ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2001
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ยกยอ & ยกย่อง

[คัดลอกลิงก์]
  หลายคนคงชอบที่มีคนอื่น หรือเพื่อน หรือคนรัก มาชื่นชมยินดีกับตัวเรา ไม่ว่าเรื่องใดก็ตาม เมื่อคนเหล่านี้มาแสดงความยินดีกับเรา เรารู้สึกอย่างไร? “ใจพองโต” หรือ “หน้าบาน” หรือกดข่มความดีใจเอาไว้ สิ่งที่คนเหล่านั้นทำเป็นการ “ยกยอ” หรือ “ยกย่อง”


                สองคำนี้ มีความหมายคล้ายกัน ดังนี้ครับ (อ้างอิง จากพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒)


                “ยกยอ” แปลว่า ยกย่อง, สรรเสริญ, พูดส่งเสริมให้ดีขึ้น; ยกย่องเกินความจริง


                “ยกย่อง” แปลว่า เชิดชู    (ส่วน เชิดชู แปลว่า ยกย่อง ครับ)


                “สรรเสริญ” แปลว่า กล่าวคำยกย่อง, กล่าวคำชมด้วยความนิยมพอใจ


                ขอละคำว่า “สรรเสริญ” ไว้ เพื่อต้องการให้เข้ากับหัวข้อที่ตั้งไว้ คือ “ยกยอ & ยกย่อง”


                คำว่า “ยกยอ” และ “ยกย่อง” มีคำที่เหมือนกันคือ “ยก” ให้ความหมายและภาพว่า เอา(สิ่ง)นั้นขึ้นให้สูงกว่าเดิม ส่วนคำที่ต่างกันคือ “ยอ” และ “ย่อง”


                ครั้งแรกที่รู้สึกถึงความต่างของคำนี้ คือ “ยอ” ที่พบเห็นอีกครั้งตอนไปเที่ยวนอกตัวเมือง จากสมัยเด็ก ๆ ที่เห็นอยู่บ่อย “ยอ” คือ เครื่องมือจับปลาชนิดหนึ่งมีลักษณะเป็นตาข่ายอาจทำด้วยเชือก หรือ สายป่าน มีคันไว้สำหรับยกซึ่งทำจากไม้ไผ่ โดยมีคานโยงติดกัน การใช้ “ยอ” เพื่อจับปลา คือ กดยอลงไปในน้ำให้ตาข่ายจมลงในน้ำ เมื่อได้ปลามากพอก็ “ยก” “ยอ” ขึ้นจากน้ำและใช้สวิงตักปลาอีกต่อหนึ่ง การจับปลาวิธีนี้ มักใช้ในช่วงน้ำหลาก ซึ่งจะมีปลาว่ายมาตามน้ำจำนวนมากในช่วงที่น้ำหลากใหม่ แต่ช่วงปกติจะต้องใช้เครื่องมือชนิดอื่น


                ส่วน “ย่อง” นั้น ความคิดปรุงแต่งเกิดขึ้นต่อมาจาก “ยอ” อีกทอดหนึ่ง ส่วนใหญ่ “ย่อง” มักนึกถึง โจร หรือ ขโมย ซึ่งอาจเป็นพวก “ย่องเบา”  คำว่า “ย่อง” แปลว่า เดินโดยใช้ปลายเท้าจดลงเบาๆ หรืออาจแปลว่า ที่ลอยเหนือขึ้นมา


                อ่านมาถึงนี้แล้ว คงจะเห็นภาพความแตกต่างของ “ยกยอ” กับ “ยกย่อง” บ้างแล้ว


                ขอฉายภาพอีกครั้ง คือ “ยกยอ” ก็เหมือนกับ พูดให้ดีขึ้นโดยอาจเกินจริง ซึ่งอาจมีผลประโยชน์แอบแฝงเหมือน “ยอที่จับปลา” คือ เมื่อยังไม่ได้ปลาก็กดลงไว้ในน้ำ แต่เมื่อได้ปลา หรือได้ (ผล)ประโยชน์ ก็ยกขึ้น จากนั้น เมื่อหมดประโยชน์ก็กดลงไว้ในน้ำเหมือนเดิม และต้องใช้ในช่วงที่น้ำหลาก


                ส่วน “ยกย่อง” ก็เหมือนกับ พูดให้ดีขึ้นตามเป็นจริง หรือ ยก(สิ่ง)นั้นขึ้นมาเบาๆ ราวกับลอยขึ้นมา และต้องกระทำอย่างระมัดระวัง (เพราะไม่อย่างนั้น อาจโดนจับได้ว่า ย่องเบา)


                แต่ทั้งสอง “ยก” นี้ ต่างก็เลื่อน(ใจ)ขึ้นจากตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งปกติของมัน


                ดังนั้น เราก็ต้องพิจารณา สิ่งที่คนอื่นพูดชื่นชมเราให้ดีว่าเป็นอย่างไร


สิ่งสำคัญไม่ใช่ที่คนอื่นชื่นชมหรือมองเรา หากแต่เรามองตัวเราเองว่าเป็นอย่างไร เราสามารถวางเฉยต่อสิ่งที่ได้ยินหรือไม่ ถ้าทำได้อย่างอุเบกขานับเป็นสิ่งที่วิเศษเลยทีเดียว






มุทิตา...ร่วมยินดีในลาภยศสรรเสริญของผู้อื่น




http://wannabudh.blogspot.com



สาธุครับ ขอบคุณครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้