ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1770
ตอบกลับ: 4
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

เครื่องอยู่ของบรรพชิต

[คัดลอกลิงก์]
เครื่องอยู่ของบรรพชิต



การฉันต้องให้มันสำรวมอย่าให้มีเสียงดังให้มันกระเทือนหูทายกเดี๋ยวทายกก็จะเอามาเพิ่มเข้าไปอีกนี่มันเป็นอย่างนี้เรียกว่าฉันขอดบาตรคือเกลาบาตรขูดบาตรให้มันมีเสียงต้นบัญญัติดูเหมือนจะเป็นอย่างนั้นตามที่ผมจำๆมาตามบัญญัติไม่ใช่ว่าฉันหมดตามเป็นจริงฉันหมดนี่มันรู้จักประมาณนี่มันไม่มีอะไรรู้จักประมาณคือฉันหมดไม่เรียกว่าฉันขอดบาตรฉันให้มันมีเสียงดังเพื่อให้มันกระเทือนหูทายกเดี๋ยวทายกก็เอามาเพิ่มอีกมันก็ได้แกงอีกเท่านั้นแหละนั่นมันมีความหมายอย่างนั้นนั่นเรียกว่าฉันขอดบาตร
อย่าฉันแต่ยอดลงไปถ้าเราไม่ฉันจากยอดลงไปเราจะทำอย่างไรก้นมันก็อยู่ข้างล่างยอดมันก็อยู่ข้างบนหรือเราจะคว่ำบาตรลงฉันหรือไงอย่างนี้คืออย่าฉันตั้งแต่ยอดลงไปอันนี้ก็หมายความว่าเจาะเป็นรูลงไปตรงกลางท่านว่าอย่าฉันแต่ยอดลงไปในความเป็นจริงที่ถูกแล้วก็คือฉันให้มันเสมอลงไปอย่างข้าวเจ้าที่เราฉันนี้ก็กวาดให้มันราบฉันให้มันเสมอลงไปนี่ตอบคำที่ว่าฉันแต่ยอดลงไปถ้าเราไม่ฉันข้างบนลงไปเราจะทำอย่างไรนี่ความหมายมันเป็นอย่างนี้
ดังนั้นการขบฉันนี้เสขิยวัตรนี้มันก็มีประโยชน์มากเหมือนกันก่อนจะฉันนั้นท่านจึงให้รู้ว่าบัดนี้เราจะฉันในใจของเราต้องมีวัตรในการฉันเราต้องน้อมรำลึกถึงพระวินัยฉันในบาตร หรืออย่าฉันให้เมล็ดข้าวตกลงในบาตรอย่างนี้เป็นต้น
ในความเป็นจริงเมล็ดข้าวที่เข้าไปในปากเรานั้นมันถูกอามิสแล้วมันก็หล่นลงแล้วมันขาดลงไปแสดงว่ามันขาดออกจากกันท่านว่ามันผิดอย่างเหงื่อเราไหลปุดลงไปนี่อันนี้มันไม่เนื่องกันถ้าเราจับบาตรแล้วเหงื่อมันไหลซึมลงไปตามนี้เนื่องกันไปกับบาตรอย่างนี้อันนี้ท่านไม่เรียกว่ามันตกลงในบาตรคือเอาขณะนี้ที่ขาดลงมาจากที่ขาดลงมามันก็เป็นการขาดประเคนหรือว่าเรามีขนมอยู่ในบาตรมีข้าวอยู่ในบาตรเราบอกว่า เณร...จงเอาขนมสัก๒ ก้อน หรือเอาข้าวสักกำหนึ่งเณรเขาก็เอาเมื่อเขายกขึ้นที่อยู่ในกำมือเป็นของที่ให้เขาแล้วที่มันหล่นลงมาเป็นต้นยังเป็นปัญหาอยู่อย่างนี้ถ้าหากว่าเราคิดแล้วก็เป็นของเคร่งหรือตึงอะไรไปอย่างนี้แต่ว่าในสิกขาบททั้งหลายเหล่านี้ถ้าหากว่าเราสำรวมอยู่พยายามอยู่ก็ไม่เป็นอาบัติเราเอื้อเฟื้ออยู่สำรวมอยู่
ดังนั้น การฉันนี้มันจึงเป็นวัตรที่สำคัญระวัง เมื่อเราจะฉันเราก็ต้องนึกถึงการฉันฉันคำใหญ่ ฉันคำโตฉันขอดบาตรฉันดังจิ๊บๆจุ๊บๆอะไรต่างๆเหล่านี้มันเป็นเบ็ดเตล็ดต่างๆแต่ว่าก็อย่าไปปล่อยมันนะอันนี้นะ อย่าไปวางอะไรมันต้องมองดูมันให้ดีการฉันครั้งแรกนี้ท่านจึงเอาของลงในบาตรให้เรียบร้อยอย่ารีบ ดูจิตเราเสียก่อนให้มันรู้ทั่วถึงด้วยในเวลาเราฉันอย่างนี้ให้จิตสงบเสียก่อนถ้ามันอยากจะฉันเร็วๆก็พยายามให้มันช้าๆให้มันอยู่ได้เป็นปกติแล้วเราก็ค่อยฉันของเราไปเรียกว่า สังวรสำรวม ระวังถ้าหากว่าเราปล่อยมันเลยมันก็ไม่ได้ไม่มีการสังวรสำรวม ระวัง
อะไรก็ช่างมันเถอะพระวินัยเล็กๆน้อยๆนี่มันมีพิษเหมือนกันคือมันผิดนั่นเองแหละไม่ใช่อื่นไกลมันอยู่ที่สติเราเป็นคนมีสติอยู่มีสัมปชัญญะอยู่รู้อยู่ เห็นอยู่เมื่อเราจะทำอะไรเราก็ต้องรู้อยู่เห็นอยู่ เมื่อเรามีความรู้ชัดเจนอยู่เป็นต้น มันก็รู้จักความผิดถูกหรือหากว่าเรายังไม่รู้จักความผิดก็สงสัยตรงนี้มันไม่งามตรงนี้ไม่ค่อยดีสิ่งที่จิตใจเราว่าไม่ค่อยดีไม่ค่อยงามนั้นแหละมันไม่ควรแล้ว
ถ้าหากว่าเราตั้งใจฉันนะมันก็ดี ฉันมีสติมีความระมัดระวังการฉันการเคี้ยวการจับอะไรต่ออะไรอย่างวางอะไรลงในกระโถนนี่มันเพล้ง...เพล้งเมล็ดน้อยหน่าหรือเมล็ดมะขามหรือเมล็ดอะไรทั้งหลายนี่อันนี้มันไม่มีอะไรหรอกแต่ว่าสติเรามันไม่ค่อยมีมันไม่สังวรสำรวม คือ ท่านต้องการให้มันเงียบในความสงบนี่การเคี้ยวการขบฉันนี่รู้จัก มันดังเกินไปไหมมันมีเสียงเกินไปไหมมันรีบเกินไปไหมมันอะไรเกินไปไหมนี่ ถ้าเรามีสติอยู่ในตัวของเรานี่มันก็มีระเบียบเรียบร้อย
ดังนั้น ท่านจึงว่าฉันจังหันนั่นท่านไม่ให้ไปมองดูบาตรของคนอื่นให้มองดูในบาตรของตนบางทีมันก็ไปเพ่งโทษคนอื่นเสียอะไรต่ออะไรมันหลายอย่างในเวลานั้นคือไม่เห็นจิตของเจ้าของ
ดังนั้น พระวินัยนี้ก็รวมเข้ากับธรรมะพระวินัยที่ให้สังวรสำรวมนี้ก็ให้เกิดธรรมะมันก็เป็นศีลนั่นเองเป็นเครื่องควบคุมเราท่านอาจารย์มั่นสมัยนั้นท่านไม่ใช้ช้อนมันเป็นของแข็งตักบาตรมันดังอย่างหนึ่งท่านเอาลงเมื่อเอาช้อนเข้าในปากแล้วเอามือยัดเข้าไปในปากอย่างนั้นแต่สมัยนี้ก็ยังมีคนถืออยู่รักษาข้อวัตรอยู่แต่เขามีช้อนก็เมื่อเวลาที่สำคัญต้องมีความระมัดระวังอะไรก็ช่างมันเถิดอันนี้เรามารวมถึงว่าผู้ปฏิบัติเมื่อพูดถึงการปฏิบัตินี้มันรวมเป็นธรรม
ปฏิบัติธรรมมันรวมพระวินัยมันรวมธรรมะเข้าด้วยกันเป็นข้อปฏิบัติเรียกว่าการปฏิบัติธรรมพระพุทธเจ้าก็บรรลุซึ่งธรรมะไม่ได้ยินท่านว่าบรรลุซึ่งพระวินัยบรรลุซึ่งธรรมะที่มารวมกันแล้วเราจึงเรียกว่าเป็นการปฏิบัติธรรม
ทีนี้ท่านสอนว่าธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความกำหนัดย้อมใจอย่างนี้เป็นต้นธรรมนั้นคืออะไร
เราจะมีความรู้สึกทางจมูกก็ดีรู้สึกทางตาก็ดีรู้สึกทางหูก็ดีรู้สึกทางร่างกายก็ดีรู้สึกทางจิตก็ดีคำที่ว่าธรรมเหล่าใดนั้นหมายเอาสภาวะสัมผัสถูกต้องในอายตนะของเราเช่นว่า มีรูปสวยๆเรามองดูแล้วมันกำหนัด มันย้อมใจมีความกำหนัดมันก็ย้อมใจอย่างเราใช้บริขารสวยๆงามอย่างนี้เป็นต้นมันให้เกิดความกำหนัดมันย้อมใจ มันย้อมใจของเราขึ้นไปๆเรื่อยๆมันเป็นเหตุให้เราลืมตัวของเราก็ได้ท่านจึงให้พิจารณาจีวรก็ดี สังฆาฏิก็ดีบริขารทั้งปวงนี้จีวรบิณฑบาต เสนาสนะเภสัช นี้น่ะเมื่อรวมเข้ามานี้มันปฏิบัติอยู่ตรงนี้ท่านจึงให้พิจารณาปัจจัยทั้งสี่นี้
ปัจจัยทั้งสี่นี้เมื่อหยิบจีวรขึ้นมาท่านก็ต้องให้พิจารณาเมื่อฉันอาหารบิณฑบาตก็ต้องพิจารณาเสนาสนะที่อยู่ที่อาศัยท่านก็ให้พิจารณายาบำบัดโรคท่านก็ให้พิจารณานี่รวมแล้วมันเป็นปัจจัยสี่ทำไมท่านจึงให้พิจารณาอะไรมันเป็นเหตุให้มีความกำหนัดมีความย้อมใจขึ้นจะเป็นวัตถุก็ตามจะเป็นนามธรรมก็ตามย้อมใจให้เราโลภย้อมใจให้เรากำหนัดย้อมใจให้เราโกรธย้อมใจให้เราสารพัดอย่างละไม่ปกติเสียแล้วทุกอารมณ์มันเป็นอย่างนั้นนี่เรียกว่าการย้อมใจเรียกว่าเป็นธรรมทั้งหมดจะเป็นวัตถุก็เป็นธรรมจะเป็นนามธรรมมันก็เป็นธรรมขอแต่ว่าอะไรนั้นมันมาทำให้ความกำหนัดย้อมใจเกิดขึ้นอันนั้นเราก็ต้องระวังมันต้องระวัง
ธรรมอะไรเป็นไปเพื่อความประกอบทุกข์ประกอบไว้ซึ่งทุกข์คือไม่ปล่อยทุกข์อะไรที่มันเป็นเหตุให้ทุกข์เกิดอยู่แล้วเราก็ไม่ปล่อยทุกข์เราก็สะสมมันขึ้นจะเป็นวัตถุก็ตามจะเป็นความรู้สึกนึกคิดก็ตามนี่มันสั่งสมไว้ซึ่งทุกข์
ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความอยากใหญ่ใฝ่สูงเป็นไปเพื่อความไม่สันโดษยินดีในของที่มีอยู่อย่างนี้ เป็นไปเพื่อความเลี้ยงอันยากเป็นไปเพื่อความเกียจคร้านเป็นไปเพื่อความคลุกคลีหมู่คณะทั้งหลายเหล่านี้ท่านตรัสเป็นส่วนหนึ่งว่าอันนี้ไม่ใช่ธรรมและไม่ใช่วินัยไม่ใช่สัตถุสาสน์คำสั่งสอนของพระศาสดาของเราตรงกันข้ามนั้นท่านว่าอันนั้นเป็นธรรมคำสอนสัตถุสาสน์คำสอนของพระพุทธเจ้าของเรานี้อย่างนี้
ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ถ้าเราสังวรสำรวมมันจะเกิดอยู่ทุกวิถีทางมันจะเป็นธรรมะเป็นคุรุธรรมมันหนัก นี่เรียกว่าปฏิบัติธรรมะถ้ารู้อย่างละเอียดอย่างนี้มันก็รู้จักธรรมะมันมากที่สุดละไม่จนธรรมะได้พิจารณา
ฉะนั้น ข้อวัตรปฏิบัตินี้เพื่อให้เข้าไปรู้ไปเห็นสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นมันก็เป็นคล้ายๆพื้นฐานอย่างเราจะปลูกอาคารสักหลังหนึ่งมันมีข้างบนสองชั้นสามชั้นมันก็อยู่ข้างบนโน่นแต่พื้นฐานก็คือตัววางรากฐานนี้เองมันจะทรงตัวมันอยู่ได้ก็เพราะรากฐานของมันมั่นคง


2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-8 11:30 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
การประพฤติปฏิบัตินี่มันรกรุงรังเหลือเกินที่ธรรมะมันจะอยู่ฉะนั้นเราจึงพยายามถอนอะไรออกที่มันรกรุงรังน่ะถอนมันออกอย่างความกำหนัดย้อมใจอย่างความเกียจคร้านอย่างความอยากใหญ่ใฝ่สูงเป็นต้น ใครมีปัญญามากเท่าไรการปฏิบัติก็ยิ่งกว้างออกไปก็ยิ่งละเอียดออกไป
การปฏิบัติธรรมนี้ท่านมารวมเข้ากันเสียเป็นพระธรรมวินัยรวมกันทั้งสองอย่างเป็นพระธรรมวินัยเป็นข้อปฏิบัติเพื่อให้บรรลุซึ่งธรรมบรรลุซึ่งสันติธรรมคือความสงบระงับดังนั้น ข้อปฏิบัติของผู้ปฏิบัตินี้มันถึงมากแต่ว่ามันก็ไม่มีอะไรยุ่งยากถ้าเรามีสติเต็มเปี่ยมแล้ว
สติที่จะเต็มเปี่ยมนี้ก็เรียกว่าเราจะต้องพยายามจะต้องฝึกเรื่อยๆเช่น ผมเคยพูดให้ฟังว่าเราจะลงมาทำวัตรลงโบสถ์ เข้ามานี่เราต้องกราบมาองค์เดียวก็ตามเถอะมาทำอะไรก็กราบพระเมื่อเสร็จแล้วจะกลับกุฏิก็กราบพระเมื่อเราออกไปถึงกุฏิแล้วเราขึ้นไปบนกุฏิแล้วก็นั่งกราบพระฝึกเสียก่อนฝึกให้มากๆบางคนก็รำคาญใจฮึ...ลุกขึ้นก็กราบนั่งก็กราบอะไรก็กราบสารพัดอย่างล่ะอย่างนี้ฝึกสติของเราให้มันมีสติจนให้มันชำนาญให้มันชำนาญในสิ่งทั้งหลายดังนี้
สตินี้มันคือความระลึกได้อยู่เสมอมีสติก็มีสัมปชัญญะเริ่มจากจิตของเรานี่เองทำให้มันชำนาญบางคนก็คิดว่ามันป่ามันเถื่อนถือมั่นถือรั้นถือขลังอะไรไปอย่างนี้ก็มีคิดอย่างนี้ก็มีแต่ว่าทางก้าวของมันก็ต้องไปอย่างนี้ตั้งแต่น้อยไปหาโตขึ้นมาจะต้องทำอย่างนี้
เรื่องพระวินัยเรื่องพระธรรมมันก็มีความสงสัยถ้าเราปฏิบัติมันก็สงสัยสงสัยก็ช่างมันเถอะสงสัยก็ทำไปพยายามทำไปคือว่าเราทำที่ไหนมันก็มีความแลาดอยู่ที่นั้นทำด้วยการพินิจทำด้วยการพิจารณาเราทำตรงนี้เราก็ต้องพิจารณาอยู่ตรงนี้ความฉลาดมันก็เกิดขึ้นมาเรื่อยๆไปคือ เหมือนกันกับเราได้ฟังธรรมะได้เรียนมากได้ฟังมาก เป็นพาหุสัจจะ
ได้ฟัง มันได้ค้นคว้าในใจของมันนี่เรียกว่าเรากำลังศึกษามันเป็นเสขจิตมันจะต้องศึกษาอยู่ก่อนก่อนที่มันจะรู้แล้วมันก็เป็นอเสขจิตนี่รู้เรื่องของมันแล้วไม่ต้องศึกษาแล้วอย่างนี้
ไม่อย่างนั้นเราอย่าไปถือว่าเราได้เรียนมามากเราได้รู้มามากเราอย่าไปถืออย่างนั้น
ถือว่าใครเป็นคนหลงล่ะเท่านี้แหละถือว่าใครมันเป็นคนหลงกันคนที่เรียนมากๆหรือคนที่ไม่ได้เรียนเลยอย่างนี้ให้เราคิดให้มันดีๆคนที่หลงน่ะเรียนมากๆมันก็หลงกันได้ไม่เรียนมันหลงก็ได้อย่างคนเราเกิดมาตั้งแต่เล็กๆจนแก่จะว่าเราเก่งก็ไม่ได้เก่งเพราะอะไรเก่งเพราะเราเกิดมานานอย่างนี้ก็ไม่ได้
ไม่ไปที่ไหนทั้งนั้นแหละสัจจธรรมไม่วิ่งไปตรงไหนแหละมันอยู่คงที่ของมันท่านจึงเรียกว่าสัจจะความเป็นจริงสัจจะความจริงคือไม่เคลื่อนจากที่มันเราจึงน้อมใจเราเข้าไปถึงสัจจธรรมจนกว่าสัจจธรรมมันจะตั้งอยู่ในจิตของเราไม่เคลื่อนที่มันไม่ตามกระแสใจของคนมันไม่ตามความรู้สึกนึกคิดของคนความรู้สึกนึกคิดเป็นความรู้สึกนึกคิดอันหนึ่งสัจจธรรมนั้นก็เป็นอย่างหนึ่งถ้าเรามีความรู้สึกนึกคิดที่เป็นสัจจธรรมมันก็เป็นสัจจธรรมถ้าเรามีความรู้สึกนึกคิดแหวกแนวออกไปแต่เราเข้าใจว่ามันถูกอันนั้นมันก็ไม่เป็นสัจจธรรม
ได้ความว่าที่เรามาปฏิบัติกันทุกคนนี้เรายังไม่รู้ตามเป็นจริงฉะนั้นการฟังการเรียนท่านจึงให้พิจารณาอันนี้ท่านพูดมันผิดอย่างนี้เราก็ฟังมันผิดอันนี้ท่านพูดไปมันถูกอันนี้เท่ากับว่าท่านว่าถูกอย่าเพิ่งไปย้ำว่ามันถูกมันผิดในการฟังเลยคนฟังก็สักแต่ว่าเราฟังไปมันไม่จบตรงนี้มันไปจบที่การรู้ขึ้นมาเองมันวินิจฉัยเกิดความรู้ขึ้นมาเองในจิตที่ผ่องใสเมื่อไรมันจึงจะรู้จักที่นี้
ดังนั้น ทุกคนที่เรามาปฏิบัตินี้ก็มารับฟังอันนั้นมันถูกอันนี้มันผิดพระพุทธเจ้าท่านก็ยังไม่ได้สอนอย่างนั้นท่านให้ฟังเราฟังสิ่งที่มันผิดนั้นมันก็ไม่ผิดอะไรเราฟังสิ่งที่มันถูกนั้นมันก็ไม่แปลกอะไรเป็นคนฟังเอาความรู้ซึ่งมันเกิดขึ้นในจิตของเรา
ฉะนั้น ท่านจึงตัดมันเสียว่าอันนี้ก็อย่าไปหมายมั่นมันอะไรทุกอย่างมันเกิดขึ้นมาก็เรียกว่าเออ...อันนี้เราคิดว่ามันไม่ถูกอันนี้เราคิดว่ามันผิดอันนี้เราคิดว่ามันดีเดี๋ยวเราก็ไปยึดดีแล้วก็ไปยึดสิ่งที่ไม่ดีแล้วก็ไปยึดสิ่งที่มันผิด
แม้เราไปยึดสิ่งที่มันถูกนะอะไรทุกอย่างถ้าเราเข้าไปยึดมันโดยไม่มีปัญญานั้นมันผิดหมดละให้เข้าใจอย่างนี้เราเข้าไปยึดมั่นถือมั่นมันโดยที่ไม่มีปัญญาไม่มีเงื่อนไขอย่างนี้มันก็ผิด
ถึงแม้มันถูกอยู่ความถูกนั้นมันก็ไม่ผิดมันผิดอยู่ที่การที่เราเข้าไปยึดไปยึดความถูกไปยึดความผิดเช่นเราเป็นผู้ปฏิบัติของคนอื่นมันผิดของเรามันถูกอย่างนี้เป็นต้น
เห็นของเราถูกเห็นคนอื่นผิดอย่างนี้ถ้ามันเป็นก็ให้เป็นอาการอย่าไปเอาความแน่นอนกับมันอย่าไปยืนยันกับมันมากจะได้ความยืนยันมากก็คือเรียกว่ามันยังไม่แน่นอนนั่นเองเราปล่อย มิได้สงสัยในสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นมันรู้อยู่ในนั้นอันนี้คือการปฏิบัติเพราะอย่างนั้นการปฏิบัตินี้มันถึงต้องพยายามค่อยๆทำ ค่อยๆคิดค่อยๆพิจารณาเอารุนแรงมันก็ไม่ได้
เมื่อไปถึงที่ไหนก็ตามเถอะถ้าเราไปดูสถานที่ต่างๆในวัดเราก็ตามนอกวัดเราก็ตามอะไรก็ตาม หนังสืออะไรนั้นที่เขียนขึ้นมาก็ตามเถอะโดยมากก็อ้างว่าอันนี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งนั้นแหละแต่พระพุทธเจ้าเราก็ไม่เห็นคำสอนของท่านเราก็ไม่รู้อย่างนั้นท่านจึงสอนไว้ว่าอย่าไปเชื่อในสิ่งที่เขาว่ามันถูกอย่าไปเชื่อในสิ่งที่เขาว่ามันผิดตรงนั้นคนไปมากมันถูกตรงนั้นไม่มีคนไปตรงนั้นปฏิบัติไม่ถูกอะไรทั้งหลายเหล่านี้คือความเป็นจริงนั้นก็เป็นอย่างนั้นแหละท่านว่าอย่าไปยึดเอาทางเดียวเป็นกามสุขัลลิกานุโยโคก็ดีอัตตกิลม-ถานุโยโคก็ดี ถ้ามันเกิดขึ้นมานั้นท่านไม่ได้ยึดมันคือท่านให้รู้มัน
ถ้าไปยึดความสุขนั้นมันก็ผิดละมันเป็นกามไปเสียถ้าไปยึดทุกข์มันก็ผิดอีกแหละความเป็นจริงเรื่องสุขหรือเรื่องทุกข์นี้เป็นเรื่องจะให้เราพิจารณาปล่อยวางอย่าไปหมายมั่นมันอันนี้มันผิดผิดแล้วก็แล้วไปอันนี้มันถูกถูกแล้วก็แล้วไปอย่าไปยึดมั่นถือมั่นมันให้เรารู้
แต่เบื้องแรกเบื้องแรกจริงๆนะคนเรามันก็ต้องยึดถ้าจะให้ปล่อยเลยให้วางเสียมันก็วางไม่ได้วางอะไร ความยึดเราไม่มีนี่อย่างเรามีวัตถุในมือของเราอย่างนี้ท่านว่าเอามันทิ้งเสียคนนั้นมันก็รู้ว่าทิ้งก็ได้เพราะมันมีของที่จะทิ้งในมือของเราถ้าเราไม่มีอะไรจะทิ้งท่านว่าให้ทิ้งเสียก็ไม่มีที่จะทิ้งอะไรในมือเราไม่มีคือ ของมันไม่มี
ผมเคยเล่าให้ฟังมันชัดดี วันนั้นผมเคยเล่าว่านักปฏิบัติสองคนเถียงกันนั่งประชุมกันอยู่อย่างนี้มีลมอย่างหนึ่งกับมีธงอย่างหนึ่งธงมันก็ไหวตัวไปมาอยู่เรื่อยต่างคนต่างก็ดูอยู่คนหนึ่งก็ถามว่าธงไหวตัวเพราะอะไรอีกคนหนึ่งก็ตอบว่าเพราะลม คนที่สองก็ว่าไม่ใช่เป็นเพราะธงมันมีนี่เอาสิ มันมาตรงไหนล่ะ
ถ้าลมไม่มีธงก็ไม่ไหวตัวไม่แกว่งมันจึงเกิดความรู้สึกว่าคนหนึ่งว่าที่ธงมันจะแกว่งไปแกว่งมาเป็นเพราะลมไม่ใช่ คนที่สองว่ามันเป็นเพราะมีธงคนหนึ่งว่ามันเป็นเพราะมีลมมาพัดมันคนหนึ่งว่าไม่ใช่มันเป็นเพราะธงนี่ก็เถียงกันอยู่อย่างนี้ล่ะมันเหตุผลอย่างนี้เรื่อยไปถ้าไม่มีธงมันก็ไม่แกว่งถ้ามีธง ไม่มีลมมันก็ไม่กวัดแกว่งมันก็ติดกันอยู่ตรงนี้
นี่ถ้าเรามองเห็นง่ายๆมันก็เป็นแต่ธงกับลมเท่านั้นแหละมันจึงแกว่งเมื่อมันแกว่งแล้วก็เกิดปัญหาขึ้นมานี่ คนหนึ่งว่าเป็นเพราะมีลมคนหนึ่งว่าเป็นเพราะมีธง
ผู้ฉลาดท่านว่าท่านทั้งสองมันทุกข์ทั้งนั้นแหละถ้าท่านไปติดอยู่ในแง่นี้ท่านก็ทุกข์ทั้งนั้นแหละไม่มีทางพ้นแต่ถ้าหากว่าท่านรู้สึกว่าธงก็ไม่มี ลมก็ไม่มีแล้วมันก็หมดเรื่องปัญหามันก็จางไปปัญหามันก็หมดไปก็เพราะว่าธงนั่นก็สมมติขึ้นมาให้มันมีเป็นธงลมนั้นก็สมมติขึ้นมาให้มันเป็นลมมันเป็นเรื่องสมมติมันก็ติดสมมติกันอยู่อย่างนั้นแหละไม่มีทางที่จะไปเมื่อรู้จักการปล่อยวางธงมันก็ไม่มีลมมันก็ไม่มีมันเรื่องสมมติทั้งนั้นมันก็หมดปัญหามันก็ไม่เกิดขึ้นมาอันนี้ก็น่าเอาไปวิจัยน่าเอาไปพิจารณา
เราผู้ศึกษาอยู่นี่ก็เหมือนกันกำลังมาปฏิบัตินี้ปฏิบัติให้มันถูกเดี๋ยวนี้เราไม่รู้จักว่ามันถูกมันผิดผิดเราก็ไม่รู้จักถูกก็ไม่รู้จักมันไม่รู้จักผิดไม่รู้จักถูกตามความเป็นจริงคือสัจจธรรม.ดังนั้นพระพุทธ-เจ้าท่านจึงว่าอย่าไปยึดมันถูกก็เป็นฐานสมมติของเขาผิดก็เป็นฐานสมมติทั้งนั้นอย่าไปหมายมั่นมันเราว่าตรงนี้มันถูกเขาว่าผิด เป็นต้นพูดกันคำสองคำเราก็เลิกเรื่องมันก็หมดเขาว่าอันนั้นไม่ถูกเราว่าถูกก็พูดกันคำสองคำไม่ต่อมันก็หมดนี่ เรื่องมันจบลงอย่างนั้น

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-8 11:30 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ถ้าคนหนึ่งไปยันว่าถูกคนหนึ่งไปยันว่าผิดไม่ลงกันมันก็ทะเลาะกันเท่านั้นยิ่งผิดใหญ่เลยพูดถึงเรื่องจิตมันเป็นอย่างนั้นเรื่องธรรมะจริงๆคือปฏิบัติไปจนถึงว่ามันไม่มีปฏิบัติจนถึงว่ามันถึงความปล่อยวาง
ผู้ปฏิบัติมันก็แสดงกายแสดงวาจาของมันในที่นั่นแหละเพราะว่ากายกับจิตนี้มันเป็นของสืบเนื่องกันอย่างหน้าตาอวัยวะ กิริยาท่าทางของคนพ้นทุกข์มันเป็นอย่างไรมันก็พอมองเห็นได้ดังนั้น ผู้ปฏิบัติแล้วจึงมีความยิ้มแย้มแจ่มใสจึงมีความซาบซึ้งเพราะอะไรเพราะท่านไม่ยึดในสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นจิตใจก็เป็นปกติหน้าตาก็เป็นปกติไม่แสดงอะไรออกจากปกติทั้งนั้นจิตใจมันเป็นอยู่อย่างนั้น
ผมเคยพูดว่าการปฏิบัติของพวกเราทั้งหลายนั้นน่ะสมัยนี้มันก็ยิ่งมีมากหลายอย่างหลายประการยิ่งทำให้พวกเราทั้งหลายวุ่นวายกันมากเช่นว่าวัดหนองป่าพงเรานี้ปฏิบัติอย่างนี้บางคนก็ไม่ชอบบางคนก็ชอบนี่มันเป็นอย่างนี้บางคนมันก็เป็นธงนั่นแหละบางคนมันก็เป็นเพราะมีลมอย่างนี้สิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันจึงเป็นเครื่องวินิจฉัยด้วยตนเองธรรมเหล่านี้ท่านเรียกว่าเป็นปัจจัตตังรู้เฉพาะตัวของเราเฉพาะความเป็นจริงของเรามันเกิดขึ้นอย่างไรมันรู้ได้เฉพาะเจ้าของ
ที่ยั่วยวนก็คืออารมณ์ จริงๆอารมณ์นั้นมันไม่ยั่วยวนหรอกแต่มันยั่วยวนก็ยั่วยวนให้ความฉลาดเราเกิดมันปลุกให้เราศึกษาอารมณ์ให้ศึกษาอารมณ์ก็คือศึกษาโลกเมื่อศึกษาโลกรู้จักโลกแล้วก็คือรู้จักสุขรู้จักทุกข์ความสุขความทุกข์มันก็โลกนั่นเองเมื่อเข้าใจโลกแล้วก็ถึงซึ่งความสบายมันจึงเกิดความสุขมันจึงเกิดความทุกข์
ธรรมที่ปฏิบัตินี้พระพุทธเจ้าว่าให้ยึดสุขเบื้องแรกให้ยึดสุขยึดเรื่อยไปเถอะสุขแต่ยึดด้วยปัญญาของมันยึดไปเรื่อยๆแม้ว่ามันจะมีทุกข์เกิดขึ้นมาถึงมันหนักเราก็ไม่ยอมปล่อยมันไม่ยอมวางมันเพราะอะไรเพราะเราคิดว่าของนี้มันดีของนี้มันถูกอย่างนี้ยึดเรื่อยไปถ้าเขาว่าอันนี้ไม่ดีเราก็ไปทุกข์อันนี้ไม่ถูกเราก็ไปทุกข์มันก็ตั้งมานะให้เกิดขึ้นมาตรงนั้นอีกแหละ
ดังนั้นอารมณ์ที่มันกระทบอยู่ทุกวันนี้ถ้าเราพิจารณาซ้ำเข้าไปมันเป็นบุญคุณที่สุดที่จะปลุกตัวของเราให้ตื่นขึ้นมาดูอะไรต่างๆให้มันซาบซึ้งต่อไปให้มันรู้เรื่องมันที่เราไม่สบายก็เพราะว่าเราอยากให้มันเป็นอย่างนั้นไม่อยากให้เป็นอย่างนี้คำที่ว่าไม่อยากนั่นแหละคืออยากที่ว่าไม่อยากให้เป็นอย่างนี้เราไม่ชอบ นี่คืออยากล่ะไม่อยากน่ะมันกลับเป็นอยากเป็นกิเลส มันเป็นตัณหาอย่างเราเบื่อมันไม่อยากรู้มันไม่อยากเห็นมันนี่ก็นึกว่าเราเบื่อมันจึงเพิ่มความกำหนัดขึ้นเพิ่มความหลงขึ้นเท่าตัวมันอย่างนี้
คำว่า ความอยากหรือความไม่อยากสองอย่างนี้มันเป็นภาษาทำให้คนรู้สึกเท่านั้นแหละถ้าพูดถึงธรรมะที่พระองค์ท่านตรัสแล้วจริงๆนั้นมันก็เท่าๆกันความอยากนี้มันเป็นโทษเหมือนกันกับที่ว่าความไม่อยากนี้ก็เป็นโทษที่ว่าไม่อยากหรืออยากนี้มันอยากด้วยความโง่ไม่อยากก็ไม่อยากด้วยความโง่คือมันผิดน่ะเป็นทุกข์
เราจะไปวางของทั้งหลายเหล่านี้ที่ปฏิบัติไปนี้มันถึงมองไม่ออกมันไปยึดถือมั่นถือรั้นอยู่ไม่หยุดนั่นแหละมันก็เลยเกิดทุกข์ขึ้นมาได้ความเป็นจริงนั้นสิ่งที่มันถูกหรือสิ่งที่มันผิดสิ่งที่มันสุขมันทุกข์นั้นไม่ใช่สิ่งที่สงบนะ
อย่างเราเห็นว่าแหม! มันสุขใจมันสบายเหลือเกินอย่างนี้เป็นต้นที่มันสุขหรือทุกข์นั้นไม่ใช่ทางที่สงบนะไม่ใช่ที่สงบมันมีสุขปนอยู่นั่นมันมีทุกข์ปนอยู่นั่นแต่ว่ามันถูกอะไรมันถูกเด็กๆที่ปฏิบัติใหม่ๆมันสุข คือมันเอาอกเอาใจมันมีศรัทธาเกิดขึ้นที่จะปฏิบัติมันมีความอยากที่จะปฏิบัติต่อไปมันมีกำลังมีกำลังมันไม่สุขเฉยๆมันไม่ทุกข์เฉยๆมันเข้าไปยึดมั่นถือมั่นเสียด้วยอย่างนี้
สุขที่พระพุทธเจ้าท่านสอนทุกข์ที่พระพุทธเจ้าท่านสอนนั้นท่านพูดเป็นอาการของมันเท่านั้นลักษณะนั้นมันเป็นอย่างนั้นอาการมันเป็นอย่างนั้นเฉยๆสักแต่ว่าอารมณ์มันวูบขึ้นมาทีเดียวเท่านั้นมันก็หายไปก็ไม่มีอะไรตัวสุขนั้นมันก็ไม่มีตัวทุกข์นั้นมันก็ไม่มี
ถ้าเราไม่ยึดมั่นถือมั่นมันก็มีขึ้นมาตรงนั้นเดี๋ยวนั้นเช่นว่าเราได้ยินเสียงอย่างนี้เป็นต้นพอเสียงมันดังอย่างที่ว่าเราวางอะไรลงพื้นนี้มันเสียงดังเป๊ะยังไม่เกิดอะไรขึ้นมามีแต่เสียงเป๊ะเท่านั้นน่ะไม่มีอะไรมีแต่เสียงเฉยๆก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้นมายังไม่เป็นอะไรต่อไปถ้าเราคิดว่าเอ หรือตุ๊กแกมันหล่นลงพื้นต่อไปนะ เราก็กลัวเท่านั้นแหละหรืองูมันตกลงตรงนี้มันหล่นตรงนี้มันก็กลัวเท่านั้นแหละ
ทีหนึ่งมันกระทบเฉยๆแต่ทีสองน่ะมันต่อไปแล้วงูหรือตุ๊กแกหรืออะไรทั้งหลายต่อไป
เสียงก็เหมือนกันพอได้ยินปุ๊บแค่นี้มันก็มีเสียงเท่านั้นไม่ได้มีอะไรต่อไปต่ออีก พอกระทบมันก็จะเกิดอีกต่อหนึ่งนะนี่เสียงผู้หญิงนี่หรือเสียงผู้ชายมันต่อไป ความเป็นจริงเสียงครั้งแรกมันไม่เป็นใครมันมีสัมผัสเฉยๆเท่านั้นแหละพอมีเสียงพั่บขึ้นมาเท่านั้นแหละเออ...ผู้ชายหรือผู้หญิงๆมันไม่ว่าหรอกมันมีแค่เสียงเฉยๆพอต่อไปนี้เออ...เสียงผู้หญิงนี่พอใจว่าเสียงผู้หญิงเป็นต้นมันก็มีความรู้สึกที่ว่าเป็นผู้หญิงมันเป็นปฏิปักษ์กันกับผู้ชายและเมื่อคิดต่อเรื่อยๆไปมันเป็นอายตนะอย่างนั้นถ้าหากว่าเราเข้าใจในตัวของเราเข้าใจในจิตของเจ้าของนะมันก็ง่ายขึ้นความเป็นจริงมันคนละครั้งคนละคราว มันไม่ติดๆกันมันคนละอย่าง
ดังนั้นการปฏิบัตินี้ท่านว่าให้มีสติ เราก็ไม่ค่อยเข้าใจนักให้มีสัมปชัญญะก็ไม่ค่อยเข้าใจนักความเป็นจริงตัวสตินี่ตัวสัมปชัญญะนี่คือให้ระลึกได้ทำให้มันรู้ตัวสองอย่างนี้มันเป็นพื้นอยู่แล้วถ้ามีสิ่งทั้งสองอย่างนี้เป็นธรรมสองอย่างสติสัมปชัญญะสตินี้ก็แปลว่าระลึกได้สัมปชัญญะก็แปลว่ากลัวเมื่อเกิดสองอย่างนี้มันจะไปดึงเอาปัญญามาวิ่งเข้ามาดูสิรู้ไหม กลัวไหมหรือไม่กลัวไหมอะไรไหมมันจะรู้แจ้งเพราะปัญญากระทบเข้ามาอีกดึงเข้ามาดูอย่างนี้อันนี้พูดถึงอาการจิตมันก็ต้องเป็นไปอย่างนี้มันต่อไต่ไปอย่างนี้
เพราะฉะนั้นเมื่อเราตั้งใจปฏิบัตินั้นสิ่งที่เราทำอยู่ทุกวันนี้ให้มันมีสติให้มันมีสัมปชัญญะให้มันมีปัญญาให้มันรู้รอบอยู่เสมอสำรวมระวังให้มันเกิดขึ้นมาเช่นว่าการบริโภคอาหารอาหารทั้งหลายเหล่านี้มันเป็นของสะอาดอยู่ไม่ใช่มันเป็นของสกปรกมาตั้งแต่เดิมของมันการห่มผ้า ผ้าจีวรผืนนี้เราใช้ไปต่อไปมันสกปรกไม่ใช่ว่ามันสกปรกมาแต่เดิมของมันอะไรทั้งหมดที่เราใช้กันอยู่นี้แหละมันสกปรก มันคร่ำมันคร่าอันนี้มันเป็นขึ้นมาใหม่เพราะเอามันมาใช้อย่างจีวรนี่จีวรที่มันสดใสนี่มันไม่สกปรกหรอกแต่เมื่อมันมาถูกกายของเรามันจึงสกปรกนี่มันก็แก้ทิฏฐิความเห็นของเราสิ
ถ้าหากว่ากายเรามันสวยมันงามนี่ผ้าที่สะอาดอยู่มาถูกเข้าทำไมมันถึงสกปรกมันส่อให้เห็นอย่างนั้นสิ่งทั้งหลายมันก็ตามไปเรื่อยๆเช่นอาหารการขบฉันอย่างที่เราสวดกันอยู่ทุกวันนี้สวดชัดทั้งนั้นแหละอาหารนี้มันไม่ใช่เป็นของสกปรกมาแต่เดิมมันนะเมื่อมาถูกเข้าในกายอันไม่สวยมันเลยสกปรกไปเสียพูดง่ายๆคือมูตรหรือคูถเรานี่เอง
มูตร คูถ มันเป็นของสะอาดทั้งนั้นแหละอย่างน้ำที่เราฉันเราดื่มไปนี่น้ำในขวดนี่มันเป็นของที่สะอาดเมื่อเราดื่มเข้าไปแล้วน่ะออกมามันเป็นปัสสาวะเหม็น ความเหม็นเช่นนี้ไม่ใช่ว่ามันเหม็นมาแต่เดิมมันนะมันเข้าไปในท้องเราแล้วออกมามันถึงเหม็นแสดงว่าน้ำนี้มันมาสกปรกเมื่อมันมาถูกร่างกายของเรานี่เองไม่ใช่ว่ามันสกปรกมาแต่ก่อน
อาหารการขบฉันเรานี้ก็เหมือนกันมันเป็นของเอร็ดอร่อยมันเป็นของที่สะอาดมาอย่างนี้แต่ว่าเมื่อเข้ามาถูกในร่างกายของเราแล้วนะเอาออกมาแล้วทีนี้ปิดจมูกเสียแล้วมองดูก็ไม่ได้อะไรมันก็ไม่ได้เพราะอะไรอาหารนี้มันสกปรกเมื่ออยู่ในกายเรานี้เท่านั้นแต่ก่อนมันไม่สกปรกมันมาสกปรกที่มาถูกกายเราเข้าเท่านี้มันก็เกิดเป็นของสกปรกอันนี้มันคือความจริงคือมันชัดเข้าไปอีกทีหนึ่ง
นี่ถ้าเราคิดดูสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เสนาสนะที่เราอยู่นี้ให้มันคุ้มฟ้าคุ้มฝนไม่เอาอะไรให้มันเกินไปกว่านั้นมากมายถ้าเราได้อยู่สิ่งที่มันดีก็ดีที่เขาสมมติว่ามันดีมันร้ายก็เอาคุ้มฟ้าคุ้มฝนนั่นแหละเป็นประมาณของมันอยู่ก็ให้สบายให้สงบ ไม่ได้ติด
ยาก็เหมือนกันยาบำบัดโรคอันนี้มันก็เป็นปัจจัยที่พวกเราทั้งหลายจะอาศัยกันในยามเจ็บไข้ได้ป่วยเพื่อไม่ให้โรคเบียดเบียนเพื่อจะได้มีโอกาสทำความเพียรเต็มที่ไม่ให้มันมากกว่านั้นปัจจัยที่พวกเราทั้งหลายจะอาศัยคือจีวร บิณฑบาตเสนาสนะ เภสัชนี่ ท่านได้พูดเท่านี้ที่เราปฏิบัติกันนี่น่ะให้มันอยู่เถอะเรื่องจีวรก็ให้รู้จักรักษาผ้ารู้จักสบง รู้จักจีวรรู้จักประมาณอย่าให้มันมากเกินไปอย่าให้มันน้อยเกินไปให้มันรู้จักคือท่านไม่ให้ติดนั่นแหละไม่ให้ติดในสิ่งทั้งหลายเหล่านี้
เรื่องของสมณะนี้ไม่ใช่เรื่องมากเรื่องจีวรบิณฑบาต เสนาสนะเภสัชท่านจึงให้ดูอยู่นี้เพื่อให้เห็นของทั้งหลายเหล่านี้ชัดเข้าไปแล้วก็น้อมเข้ามาเป็นโอปนยิกธรรมน้อมเข้ามาในตัวของเรามีอะไรไหมดูทีละชิ้นจะเห็นของไม่ค่อยสวยเห็นของไม่งดงามเห็นของเหม็นสาบเหม็นคาวทุกอย่างอย่างนี้เราพยายามคิดไปอย่างนี้เราพยายามน้อมไปอย่างนี้
เมื่อเราพิจารณาสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ติดต่อกันของทั้งหลายเหล่านี้ก็หมดราคาไม่สวยไม่งามไม่กำหนัด ไม่รักใคร่หยิบขึ้นมาก็เรียกว่ามันรู้มันเห็นสักแต่ว่าเท่านั้นแหละตัณหามันก็ไม่เกิดอุปาทานมันก็ไม่เกิดมีความเห็นว่ามันเป็นอย่างนี้เองจุดรวมคือท่านให้รู้เท่าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เพื่อเราจะวางได้ปล่อยได้ รู้แล้วมันวางได้เช่นว่าเราไม่รู้จักเรากำงูอยู่อย่างนี้เราสำคัญว่างูเป็นสัตว์อื่นเป็นสัตว์ที่เราเอาไปทำอาหารได้และก็สำคัญว่ามันไม่มีพิษอะไรมันก็ไม่กลัวเพราะไม่รู้จักมันเพราะไม่เห็นมัน

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-8 11:30 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ถ้าเรามารู้มาเห็นตามความเป็นจริงของมันเราจะเกิดกลัวขึ้นมาเดี๋ยวนั้นสกลร่างกายของเรานี้ก็เหมือนกันหรือความยึดมั่นถือมั่นนี่ก็เหมือนกันถ้าเราไม่เห็นโทษก็ยึดอยู่นั่นแหละมันปล่อยไม่ได้มันวางไม่ได้มันก็เป็นเรื่องอย่างนี้
การพิจารณาเรื่องอาหารที่เราเองเป็นที่พึ่งอาศัยมันอยู่นี่ก็เพื่อให้รู้จักว่ามันเป็นอย่างนั้นมันไม่มากไปกว่านั้นทีนี้เมื่อเรารู้เห็นตามความเป็นจริงไปเช่นนั้นมันก็เป็นสัจจธรรมเมื่อมันเป็นสัจจธรรมมันก็ไม่แปรเปลี่ยนถึงแม้มันแปรเปลี่ยนมันก็เป็นสัจจธรรมอย่างนี้เช่นว่าอนิจจัง มันไม่เที่ยงมันแปร มันไม่เที่ยงมันก็เป็นสัจจธรรมอยู่นั่นแหละเรื่องที่มันแปรเปลี่ยนไปนั่นเป็นต้น มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้นมันก็เป็นสัจจธรรมเหมือนกันมันคงที่ของมันอยู่อย่างนั้น
แต่ว่าข้อปฏิบัติทั้งหลายเหล่านี้เราพึงเสียสละทิฏฐิคือความเห็นของเราความเห็นของเรากับความยึดมั่นถือมั่นของเราถ้าเรามาเห็นว่าอันนี้มันเป็นอนิจจังทุกขัง อนัตตาเมื่อไรเป็นต้นความยึดมั่นถือมั่นที่มันยึดสม่ำเสมอเรื่อยๆมาถ้าเราเห็นว่าของอันนี้มันไม่มีราคามันไม่ใช่ของจริงมันเป็นเรื่องของสมมติมันก็วาง
อารมณ์ที่มันมากระทบทางตาก็ดีทางหูก็ดี ทางจมูกก็ดีทางลิ้นก็ดีทางกายก็ดีทางจิตก็ดีมันก็เหมือนคนภายนอกคนภายนอกมันเป็นตัวเป็นตนเป็นรูปธรรมแต่เมื่อเราไปพบเข้าเสร็จแล้วกลับให้มันเปลี่ยนเข้าไปเป็นนามธรรมติดอยู่ในใจของเรา
ถ้าเรารู้จักอารมณ์ภายในมันก็รู้จักอารมณ์ภายนอกรู้จักอารมณ์ภายนอกมันก็รู้จักอารมณ์ภายในที่ท่านกล่าวว่าอชฺฌตฺตา ธมฺมาพหิทฺธา ธมฺมาภายในมันก็เป็นอย่างนี้ภายนอกมันก็เป็นอย่างนั้นทั้งภายนอกภายในเอามาปนกันเข้าอีกมันก็เป็นอยู่อย่างนั้นถ้ามันเห็นชัดขึ้นเมื่อไรก็เป็นความเห็นชัดในธรรมะไม่ใช่ว่านั่งอยู่มันเห็นชัดยืนมันเห็นชัดนอนมันเห็นชัดอะไรก็ช่างไม่เกี่ยวกับอิริยาบถมันจะยืนอยู่ก็ตามจะเดินก็ตามจะนั่งก็ตามจะนอนก็ตาม ฉะนั้นท่านจึงว่าทำจิตให้มันสม่ำเสมอกับอิริยาบถทำอิริยาบถให้มันเสมอการยืนการเดิน การนั่งการนอน เรียกว่าอิริยาบถ
ผู้ที่มีความรู้สึกควบคุมอิริยาบถการยืน การเดินการนั่ง การนอนถ้ามันยืนอยู่เมื่อเราสัมผัสกระทบอารมณ์ขึ้นมามันก็มีความรู้สึกอย่างนั้นคือว่ามันเป็นของไม่เที่ยงไม่แน่นอน มีกลิ่นก็ช่างมีรสก็ช่างมีโผฏฐัพพะก็ตามมีธรรมารมณ์อะไรก็ช่างมันเถิดเราจะยืนอยู่มันก็เห็นอย่างนั้นเราจะนั่งอยู่มันก็เห็นอย่างนั้นเราจะนอนอยู่มันก็เห็นอย่างนั้นมันเห็นอยู่อย่างนั้นนี่ก็เรียกว่ามันเป็นหนึ่งมันเห็นชัด
ถ้าเห็นสิ่งทั้งหลายเหล่านี้การตรัสรู้ธรรมะการรู้เห็นธรรมะนี่พระพุทธเจ้าจึงว่าไม่แน่นอนบางองค์ก็ยืนบางองค์ก็นอนฉะนั้นท่านจึงทำสตินี้ให้มันมีอยู่เสมอบางองค์ฉันจังหันอยู่เท่านั้นแหละ
ผมว่าถ้ากำหนดฉันจังหันเท่านั้นแหละกำหนดดีๆ ผมว่ามันเกิดความรู้หลายประการทีเดียวละเราเพ่งลงในอาหารเรานั่งพิจารณาโดยฉันแล้วกำหนดรู้จักทั้งอาหารที่จะกำหนดว่าไม่ถูกกับร่างกายเรานี้ด้วยและรู้จักประมาณมันก็รู้จักชัดเจนรู้ซึ่งอาหารก็รู้จักนี่เรียกว่ากำหนดอาหาร
รู้ความเป็นจริงนั้นอาหารก็เรียกว่าเป็นโทษอันหนึ่งแต่มันก็เป็นประโยชน์อันหนึ่งสำหรับให้คนนั้นมันป่วย ไม่สบายก็เพราะอาหารถ้าเรารู้จักอาหารตามเป็นจริงแล้วมันก็เกิดประโยชน์อย่างคนเสียท้องเสียไส้อะไรต่างๆนี้ถ้าเรากำหนดอาหารมาแล้วมันจะรู้จักว่าของนี้มันแสดงตั้งแต่มันเข้าไปในปากของเราตั้งแต่ครั้งแรกถ้าเรากำหนดเข้าไปถึงที่แล้วมันจะรู้จักทีเดียวละมันจะถอนออกมันจะรู้จัก
ดังนั้นการกำหนดอาหารนี้มันจึงเป็นยาเป็นยาอันหนึ่งให้พินิจพิจารณาอย่างนั้นแล้วมันถึงเกิดปัญญาถ้าเราดู เรามองดูในบาตรเราเพ่งดูในบาตรอย่างที่พระพุทธองค์ท่านว่าเมื่อฉันบิณฑบาตให้มองแต่ในบาตรอย่ามองดูบาตรผู้อื่นเพื่อหวังจะยกโทษอย่าให้เมล็ดข้าวตกลงในบาตรอย่าให้เมล็ดข้าวตกลงในที่นั้นๆนี่มันจะรู้เห็นหมดครับถ้าเรากำหนดลงไปเดี๋ยวนั้นอะไรมันเสียหายไม่ดีในลักษณะอันนี้ถ้าเรามีสติอยู่เท่านั้นแหละมันต้องคุ้มพระวินัยมันต้องมี มันต้องรู้จักมีสัมปชัญญะอยู่มันก็กลัวอยู่เท่านั้นละเมื่อสิ่งทั้งหลายเหล่านี้มีอยู่ปัญญาก็มาช่วยมันต้องเกิดปัญญาเกิดขึ้นมามันเป็นเช่นนั้นมันก็เลยสงบระงับไปในตัวของมัน
การนั่งอยู่ก็ดี..การยืนอยู่ก็ดี.การเดินก็ดีการนอนก็ดีอิริยาบถทั้งสี่นี้ให้มันมีความรู้ชัดอย่างเดียวกันคือมันสม่ำเสมอยกตัวอย่างง่ายๆเช่นว่า แมวเรามองเห็นแมวที่นี่เรานั่งอยู่เห็นก็เป็นแมวถ้าเรายืนขึ้นมองก็เป็นแมวอยู่ถ้าเรานอนมองไปก็เห็นเป็นแมวอยู่ถ้าเราวิ่งไปเราก็เห็นเป็นแมวอยู่จะยืน จะเดิน จะนั่งจะนอน ไม่มีเปลี่ยนเป็นแมวทั้งนั้นอย่างนี้เรียกว่ามันไม่เปลี่ยนแปลงอิริยาบถเหล่านี้มันเสมอมันเห็นอารมณ์นั่นชัดอยู่
ไม่ใช่ว่าอิริยาบถเสมอก็นั่งให้มันเสมอยืนยืนให้มันเสมอนั่งไม่ใช่เวลาอย่างนั้นมันใช้ความรู้สึกรู้สึกอย่างว่าเรานั่งอยู่เราก็เห็นมันเป็นแมวอย่างนี้เรายืนขึ้นก็มีความรู้สึกว่ามันเป็นแมวเรานอนลงก็เห็นว่ามันเป็นแมวมันเป็นแมวอยู่เท่านั้นละมันไม่เปลี่ยนแปลงล่ะนี่ที่ว่าอิริยาบถเสมอนั่นคือความรู้สึกอย่างนี้มันไม่เปลี่ยนแปลงก็เพราะว่ามันเป็นแมวจริงๆนี่มันจึงไม่เปลี่ยนไม่ใช่ว่านั่งอยู่เป็นแมวลุกขึ้นมันเป็นสุนัขเดินไปมันก็เป็นสุกรอะไรไปอย่างนั้นไม่ใช่อย่างนั้นมันคงที่ คือมันชัดอย่างนี้เรียกว่าอิริยาบถมันเสมอ
บางคนก็ไปจัดว่าการภาวนานั้นยืนก็ให้เท่ากันกับนั่งนั่งก็ให้เท่ากับนอนนอนให้เท่ากันกับเดินอันนี้ก็ทำได้อยู่แต่ทำได้ชั่วคราวเต็มทีถ้าหากพูดถึงความรู้สึกจริงๆแล้วมันจะต้องอิริยาบถเสมอกันคือความรู้สึกมันเสมอกันถ้าเรารู้จักอารมณ์ที่มันเสมอกันนะเราจะไม่ว่ากลางวันหรือจะว่ากลางคืนกระทบอะไร เป็นต้นจิตของเราจะมีหลักอยู่อย่างนั้นมันไม่ซ้ำเติมอะไรทั้งหลายทั้งนั้นล่ะเรียกว่าเป็นปกติจิตมันเป็นปกติเรียกว่า ปกติจิตมันเป็นปกติจิต
ในความเป็นจริงท่านกล่าวไว้ว่าจิตไม่ค่อยเป็นปกติอยู่อย่างนี้แต่ว่าเมื่อมันจะผิดปกตินั้นก็เพราะว่าเสียงมากระทบกลิ่นมากระทบรสมากระทบโผฏฐัพพะมากระทบมันก็เปลี่ยนเปลี่ยนไปทำไมเพราะมันหลงอารมณ์มันหลงไปตามรูปตามเสียง ตามกลิ่นตามรสมันหลงไปอย่างนั้นมันก็เปลี่ยนสิมันเปลี่ยนไปตามอารมณ์นั่นแหละนี่คือจิตมันไม่รู้จักคือจิตมันประกอบด้วยความโลภโกรธ หลง อยู่นี่มันก็ต้องเปลี่ยนเปลี่ยนไปตามนั้นตามรูป ตามเสียงตามกลิ่น ตามรส
ทีนี้ไม่ใช่ว่ารูปมันให้เปลี่ยนไปความรู้สึกเราเองนั้นพาให้เปลี่ยนไปอันนี้เราชอบมันก็เปลี่ยนไปอย่างหนึ่งอันนี้เราไม่ชอบมันก็เปลี่ยนไปอีกอย่างหนึ่งความเป็นจริงสิ่งทั้งหลายก็เป็นปกติของมันดังนั้นโลกนี่พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนไว้ว่าโลกวิทู ให้รู้แจ้งโลกรู้แจ้งโลกก็คือ รู้แจ้งซึ่งอารมณ์นั่นแหละอารมณ์ก็เหมือนกับโลกโลกมันก็เหมือนอารมณ์ถ้าเรารู้อารมณ์เราก็รู้โลกอันนี้อย่างแจ่มใสถ้าเราไม่รู้จักอารมณ์เราก็ไม่รู้โลกอย่างแจ่มใส
พระพุทธเจ้าท่านเห็นท่านจึงตรัสรู้เป็นโลกวิทูผู้รู้แจ้งซึ่งโลกพระพุทธเจ้าท่านก็ตรัสรู้อยู่ในโลกนี้แหละตรัสรู้อยู่ในรูปนี่ในเสียงนี่ในกลิ่นในรส โผฏฐัพพะธรรมารมณ์นี่ไม่ใช่ว่าท่านหนีไปที่ไหนหรอกท่านเห็นสิ่งเหล่านี้มันชัดอารมณ์ทุกอย่างมันก็สม่ำเสมอของมันที่เราว่ามันดีมันชั่วมันสุขมันทุกข์ก็เพราะความรู้สึกของเราเท่านั้นแหละอันนั้นมันก็เป็นธรรมดาอยู่เป็นปกติของโลกนี้จิตใจของเราไม่ได้โทษอะไรทั้งนั้นแหละไม่ได้โทษ

5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-8 11:31 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
นอกจากนั้นก็ย้อนมาในตัวของเราเช่นว่า เราเกิดมาแล้วมันแก่ มันเจ็บมันตาย อย่างนี้เป็นต้นถ้าเราไม่รู้จักก็น้อยใจดีใจเสียใจอะไรทั้งหลายเหล่านี้ในรูปในนามนี้ในความเป็นจริงสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เขาเป็นอย่างนี้ของเขาเองมาแล้วไม่ใช่ว่าเขาเพิ่งเป็นเดี๋ยวนี้
เรามาพบในเวลานี้ก็ดูเหมือนว่ามันเป็นอย่างนี้โลกเขาเป็นมาอย่างนี้แต่ไหนแต่ไรมามันเป็นเองอย่างนี้ไม่ใช่ว่ามันเป็นอย่างอื่นที่มันจะเปลี่ยนแปลงไปนี้ก็เพราะจิตของเรานั่นเองไปหมายมั่นในสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นมันจึงเกิดความดีใจขึ้นมันจึงเกิดความเสียใจขึ้นเท่านั้นอันนี้มันก็ไม่มีอะไรที่เราปฏิบัตินี้ก็ไม่ต้องหมายอันนี้มันซึ้งมันลึก
ที่เราปฏิบัติกันทุกวันนี้ก็ให้รู้จักอยู่ในขอบเขตของเราที่เรามาปฏิบัตินี้มันอยากจะได้ตามปรารถนาของเราทุกประการนั่นมันก็ไม่ได้เพราะมันเป็นอย่างนั้นนี้เรียกว่าการปฏิบัติให้เห็นชัดเจน
อยากจะเห็นสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นก็ให้เห็นตัวของเราจะยืนให้มีสติจะนั่งให้มีสติจะนอนให้มีสติพูดไปถึงไหนก็เรื่อยไปท่านก็ย้ำอยู่ตรงนี้ล่ะเพราะมันเป็นรากฐานอยู่ตรงนี้
อย่างที่ผมเคยพูดว่าอยู่ด้วยกันมากๆอย่างนี้ก็เหมือนอยู่คนๆเดียวเราจะมองได้ง่ายๆถ้ามันรักคนนี้นี่มันก็เริ่มจะผิดแล้วในใจเราเราก็รู้ว่ามันผิดแล้วมันเกลียดคนโน้นนี่เราก็รู้ว่ามันเริ่มจะผิดแล้วเพราะท่านสอนว่าไม่ให้รักใครไม่ให้เกลียดใครมันจะเกลียดมันจะรักใครมันเป็นอาการเท่านั้นแหละมันอยู่นอกใจของเราไม่อยู่ในใจของเราอย่างนี้พูดอย่างหนึ่งใจมันก็เป็นอย่างหนึ่ง
ดังนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสว่าอาโลโก อาโลโกมันสว่างอยู่ทั้งกลางวันกลางคืนธรรมของพระพุทธเจ้าอาการของธรรมทั้งหลายมันเป็นอาการอยู่สว่างไสวอยู่ตลอดเวลาแต่บางทีเราก็ทุกข์ใจบางทีเราก็สุขใจบางทีเราก็ดีใจบางทีเราก็เสียใจไม่ใช่เป็นเพราะสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นมันเป็นเพราะความเห็นผิดของเรานี่เองมันถึงเป็นอย่างนั้น
ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงให้โอปนยิโก ให้น้อมเข้ามาอย่าน้อมออกไปให้น้อมเข้ามาน้อมเข้ามามาใส่ตัวของเรานี้เพื่อจะเห็นชัดๆมันมีฐานพยานอยู่ที่ตรงนี้เมื่อปฏิบัติใหม่ๆพูดอย่างนี้มันก็ไม่รู้จักหรอกมันไม่รู้จักมันจะรู้จักเมื่อไรรู้จักเมื่อเราปฏิบัติไปนั่นแหละเพราะสิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันเกิดจากการปฏิบัติที่วันนี้เรียกว่าการพูดกันมันเป็นอย่างหนึ่งการพูด มันได้ยินเสียงมาถึงหูเราเมื่อไรถึงใจจึงพิจารณาเอาไปพิจารณาไปปฏิบัติ อย่างนี้มันจะค่อยๆเกิดขึ้นคนมีปัญญามากมันก็เกิดขึ้นเร็วคนมีปัญญาน้อยมันก็เกิดขึ้นช้าไม่มีปัญญาเลยมันก็ไม่เกิดมันเป็นเสียอย่างนั้น
การนั่งสมาธิก็อย่าไปว่าอะไรมันเลยการนั่งสมาธินี่สมาธิคือความตั้งใจมั่นเราถอนกลับมานี่สมาธิคือความตั้งใจมั่นถ้าเรามั่นใจในข้อปฏิบัติเราอย่างนี้มันก็เป็นสมาธิส่วนหนึ่งแต่ว่ามันยังไม่เป็นผลคือมันยังเป็นดอกออกจากดอกมันก็เป็นผลมันก็เป็นผลเล็กมันก็เป็นผลใหญ่เรื่อยๆของมันไปอย่างนั้น
สิ่งที่เป็นปัจจัยนิสัยของคนนี่มันไม่เหมือนกันสิ่งที่มันฝังอยู่นี่เรายังไม่เห็นมันเช่นผลมะม่วงเม็ดมะม่วงเม็ดขนุนนี้เราไม่รู้จักมันนะวันนี้เราได้ฉันขนุนเอายวงขนุนมาฉันนะหยิบเม็ดมันขึ้นมาอันนั้นล่ะคือเราแบกต้นขนุนอยู่แล้วแต่เราไม่รู้จักเอามะม่วงขึ้นมาฉันสักใบหนึ่งหยิบเม็ดมันขึ้นมาอันนั้นคือเราแบกต้นมะม่วงอยู่ทั้งต้นเราไม่รู้เรื่องของเราเอาเม็ดทุเรียนจับขึ้นมาฉันนั่นคือเราแบกต้นทุเรียนอยู่ทั้งต้นแบกแต่ก็ไม่รู้จักมันไม่ชัด
หยิบเม็ดขนุนขึ้นมาน่ะหยิบต้นขนุนทั้งต้นขึ้นมาแต่เวลานั้นมันยังไม่เห็นหรอกจะเอาไปทุบดูมันก็ไม่เห็นต้นมันคือมันละเอียดมันเป็นจุลมีจุลที่ละเอียดๆนั่นแหละจะว่าต้นมันอยู่ตรงไหนใบอยู่ตรงไหนดอกมันอยู่ที่ตรงไหนกิ่งมันอยู่ที่ตรงไหนไม่ได้ ไม่เห็นถ้าไม่เห็นเราก็รู้สึกว่าไม่มีต้นไม้ไม่มีอะไร คือมันยังไม่ถูกส่วนของมันถ้าเราเอาเม็ดมันไปฝังลงในดินสิมันจะงอกขึ้นมาต้นก็จะเกิดขึ้นมาใบก็จะเกิดขึ้นมากิ่งมันก็จะเกิดขึ้นมาต่อไปมันโตขึ้นดอกมันจะเกิดขึ้นมาผลเล็กมันจะเกิดขึ้นมาผลโตมันจะเกิดขึ้นมาผลที่สุกๆมันจะเกิดขึ้นมาอย่างนั้น



แต่ว่าเมื่อมันยังเป็นเม็ดอยู่เช่นนี้เราชี้มันไม่ถูกคนจึงไม่สนใจความเป็นจริงถ้านักปฏิบัติเรานี่หยิบมะม่วงขึ้นมาสักลูกหนึ่งคือเราแบกต้นมะม่วงอยู่แล้วถ้าเรารู้จักอย่างนี้มันก็สบายสิเมื่อเกิดทุกข์ขึ้นมามันก็ตายแล้วอย่างเราหยิบขนุนขึ้นมาฉันมะม่วงขึ้นมาฉันเราก็เห็นอะไรมันบังอยู่รสหวานมัน รสมันมันรสเปรี้ยวมันเราไม่มองไปถึงต้นมะม่วงอยู่ในนี้มองว่าอันนี้มันหวานดีนะอันนี้มันอร่อยเท่านั้นล่ะกั้นไว้ สิ่งทั้งหลายนี้มันกั้นไว้ไม่เห็นต้นมะม่วงในเม็ดมะม่วงไม่เห็นต้นขนุนในเม็ดขนุน
เรานี้ก็เหมือนกันฉันนั้นเราทับอยู่นั่งทับอยู่ซึ่งธรรมะนอนก็ทับอยู่ซึ่งธรรมะเดินไปก็เหยียบธรรมะทุกก้าวแต่เราก็ไม่รู้ว่าเราเหยียบธรรมะเรียกว่าปฏิบัติธรรมะธรรมมันอยู่ที่ไหนอย่างนี้เป็นต้นอย่างเราจับเม็ดมะม่วงขึ้นมาต้นมะม่วงอยู่ที่ไหนเห็นโน่นต้นใหญ่ๆโน่นความเป็นจริงต้นที่เราหยิบอยู่นี้ไม่เห็นทำไม มันยังไม่สมดุลของมันเพ่งกำหนดพิจารณาเอาให้มันเห็นถึงใจรู้แจ้งซึ่งอารมณ์รู้โลกอย่างแจ้งชัดเป็นโลกวิทู

ที่มา http://www.ubu.ac.th/wat/ebooks/ ... _of_the_Samana.html

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้