ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

10 เรื่องน่ารู้ของ สืบ นาคะเสถียร

[คัดลอกลิงก์]
11#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-2-12 12:25 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        1. เขาเป็นใคร?
                                                   


                            เป็นนักอนุรักษ์และนักวิชาการด้านทรัพยากรธรรมชาติชาวไทย มีชื่อเสียงจาการพยายามปกป้องแก่งเชี่ยวหลานและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง

ที่มา http://beta.toptenthailand.net/topten/detail/20131119190000844


                    

คนดีไม่มีวันตาย ภาพแกที่ออกในรายการส่องโลกยังติดตา ที่แกไปช่วยกวาง ปั๊มหัวใจแต่ไม่รอดสีหน้าอารมณ์ความรู้สึกยังติดตาติดใจ คนอย่างนี้ทำไม ไม่อยู่นานๆ
ขอคาราวะท่านครับ
14#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-9-2 07:47 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
24 ปีรำลึกการจากไปของ "สืบ นาคะเสถียร"
                                                                                                                   
                            ที่มา : http://hilight.kapook.com/view/28357
                                                        วันที่ 1 กันยายน ของทุกปี ถือว่าเป็นวันรำลึกถึงการจากไปของ สืบ นาคะเสถียร นักอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ โดยในปี 2557 นับเป็นปีที่ 24 สำหรับการจากไปของ สืบ นาคะเสถียร

ย้อนไปในปี พ.ศ. 2529 สืบ นาคะเสถียร ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานในหน้าที่ หัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าตกค้าง ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา (เขื่อนเชี่ยวหลาน) บริเวณแก่งน้ำเชี่ยวหลาน จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีสัตว์นับพันตัวได้รับความช่วยเหลือ แต่สืบก็รู้ดีว่า มีสัตว์อีกจำนวนไม่น้อยที่ต้องตายจากการสร้างเขื่อน ทำให้เขาเริ่มเข้าใจปัญหา และตระหนักว่า งานวิชาการเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถช่วยเหลือป่าและสัตว์ป่าจากการถูกทำลายได้

เขาจึงเปลี่ยนบทบาทจากนักวิชาการมาเป็นนักอนุรักษ์ ได้เข้าร่วมต่อสู้คัดค้านการสร้างเขื่อนน้ำโจน ในบริเวณทุ่งใหญ่นเรศวร จังหวัดกาญจนบุรี โดยสืบยืนยันว่า การสร้างเขื่อนเป็นทำลายล้างเผ่าพันธุ์แหล่งอาหาร ตลอดจนที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าอย่างรุนแรง กระทั่งความช่วยเหลือจากมนุษย์ ไม่สามารถชดเชยได้ โดยการรวมพลังของกลุ่มนักอนุรักษ์ ซึ่งในที่สุดโครงการสร้างเขื่อนน้ำโจนได้ถูกระงับไป

ในปี พ.ศ.2532 สืบ นาคะเสถียร เข้ามารับตำแหน่งหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งพร้อมๆ กับปัญหามากมายที่เขาต้องแก้ไขให้ได้ อาทิ ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า การล่าสัตว์ของกลุ่มผู้มีอิทธิพล เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าถูกยิงเสียชีวิต ปัญหาความยากจนของชาวบ้านรอบป่า สืบได้แสดงเจตนารมณ์อันแน่วแน่ที่จะรักษาป่าผืนนี้ไว้อย่างชัดแจ้ง ได้ประกาศให้รู้ทั่วกันว่า "ผมมารับงานที่นี่ โดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน"

ในความคิดของ สืบ นาคะเสถียร แนวทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาการทำลายป่าได้ คือการสร้างแนวป่ากันชนขึ้นมา ให้ชาวบ้านอพยพออกนอกแนวกันชน และพัฒนาแนวกันชนให้เป็นป่าชุมชนที่ชาวบ้านสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ แต่ปรากฏว่า ไม่ได้รับความสนใจ และความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด

จนกระทั่งเช้ามืดของวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2533 สืบ นาคะเสถียร ตัดสินใจจบชีวิตตัวเองลงด้วยปืนหนึ่งนัดในป่าลึก ที่ห้วยขาแข้ง การเสียชีวิตของ สืบ นาคะเสถียร เป็นจุดเริ่มต้นของ "ตำนานนักอนุรักษ์ไทย สืบ นาคะเสถียร ผู้ที่รักป่าไม้ สัตว์ป่าและธรรมชาติ ด้วยกายและใจ"

ความพยายามของสืบก็เป็นผลสำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2534 เมื่อองค์การยูเนสโกประกาศให้เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง เป็นแหล่งมรดกโลกในที่สุด

การอุทิศตนของ สืบ นาคะเสถียร นั้น เป็นการปลุกคนให้ตื่นตัว และลุกขึ้นมาสนใจผืนป่าอย่างจริงจัง วันที่ 1 กันยายนของทุกปี จึงเป็นวันระลึกถึงความเสียสละของท่าน เพื่อให้ทุกคนจดจำ หวงแหนธรรมชาติ และสานต่อเจตนารมณ์ของ สืบ นาคะเสถียร ...สืบไป                                                                                                                                                    
                                                           "ป่าไม้เป็นบ่อเกิดของทุกสรรพสิ่ง มนุษย์เราเป็นทั้งผู้ใช้ และผู้ทำลายมรดกของธรรมชาติมาอย่างช้านาน จะมีสักกี่คน ที่ตระหนัก และระลึกถึงคุณค่าของผืนป่า เทียบเท่ากับผู้เสียสละคนนี้..." สืบ นาคะเสถียร        
                                                                                                                                                                                       

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้