ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 5882
ตอบกลับ: 10
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

10 เรื่องน่ารู้ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

[คัดลอกลิงก์]
10 เรื่องน่ารู้ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

                                                                                                                       
                                                                                               
                                                                                               


                                หากจะพูดถึงคนสำคัญทางทหาร และการเมืองแล้วล่ะก็ เชื่อว่าในหัวของหลายๆ คนจะมีชื่อของ “จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์” แต่เด็กสมัยใหม่กลับรู้จักท่านน้อยมาก ทีมงาน toptenthailand ขอถือโอกาสนี้แนะนำเรื่องราวของท่านผ่านหัวข้อ 10 เรื่องน่ารู้ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์                                                                       

                                                ที่มา : เรียบเรียงโดย คุณชายสิบหน้า
                                                                       


2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-2-23 07:33 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        10. คำพูดติดหู
                                                   


                            ท่านเป็นเจ้าของคำพูดที่ว่า "พบกันใหม่เมื่อชาติต้องการ" และ "ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว"

                    

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-2-23 07:33 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        9. เป็นที่รู้จัก
                                                   


                            จอมพลสฤษดิ์มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักจากการแปลวรรณกรรมกัมพูชามาเป็นภาษาไทย และเคยให้การสนับสนุนผู้มีอำนาจของประเทศลาว นายพลพูมี หน่อสะหวัน ในการต่อสู้กับกองโจรคอมมิวนิสต์ปะเทศลาว ในราชอาณาจักรลาว

                    

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-2-23 07:33 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        8. ภรรยา
                                                   


                            จอมพลสฤษดิ์มีอนุภรรยาจำนวนมาก และมีบุตรหลายคน สมรสครั้งสุดท้ายกับนางสาววิจิตรา ชลทรัพย์ หรือ ท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์

                    

5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-2-23 07:33 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        7. การศึกษา
                                                   


                            เริ่มการศึกษาชั้นต้นที่จังหวัดมุกดาหาร จากนั้นเข้ารับการศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดมหรรณพาราม ในปี พ.ศ. 2462 ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก จนกระทั่งสำเร็จการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2471 ต่อมาได้เข้ารับราชการเป็นนักเรียนทำการนายร้อย กองพันที่ 1 กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2472

                    

6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-2-23 07:34 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        6. ประวัติ
                                                   


                            จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เกิดเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2451 ที่บ้านท่าโรงยา ตลาดพาหุรัด กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของพันตรีหลวงเรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนะรัชต์) กับนางจันทิพย์ ธนะรัชต์ (สกุลเดิม วงษ์หอม)

                    

7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-2-23 07:34 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        5. การรับราชการทหาร
                                                   


                            ในปี พ.ศ. 2476 ขณะที่ติดยศ ร้อยตรี (ร.ต.) ได้เกิดกบฏบวรเดช นำโดยพลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ร้อยตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นหนึ่งในผู้บังคับหมวดปราบปรามกบฏของฝ่ายรัฐบาล ที่มีพันเอกหลวงพิบูลสงคราม เป็นผู้บังคับบัญชา หลังจากรัฐบาลได้รับชัยชนะ ได้รับพระราชทานยศ ร้อยโท (ร.ท.) จากนั้นอีก 2 ปีก็ได้เลื่อนยศเป็น ร้อยเอก (ร.อ.) ในปี พ.ศ. 2484 ร.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้าร่วมรบในสงครามมหาเอเชียบูรพาขณะที่ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกองทัพทหารราบที่ 33 จังหวัดลำปาง มียศเป็น พันตรี (พ.ต.) และได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความกล้าหาญ จนช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2488 จึงได้เลื่อนยศเป็น พันเอก (พ.อ.) ตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 13 และผู้บังคับการจังหวัดทหารบกลำปาง

                    

8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-2-23 07:34 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        4. จอมพล
                                                   


                            ชีวิตราชการของพันเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็ได้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ในปี พ.ศ. 2492 ได้รับพระราชทานยศ พลตรี (พล.ต.) ดำรงตำแหน่งแม่ทัพกองทัพที่ 1 และรักษาการผู้บัญชาการกองพลที่ 1 ผลงานที่สร้างชื่อคือการเป็นหัวหน้าปราบกบฏวังหลวงเมื่อปีเดียวกัน หลังเสร็จสิ้นภารกิจ ได้รับการเลื่อนยศเป็น พลโท (พล.ท.) ต่อด้วยการก้าวขึ้นตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2493 ต่อมาในปี พ.ศ. 2495 ได้ครองตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารบก ครองยศ พลเอก (พล.อ.) ส่วนตำแหน่งในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามนั้น พลเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ต่อมาในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2497 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารบก และได้รับพระราชทานยศ จอมพล

                    

9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-2-23 07:34 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        3. บทบาททางการเมือง
                                                   


                            ในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2500 ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อันเป็นรัฐบาลชุดสุดท้ายของจอมพล ป. พิบูลสงคราม แต่อยู่ในตำแหน่งนั้นได้เพียง 10 วัน ก็ลาออก โดยสาเหตุการลาออกนั้นเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ซึ่งมีการกล่าวขานว่าเป็นการเลือกตั้งสกปรก มีการโกงทุกรูปแบบ โดยเฉพาะการใช้อันธพาลที่เรียกโดยสุภาพในขณะนั้นว่า "ผู้กว้างขวาง" ซึ่งผลก็คือ พรรคเสรีมนังคศิลา ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้รับเสียงข้างมาก จึงสามารถดำเนินการจัดตั้งรัฐบาล ท่ามกลางความวุ่นวายอย่างหนัก จากการเดินประท้วงของนักเรียนนักศึกษาและประชาชนเป็นจำนวนมาก เรียกร้องให้จอมพล ป. พิบูลสงครามและ พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ ลาออกจากตำแหน่ง

                    

10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-2-23 07:35 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        2. วีรบุรุษมัฆวานฯ
                                                   


                            ช่วงปี 2500 สถานการณ์ลุกลาม เกิดความวุ่นวายอย่างหนัก จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้แต่งตั้งให้จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้บัญชาการ 3 เหล่าทัพ เพื่อคอยควบคุมสถานการณ์ แต่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์สั่งการไม่ให้ทหารทำอันตรายประชาชนที่เดินขบวนชุมนุมประท้วง และยังเป็นผู้นำประชาชนเข้าพบจอมพล ป. ที่ทำเนียบอีก ทำให้กลายเป็นขวัญใจของประชาชนทันที จนได้รับฉายาในตอนนั้นว่า "วีรบุรุษมัฆวานฯ"

                    

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้