ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

10 อันดับ มัมมี่ชื่อดัง

[คัดลอกลิงก์]
11#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-7 13:00 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        1. Lady Dai (Xin Zhui)
                                                   


                            ปี 1972 นักพยาธิวิทยา เฟิงหลวงเฉียง เป็นหัวหน้าคณะผ่าชันสูตรศพครั้งประวัติศาสตร์ของจีน ร่างของหญิงชาวจีนอายุ 2,000 ปี ถูกเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี ศาตราจารย์เฟิงและทีมงาน จึงผ่าศพได้ง่ายไม่ต่างจากศพทั่วๆ ไป ผิวหนังยังคงอ่อนนุ่ม และมีความยืดหยุ่น สีของผิวหนังยังคงเป็นสีเนื้อ เหมือนสมัยที่นางยังมีชีวิตอยู่ เส้นผมของนางยังคงมีสภาพเดิม และพบว่ามีวิกผมติดอยู่อีกด้วย เมื่อทีมงานผ่ากะโหลกศีรษะ พวกเขาก็ต้องประหลาดใจ สมองของมัมมี่หญิงชาวจีนมี ขนาดเพียงครึ่งหนึ่งของสมองปกติ แต่มีสภาพสมบูรณ์ดี จากนั้น ศาตราจารย์เฟิงก็เริ่มผ่า บริเวณหน้าอก เขาพบอวัยวะภายในร่างกายอยู่ในสภาพดีมาก ใกล้เคียงกับคนที่ยังมีชีวิต ทีมชันสุตรผ่าเอากระเพาะอาหาร รังไข่ และอวัยวะอื่นๆ ออกมา ที่น่าประหลาดใจก็คือ เนื้อของศพยังคงใกล้เคียงสภาพเดิม จอร์น ฮีราโน จากมหาวิทยาลัยจูแลนด์ ก็เช่นเดียวกัน จอร์น บอกว่า สิงที่มัมมี่จีนแตกต่างจากที่อื่นก็คือ ความยืดหยุ่นของแขนขา ครั้งแรกเขาเห็นแขนขาของมัมมี่ ยกเคลื่อนไหวได้ และในด้วยยึดหยุ่นนั้น จอร์น รู้สึกตกใจมาก เพราะไม่เคยเห็นมัมมี่โบราณที่ไหนทำได้แบบนี้ ถ้าเป็นมัมมี่แบบที่อื่น แขนขาคงจะหักไปแล้ว จอร์น ไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะขยับแขนขามัมมี่ที่อายุ 2,000 ปีอย่างนี้ได้ แต่ก่อนที่ศาสตราจารย์เฟิงหลวงเฉียงจะเริ่มต้น ชันสูตรศพ นักโบราณคดีต่างก็รู้กันดีกว่า มัมมี่หญิงชาวจีนที่พบจากหม่าหวังตุ้ย ไม่ใช่มัมมี่ ธรรมดา นางน่าจะมีชื่อว่า ชินชุ่ย (Xin-Zhui ) และ เสียชีวิตเมื่อประมาณ 160 ปี ก่อนคริศตกาล และนางก็มีชื่อเสียงตั้งแต่อดีตมาจน มาจนถึงปัจจุบัน เมื่อ 2,000 ปี ก่อน ชินชุ่ย เป็นภรรยาของขุนนางแห่งไต๋ แต่ปัจจุบัน ร่างของนางถูกเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ของมนฑลหูหนาน ซึ่งมีหุ่นจำลองรูปร่างเหมือนนางทุกประการหุ่นจำลองของชินชุ่ย ได้สัดส่วนมาจากร่างมัมมี่ของนาง แต่ ศาสตราจารย์ เฟิง กลับเห็นแตกต่างออกไป หลังจากผ่าชันสูตรศพชินชุ่ย ด้วยตนเอง ศาสตราจารย์เฟิงบอกว่า สภาพศพของชินชุ่ย ดูเหมือนจะหดตัวเล็กน้อย รอยย่นบนผิวหนังบอกเราว่า เมื่อนางยังมีชีวิตอยู่ชินชุ่ยมีรูปร่าง ค่อนข้างอ้วน มีน้ำหนักประมาณ 68 กิโลกรัม สันนิฐานว่านางคงชอบรับประทานอาหารเป็นชีวิตจิตใจ สังเกตุได้จากข้าวของเครื่องใช้บริเวณสุสานของชินชุ่ย ซึ่งมีทั้งหมดมากกว่า 1,000 ชิ้น โดยจำนวน 2 ใน 3 เกี่ยวข้องกับอาหารการกินทั้งสิ้น ชินชุ่ยคงมีแผนที่จะกินอาหารเหล่านี้ ในภาชนะที่ลงลักษณ์อย่างสวยหรู นับว่าเป็นภาชนะอาหารจีนชุดใหญ่ ที่สุดที่เคยพบมาเลยทีเดียว ทีมผู้เชี่ยวชาญพบว่า อวัยวะส่วนต่างๆ ของชินชุ่ย ยังคงสภาพอยู่เหมือนเดิม ผู้เชี่ยวชาญต่างต้องประหลาดใจ เมื่อได้ทราบความจริงเช่นนี้ หลายศตวรรษก่อนชาวจีนสมัยโบราณรู้จักวิธีรักษาศพแบบมัมมี่ได้อย่างไร ทุกวันนี้นักวิทยาศาสตร์ ทั่วโลกก็ยังหาคำตอบไม่ได้ จอห์น ฮีราโน นักพยาธิวิทยาบอกว่า ถ้าศพถูกฝังแค่ปีเดียว ก็ยังไม่น่าประหลาดใจเท่าไหร่ แต่ศพถูกฝังมานานกว่า 2,000 ปีแล้ว กลับมีสภาพสมบูรณ์ ซึ่ง เป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ หรือว่าแท้จริงศพของ ชินชุ่ยคงสภาพอยู่ได้นานถึง 2,000 ปี ก็เพราะโชคช่วย ? อีก 2 ปี ต่อมา ในปี 1974 ห่างจากสุสานของชินชุ่ย ที่หม่า หวังตุ้ย ไปทางเหนือประมาณ 300 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของเมือง จิง โจว นักโบราณคดีจีน ค้นพบ ร่างมัมมี่อีกครั้ง แต่ศพมัมมี่ที่ชายที่มี สภาพศพคล้ายชินชุ่ย แขนขาของมัมมี่ชายมีความยืดหยุ่นและอ่อนนุ่ม เหมือนศพที่เพิ่งเสียชีวิตมาใหม่ ชายผู้นี้เป็นมนุษย์เดินดิน นักพยาธิวิทยา ฮูจงดี เป็นหัวหน้าทีมชันสูตร บอกเราว่า เขากับทีมงานชันสูตรมัมมี่ มัมมี่ สุ่ย ในเดือนมิถุนายน ปี 1974 ซึ่ง เป็นช่วงที่อากาศในจีนร้อนที่สุด ต้องใช้น้ำแข็งจำนวนมาก บนพื้นห้องชันสูตร เขาทำงานบนน้ำแข็งแล้วทำงานต่อเนื่อง โดยไม่หยุดพักเป็นเวลา 8 ชั่วโมง ไม่เคยมีใครคิดมาก่อนแล้วว่า บรรพบุรุษชาวจีนจะ รู้วิธีรักษาสภาพศพได้ดีถึงขนาดนี้ แม้แต่เทคโนโลยีสมัยใหม่ก็ยัง ไม่สามารถทำได้เหมือนเมื่อ2,000 ปีก่อน ในปากของมัมมี่ ชาย ทีมชันสูตรพบก้อนดินเหนียวสลัก ชื่อไว้ว่า สุ่ย สุ่ยเป็นผู้พิพากษา เขาเสียชีวิตเมื่อ 176 ปีก่อน คริสตกาล ช่วงเวลาเดียวกันกับของ ชินชุ่ย ศพของทั้งสองคนนี้ ถูกเก็บรักษาอย่างดี และถูกฝังในระยะเวลาไล่เลี่ยกัน ในสุสานที่ห่างกันไม่ถึง 300 กิโลเมตร บริเวณลุ่มแม่น้ำแยงซี ทางฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของจีน เป็นสถานที่ไม่ควรนำศพไปฝัง มากที่สุด ชาล์ล ไฮแอด นักโบราณคดีเล่าว่า สภาพอากาศบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำแยงซีเป็นจุดที่แย่ที่สุด การที่จะเก็บศพไว้ไม่ได้เน่าเปื่อย บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำแยงซี มีความชื้นสูงมาก และยังมีอากาศที่ร้อนจัด และเย็นจัดสลับกัน จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก หากใครในสมัยนั้น พยายามที่จะคงสภาพศพไม่ได้เน่าเปื่อยตลอดไป

ที่มา http://www.toptenthailand.com/topten/detail/20131122151155858


                    

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้