ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
มรดกธรรม เส้นทางสู่ทางสงบในชีวิตและจิตใจ
»
ช้างปัจจัยนาเคนทร์
1
2
/ 2 หน้า
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
เจ้าของ: Metha
ช้างปัจจัยนาเคนทร์
[คัดลอกลิงก์]
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54675
11
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-2-21 00:08
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ช้างที่พระเป็นเจ้าทั้ง ๔ องค์สร้างนั้นได้มีการแบ่งวรรณะเหมือนคนในประเทศอินเดีย ดังนี้
อิศวรพงศ์ คือ ช้างที่พระอิศวรสร้างเป็นวรรณะกษัตริย์ ลักษณะหนังเนื้อดำสนิทผิวพรรณละเอียดเกลี้ยง หน้าใหญ่ โขมดสูง น้ำเต้ากลม งวงเรียวแลดูเป็นต้น และปลายเงาทั้งสองใหญ่งอนขึ้นอยู่เสมอกัน ปากรีแหลมรูปเป็นพวยหอยสังข์ คอกลมเมื่อเดินยกเป็นสง่าหน้าสูงกว่าท้าย ทรวงอกผึ่งผายใหญ่กว้างแสดงกำลัง ท้ายเป็นสุกร หลังเป็นคันธนู ขนดท้องตามวงหลัง ขาหน้าทั้งสองอ่อนประหนึ่งแขนเท้า เท้าและข้อเท้าหน้าหน้าหลังเรียวรัดดังฝักบัวกลม หางเป็นข้อห่วง สนับงาแลเห็นเป็น ๒ ชั้น ขมับเต็มไม่พร่อง หูใหญ่ ช่อม่วงข้างขวายาว ใบหูอ่อนนุ่มมีขนขึ้นมากกว่าข้างซ้าย
พรหมพงศ์ คือ ช้างที่พระพรหมสร้างเป็นวรรณะพราหมณ์ ลักษณะเนื้อหนังอ่อนขนอ่อนละเอียด เส้นเรียบ หน้าใหญ่ท้ายต่ำน้ำเต้าแฝด ขนงคิ้วสูง โขมดสูง มีกระทั่วตัวดังดอกกรรณิการ์ ขนหลัง ขนหู ขนปาก และขนตายาว ขุมหนึ่งขึ้น ๒ เส้น อกใหญ่ งวงเรียวรัด งาใหญ่ ปลายและต้นสมส่วนงาสีดอกจำปา
วิษณุพงษ์ คือ ช้างที่พระนารายณ์สร้างเป็นวรรณะแพศย์ ลักษณะผิวเนื้อหนังนาขนเกรียน ทรวงอก คอ และสีข้าง เท้าทั้งสี่ใหญ่ได้ขนาด หาง งวงและหน้ายาวใหญ่อย่างประหลาด มีกระที่หูแดง ประไปสม่ำเสมอกันตาใหญ่ขุ่นหลังราบ
อัคนีพงศ์ คือ ช้างที่พระเพลิงสร้าง เป็นวรรณะศูทร ลักษณะผิวเนื้อแข็งกระด้าง ขนหยาบ หน้าเป็นกระแดงดั้งแววมยุรา งาแดง หลังแดง หน้า งวงแดง ผิดเนื้อหม่นไม่ดำสนิทตะเกียบหูห่าง หางเขิน ตาสีน้ำผึ้ง
ตามตำราพระคชลักษณ์กล่าวว่า พระเป็นเจ้าให้เกิดช้าง ๗ สี คือ เหลือง ขาว แดง เขียว ดำ ม่วง เมฆ และต้องประกอบด้วยศุภลักษณะ (ลักษณะดี) อีก ๑๑ ประการ คือ ขน หาง ตา เล็บ อัณฑโกส ช่องแมงภู่ ขุมขน เพดาน สนับงา คางใน ไรเล็บ หรือไม่น้อยกว่า ๕ ประการ จึงจะนับว่าสมบูรณ์ด้วยคชลักษณ์
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54675
12
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-2-21 00:09
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ช้างเผือกคู่พระบารมี
ตำราพระคชศาสตร์กำหนดลักษณะสำคัญ ๗ ประการของช้างมงคลไว้ว่า จะต้องประกอบด้วย
๑. ตาขาว
๒. เพดานปากขาว
๓. เล็บขาว
๔. ขนขาว
๕. พื้นหนังขาวหรือสีอ่อนๆ ออกแดงคล้ายหม้อใหม่
๖. ขนหางขาว
๗. อัณฑโกสขาว หรือสีคล้ายหม้อใหม่
ช้างที่มีลักษณะทั้ง ๗ ประการครบถ้วน เราเรียกว่า “ช้างสำคัญ” ส่วนช้างที่มีลักษณะมงคลไม่ครบ จะเรียกว่า “ช้าง
ประหลาด” หรือช้าง “สีประหลาด” และหากช้างมีหนังดำ มีงาลักษณะเหมือนปลีกล้วย และมีเล็บดำ จะเรียกว่า “ช้างเนียม” ซึ่งช้างทั้งสามประเภทนี้ ถือเป็นช้างคู่บารมีของพระมหากษัตริย์เท่านั้น ผู้ที่ครอบครองช้างประเภทใด จะต้องนำช้างนั้นทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นช้างทรงตามราชประเพณีที่ปฏิบัติกันมานาน โดยเรามักจะเรียกช้างทั้งหมดรวมๆ กันว่าเป็น “ช้างเผือก”
ถือกันมาแต่สมัยโบราณว่า ช้างเผือกถือว่ามีศักดิ์สูงเทียบชั้นเจ้าฟ้า และสัตว์ที่นิยมนำมาเลี้ยงคู่กับช้างเผือก มี ๒ ชนิด คือลิงเผือกและกาเผือก ถือกันว่าเป็นสัตว์คู่บุญของช้างเผือก จะช่วยป้องกันสิ่งอวมงคลที่จะมาสู่ช้างเผือกได้ และหากมีเหตุใดๆ เกิดขึ้นกับช้างเผือก จะเชื่อกันว่าเป็นลางร้าย
ช้างเผือกที่ได้รับการขึ้นระวางเป็นช้างหลวงส่วนพระองค์พระมหากษัตริย์ จะเรียกกันว่า “ช้างต้น” ซึ่งสมัยก่อน ช้างต้นมี ๓ ประเภทคือ
๑. ช้างศึกที่ใช้ออกรบ
๒. ช้างสำคัญที่มีลักษณะเป็นมงคลตามตำราคชลักษณ์แต่ไม่สมบูรณ์ทุกส่วน
๓. ช้างเผือกที่มีลักษณะถูกต้องตามตำราคชลักษณ์ทุกประการ
และจากที่ปัจจุบัน ไม่มีศึกสงคราม ทำให้ความต้องการใช้ช้างศึกเพื่อการสงครามไม่มี ช้างต้นในยุคปัจจุบัน จึงหมายถึงช้างเผือกที่มีลักษณะอันเป็นมงคลนั่นเอง
กำเนิดของช้าง ก็สามารถบ่งบอกถึงความเชื่อว่า หากครอบครองช้างตระกูลใด จะส่งผลในทางใดให้กับผู้ครอบครองอีกด้วย ซึ่งกำเนิดของช้างนี้ มีตำนานกล่าวขานกันว่า เมื่อพระนารายณ์เสด็จลงมายังพิภพแล้วได้เนรมิตดอกบัวให้เป็นโลก และได้แบ่งกลีบดอกบัวเป็น ๔ ส่วน นำไปถวายพระพรหม พระอิศวร พระวิษณุ และพระอัคนี และมหาเทพทั้ง ๔ ได้เนรมิตกลีบบัวทั้ง ๔ ให้เป็นช้าง ๔ ตระกูล ได้แก่
ตระกูลพรหมพงศ์
พระพรหมเป็นผู้สร้าง หากมีช้างในตระกูลนี้มาสู่พระบารมี เชื่อว่าจะให้ความเจริญทั้งทางวัตถุและวิทยาการต่างๆ แก่เจ้าของ
ลักษณะเด่นของช้างตระกูลนี้ คือมีเนื้อหนังอ่อนนุ่ม มีหน้าใหญ่ ท้ายต่ำ ขนอ่อนละเอียด เส้นเรียบ โขมดสูง คิ้วสูง น้ำเต้าแฝด มีกระเต็มตัว ขนที่หลังหู ปาก และขอบตามีสีขาว อกใหญ่ งามีสีเหลือง เรียวรัดงดงาม
ตระกูลอิศวรพงศ์
พระอิศวรเป็นผู้สร้าง เมื่อมีช้างตระกูลนี้มาสู่พระบารมี จะทำให้บ้านเมืองมีความเจริญด้วยทรัพย์และอำนาจ
ลักษณะเด่นของช้างตระกูลนี้ มีผิวกายดำสนิท งาอวบ งอน เสมอกันทั้งสองข้าง เท้าใหญ่ น้ำเต้ากลม คอย่นเมื่อเยื้องย่าง อกใหญ่ หน้าเชิด
ตระกูลวิษณุพงศ์
พระวิษณุเป็นผู้สร้าง เมื่อมีช้างตระกูลนี้มาสู่พระบารมีย่อมมีชัยชนะต่อศัตรู ฝนจะตกต้องตามฤดูกาล ผลาหาร ธัญญาหารจะบริบูรณ์
ลักษณะเด่นช้างตระกูลนี้ มีผิวหนา ขนหนา เกรียน สีทองแดง อก คอ และคางใหญ่ หางและงวงยาว หน้าใหญ่ นัยน์ตาขุ่น และหลังราบ
ตระกูลอัคนิพงศ์
พระอัคนีเป็นผู้สร้าง ช้างตระกูลนี้เมื่อมาสู่พระบารมี บ้านเมืองจะเจริญด้วยมังสาหาร มีผลในทางระงับศึกอันพึงจะเกิดหรือเกิดขึ้นแล้ว และมีผลในทางระงับความอุบาทว์ทั้งปวงอันเกิดแก่บ้านเมืองและราชบัลลังก์
ลักษณะเด่นของช้างตระกูลนี้คือมีท่วงทีงดงาม เวลาเดินจะเชิดงวง อกใหญ่ ปลายงาทั้งสองจะโค้งพอจรดกัน มีสีเหลือง ขนสีขาวปนแดง และผิวกายมีสีใบตองตากแห้ง
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54675
13
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-2-21 00:10
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ช้างเผือกคู่บารมีในรัชกาลที่ ๙
ในความเชื่อที่มีมาแต่โบราณของไทยถือว่าเป็นเครื่องเชิดชูเกียรติประดับบารมีของพระมหากษัตริย์ เมื่อมีช้างเผือกเข้ามาสู่พระบารมีจะทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทำพิธีสมโภชขึ้นระวาง พระราชทานนามเป็น "พระยาช้างต้น หรือนางพระยาช้างต้น" และให้ยืนโรงช้างประจำพระราชฐาน พระมหากษัตริย์พระองค์ใด มีช้างเผือกมาก จะเชื่อกันว่ามีพระบุญญาบารมีมาก สำหรับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ นี้ จวบจนถึงปัจจุบัน มีการพบช้างเผือก ๒๑ ช้าง ปัจจุบันเหลือ ๑๑ ช้าง ดังนี้
พระเศวตอดุลยเดชพาหน
ชื่อเต็มคือ พระเศวตอดุลยเดชพาหน ภูมิพลนวนาถบารมี ทุติยเศวตกรีกมุทพรรโณภาส บรมกมลาสนวิสุทธวงศ์ สรรพมงคลลักษณคเชนทรชาติ สยามราษฎรสวัสดิ ประสิทธิ์รัตนกุญชรนิมิตบุญญาธิการ ปรมินทรพิตรสารศักดิเลิศฟ้า เป็น ช้างพลายเผือกโท ลูกเถื่อนตระกูล "พรหมพงศ์" จำพวกอัฏทิศ ชื่อว่า กมุท คล้องได้เมื่อปี ๒๔๙๙ ที่เมือง "กระบี่"โดยมีพล.ท.บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ประธานกรรมการองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย มีการสมโภชช้างนี้เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๑ และน้อมเกล้าฯ ถวายขึ้นระวางโรงช้างต้น พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๑๑ พ.ย. ๒๕๐๒ เริ่มยืนโรง ณ โรงช้างต้น สวนจิตรลดา ในปี ๒๕๑๙ ปัจจุบันอายุกว่า ๕๐ ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระเศวต อดุลยเดชพาหนฯ จากโรงช้างต้น สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต มายืนโรง ณ โรงช้างต้น วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
พระเศวตวรรัตนกรี
ลูกช้างบ้านของราษฎรอำเภอสันกำแพง จงหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเมื่อผ่านการพิจารณาตรวจคชลักษณ์จากผู้ชำนาญของสำนักพระราชวังแล้ว พบว่า สมบูรณ์ด้วยศุภมงคลต้องตามตำราพระคชลักษณ์ โดยอยู่ในตระกูลวิษณุพงศ์ จำพวกอัฎฐคช ชื่อ "ดามพหัสดินทร์" สมควรขึ้นระวางเป็นพระยาช้างต้นตามราชประเพณี โดยช้างสำคัญนี้เกิดที่นครเชียงใหม่ ซึ่งได้ทรงสร้างพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ไว้เป็นที่ประทับ เสมอด้วยมีพระราชฐานประจำในนครนี้ ปัจจุบัน ล้มแล้ว
พระเศวตสุรคชาธาร
ลูกช้างพลายพลัดแม่ที่ราษฎรอำเภอรามัญ จังหวัดยะลา ได้นำมาเลี้ยงไว้ ก่อนจะพบว่ามีลักษณะมงคล ซึ่งเมื่อทางสำนักพระราชวังได้ตรวจสอบ พบว่าลูกช้างนั้นมีมงคลลักษณะถูกต้องตามคชลักษณศาสตร์ อยู่ในพรหมพงศ์ ตระกูลช้าง ๑๐ หมู่ ชื่อ “ดามพหัตถี” พระเศวตสุรคชาธารนับเป็นช้างต้นช้างที่สามในรัชกาลนี้ และยังเคยเป็นพระสหายของสมเด็จพระเทพฯ สมัยยังทรงพระเยาว์ เคยมีกล่าวถึงในบทพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ว่า เมื่อมีการเสด็จฯ แปรพระราชฐานไปยังวังไกลกังวล หัวหิน คุณพระเศวตสุรคชาธารก็ได้โดยเสด็จฯ ด้วย ปัจจุบัน ล้มลงแล้ว
พระศรีเศวตศุภลักษณ์
ช้างพังเผือก ลูกเถื่อน คล้องมาได้จากจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นช้างตระกูลวิษณุพงศ์ จำพวกอัฏฐคช ชื่อดามพหัสดินทร์ ปัจจุบันกรมป่าไม้เป็นผู้ดูแล
พระเศวตภาสุรคเชนทร์
เดิมชื่อภาศรี เป็นช้างพลายเผือก ลูกเถื่อน ของราษฎรในเขตอำเภอท่ายาง เพชรบุรี เมื่อมีการตรวจสอบพบว่ามีคชลักษณ์ถูกต้องตามตำราคชลักษณศาสตร์ อยู่ในตระกูลวิษณุพงศ์ จำพวกอัฎฐคช ชื่อ "ดามพหัสดินทร์" จึงได้ขึ้นระวางสมโภชเป็นช้างสำคัญพร้อมกันทีเดียวถึง ๓ เชือก คือพร้อมกับพระบรมนขทัศ และพระเทพวัชรกิริณี ปัจจุบันอายุ ๓๐ ปี อยู่ในความดูแลของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จังหวัดลำปาง
พระเศวตสุทธวิลาส
ช้างพลายเผือกลูกเถื่อน คล้องมาได้จากจังหวัดกาญจนบุรี เป็นช้างตระกูลวิษณุพงศ์ จำพวกอัฏฐคช ชื่อดามพหัสดินทร์ ปัจจุบันอายุเกือบ ๓๐ ปี อยู่ในความดูแลของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จังหวัดลำปาง
พระเทพวัชรกิริณี
เดิมชื่อพังขวัญตา เป็นลูกช้างหลงโขลง ชาวบ้านที่ไปตัดไม้ในเขตหัวหินไปพบเข้า จึงจับมาส่งให้กำนันตำบลเขาย้อย ก่อนจะนำไปถวายวัดและเลี้ยงมาคู่กันกับพลายดาวรุ่ง ต่อมาเมื่อมีการตรวจสอบพบว่า พังขวัญตาเป็นช้างสำคัญมีมงคลคชลักษณ์ถูกต้องตามตำราคชลักษณศาสตร์ อยู่ในตระกูลวิษณุพงศ์ จำพวกอัฎฐคช ชื่อดามพหัสดินทร์ ซึ่งตำราระบุว่าสมควรขึ้นระวางสมโภชเป็นพระราชพาหนะ เพื่อความเป็นสิริมงคลของประเทศชาติ
พระวิมลรัตนกิริณี
ช้างพังเผือก ลูกเถื่อน คล้องมาจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นช้างตระกูลพรหมพงศ์ จำพวกอัฏฐทิศ ชื่อกมุท อายุ ๒๙ ปี ปัจจุบันอยู่ที่โรงช้างต้น พระราชวังภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร
พระศรีนรารัฐราชกิริณี
ช้างพังเผือก ลูกเถื่อน คล้องได้จากจังหวัดนราธิวาส พลัดกับแม่บนเทือกเขากือชา เป็นช้างตระกูลพรหมพงศ์ พวกอัฏฐทิศ ชื่ออัญชัน อายุ ๒๙ ปี ปัจจุบันอยู่ที่โรงช้างต้น พระราชวังภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร
พระบรมนขทัศ
เดิมชื่อพลายดาวรุ่ง พบโดยราษฎรที่อำเภอปราณบุรี มีลักษณะพิเศษคือเล็บครบ เมื่อสำนักพระราชวังส่งผู้ชำนาญไปตรวจคชลักษณ์ พบว่า พลายดาวรุ่งเป็นช้างสำคัญที่หาได้ยาก เกิดในตระกูล "วิษณุพงศ์" จำพวก "อัฎฐคช" ชื่อ "ครบกระจอก" ซึ่งตำราคชลักษณศาสตร์นิยมว่า อุบัติมาเพื่อบุญญาธิการของพระมหากษัตริยาธิราช ควรแก่การสมโภชขึ้นเป็นพระราชพาหนะ จะบังเกิดสวัสดิมงคลแก่ประชาราษฎร์
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54675
14
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-2-21 00:10
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
นอกจากนี้ยังมีช้างสำคัญที่ยังไม่ได้ขึ้นระวาง ดังนี้
๑.แก้วขาว ช้างพลายเผือก ลูกบ้าน คล้องได้จากจังหวัดเชียงใหม่
๒.ก้อง คล้องได้จากจังหวัดชลบุรี
๓.พลายวันเพ็ญ คล้องได้จากจังหวัดเพชรบุรี อายุประมาณ ๓๑ ปี ขณะนี้อยู่ในความดูแลของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จังหวัดลำปาง
๔.พลายยอดเพชร คล้องได้จากจังหวัดเพชรบุรี อายุเกือบ ๓๐ ปี ขณะนี้อยู่ในความดูแลของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จังหวัดลำปาง
๕.พังมด อายุ ๒๐ ปี คล้องได้จากจังหวัดกาญจนบุรี ปัจจุบันอยู่ที่โรงช้างต้น พระราชวังภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร
๖.ขวัญเมือง คล้องได้จากจังหวัดเพชรบุรี มีอายุเกือบ ๓๐ ปี ขณะนี้อยู่ในความดูแลของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จังหวัดลำปาง
๗.พลายทองสุก อายุประมาณ ๓๑ ปี ขณะนี้อยู่ในความดูแลของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จังหวัดลำปาง
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
1
2
/ 2 หน้า
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...