ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 3813
ตอบกลับ: 4
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระกริ่งปฐวีธาตุ มหาสมปรารถนา

[คัดลอกลิงก์]


พระกริ่งปฐวีธาตุ มหาสมปรารถนา
เป็น พระกริ่งผง ที่สร้างจากผงพุทธคุณ จำนวน ๓๒ ชนิด โดยได้ถ่ายแบบมาจาก พระกริ่งจีนใหญ่ ที่ได้รับ การตกแต่งให้คมชัด มีพุทธลักษณะประทับนั่งปางมารวิชัย บนรัตนบัลลังก์ ฐานบัวคว่ำบัวหงาย ๗ คู่ พระหัตถ์ซ้ายทรงคนโทน้ำอมฤต ส่วนพระหัตถ์ขวาวางที่พระชานุ นิ้วมือชี้ลงสู่แผ่นดิน ทรงคล้องประคำพาดจากพระอังสะด้านซ้าย มาจรดบั้นพระองค์ด้านขวา


พระกริ่งปฐวีธาตุ นี้มีความพิเศษ ๓ ประการคือ ได้บรรจุ “พระธาตุ” ที่พระเศียร ๑ องค์ เป็นพระธาตุที่ได้จากเจดีย์โบราณในอำเภอเชียงแสน “ผลคุณ” (เม็ดกริ่ง) ทำด้วยทองแดงจันทึก (ทองแดงบริสุทธิ์ที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติ) หลอมรวมกับแผ่นทองแดงลง ยันต์มหาสมปรารถนา ๒๕ แผ่น ซึ่งจารและปลุกเสกโดย หลวงปู่คำพัน วัดธาตุมหาชัย และ “ปฐวีธาตุ” ที่ถูกต้องตามตำรา คือ เป็นหินใสที่อยู่ในน้ำ (งมได้ในแม่น้ำโขง) และผ่านการปลุกเสกโดยหลวงปู่คำพัน วัดธาตุมหาชัย เช่นกัน


การดำเนินการสร้าง โดยใช้ผงชันเพชรจากองค์มหาบุษบกที่ประทับพระแก้วมรกต ผงอิฐโมเสคกระจกสี และกระเบื้องพระอุโบสถ และพระมหาเจดีย์องค์สำคัญในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ผงพระสมเด็จจิตรลดา ผงพระสมเด็จวัดระฆัง ผงพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม ผงพระสมเด็จเกศไชโย ผงพระเครื่องชำรุดแตกหักทั้งกรุเก่า และพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก เช่น ผงพระสมเด็จปิลันทน์ ผงพระสมเด็จอรหันต์ ผงพระวัดพลับ ผงพระวัดสามปลื้ม ผงพระปิดตาวัดสะพานสูง ผงพระปิดตาวัดเครือวัลย์ ผงพระซุ้มกอ ผงพระรอดมหาวัน ผงพระผงสุพรรณ ผงพระกริ่งคลองตะเคียน ผงปฐวีธาตุ และผงทรายเสกของพระสุปฏิปันโณผู้เรืองวิทยาคม เช่น ผงทรายเสก พระราชพรหมยานเถร (วีระ) วัดจันทาราม, หลวงปู่ตื้อ อจลธมโม วัดอรัญญวิเวก, หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง และปฐวีธาตุ ของท่านเจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทราวาส,


พระสุนทรธรรมากร (คำพัน) วัดธาตุมหาชัย, พระราชอุดมมงคล (อุตตมะ) วัดวังก์วิเวการาม ผงพุทธคุณของ พระสุปฏิปันโณผู้บริบูรณ์ด้วยวิชาและวิมุตติ ๑๐๘ องค์ ผงที่เหลือจากการสร้างพระเสด็จกลับ (หลวงปู่สภา วัดสีลสุภาราม) ผงที่เหลือจากการสร้างพระผงญาณวิลาศ (หลวงพ่อแดง วัดบรรไดอิฐ) ผงที่เหลือจากการสร้างพระนางพญาอุณาโลม พระนางพญา ส.ก. (มหามกุฏราชวิทยาลัย) ผงพุทธคุณของพระเกจิอาจารย์ที่รับนิมนต์มาร่วมพิธีพุทธาภิเษก พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน พ.ศ. ๒๔๘๕ เช่น สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศนเทพวราราม สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) วัดเทพศิรินทราวาส หลวงพ่อดิ่ง วัดบางว้า หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว หลวงปู่ดี วัดเหนือ หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ หลวงพ่อเหรียญ วัดหนองบัว หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เป็นต้น


ที่สำคัญที่สุดคือผงที่เหลือจากการสร้าง พระกริ่งปฐวีธาตุ ของ อาจารย์อนันต์ สวัสดิเสาวณีย์ ซึ่งใช้ทรายเสก ๓๒ พระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคม และผงวิเศษเป็นจำนวนมาก โดยนำมวลสารมาบดให้ละเอียดแล้วผสมให้เข้ากันอัดลงในพิมพ์ เป็นองค์พระโดยใช้กาวอิมพ็อกซี่ (EPOXY) เป็นตัวประสาน ซึ่งดำเนินการได้เพียง ๘๐ องค์ เท่ากับจำนวนพรรษาที่พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญพุทธกิจ แต่มีให้บูชาเพียง ๖๕ องค์เท่านั้น
จากนั้นได้บรรจุพุทธานุภาพ พระธรรมานุภาพ และพระสังฆานุภาพ เป็นขั้นตอนดังนี้


พิธีมหาพุทธภิเษก

๑.ศาลพระกาฬ จ.ลพบุรี (วันที่ ๕ เม.ย. ๒๕๔๗)
๒.วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วันที่ ๒๐ พ.ค. ๒๕๔๗)
๓.วัดโสธรวรวิหาร (วันที่ ๒๑ พ.ค. ๒๕๔๗)


การปลุกเสกและอธิษฐานจิตเดี่ยว รวมทั้งสิ้น ๑๖ องค์
๑.พระครูสุนทรวัยวุฒิ (ทอง) วัดจักรวรรดิฯ
๒.พระนิมมานโกวิท (ทองดำ) วัดท่าทอง จ.อุตรดิตถ์
๓.พระอาจารย์สมบูรณ์ กันตสีโล วัดป่าสมบูรณ์ธรรม จ.พิษณุโลก
๔.พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดอรัญญวิเวก จ.เชียงใหม่
๕.พระอาจารย์ประสิทธิ์ ปุญญญโกโร วัดป่าหมู่ใหม่ จ.เชียงใหม่
๖.หลวงปู่ครูบาตั๋น ปุญโญ สำนักม่อนปู่อิน จ.เชียงใหม่
๗.พระครูสุภัทรศีลคุณ (หลวงปู่ครูบาดวงดี) วัดท่าจำปี จ.เชียงใหม่
๘.ครูบาเทือง นาถสีโล วัดบ้านเด่น จ.เชียงใหม่
๙.พระครูขันตยาภรณ์ (หลวงปู่คำ) สุสานไตรลักษณ์แม่วาง จ.เชียงใหม่
๑๐.พระครูชัยการพิศิษฐ์ (ครูบาเผือก) วัดไชยสถาน จ.เชียงใหม่
๑๑.พระครูสุนทรจริยวัตร (ม่วง) วัดยางงาม จ.ราชบุรี
๑๒.พระครูปัญญาพิศาลเถร (ไพบูลย์) วัดอนาลโย จ.พะเยา
๑๓.พระครูปุริมานุรักษ์ (พูล) วัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม
๑๔.พระครูวินัยวชิรกิจ (อุ้น) วัดตาลกง จ.เพชรบุรี
๑๕.พระครูสังวรานโยค (ช่อ) วัดโคกเกต จ.สมุทรสงคราม



จากรายนามพระคณาจารย์ที่ได้ปลุกเสกพระกริ่งปฐวีธาตุมหาสมปรารถนานี้ ทำให้มั่นใจได้ว่าเป็นมงคลวัตถุที่ทรงไว้ซึ่งมหิทธานุภาพเป็นที่ยิ่ง รายได้จากการบูชาจะนำไปสมทบกองทุน โครงการสร้างพระพุทธรูปประจำสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นพระพุทธรูปยุคเชียงแสน สิงห์ ๑ หน้าตักขนาด ๓๒ นิ้ว พร้อมการก่อสร้างหอพระ ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งได้ย้ายมาปฏิบัติงาน ณ สถานที่แห่งใหม่

นำมาจากบทความในหนังสือพิมพ์คมชัดลึก…ปี2547


ขอบคุณที่มาของภาพ.http://www.web-pra.com/Shop/suriyunjuntarapanu/Show/350462

น่าหามาบูชาจิ
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-5-21 10:27 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

หาได้ยังครับ
คงไม่มีบุญได้บูชาครับแพงจิงจิง
oustayutt ตอบกลับเมื่อ 2015-5-21 11:11
คงไม่มีบุญได้บูชาครับแพงจิงจิง

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้