าตึก 7 ชั้น (ประมาณ 20 เมตร) พร้อมกับกวาดกลืนชีวิตผู้คนจำนวน 26,000 คนลงสู่ท้องทะเล
                ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929) : เกิดแผ่นดินเลื่อนตัวใต้ทะเลที่หมู่เกาะ Aleutian คลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นถาโถมเข้าสู่เกาะฮาวายกลืนชีวิตผู้คนไป 159 ราย (ขณะที่อีก 5 ราย เสียชีวิตในอะลาสก้า)
                ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) : สึนามิที่เกิดขึ้นในอ่าว Lituya Bay รัฐอะลาสก้า เป็นสึนามิขนาดมหึมาขนาดเมก้าสึนามิ เกิดจากน้ำแข็งถล่ม เป็นสึนามิเฉพาะท้องถิ่น เนื่องจากพื้นที่ได้รับผลกระทบจำกัดวงอยู่เฉพาะในอ่าว แต่ได้รับการบันทึกไว้ว่าเป็นคลื่นสึนามิที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีความสูงมากกว่า 500 เมตร ( 1,500 ฟุต)
                ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) : 16 สิงหาคม (เที่ยงคืน) เกิดคลื่นสึนามิเข้าถล่มภูมิภาครอบอ่าวโมโร (เมืองโคตาบาโต) ประเทศฟิลิปปินส์ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 5,000 ราย
                ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) : ประชาชนจำนวน 104 รายในภาคตะวันตกของประเทศญี่ปุ่นเสียชีวิตจากคลื่นสึนามิที่โถมเข้าถล่มหลังจากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวในพื้นที่ใกล้เคียง
                ครั้งที่ 7 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) : สึนามิปาปัวนิวกินีคร่าชีวิตผู้ชนจำนวนประมาณ 2,200 ราย หลังจากที่เกิดแผ่นดินไหวความรุนแรงระดับ 7.1 ริกเตอร์ในบริเวณ 15 กิโลเมตร นอกชายฝั่งปาปัวนิวกินี และจากห่างจากเวลานั้นเพียงแค่ 10 นาที คลื่นยักษ์สูง 12 เมตรก็เคลื่อนเข้าถล่มชายฝั่ง

                    

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-17 13:05 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        9.สึนามิในเอเชียใต้
                                                   


                            วันเวลา - สถานที่เกิด
พ.ศ. 2067 (ค.ศ. 1524) - ใกล้เมือง Dabhol รัฐมหารัชตะ ประเทศอินเดีย
2 เมษายน พ.ศ. 2305 (ค.ศ. 1762) - ชายฝั่งอาระคัน ประเทศพม่า
16 มิถุนายน พ.ศ. 2362 (ค.ศ. 1819 - Rann of Kachchh รัฐกุจาราช ประเทศอินเดีย
31 ตุลาคม พ.ศ. 2390 (ค.ศ. 1847) - หมู่เกาะนิโคบาร์ใหญ่
31 ธันวาคม พ.ศ. 2424 (ค.ศ. 1881) - หมู่เกาะคาร์นิโคบาร์
26 สิงหาคม พ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1883) - ภูเขาไฟกรากะตัวระเบิด
28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) - ชายฝั่ง Mekran บาลูจิสถาน

                    

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-17 13:05 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        8.สึนามิในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
                                                   


                            สึนามิในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
วันเวลา - สถานที่เกิด
26 สิงหาคม พ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1883) - ภูเขาไฟกรากะตัวระเบิด
16 สิงหาคม พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) - รอบอ่าวโมโร (เมืองโคตาบาโต) ประเทศฟิลิปปินส์
26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) - หมู่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย
25 ตุลาคม พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) - หมู่เกาะเมินตาวัย ประเทศอินโดนีเซีย
11 เมษายน พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) - หมู่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ขนาดแรง 8.9 ริกเตอร์ อาฟเตอร์ช็อค 8.3 ริกเตอร์ ประเทศไทยสามารถรับรู้แรงสั่นสะเทือนได้ เกิดคลื่นสึนามิขนาดเล็ก และไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย

                    

5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-17 13:05 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        7.สึนามิจากแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย
                                                   


                            พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) - สึนามิจากแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย คลื่นสึนามิครั้งแรกในประเทศไทยเกิดจากแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547ระลอกคลื่นยักษ์ดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตล่าสุดจำนวนกว่า 165,000 ราย
ประเทศในแถบมหาสมุทรอินเดียเหล่านี้ ยังไม่มีระบบเตือนภัยคลื่นสึนามิที่สมบูรณ์พอดังเช่นประเทศในภูมิภาคมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนหนึ่งเนื่องจากไม่มีภัยพิบัติที่เกิดจากคลื่นยักษ์ในภูมิภาคมานานแล้ว นับตั้งแต่เกิดคลื่นสึนามิจากการระเบิดของภูเขาไฟกรากะตัวในปี พ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1883) ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 36,000 คน[ต้องการอ้างอิง] ภัยพิบัติสึนามิในมหาสมุทรอินเดียล่าสุดนี้ส่งผลให้ยูเนสโกและองค์การระหว่างประเทศหลายแห่งออกมาเคลื่อนไหว เรียกร้องให้มีการจัดตั้งระบบเตือนภัยสึนามิโลกขึ้น

                    

6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-17 13:06 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        6.ประวัติเกี่ยวกับสึนามิที่เคยเกิดขึ้นในอดีต
                                                   


                            6,100 ปีก่อนคริสต์ศักราช สึนามิที่เกิดขึ้นในช่วง 6,100 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นคลื่นสึนามิใต้น้ำที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ อันเป็นผลจากการเลื่อนตัวของชั้นหินที่เรียกว่า "Storegga Slide" ซึ่งทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของแผ่นดินใต้น้ำครั้งใหญ่ติดต่อกันเป็นระลอก ๆ ยาวนานเป็นเวลาหลายหมื่นปี
        เกาะซานโตรินี่ ในปี 1650 ก่อน ค.ศ. คลื่นสึนามิจากภูเขาไฟระเบิดในเกาะซานโตรินี่ (Santorini) ในช่วงระหว่างปี 1650 ก่อน ค.ศ. ถึง 1600 ก่อน ค.ศ
        เมืองลิสบอน ประเทศโปรตุเกส คลื่นใต้น้ำที่เกิดขึ้นจากแผ่นดินไหวที่เมืองลิสบอน ประเทศโปรตุเกส ในปี พ.ศ. 2298 (ค.ศ. 1755) ชาวโปรตุเกสจำนวนหลายหมื่นคนรอดชีวิตจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ลิสบอนในปี พ.ศ. 2298(ค.ศ. 1755) แต่กลับต้องเสียชีวิตไปทันที ด้วยคลื่นสึนามิที่โถมเข้าทำลายหลังเกิดแผ่นดินไหวได้เพียงไม่กี่นาที เนื่องจากคนจำนวนมากหนีภัยแผ่นดินไหวออกไปยังแนวชายฝั่งทะเล ด้วยเชื่อว่าเป็นสถานที่ที่มีความปลอดภัย พ้นอันตรายจากไฟไหม้ และการร่วงหล่นของเศษสิ่งของต่าง ๆ ได้ เมื่อเกิดอ๊าฟเตอร์ช็อก ก่อนหน้าที่กำแพงน้ำที่สูงใหญ่ จะถาโถมเข้าถล่มท่าเรือบนชายฝั่งนั้น น้ำทะเลได้เหือดแห้งลดระดับลงไป
        เกาะกรากะตัวภูเขาไฟบนเกาะกรากะตัว ในประเทศอินโดนีเซีย เกิดการระเบิดอย่างรุนแรงเมื่อปี พ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1883)
        สึนามิแปซิฟิกพ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) - สึนามิแปซิฟิก (Pacific Tsunami) แผ่นดินไหวในหมู่เกาะอาลิวเชียน ในปี พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946)
        สึนามิชิลี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) - สึนามิชิลี (Chilean tsunami) แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ชิลี (The Great Chilean Earthquake) มีระดับความรุนแรง 9.5 ริกเตอร์ซึ่งเป็นระดับที่รุนแรงที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกไว้

                    

7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-17 13:06 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        5.สัญญาณเกิดเหตุและระบบเตือนภัย
                                                   


                            ขณะที่จุดต่ำสุดของคลื่นเคลื่อนเข้าสู่ฝั่ง ระดับน้ำทะเลจะลดลงและทำให้ขอบทะเลร่นถอยออกจากชายฝั่ง ถ้าชายฝั่งนั้นมีความลาดชันน้อย ระยะการร่นถอยนี้อาจมากถึง 800 เมตร ผู้ที่ไม่ทราบถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นอาจยังคงรออยู่ที่ชายฝั่งด้วยความสนใจ นอกจากนี้บริเวณที่ต่ำ อาจเกิดน้ำท่วมได้ก่อนที่ยอดคลื่นจะเข้าปะทะฝั่ง น้ำที่ท่วมนี้อาจลดลงได้ก่อนที่ยอดคลื่นถัดไปจะเคลื่อนที่ตามเข้ามา ดังนั้นการทราบข้อมูลเกี่ยวกับคลื่นสึนามิจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้ตระหนักถึงอันตราย ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่ระดับน้ำในครั้งแรกลดลงไปนั้น อาจมีคลื่นลูกใหญ่ตามมาอีกได้

                    

8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-17 13:06 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        4. สาเหตุการเกิด
                                                   


                            คลื่นสึนามิเกิดขึ้นจากการกระทบกระเทือนที่ทำให้น้ำปริมาณมากเกิดการเคลื่อนตัว เช่น แผ่นดินไหว แผ่นดินถล่ม หรืออุกกาบาตพุ่งชน
เมื่อแผ่นดินใต้ทะเลเกิดการเปลี่ยนรูปร่างอย่างกะทันหัน จะทำให้น้ำทะเลเกิดเคลื่อนตัวเพื่อปรับระดับให้เข้าสู่จุดสมดุลและจะก่อให้เกิดคลื่นสึนามิ การเปลี่ยนรูปร่างของพื้นทะเลมักเกิดขึ้นเมื่อเกิดแผ่นดินไหวเนื่องจากการขยับตัวของเปลือกโลก ซึ่งจะเกิดบริเวณที่ขอบของเปลือกโลกหลายแผ่นเชื่อมต่อกันที่เรียกว่า รอยเลื่อน (fault) เช่น บริเวณขอบของมหาสมุทรแปซิฟิก นอกจากแผ่นดินไหวแล้ว ดินถล่มใต้น้ำที่มักเกิดร่วมกับแผ่นดินไหวสามารถทำให้เกิดคลื่นสึนามิได้เช่นกัน
นอกจากการกระทบกระเทือนที่เกิดใต้น้ำแล้ว การที่พื้นดินขนาดใหญ่ถล่มลงทะเล หรือการตกกระทบพื้นน้ำของวัตถุ ก็สามารถทำให้เกิดคลื่นได้ คลื่นสึนามิที่เกิดในรูปแบบนี้จะลดขนาดลงอย่างรวดเร็วและไม่มีผลกระทบต่อชายฝั่งที่อยู่ห่างไกลมากนัก อย่างไรก็ตาม ถ้าแผ่นดินมีขนาดใหญ่มากพอ อาจทำให้เกิด เมกะสึนามิ ซึ่งอาจมีความสูงร่วมร้อยเมตรได้

                    

9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-17 13:06 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        3.พฤติกรรมของคลื่น
                                                   


                            คลื่นจะมีพฤติกรรมเป็น "คลื่นน้ำตื้น" เมื่ออัตราส่วนระหว่างความลึกของน้ำและขนาดของคลื่นนั้นมีค่าต่ำ ดังนั้น เนื่องจากมีขนาดของคลื่นที่สูงมาก คลื่นสึนามิจึงมีคุณสมบัติเป็นคลื่นน้ำตื้นแม้อยู่ในทะเลลึกก็ตาม คลื่นน้ำตื้นนั้นมีความเร็วเท่ากับรากที่สองของผลคูณระหว่างความเร่งจากสนามแรงโน้มถ่วง (9.8 เมตร/วินาที2) และความลึกของน้ำ ตัวอย่างเช่น ในมหาสมุทรแปซิฟิกที่มีความลึกประมาณ 4,000 เมตร คลื่นจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ 200 เมตรต่อวินาที หรือ 720 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนที่ชายฝั่งที่มีความลึก 40 เมตร คลื่นจะมีความเร็วช้าลงเหลือ 20 เมตรต่อวินาที หรือ 72 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

                    

10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-17 13:07 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        2.ลักษณะของคลื่น
                                                   


                            คลื่นสึนามิแตกต่างจากคลื่นน้ำธรรมดามาก ตัวคลื่นนั้นสามารถเดินทางได้เป็นระยะทางไกล โดยไม่สูญเสียพลังงาน และสามารถเข้าทำลายชายฝั่งที่อยู่ห่างไกลจากจุดกำเนิดหลายพันกิโลเมตรได้ โดยทั่วไปแล้วคลื่นสึนามิซึ่งเป็นคลื่นในน้ำ จะเดินทางได้ช้ากว่าการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวที่เป็นคลื่นที่เดินทางในพื้นดิน ดังนั้น คลื่นอาจเข้ากระทบฝั่งภายหลังจากที่ผู้คนบริเวณนั้นรู้สึกว่าเกิดแผ่นดินไหวเป็นเวลาหลายชั่วโมง
คลื่นโดยทั่วไปจะมีคุณสมบัติสำคัญที่วัดได้อยู่สองประการคือ คาบ ซึ่งจะเป็นเวลาระหว่างลูกคลื่นสองลูก และ ความยาวคลื่น ซึ่งเป็นระยะห่างระหว่างลูกคลื่นสองลูก ในทะเลเปิด คลื่นสึนามิมีคาบที่นานมาก โดยเริ่มจากไม่กี่นาทีไปจนเป็นชั่วโมง ในขณะเดียวกันก็มีความยาวคลื่นที่ยาวมาก โดยอาจยาวถึงหลายร้อยกิโลเมตร ในขณะที่คลื่นทั่วไปที่เกิดจาก ลมที่ชายฝั่งนั้นมีคาบประมาณ 10 วินาที และมีความยาวคลื่นประมาณ 150 เมตรเท่านั้น ความสูงของคลื่นในทะเลเปิดมักน้อยกว่าหนึ่งเมตร ซึ่งทำให้ไม่เป็นที่สังเกตของผู้คนบนเรือ คลื่นสึนามิจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วตั้งแต่ 500 ถึง 1,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าสู่ชายฝั่งที่มีความลึกลดลง คลื่นจะมีความเร็วลดลงและเริ่มก่อตัวเป็นคลื่นสูง โดยอาจมีความสูงมากกว่า 30 เมตร

                    

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้