ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 3058
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

24 กุมภาพันธ์ วันศิลปินแห่งชาติ

[คัดลอกลิงก์]
24 กุมภาพันธ์ วันศิลปินแห่งชาติ

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก กรมส่งเสริมวัฒนธรรม

                ศิลปะชั้นเลิศ มักถูกถ่ายทอดจากความรู้สึกนึกคิด และความสามารถของผู้ที่เป็น "ศิลปินชั้นเอก" ซึ่งในปัจจุบันมี ศิลปินสาขาต่าง ๆ มากมาย ที่สร้างผลงานน่าประทับใจ และเป็นประโยชน์ต่อสังคม ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยจึงกำหนดให้มี วันศิลปินแห่งชาติ และจัดให้มีการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ"ศิลปินแห่งชาติ" เป็นประจำทุกปี

         ประวัติความเป็นมา วันศิลปินแห่งชาติ

                วันศิลปินแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เนื่องจากตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ผู้ทรงเป็นพระปฐมบรมศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยทรงพระปรีชาสามารถในศิลปกรรมด้านต่าง ๆ หลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นด้านกวีนิพนธ์ ด้านประติมากรรม และด้านดนตรี ดังนั้น เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ประกาศให้ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็น วันศิลปินแห่งชาติ

                ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้จัดทำโครงการศิลปินแห่งชาติ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2527 เพื่อสรรหาส่งเสริมสนับสนุน และช่วยเหลือศิลปินผู้สร้างสรรค์ ผลงาน ศิลปะล้ำค่า อันทรงคุณค่าของแผ่นดิน ยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ โดยมีสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติเป็นผู้พิจารณา

         ความสำคัญของศิลปินแห่งชาติ

                ศิลปินแห่งชาติ นับเป็นทรัพยากรบุคคลสำคัญทางด้านศิลปะ ที่ได้สืบสานงานศิลปะของชาติให้เชื่อมโยงจากอดีตมาสู่ปัจจุบัน เป็นการถ่ายทอดภูมิปัญญาของบรรพบุรุษในอดีต ให้มีความรุ่งโรจน์สืบไปยังอนาคตข้างหน้า ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มโครงการ ศิลปินแห่งชาติ มาเมื่อปีพ.ศ. 2527  และประกาศผลการคัดเลือกศิลปินแห่งชาติในปีแรกเมื่อ พ.ศ. 2528 จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2554) มีศิลปินสาขาต่าง ๆ มาแล้วหลายคน

                สำหรับผู้ที่ได้รับยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ จะได้รับเงินตอบแทน เดือนละ 20,000 บาท  และสามารถเบิกเงินสวัสดิการเพื่อการรักษาพยาบาลได้ตามระเบียบราชการ รวมทั้งมีค่าช่วยเหลือเมื่อประสบสาธารณภัย และหากเสียชีวิต จะมีค่าช่วยเหลืองานศพ 15,000 บาท ค่าจัดทำหนังสือที่ระลึก 120,000 บาท

         คุณสมบัติของศิลปินแห่งชาติ มีดังนี้

                1. เป็นผู้มีสัญชาติไทยและยังมีชีวิตอยู่ในวันตัดสิน

                2. เป็นผู้ที่มีความสามารถ มีความเชี่ยวชาญ และมีผลงานดีเด่น เป็นที่ยอมรับของวงการศิลปินแขนงนั้น

                3. เป็นผู้สร้างสรรค์และพัฒนาศิลปะแขนงนั้นจนถึงปัจจุบัน

                4. เป็นผู้ผดุงและถ่ายทอดศิลปะแขนงนั้น

                5. เป็นผู้ปฏิบัติงานศิลปะแขนงนั้นอยู่ในปัจจุบัน

                6. เป็นผู้มีคุณธรรมและมีความรักในวิชาชีพของตน

                7. เป็นผู้มีผลงานที่ยังประโยชน์ต่อสังคมและมนุษยชาติ

         การจำแนกสาขาศิลปะของศิลปินแห่งชาติ

            1. สาขาทัศนศิลป์ (Visual Art) หมายถึง ศิลปะที่มองเห็นได้ด้วยตา จะเป็นศิลปะสองมิติหรือสามมิติ ซึ่งได้แก่ ผลงานศิลปกรรมประเภทต่างๆ ที่แสดงถึงภูมิปัญญาของผู้สร้างสรรค์และมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ดังต่อไปนี้

                - จิตรกรรม หมายถึง ภาพเขียนสีและภาพลายเส้น

                - ประติมากรรม หมายถึง งานปั้นและแกะสลัก

                - ภาพพิมพ์ หมายถึง ศิลปะการพิมพ์ด้วยกรรมวิธีต่างๆ เช่น การพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์ไม้ โลหะ ฯลฯ

                - ภาพถ่าย หมายถึง ผลงานศิลปะภาพถ่ายที่เสนอด้วยสื่อและกรรมวิธีต่างๆ

                - สื่อประสม หมายถึง ผลงานศิลปะที่สร้างสรรค์ขึ้นด้วยกรรมวิธีและเทคนิคต่างๆอย่างอิสระ

            2. สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม (Architecture) หมายถึง งานออกแบบ หรืองานออกแบบและงานก่อสร้างอาคารสวยงาม มีคุณค่าทางศิลปะ และมีวิทยาการ ซึ่งแสดงภูมิปัญญาของผู้ออกแบบอย่างโดดเด่น ได้แก่ สถาปัตยกรรมไทยและสถาปัตยกรรมร่วมสมัย

            3. สาขาวรรณศิลป์ (Literature) หมายถึง บทประพันธ์ที่ปลุกมโนคติของผู้อ่าน ทำให้เกิดจินตนาการความเพลิดเพลิน และเกิดอารมณ์ต่างๆ ตามเจตนารมณ์ของผู้ประพันธ์ ได้แก่ กวีนิพนธ์ เรื่องสั้น นวนิยาย บันเทิงคดี สำหรับเด็กและเยาวชน อาทิ หนังสือเด็ก วรรณกรรมเยาวชนที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่อย่างกว้างขวาง

            4. สาขาศิลปะการแสดง (Performing Art) หมายถึง ศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการแสดง ซึ่งเป็นได้ทั้งแบบดั้งเดิมหรือพัฒนาขึ้นใหม่ ได้แก่

                4.1 การละคร ประกอบด้วย ละครรำ เช่น โนห์รา ชาตรี ฯลฯ ละครร้อง โขน ลิเก ระบำ (ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่) รำ (ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่) ฟ้อน (ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่) เซิ้ง (ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่) หุ่น เช่น หุ่นละครเล็ก หุ่นกระบอก หนังใหญ่ หนังตะลุง การเขียนบทร้องหรือบทละครรำ (เพื่อการแสดง)

                4.2 การดนตรี แบ่งออกเป็นดนตรีไทย และดนตรีสากล

                     - นักดนตรี ต้องเป็นนักดนตรีเด่นเฉพาะเครื่องมือ

                     - นักร้อง ต้องมีความสามารถทั้งร้องส่งและร้องรับในการแสดงต่างๆ และสามารถแหล่ทำนองต่างๆ ได้ (แหล่เฉพาะแบบดั้งเดิม)

                     - นักประพันธ์เพลง ต้องประพันธ์ ทั้งทางร้องและทางดนตรี

                     - ผู้อำนวยเพลง ต้องเป็นผู้อำนวยเพลงดีเด่น

                     - ผู้ผลิตเครื่องดนตรี

                4.3 การแสดงพื้นบ้าน ประกอบด้วย หมอลำ ซอ ลำตัด เพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงบอก สวดคฤหัสถ์ ฯลฯ
  



อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ สาขาทัศนศิลป์ จิตรกรรม




         สำหรับผู้คว้ารางวัลศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2554 ในสาขาทัศนศิลป์ สาขาวรรณศิลป์ และ สาขาศิลปะการแสดง มีดังต่อไปนี้
  
สาขาทัศนศิลป์ ได้แก่

                นายเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ สาขาทัศนศิลป์ จิตรกรรม

                นายเมธา บุนนาค สถาปัตยกรรม

                นายทองร่วง เอมโอษฐ สาขาทัศนศิลป์ ประณีตศิลป์-ศิลปคนะปูนปั้น

สาขาวรรณศิลป์ ได้แก่

                นายประภัสสร เสวิกุล สาขาวรรณศิลป์ นวนิยายและกวีนิพนธ์

                นายสุชาติ สวัสดิ์ศรี สาขาวรรณศิลป์ เรื่องสั้นและกวีนิพนธ์

สาขาศิลปะการแสดง ได้แก่

                นางรัจนา พวงประยงค์ สาขาศิลปะการแสดง นาฏศิลป์ไทย-ละคร

                นายนคร ถนอมทรัพย์ สาขาศิลปะการแสดง ดนตรีสากล-ประพันธ์และขับร้อง

                นายเศรษฐา ศิระฉายา สาขาศิลปะการแสดง ดนตรีไทยสากล-ขับร้อง  

                รศ.สดใส พันธุมโกมล สาขาศิลปะการแสดง ละครเวทีและละครโทรทัศน์


                  ส่วนกิจกรรมสัปดาห์วันศิลปินแห่งชาติ 2554 จัดระหว่างวันที่ 25 กุมภาพันธ์ – 5 มีนาคม พ.ศ.2554  ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยกิจกรรมประกอบด้วย นิทรรศการศิลปินแห่งชาติ รายการจิบน้ำชา สนทนากับศิลปินแห่งชาติ และการแสดงชุดพิเศษของศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง                           

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
  ,   

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-2-24 09:12 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
วันศิลปินแห่งชาติ 24 กุมภาพันธ์ ของทุกปี
ศิลปินแห่งชาติ” คำนี้คงเป็นคำที่เหล่าดารานักแสดง ทั้งรุ่นเล็ก และรุ่นใหญ่ ต่างต้องการให้เกิดขึ้นกับตัวเอง เพราะหากได้เลือกเป็นศิลปินแห่งชาติแล้วนั้น จะได้มาซึ่งเกียรติและความภาคภูมิใจในสายงานอาชีพตัวเองเป็นอย่างมาก แต่แท้จริงแล้วการที่จะได้เป็นศิลปินแห่งชาตินั้น จักต้องมีผลงานที่น่าประทับใจ ปฏิบัติตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม ประเทศชาติ วันนี้สกู๊ปเอ็มไทย จึงได้นำข้อความประวัติวันศิลปินแห่งชาติ มาฝากกันครับ
ศิลปินแห่งชาติ 2556

ทางกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ได้ประกาศผลพิจารณารายชื่อผู้สมัครที่ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2556 จำนวน 9 คน ได้แก่
1. ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ ได้แก่
นายช่วง มูลพินิจ (จิตรกรรม)
นายธีรพล นิยม (สถาปัตยกรรม)
2. ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ได้แก่
นางรำไพพรรณ สุวรรณสาร ศรีโสภา
นายวินทร์  เลียววาริณ
นายเจริญ มาลาโรจน์
3. ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง ได้แก่
นางนิตยา รากแก่า (หมอลำ)
นายเฉลิม  ม่วงแพรศรี (ดนตรีไทย)
นายยืนยง โอภากุล (ดนตรีไทยสากล)
นายบุญฉลอง ภักดีวิจิตร (ผู้กำกับภาพยนตร์และละครโทรทัศน์)
ความสำคัญ
เพื่อระลึกถึงวันคล้ายพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ 2310 เอกอัครศิลปินที่ยิ่งใหญ่ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระอัจฉริยภาพในงานศิลปะหลายสาขา ทั้งทางด้านประติมากรรม ได้ทรงร่วมกับช่างประติมากรรมฝีมือเยี่ยมในสมัยนั้นแกะสลักบานประตูไม้พระ วิหาร วัดสุทัศน์เทพวรารามเป็นลายเครือเถารูปป่าหิมพานต์นับเป็นงานฝีมือชั้นเยี่ยม ด้านวรรณกรรม ถือว่าทรงเป็นกวีเอกแห่งแผ่นดินพระองค์หนึ่ง ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมไว้จำนวนมากมายหลายเรื่อง เช่น อิเหนา ซึ่งเป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรในรัชกาลที่ 6 ว่าเป็นยอดของกลอนบทละครรำ
นอกจากนี้ยังทรงพระราชนิพนธ์บทละครนอกไว้ถึง 5 เรื่อง ได้แก่ ไกรทอง พระไชยเชษฐ์ คาวี สังข์ทอง และมณีพิชัย และด้วยพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในด้านวรรณกรรม ทรงได้รับการยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกสาขาวรรณกรรม และเพื่อเป็นการยกย่องศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงาน ทางสำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติจึงได้มอบรางวัลให้แก่ ศิลปินที่มีผลงานดีเด่นในด้านต่างๆ ทั้งนี้เพื่อเป็นการยกย่องและเชิดชูเกียรติศิลปิน
24 กุมภาพันธ์ วันศิลปินแห่งชาติ


วันศิลปินแห่งชาติ
วันศิลปินแห่งชาติ จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2527 ซึ่งทางสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ มีวัตถุประสงค์ในขณะนั้นว่า ต้องยกย่อง เชิดชู สนับสนุน ส่งเสริม รวมถึงช่วยเหลือศิลปินผู้สร้างสรรค์งานศิลปะอันทรงคุณค่า โดยได้กำหนดรางวัลรวมถึงคุณสมบัติต่าง ๆ ของศิลปินแห่งชาติไว้ดังนี้ ศิลปินแห่งชาติได้กำหนดไว้ 3 สาขา ได้แก่
.
1. สาขาทิศนศิลป์ (Visual Art) หมายถึง ศิลปะที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา ไม่ว่าจะเป็นแบบสองมิติ หรือสามมิติก็ได้ โดยสามารถแบ่งได้เป็น 8 สาขา ได้แก่
- จิตรกรรม
- ประติมากรรม
- ภาพพิมพ์
- ภาพวาด
- ภาพถ่าย
- สื่อประสม
- สถาปัตยกรรม
- การออกแบบ
.
2. สาขาศิลปะการแสดง (Performing Art) หมายถึง ศิลปะที่ใช้การแสดงทั้งทางด้านวิจิตรศิลป์ และประยุกต์ศิลป์ ได้แก่ การแสดง ดนตรีและ การแสดงพื้นบ้าน
.
3. สาขาวรรณศิลป์ (Literature) หมายถึง ศิลปะที่เกี่ยวกับงานประพันธ์ต่าง ๆ ได้แก่ กวีนิพนธ์ บทละคร เรื่องสั้น และนวนิยาย
.
ลักษณะและความหมายของเข็มศิลปินแห่งชาติ
ลักษณะของเข็ม เป็นเหรียญกลม ภายในจัดองค์ประกอบเป็นภาพดอกบัวเรียงกันสามดอก มีแพรแถบรองรับต่อเนื่อง อ้อมรัดแถบริ้วธงชาติไทยตามแนวโค้งของเหรียญ ภายในผ้าจารึกคำว่า “ศิลปินแห่งชาติ” และได้อัญเชิญพระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี ประดิษฐานไว้เหนือเหรียญกลมโดยมีผ้าโบพันรอบคฑาไม้ชัยพฤกษ์ หัวเม็ดทรงมัณฑ์ เชื่อมประสานระหว่างกัน
.
ความหมาย
แสดงถึงความเป็นปราชญ์ในทางความรู้ความสารมารถของศิลปินที่ได้อุตสาหะอุทิศ ตนสร้างสรรค์ผลงานในด้านศิลปะ ไว้มากมายจนเป็นมรดกอันล้ำค่าทางวัฒนธรรมของชาติทั้งในสาขาวรรณศิลป์ ทัศนศิลป์ และศิลปะการแสดง ซึ่งได้รับการยกย่องเชิดชู เกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ โดยได้รบพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศิลปินแห่งชาติ เข้ารับพระราชทานเข็มเพื่อความเป็นสิริมงคลยิ่งแก่ตนเองและวงศ์ตระกูลต่อไป
.
.
คุณสมบัติของศิลปินแห่งชาติ
1. เป็นผู้มีสัญชาติไทย และมีชีวิตอยู่ในวันตัดสิน
2. เป็นผู้มีความสามารถ มีความเชี่ยวชาญ และมีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับของวงการศิลปะแขนงนั้น
3. เป็นผู้สร้างสรรค์และพัฒนาศิลปะแขนงนั้นจนถึงปัจจุบัน
4. เป็นผู้ผดุงและถ่ายทอดศิลปะแขนงนั้น
5. เป็นผู้ปฏิบัติงานศิลปะแขนงนั้นอยู่ในปัจจุบัน
6. เป็นผู้มีคุณธรรมและะมีความรักในวิชาชีพของตน
7. เป็นผู้มีผลงานที่ยังประโยชน์ต่อสังคมและมนุษยชาติ
.
.
กลุ่มที่ ๑ ศิลปินแห่งชาติ
1. ค่าครองชีพรายเดือน เดือนละ 6,000 บาท
2. ค่ารักษาพยาบาลเฉพาะตัว ตามระเบียบของทางราชการ
3. ช่วยเหลือเมื่อประสบอุบัติเหตุ หรือสาธารณะภัยเท่าที่จ่ายจริง หรือไม่เกิน 5,000 บาท
4. ช่วยเหลือเมื่อเสียชีวิต คนละ 12,000 บาท
.
กลุ่มที่ ๒ ศิลปินพื้นบ้านดีเด่นและผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม
1. ค่ารักษาพยาบาลเฉพาะตัว ตามระเบียบของทางราชการ
2. ช่วยเหลือเมื่อประสบอุบัติเหตุ หรือสาธารณะภัยเท่าที่จ่ายจริง หรือไม่เกิน 3,000 บาท
3. ช่วยเหลือเมื่อเสียชีวิต คนละ 7,000 บาท
.
กลุ่มที่ ๓ ศิลปินอื่นนอกจากกลุ่มที่ ๑ และ ๒
การช่วยเหลือให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการกองทุนศิลปิน

รวมข่าวและความเคลื่อนไหวของ  ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี ย้อนหลังเนื้อหาแนะนำ

Tags: กุมภาพันธ์, วันศิลปินแห่งชาติ


เกาะติด : ข่าวด่วน คลิปฮอต ดูดวงฮิต ติดกระแสทั่วโลก กีฬา ดารา เกมส์ บน Facebook


ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้