ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1599
ตอบกลับ: 2
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

~ เห็นตามเป็นจริง ~

[คัดลอกลิงก์]
เห็นตามเป็นจริง



เรามาปฏิบัติกันตามสบายนะตามสบายใจ คนมีปัญญาได้ประโยชน์หลายมีประโยชน์มากสมัยก่อนการสวดมนต์ทำวัตรโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นอุบายฝึกหัดผู้ใหม่นั่นเองถ้าเราเข้าใจในการปฏิบัติทุกคนแล้วก็ไม่มีอะไรโดยมากอยู่ตามป่าไม่ค่อยได้ทำวัตรกันหรอกสมัยท่านอาจารย์ทองรัตน์ปฏิบัติอยู่น่ะอยู่กันไปเฉยๆเรื่อยๆวันพระรวมกันทำวัตรและก็มีการประชุมกันกิจวัตรนี้ถ้าหากว่าเราทำอะไรมากไปแล้วมันยุ่งแต่ถ้าอยากจะทำประจำเจ้าของอยู่กุฏิของเราก็ทำได้สวดมนต์ทำวัตรฝึกตัวเองตอนเช้าก็ดีตอนเย็นก็ดีเราทำของเราเองทำเป็นส่วนตัวเรา
ผู้ปฏิบัตินี่ก็ไม่เหมือนกันบางองค์นานๆพูดทีหนึ่งก็เข้าใจบางองค์ก็ชอบจ้ำจี้จ้ำไชตอนเช้าตอนเย็นชอบอย่างนั้นบางองค์ชอบเรียบๆบางองค์ก็ชอบขู่เข็ญกิเลสสารพัดอย่างการปฏิบัตินี้จึงเป็นอุบายเพื่อจะสั่งสอนจิตของเราให้สงบคำสอนของพระล้วนแล้วแต่เป็นอุบายให้เรารู้จักความประสงค์ของพระพุทธเจ้าของเราที่เรามาบวชในพุทธศาสนานี้พระพุทธองค์ทรงมีพุทธประสงค์อยากจะให้พุทธบริษัทนี้รู้จักข้อประพฤติปฏิบัติเพื่อทรงพระธรรมวินัยคำสอนของท่านไว้ให้พระศาสนาของท่านยืนยงคงทนอยู่ตลอดกาลนานนั่นเองผู้ปฏิบัติทุกคนทุกท่านก็ต้องอาศัยศรัทธาวิริยะ สติ สมาธิและปัญญาเป็นกำลังท่านกล่าวว่าเป็นกำลังทั้ง๕ สิ่ง ๕ อย่างนี้ท่านเรียกว่าพละเป็นกำลังหรือพลังพลังของจิต
"ศรัทธา" แปลว่าความเชื่อ ถ้าพูดง่ายๆก็ว่าศรัทธานี้มีกันทุกคนแต่ว่ามันไม่ถึงศรัทธาศรัทธามันเชื่อแต่จิตเราไม่ค่อยจะเชื่อมนุษย์ทั้งหลายไม่ค่อยจะเชื่อกันพูดง่ายๆก็เรียกว่าบวชมานี้ยังไม่มีศรัทธาผู้มีศรัทธาจะต้องเคารพคารวะพระพุทธพระธรรม พระสงฆ์อยู่เสมอระวังสิ่งที่ผิดจากพระธรรมวินัยถ้ารู้จัก ผู้ปฏิบัติย่อมไม่กล้าทำเพราะเชื่อว่าอันนี้มันผิดอันใดที่ผิดก็เรียกว่าอันนั้นเป็นอาบัตินั่นเองอาบัติก็แปลว่าผิดไม่ใช่เป็นอย่างอื่นเรามาประพฤติปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากความผิดถ้าเรายังมีความผิดอยู่ก็ยังไม่มีความบริสุทธิ์สมบูรณ์เมื่อยังไม่รู้จักพระพุทธเจ้าก็ให้เอื้อเฟื้อศึกษาให้รู้อะไรที่ยังไม่รู้เราจะเมินเฉยเสียก็ไม่ได้เป็นผู้ไม่มีศรัทธาเชื่อว่าผิดเป็นผิดถูกเป็นถูกอย่างนี้ อะไรที่เรายังหลงผิดอยู่ก็เรียกว่าอันนั้นเรายังไม่รู้จักไม่รู้จักเราก็เคารพอยู่สังวรสำรวมอยู่ตลอดเวลาแล้วก็อาศัยคนอื่นอาศัยครูบาอาจารย์แนะนำพร่ำสอนอาศัยความรู้สึกนึกคิดในการปฏิบัติของเราเองด้วยเทียบเคียงกันไปท่านเรียกว่าศรัทธาอย่าไปเห็นว่าเรามีศรัทธาเราจึงจะบวชแต่บวชแล้วไม่ทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้าของเรานั่นเรียกว่าศรัทธายังไม่ถึงที่สุดนะศรัทธาก็ต้องพยายามทำอันนี้ยังไม่เรียบร้อยแต่ใจก็พยายามอยู่เสมอนี่เรียกว่าศรัทธา ความเชื่อต้นตอก็เรียกว่าต้องเป็นผู้มีศรัทธาถ้าปราศจากศรัทธาแล้วมันก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร
ถ้ามีศรัทธาแล้วก็มีความเพียรเพียรเพื่ออะไร?เพียรเพื่อจะละข้อผิดอันนั้นพยายามแสวงหาทางที่ถูกอยู่เสมอพระพุทธองค์ท่านสอนว่าเมื่อบวชเข้ามาในพระพุทธศาสนาแล้วก็ให้ทำตัวเป็นพระภิกษุใหม่อยู่เสมอไม่ใช่ว่าเก่าให้เป็นผู้ใหม่อยู่เสมอสยดสยองอยู่ต่อข้อปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอด้วยใจจะยืน จะเดิน จะนั่งจะนอน จิตก็ปรารภอยู่ว่าเราจะทำให้อะไรที่ตรงนั้นเรียบร้อยได้โดยวิธีอย่างไร?เราจะมีความมักน้อยโดยวิธีอย่างไร?จะปฏิบัติอย่างไรถึงจะเป็นอย่างนั้นให้เรารำลึกอยู่อย่างนี้เสมอให้รู้จักความผิดชอบเฉพาะตัวเราอยู่ทุกเวลานั่นเองที่ท่านเรียกว่าอัตโนโจทยัตนัง...จงเตือนตนด้วยตนเองอันนี้สำคัญกว่าเพราะว่าตนที่สมมตินั้นก็อยู่ที่เรานั่งเราก็เอาตนนั่งนอนเราก็เรียกว่าตนอะไรก็เป็นตนทั้งนั้นแหละเรานั่งอยู่เราคิดอย่างไร?ในเวลานี้เราทำอะไรอยู่?เรียกว่าเราตามดูตัวของเจ้าของเราพยายามการกระทำเช่นนี้ท่านเรียกว่า"วิริยะ" คือเพียรเพียรเพื่อจะละความชั่วประพฤติความดีไม่ใช่เพียรอย่างอื่นเพียรละสิ่งที่ผิดปฏิบัติให้ความผิดหมดไป...ก็เหลือแต่ความที่ไม่ผิดความที่ไม่ผิดมีอยู่ก็เรียกว่า...ของที่บริสุทธิ์เรียกว่าเป็นผู้เพียรวิริยะรัมภะปรารภความเพียรเราจะนั่ง จะยืนจะเดิน จะนอนอยู่ก็ตามมีความปรารภอยู่เสมอทำอย่างไรความอยากของเราซึ่งมีล้นเหลืออยู่ในใจนี้จะเบาลงไปจะเบาลงไป จะมักน้อย...จะสันโดษจะมีความเห็นชอบตามธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้าของเรานั่นเรียกว่าปรารภความเพียรอยู่เสมอ...ไม่ลืม
เมื่อมีความเพียรอยู่ก็มี"สติ" สติคือความระลึกได้เมื่อเราพูดอะไรทำอะไรอย่างไรอยู่เป็นผู้มีสติตื่นอยู่สะดุ้งอยู่เสมอเมื่อเรามีสติรู้ง่ายมันก็รู้เร็วเมื่อมีสติอยู่ถ้าจะเปรียบก็เหมือนกันกับสัตว์บางอย่างเช่นแมลงมุมที่มันทำรังในอากาศใยมันผ่านไปผ่านมาเป็นรังขึงอยู่เมื่อเสร็จแล้วตัวมันก็หมกอยู่ตรงจุดกลางของรังอันนั้นเฉยอยู่ นิ่งอยู่สงบอยู่ด้วยมีสติอยู่ถ้าแมลงวันแมลงผึ้ง แมลงต่างๆมาผ่านใยมันก็มีความสัมผัสสะดุ้งรู้จักแมลงมุมก็จะตื่นขึ้นรีบไปจับสัตว์นั้นไว้เป็นอาหารเมื่อจับเสร็จแล้วก็รีบมาอยู่ยังจุดเก่าทำความสงบระงับมีสติ รู้อะไรจะมาถูกเข้าสัมผัสเมื่อไรแมลงมุมก็ตื่นเพราะว่าแมลงมุมอยู่ด้วยสติก็เพราะมันจ้องกินอาหารมันระมัดระวังอยู่อย่างนั้นตลอดเวลาเมื่อจับแล้วก็วิ่งมาอยู่ที่เก่าอย่างนี้เป็นวิสัยของแมลงมุมที่จับสัตว์กิน
แมลงมุมนั้นก็เหมือนกันกับจิตของเราจิตของเรานั้นอยู่จุดกลางของอายตนะตา หู จมูก ลิ้นกาย จิต มีความรู้สึกตื่นอยู่ไม่ว่าอะไรจะมาสัมผัสทางตาตาเห็นรูป...ก็รู้สึกมีสติอยู่ หูฟังเสียงก็รู้สึกมีสติอยู่ ได้กลิ่นเหม็นหอมอะไรก็มีความรู้สึกลิ้นสัมผัสโอชารสต่างๆก็รู้สึก ธรรมารมณ์ที่เกิดกับใจก็รู้สึก นี่เรียกว่าสัมผัสสัมผัสครั้งแรกก็รู้สึกเฉยๆรูปก็ดี รสก็ดีกลิ่นก็ดี เสียงก็ดีโผฏ-ฐัพพะก็ดีธรรมารมณ์ก็ดีเมื่อกระทบก็ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้นพอกระทบแล้วมีความรู้สึกต่อไปอีกซึ่งมันจะเกิดกิเลสเกิดตัณหา เกิดราคะเกิดโทสะ เกิดโมหะผู้ประพฤติปฏิบัตินี้ก็เหมือนกันฉันนั้นถ้าเราระมัดระวังอยู่สังวรสำรวมอยู่ด้วยอินทรีย์จะรู้จักตัวของเจ้าของรู้จักจิตของเจ้าของว่าจิตเจ้าของนี้เป็นไปในลักษณะอันใด?ก็รู้จักเมื่อเรารู้จักจิตของเจ้าของแล้วเราก็จักสั่งสอนจิตของเจ้าของเท่านั้นแหละฉะนั้นตัวสตินี้จึงเป็นตัวที่สำคัญมากที่สุดเมื่อมีสติแล้วเราสังวรสำรวมอยู่ก็ดึงเอาปัญญามาพิจารณาว่ารูปนี่เป็นอย่างไรเสียงนี่เป็นอย่างไรมีอะไรไหม? ปัญญามาช่วยพิจารณาอันนี้เรียกว่าสติมีคุณค่า
"สมาธิ" คือความตั้งใจมั่นสมาธินั่นก็เกิดมาจากสตินั่นแหละสติ-สมาธิถ้าพูดเรื่องสมาธิตามศัพท์สมาธิท่านหมายถึงความตั้งใจมั่นอย่างเราจะละอารมณ์สิ่งที่ชั่วสิ่งที่ไม่ดีน่ะไม่คืนคลายมันมั่นในข้อประพฤติของเราในข้อปฏิบัติของเราสมาธิมีหลายขนาดที่เราทำกันอยู่ทุกวันนี้สมาธิที่นั่งแล้วหลับตากำหนดอันใดอันหนึ่งขึ้นมาเป็นอารมณ์อย่างอานาปานสติที่เราอบรมกันนี้เอาลมหายใจเป็นอารมณ์เป็นเครื่องหมายเอาเป็นจุดเด่นที่สุดทำไมถึงเอาเป็นอารมณ์เพราะว่าจิตนี้มีอารมณ์หลายอย่างหูฟังเสียงก็เป็นอารมณ์หนึ่งจมูกดมกลิ่นก็เป็นอารมณ์หนึ่งมันหลายอารมณ์สิ่งที่มันหลายๆอารมณ์มันฟุ้งซ่านดังนั้นท่านจึงรวมจุดมากๆมาเป็นอารมณ์เดียวเราจะเลือกอันใดอันหนึ่งก็เอา
ที่วัดเรานี้ก็สอนอานาปานสติอานาปานสตินี้เป็นของง่ายเพราะอะไร เพราะมีอยู่แล้วเรานั่งอยู่เราก็หายใจอยู่เรายืนอยู่ก็หายใจอยู่นอนเราก็หายใจของเราอยู่ดังนั้นก็กำหนดเอาสิ่งที่มีอยู่ใกล้ๆเป็นอารมณ์หายใจเข้าหายใจออกเอาอันนี้เป็นอารมณ์เพื่อจะให้จิตมั่นในอารมณ์คืออานาปานสตินี้ไม่ให้ฟุ้งซ่านไปหลายอย่างอารมณ์มันมากแต่เราจะทำให้มันน้อยคือเป็นอารมณ์เดียวเราจึงยกลมขึ้นหายใจเข้า-ออกกำหนดว่าพุทโธ พุทโธไว้ในใจของเราเสมอมีความระลึกอยู่รู้อยู่ ตื่นอยู่ในพุทโธอันนั้นนี่เรียกว่าเป็นอารมณ์เมื่อเราทำไปหายใจเข้าก็เป็นพุทหายใจออกก็เป็นโธพุทโธนั่นก็หมายความว่าผู้รู้อยู่นั่นเองเรารู้อยู่ด้วยสติของเราที่ตื่นอยู่ถ้าเรารู้จักจิตของเจ้าของมีสติอยู่ เราก็รู้จักว่าจิตของเจ้าของคิดอะไร?อะไรเป็นจิตก็เข้าไปเห็นชัดผู้ที่มีอำนาจปรับเอาอารมณ์ทั้งหลายนั่นแหละเรียกว่าตัวจิตสมมติว่าจิตหรือใจตัวที่กำหนดรู้ลมเข้าก็รู้จักลมออกก็รู้จักคนที่รู้ลมมันเข้ามันออกนั่นแหละคือตัวจิตเราสมมติว่าเป็นตัวจิตใครตามรู้อยู่เสมอเราก็รู้จักว่าใครตามรู้อยู่ผู้ตามรู้อยู่ก็เรียกว่าจิตอารมณ์นั้นก็เป็นอารมณ์จิตนั้นเป็นตัวจิตนั่นคือผู้รู้ก็เป็นผู้รู้อารมณ์ก็เป็นอารมณ์เป็นคนละตอนคนละท่อนท่านจึงให้ทำเป็นสมาธิเมื่อเป็นสมาธิมีอารมณ์อันเดียวแล้วจะเห็นจิตของเจ้าของว่าเออ! จิตนี้เป็นอย่างหนึ่งอารมณ์นี้เป็นอย่างหนึ่งผู้ที่รู้สึกอารมณ์มากระทบเป็นอย่างนั้นก็อย่างหนึ่งสองอย่างนี้ถ้าหากว่าเราไม่เป็นสมาธิไม่ทำสมาธิให้มีอารมณ์เดียวยืนยันอยู่เราก็ไม่รู้จักจิตของเจ้าของจิตเจ้าของเศร้าหมองก็ไม่รู้เรื่องจิตผ่องใสก็ไม่รู้เรื่องไม่รู้เพราะอะไร?เพราะเราไม่ได้สั่งสอนจิตของเรา


2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-10 10:55 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระพุทธองค์ท่านบอกว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายใครตามดูจิตของตนคนนั้นจะพ้นจากบ่วงของมารบ่วงของมารนั้นคืออะไร?คือรูปหนึ่งเสียงหนึ่ง กลิ่นหนึ่งรสหนึ่ง โผฏฐัพพะหนึ่งธรรมารมณ์หนึ่งอันนี้แหละเป็นบ่วงที่จะผูกจิตผู้ที่ไม่รู้ให้เข้าไปในอำนาจของมันเข้าไปในอำนาจของความเกลียดหรือความรักถ้าหากว่าเรารู้จิตของเจ้าของเช่นนั้นทั้งเรามีสติอยู่เราก็รู้ว่าอันนี้เป็นอารมณ์อันนี้เป็นจิตถ้าเรามองเห็นว่าอารมณ์เป็นอารมณ์จิตเป็นจิต เราก็แยกมันออกเป็นสองอย่างเราก็รู้จักว่าจิตไปยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์อารมณ์นั้นท่านเรียกว่าโลกหลงอารมณ์ก็คือหลงโลกหลงโลกก็คือหลงอารมณ์ใครเป็นคนหลง?จิตผู้รู้นั่นแหละมันหลงหลงตามอารมณ์ที่ดีก็หลงไปชั่วก็หลงไปตามสุขก็หลงไป ทุกข์ก็หลงไปเอาตัวไปแทนเสียว่าเป็นตัวทุกข์ความเป็นจริงนั้นจะทุกข์ก็เพราะมีอุปาทานยึดมั่นในอารมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นเลยไปเป็นเจ้าของอารมณ์ความเป็นจริงนั้นอารมณ์ก็เป็นอารมณ์จิตก็เป็นจิตมันคนละอย่างกันเมื่อเราเข้าไปยึดว่าอันนั้นดีอันนั้นสวยอย่างนี้เป็นต้นไม่ใช่ว่าเห็นเฉยๆเห็นแล้วมีอุปาทานมั่นหมายไปยึดมั่นถือมั่นเป็นตัวเป็นตนเป็นเราเป็นเขานั้นเรียกว่าบ่วงของพญามารผูกไปความพอใจก็ผูกไปความไม่พอใจก็ผูกไปความสุขก็ผูกไปความทุกข์ก็ผูกไปชั่วก็ผูกไปดีก็ผูกไปอย่างนี้ก็เพราะว่าเราไม่รู้จักจิตไม่รู้จักอารมณ์ถ้าเรารู้จักจิตของเจ้าของแล้วอารมณ์มันก็เป็นอารมณ์จิตมันก็เป็นจิตเป็นคนละอย่างถ้าเราไม่รู้จักอันนี้เราก็เข้าไปเป็นเจ้าของอารมณ์อันนั้นเราก็ต้องรับรองอารมณ์อันนั้นอยู่ติดตามอารมณ์อันนั้นอยู่ถ้าเราเห็นเช่นนี้ว่าอันนี้เป็นจิตอันนี้เป็นอารมณ์เราก็ต้องรู้จักสอนจิตของเจ้าของเมื่อเรามีความสงบอยู่ถูกอารมณ์ขึ้นมาเราก็รู้จักว่าอันนี้เป็นอารมณ์อันนี้เป็นจิตเปรียบง่ายๆคือมันอยู่ใกล้ชิดกันเหมือนน้ำมันกับน้ำถ้ามันมีน้ำหนักต่างกันจะเอาใส่ในขวดเดียวกันก็ได้แต่ว่ามันไม่แทรกซึมเข้าหากันจิตกับอารมณ์ก็เป็นอย่างนั้นถ้ารู้จักว่าอันนั้นเป็นอารมณ์อันนั้นเป็นจิตจะเห็นจิตเป็นจิตเห็นอารมณ์เป็นอารมณ์สักแต่ว่าอารมณ์เท่านั้น
อารมณ์นี้แหละท่านเรียกว่าโลกเราหลงโลกก็คือหลงอารมณ์หลงอารมณ์ก็คือหลงโลกเอาจิตกับอารมณ์ไปพัวพันกันจนแยกกันไม่ได้แยกไม่ออกว่าอะไรเป็นจิต...อะไรเป็นอารมณ์อารมณ์นี้ก็สักแต่ว่าอารมณ์เห็นจิตก็สักแต่ว่าจิตเป็นธรรมธาตุอันหนึ่งเป็นอยู่อย่างนั้นเขาเป็นอยู่อย่างนั้นตั้งแต่ไหนแต่ไรมาเขาก็เป็นของเขาอยู่อย่างนั้นถ้าหากว่าเราไม่รู้จักสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นเราก็ไปสำคัญมั่นหมายว่าทำไมมันเป็นอย่างนั้นทำไมมันเป็นอย่างนี้ความเป็นจริงอันนี้เป็นของเก่าแก่มันตั้งอยู่อย่างนั้นเองดังนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงให้ปฏิบัติให้พิจารณาที่ท่านสอนว่าให้ท่านทั้งหลายหรือสูทั้งหลายจงมาดูโลกนี้อันน่าตระการดุจราชรถอันพวกคนเขลาทั้งหลายหมกอยู่แต่ผู้รู้หาข้องอยู่ไม่ท่านพูดตรงเข้าไปเลยเห็นโลกที่มันวุ่นวายมันก็เป็นอยู่อย่างนั้นโลกนี้ไม่ใช่ว่ามันวุ่นวายมันเป็นของมันอยู่อย่างนั้นที่เราเข้าไปหมายมั่นไม่พอใจกับมันมันก็วุ่นวายซิถ้ารู้ตามเป็นจริงด้วยปัญญาแล้วก็เห็นว่าไม่วุ่นวายแต่คนไม่มีปัญญาแล้วก็เข้าใจว่าที่นั่นมันวุ่นวายพระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสอย่างนั้นให้มาดูโลกอันนี้...อันน่าตระการดุจราชรถเพราะคนเขลาคือคนโง่คือคนไม่รู้จักคือคนหลงหมกอยู่แต่ผู้รู้ทั้งหลายรู้แล้วไม่ข้องอยู่ที่นั่นไม่วุ่นวายที่นั่นไม่ขัดข้องก็เพราะเห็นว่าของเขาเป็นของเขาอยู่อย่างนั้นพื้นฐานของการประพฤติปฏิบัติพื้นฐานของความเห็นก็ต้องเป็นอย่างนั้นให้รู้ ถ้าเราไม่รู้มันก็เป็นทุกข์ไม่รู้ ก็เข้าไปยึดมั่นถือมั่นตลอดกาลตลอดเวลา
อารมณ์มาทางตาก็มีหูก็มี จมูกก็มีลิ้นก็มี กายก็มีเกิดมาทางจิตเฉยๆก็มีคือมีความรู้สึกเกิดขึ้นมาเดี๋ยวนั้นทั้งๆในเวลานั้นตาหู จมูก ลิ้นกาย ไม่สัมผัสถูกต้องอะไรแต่ว่ามันเป็นธรรมารมณ์เป็นธรรมเก่าที่เก็บไว้ในเวลานั้นมันระเบิดขึ้นมาอยู่ที่ใจเพราะว่าในเวลานั้นไม่ได้ยินไม่ได้เห็นไม่อะไรก็ตามทีเถอะแต่ว่าอันนั้นมันมีอยู่เป็นของเก่าเป็นธรรมารมณ์เป็นธรรมะ+อารมณ์นั่นเองมันฝังแน่นอยู่ในใจเรียกว่า"อุปธิธรรม"เมื่อได้ช่องเมื่อไรมันก็ระเบิดขึ้นมาเกิดความยินดีเกิดความยินร้ายขึ้นมาอันนี้คือของเก่าที่มีอยู่แล้วในปัจจุบันนั้นตาก็ไม่ต้องเห็นหูก็ไม่ต้องได้ยินจมูกก็ไม่ได้กลิ่นลิ้นก็ไม่ได้รสกายก็ไม่ถูกต้องแต่ว่ามีอารมณ์ทางจิตเกิดขึ้นมาเฉยๆที่เกิดขึ้นมาที่จิตนั้นจิตก็ยังหลงของมันอยู่เรื่อยๆยังไปหลงรักยังไปหลงใคร่อยู่ในสถานที่นั้นอีกถ้าเราเห็นเช่นนี้ถ้าเราดูเช่นนี้เราทำสมาธิเห็นชัดอยู่อย่างนี้เราก็พยายามดูซิว่าเกิดแล้วมันก็ดับดับแล้วมันก็เกิดเกิดแล้วมันก็ดับมันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น
พระโยคาวจรท่านเห็นชัดว่าอันนี้เป็นธรรมธาตุอันหนึ่งเท่านั้นเรียกว่าธรรมะ เกิดแล้วก็ดับไปดับแล้วก็เกิดขึ้นมาเกิดขึ้นมาแล้วก็ดับไปพระผู้มีพระภาคท่านให้เห็นจิตอันนี้เป็นของเกิดดับอยู่เท่านั้นมันไม่เป็นไปอย่างอื่นอีกถ้ารู้ชัดแล้วมันก็เกิดดับของมันอยู่อย่างนั้นก็เหมือนโลกน่ะแหละถึงเวลาสว่างมันก็สว่างถึงเวลามืดมันก็มืดมันก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้นแต่คนที่ยุ่งก็ไปให้โทษมันว่ามันมืดเร็วไปหรือมันสว่างเร็วไปอย่างนี้ถ้ารู้ตามเป็นจริงแล้วก็เป็นเรื่องของมันเป็นอยู่อย่างนั้นอันนั้นเรียกว่าเราหลงพระพุทธเจ้าให้ประพฤติปฏิบัติเพื่อให้หายหลงพระโยคาวจรคือใคร?ก็คือพวกเรานี่เองแหละให้ศึกษาเข้าไปเห็นความจริงเมื่อจิตสงบมีสติอยู่มีสัมปชัญญะอยู่เป็นสมาธิมันก็เห็นในที่สงบระงับเมื่อเห็นอาการทั้งหลายเป็นเช่นนั้นก็เกิดการวิเคราะห์วิจารณ์ขึ้นมาเพ่งสิ่งที่เกิดขึ้นมาอยู่นั้นเป็นอย่างนั้นอยู่เสมอเมื่อเห็นอาการตามความเป็นจริงของมันก็รู้ว่ามันเป็นของมันอยู่อย่างนั้นเมื่อเห็นชัดเช่นนั้นเราก็ไม่ต้องไปเพิ่มอะไรขึ้นอีกไม่ต้องไปถอนอะไรมันอีกปล่อยมันอยู่ตามเช่นนั้นเสมอคนที่ไปเพิ่มอะไรเข้ามาไปถอนอะไรออกไปก็คือคนหลงอารมณ์จึงเกิดยุ่งเกิดวุ่นวายเกิดความไม่สงบ
พระพุทธเจ้าท่านสอนว่าให้เห็นโลกคือเห็นโลกนี้ตามเป็นจริงอยู่ท่านให้เห็นชัดด้วยปัญญาว่ามันเป็นอยู่อย่างนั้นไม่มีทางจะแก้ไขท่านให้แก้ไขตัวเราเองไม่ใช่ไปแก้ไขอย่างอื่นถ้าเราไปแก้ไขอย่างอื่นนั้นก็เรียกว่ามันเป็นภายนอกนึกว่าเหตุมันเกิดมาจากนั้นเช่นเรามองดูรูปหรือเราฟังเสียงก็เห็นว่ารูปนั้นเราไม่ชอบหรือเสียงนั้นเราไม่ชอบก็นึกว่ารูปนั้นเป็นเหตุเสียงเป็นเหตุความเป็นจริงเหตุไม่ได้อยู่ที่ตรงนั้นเหตุอยู่ที่จิตของเจ้าของนี่เองเพราะเราเข้าไปสำคัญมั่นหมายว่ามันเป็นอย่างนั้นมันเป็นอย่างนี้ความจริงนั้นเหตุเกิดที่เราแต่เราไปเข้าใจว่าเหตุเกิดอยู่ที่รูปเสียง กลิ่นเมื่อมันกระทบถูกต้องมันเกิดจากความเห็นนี้เองอันนั้นมันก็อยู่สภาพของมันอย่างนั้นมิแปรเป็นอย่างอื่นฉะนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสให้พุทธบริษัททั้งหลายมาดูโลกอันนี้ให้แจ้งให้รู้เรื่องตามความเป็นจริงของมันถ้ารู้ตามความเป็นจริงของมันแล้วก็ไม่มีทางอะไรจะแก้ไขเห็นตามมันเสียปัญญารู้เท่าสังขารว่าสังขารนั้นเป็นจริงอย่างไรให้รู้เท่าตามความเป็นจริงอย่างนั้นทุกอย่างหูเราได้ยินก็ดีอายตนะทั้งหลายที่รวมอยู่นี้มันเป็นสัจจธรรมทั้งนั้นคือความจริงทั้งนั้นแต่เราไม่รู้จักความจริงก็เลยกลายเป็นของปลอมไปเสียเข้าไปปรุงปรุงให้มันเป็นอย่างนั้นปรุงให้มันเป็นอย่างนี้ไปแต่งให้มันเป็นอย่างนั้นแต่งให้เป็นทุกข์ก็เป็นทุกข์ปรุงไปอย่างอื่นก็ไม่เป็นมันเป็นของมันอยู่อย่างนั้นถ้าเราเห็นสั้นๆเช่นนี้เราก็รู้จักสั่งสอนจิตของเจ้าของแล้วว่าอันนี้เป็นอารมณ์อันนี้มันเป็นจิต
อารมณ์นี้ก็สักว่าอารมณ์จิตนี้ก็สักว่าจิตเท่านั้นไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตน เราเขาผลที่สุดแล้วก็ไม่มีใครทำอะไรทั้งนั้นอารมณ์ก็เป็นเรื่องอนิจจังจิตก็เป็นอนิจจังตัดผ่านไปเสียไม่ต้องข้องแวะไม่ต้องวิจัยมากเพราะรู้ว่ามันเป็นอย่างนั้นเห็นอารมณ์ที่เกิดดับก็ดีเห็นอารมณ์ดีก็ตามอารมณ์ชั่วก็ตามก็เรียกว่าเป็นอนิจจังทั้งนั้นถ้าพูดให้ง่ายๆก็ว่าตัวอนิจจังนี้แหละคือตัวพระพุทธเจ้าล่ะตัวสัจจธรรมล่ะตัวที่จะทำให้พระพุทธองค์ของเราให้เกิดเป็นพระพุทธเจ้าสาวกทั้งหลายก็เหมือนกันฉันนั้นถ้าเห็นอนิจจังชัดเจนก็เป็นพระสมบูรณ์นั่นเองเห็นอนิจจังเป็นของไม่เที่ยงในรูป ในเวทนาในสัญญาในสังขาร ในวิญญาณอุปาทาน มั่นหมายก็ไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง๕ คือมี ๕ กองกองรูป กองเวทนากองสัญญา กองสังขารกองวิญญาณเราไปยึดมั่นถือมั่นว่าขันธ์ทั้ง๕ นี้ เป็นตัวเป็นตนเป็นเราเป็นเขาโดยใช่เหตุตามความเป็นจริงแล้วอันนี้มันเป็นขันธ์๕ รูปเวทนาสัญญา สังขารวิญญาณ ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนไม่ใช่เราไม่ใช่เขาเรียกว่ามันเป็นกองกองรูปก็เป็นกองหนึ่งกองเวทนาก็คือกองสุข...กองทุกข์นี่เป็นกองหนึ่งสัญญานี้ก็เป็นกองหนึ่งสังขารนี้ก็เป็นกองหนึ่งวิญญาณนี้ก็เป็นกองหนึ่งคนคนหนึ่งมีอยู่๕ ก้อนหรือมีอยู่๕กอง เราจะอยู่ไปได้ด้วยขันธ์๕ นี้
ผู้ที่จะมีความทุกข์มีความเดือดร้อนก็เพราะยึดเอาก้อนนี้มาเป็นตัวเป็นตนเป็นเราเป็นเขาใครมันเป็นทุกข์?ขันธ์ ๕ นี้แหละเป็นทุกข์เพราะเห็นขันธ์๕ นี้เป็นตัวเป็นตนเป็นเราเป็นเขาคือไปยึดหมายสิ่งที่ไม่เป็นตัวเป็นตนเป็นเราเป็นเขานี้แหละมาเป็นตัวเป็นตนเป็นเราเป็นเขาอันนี้มันตรงกันข้ามเลยสิ่งที่ไม่ใช่ตัวใช่ตนเราเข้าใจว่าตัวว่าตนสิ่งที่ไม่ใช่เราใช่เขาเราก็เข้าใจว่าเป็นเราเป็นเขาอันนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิความเห็นผิดจากหลักธรรมะเมื่อผิดจากหลักธรรมะที่เกิดทุกข์เพราะสิ่งทั้งหลายเป็นก้อนเป็นกองเฉยๆกองรูปก็เป็นกองหนึ่งกองเวทนา กองสัญญากองสังขาร กองวิญญาณฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงให้พิจารณาให้เห็นว่าขันธ์ ๕ นี้เกิดแล้วก็ดับมันเกิด-ดับเกิด-ดับเท่านั้นหาอย่างอื่นนอกนั้นไม่มีทุกข์เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปสุขเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปไม่ยั่งยืนถาวรอยู่มันเป็นอยู่อย่างนั้นท่านจึงสอนว่าขันธ์ทั้ง๕ นี้ไม่เที่ยงแต่คนเราทั้งหลายมองไม่เห็นเราว่าเป็นของเที่ยงจึงขัดแย้งกันอยู่ตลอดเวลาที่ท่านเห็นธรรมะก็คือท่านเห็นตรงนี้ที่ท่านตรัสรู้ธรรมะก็คือตรัสรู้ตรงนี้ไม่ใช่รู้อย่างอื่นเห็นชัดเรื่องขันธ์๕ นี้ว่าไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนไม่ใช่เราไม่ใช่เขาจิตก็ปล่อยวางเห็นแต่ว่าขันธ์๕ เกิดแล้วก็ดับไปเท่านั้นมันเกิด-ดับเห็นสิ่งที่เกิด-ดับอยู่ตลอดเวลาเมื่อเห็นเช่นนี้ก็ไม่รู้จะไปทำอะไรมันนี่คือความเห็นที่ถูกต้อง

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-10 10:56 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เห็นง่ายๆ คิดง่ายๆว่ามันเกิด-ดับเท่านั้นแหละวูบเดียวก็เกิดขึ้นมาวูบเดียวก็ดับไปหาสิ่งใดจะมาเกิด-ดับไม่มีนอกจากสุขกับทุกข์ทุกข์มันเกิดแล้วก็ดับไปสุขเกิดแล้วก็ดับไปมันเป็นเรื่องเท่านี้เองถ้าเราไม่รู้เรื่องสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ก็เหมือนว่าเราจะไม่รู้ธรรมะถ้าเรารู้ธรรมะก็เห็นเรื่องทั้งหลายเหล่านี้มันเป็นอยู่อย่างนี้หมดทางที่จะแก้ไขเรียกว่าเห็นโลกเห็นโลกเป็นอย่างนั้นถ้าเห็นแล้วก็ไม่ต้องแก้ไขถ้าเห็นแล้วใจสบายเห็นโลกตามเป็นจริงอย่างนั้นก็เรียกว่าบรรลุธรรมะคือเห็นรูปเห็นนามนี้เป็นอย่างนั้นอยู่แล้วเมื่อเห็นสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นเราก็เห็นออกจากตัวของเราออกจากตนของเราก็เลยเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตนมีแต่ขันธ์๕
ในสมัยหนึ่งพระปุณมัณตนีบุตรจะออกไปธุดงค์พระสารีบุตรซึ่งเป็นพระอาจารย์ของพระปุณมัณตนีบุตรได้ถามปัญหาแก่ลูกศิษย์ของท่านว่าถ้ามีคนมาเรียนถามท่านว่าพระขีณาสพตายแล้วเป็นอะไร?พระปุณมัณตนีบุตรตอบว่ารูป เวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณเกิดแล้วดับไปท่านไม่เห็นว่าท่านเกิดแล้วท่านดับไปตรงนั้นไม่มีท่านไม่มีตัวไม่มีตน ไม่มีเราไม่มีเขา ท่านก็เลยตอบคำถามพระอาจารย์ว่าพระขีณาสพตายแล้วไม่เป็นอะไรท่านเห็นแต่เพียงว่ารูป เวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณเกิดแล้วดับไปเท่านั้นพระสารีบุตรก็พอใจในความเห็นของลูกศิษย์ว่าอย่างนี้ไปได้แล้วท่านก็ปล่อยให้พระปุณ-มัณตนีบุตรไปธุดงค์ท่านถามอย่างนั้นเพื่อสอบความเข้าใจของลูกศิษย์เมื่อลูกศิษย์ตอบมาตามความเป็นจริงเช่นนั้นแล้วมันหมด ตอบได้หมดที่จะเข้าใจว่าตัวว่าตนตรงนั้นไม่มีพระขีณาสพตายแล้วไม่เป็นอะไรพระขีณาสพก็คือผู้สิ้นไปแล้วสิ้นกิเลสทั้งหลายแล้วตายแล้วไม่เป็นอะไรพระปุณมัณตนีบุตรรู้แล้วท่านประสบมาแล้วว่าเป็นอย่างนั้นท่านไม่เห็นว่ามีอะไรเห็นแต่เพียงว่ารูป เวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณเกิดแล้วดับไปไม่มีใครเกิดไม่มีใครตาย
อย่างพระโมกขราชเห็นสุญญตาธรรมเป็นธรรมที่ไม่ตายถ้าถึงจุดอันนั้นแล้วไม่ตายทำไมถึงไม่ตาย?มันไม่มีคนไม่มีสัตว์ถ้าไม่มีคนก็ไม่มีใครจะตายไม่มีสัตว์ก็ไม่มีใครจะตายเห็นชัดแล้วว่ามันพ้นจากตัวตนเราเขาเห็นแต่ธาตุหรือกองดินกองน้ำ กองไฟกองลมเห็นแต่ขันธ์๕ มีแต่รูปเวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณไม่มีคนไม่มีสัตว์ตรงกับพราหมณ์ที่เข้าไปถามพระพุทธเจ้าว่าพระผู้เป็นเจ้าคนตายแล้วเกิดมีไหม?พระพุทธเจ้าท่านย้อนถามพราหมณ์ใครจะมาเกิดมาตายอยู่ที่นี่ถ้าพราหมณ์มีความเห็นเช่นนี้ก็เหมือนกันกับที่ว่าลูกศรนั้นแทงหัวใจพราหมณ์อยู่เท่านั้นแหละขวางอยู่ตลอดเวลาแต่ว่าเอามันออกยากมันเห็นยากคือมันติดสมมติถ้าเราเห็นสมมติเห็นวิมุตติตามความเป็นจริงแล้วมันก็สบายไม่มีใครเกิดไม่มีใครแก่ไม่มีใครเจ็บไม่มีใครตายรูป เวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณมันเป็นไปต่างหากถ้ามันเป็นเช่นนั้นอะไรจะเกิดที่ไหนมีไหม?ความโลภจะเกิดขึ้นมีไหม?ความโกรธจะเกิดขึ้นมีไหม?ความหลงจะเกิดขึ้นมีไหม?
สิ่งทั้งหลายเหล่านี้จะเกิดขึ้นมาได้เพราะคนเพราะสัตว์ถ้าท่านเห็นว่าพ้นไปจากสัตว์พ้นไปจากคนแล้วกิเลสจะเกิดกับอะไร?ไม่มีที่เกาะไม่มีกิเลสโลภ โกรธ หลงหมดไป เพราะสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เกิดขึ้นกับสัตว์กับมนุษย์ กับตัวกับตนกับเรากับเขาท่านเห็นว่าไม่มีตัวไม่มีตัวไม่มีเราไม่มีเขาแล้วมันจะเกิดกับอะไรท่านจึงว่าผู้ถึงที่สุดของธรรมะมัจจุราชตามไม่ทันท่านเป็นผู้ที่ไม่ตายจะตายแต่คนหรือสัตว์ถ้าพ้นไปจากคนหรือสัตว์แล้วก็ไม่มีอะไรที่จะตายไม่มีอะไรที่จะเกิดจะดับอยู่ตรงนั้นไม่มีแล้ว พระพุทธเจ้าของเรามีพุทธประสงค์อยากจะให้เราเห็นอย่างนั้นที่ปฏิบัติมานี้อยากจะให้รู้อย่างนั้นอยากจะให้เป็นอย่างนั้นให้พ้นจากความเกิดความแก่ความเจ็บความตาย ทุกข์ก็ไม่มีไม่มีทุกข์ทุกข์ก็หมดทุกข์ก็ดับอันนี้ท่านจึงว่าให้ปฏิบัติให้พ้นจากทุกข์ถ้าเราไม่ยึดมั่นว่าเป็นตัวเป็นตนเป็นเรา เป็นเขาเป็นสัตว์เป็นบุคคลอยู่อย่างนี้มันก็เกิด แก่เจ็บตายอยู่อย่างนั้นแหละไม่พ้น พระพุทธองค์ท่านให้เห็นอย่างนั้นท่านสอนอย่างนั้นท่านให้รู้อย่างนั้น
เดินไปก็ไม่มีอะไรมีแต่ขันธ์๕ มีแต่กองรูปกองเวทนา กองสัญญากองสังขาร กองวิญญาณมีแต่เรื่องขันธ์๕ เท่านั้น เป็นไปตามสภาวะของมันอันนี้ท่านเรียกว่าให้เห็นออกจากตัวตนไม่มีอะไรจะเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นเป็นผู้ที่ปล่อยวางจะได้เห็นว่าเป็นสภาวะธรรมอันหนึ่งเท่านั้นเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปมีแต่เรื่องเกิด-ดับไปทั้งนั้นอันนี้เป็นจุดหมายปลายทางที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราต้องการให้พวกพุทธบริษัททั้งหลายปฏิบัติให้เข้าไปรู้อย่างนั้นให้เข้าไปเห็นอย่างนั้นถ้าเข้าไปรู้อย่างนั้นท่านก็เรียกว่าเราเข้าไปรู้ธรรมะเห็นธรรมะ เมื่อเห็นธรรมะก็เห็นพระพุทธเจ้าเมื่อเห็นพระพุทธเจ้าก็เห็นธรรมะอันนั้นเป็นเรื่องการปฏิบัติล้วนๆทางจิตของเรา



เรื่องการปฏิบัติที่เราแนะนำพร่ำสอนกันนี้ก็เรียกว่าเป็นศีลธรรมสอนเรื่องศีลธรรมนี้สอนเรื่องตัวเรื่องตนเรื่องเราเรื่องเขาอย่าไปเบียดเบียนซึ่งกันและกันเป็นตัวเราเป็นตัวเขาถ้าสอนธรรมะล้วนๆก็เรียกว่าไม่มีเราไม่มีเขาสอนเรื่องศีลธรรมนี้ก็ต้องมีเรามีเขาความมุ่งหมายของพระพุทธเจ้ามีพระพุทธประสงค์อยากจะให้สาวกทั้งหลายเป็นอย่างนั้นให้รู้อย่างนั้นให้เห็นอย่างนั้นให้เป็นอยู่อย่างนั้นสงบจากสัตว์สงบจากบุคคลจากตัว จากตนจากเรา จากเขาหมดกันแค่นั้นในทางพุทธศาสนาของเราท่านสอนอย่างนั้น
แต่ว่าพุทธบริษัทจะมีศรัทธาจะมาประพฤติปฏิบัติให้เป็นไปตามทำนองนั้นลำบากยาก ไม่มีศรัทธาเพียงพอความเป็นจริงอย่างนักบวชเราอย่างพวกเรานี้น่ะละฆราวาสวิสัยมาแล้วละบ้านละช่องมาแล้วอะไรทั้งหมดๆเราก็ทิ้งมาแล้วอยู่ในวิสัยของสมณะจุดนั้นเป็นที่หมายเป็นเป้าหมายของพวกเราทั้งหลายเป็นเป้าหมายของผู้ประพฤติเป็นเป้าหมายของผู้ปฏิบัติฉะนั้น ท่านจึงสอนให้ละทิฏฐิมานะทิฏฐิคือความเห็นมานะคือความยึดในตนฯลฯ การละนี้แหละคือทางที่จะสงบจริงเย็นจริง

ที่มา http://www.ubu.ac.th/wat/ebooks/chahthai/Seeing_Reality.html

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้