ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ใต้ร่มเงาแห่งนาคปรก

[คัดลอกลิงก์]

กราบปู่ศรีสุทธรรม

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
"ภายใต้ร่มของนาคปรกไม่ต้องกลัวอะไร..".ผมรู้สึกอุ่นใจและ
ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนเกียวข้องกับของพญานาคา
และพญานาคี...เมื่อคืนวานน้องชวนไปเยี่ยมสถานปฏิบัติธรรม
ที่อยู่แถวๆอำเภอที่น้องเค้าทำงานอยู๋ คุยกับอาจารย์ฆราวาสท่านที่
เป็นผู้นำแห่งนั้นท่านพิจารณามาที่ผม...และบอกว่ามีพญานาคาและเทพ
สองเมืองคอยคุ้มครองดูแลอยู่ เวลาที่เราทำบุญกุศลผู้ที่คุ้มครองเราก็จะได้
บุญกุศลไปด้วยครับ...อันนี้ก็แปลกดีเพราะไม่ได้เล่าเรื่องอะไรเกี่ยวกับพญานาค
ให้ท่านรับรู้ก่อนเลยแต่ท่านก็พูดออกมาเลย.

53#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-3-17 18:36 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
Metha ตอบกลับเมื่อ 2015-3-15 09:35
"ภายใต้ร่มของนาคปรกไม่ต้องกลัวอะไร..".ผมรู้สึกอุ่นใจ ...



" ภายใต้ร่มเงาแห่งนาคปรกจะไม่มีใครทำอันตรายเจ้าได้ "
.....ลูกเอ๋ย ยุคพญานาคธรรมบาล มาถึงแล้วเด้อ ต่อไปโลกจะเป็นยุคของพญานาค จะเกิดเหตุร้ายเหตุดี ก็เกิดจากอำนาจพญานาค ถ้าจิตใจเหล่ามนุษย์ดี พญานาคจะคุ้มครองดูแล ถ้ามนุษย์จิตใจตกต่ำ พญานาคก็จะทำลายล้าง...หลวงปู่ชื่น ติคญาโณ

คติความเชื่อเรื่อง “พญานาคกับศาสนา” ปรากฏทั้งในศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนา สำหรับศาสนาพราหมณ์ “นาค” มีความสำคัญหลายประการ ตัวอย่างเช่น เป็นบัลลังก์ขององค์พระวิษณุในไวกูณฑ์ ที่เรียกว่า “วิษณุอนันตศายินปัทมะนาภะ” หรือ “นารายณ์บรรทมสินธุ์” หรือใน “ครุฑปุราณะ” เรื่องพญานาควาสุกรีที่พันรอบเขา มิลินทระในคราวกวนเกษียรสมุทรเพื่อทำน้ำอมฤต การเป็นเทพพาหนะของพระวรุณ หรือพระพิรุณ ซึ่งทำหน้าที่ให้ฝน การเป็นสัตว์สำคัญที่เฝ้ามหานทีสีทันดรล้อมรอบเขาพระสุเมรุ ตลอดจนการกล่าวถึงนาคในปุราณะต่างๆ

นอกจากเรื่องราวของ “นาค” ยังสัมพันธ์กับพงศาวดารเขมร ซึ่งกล่าวถึงนาคว่าเป็นต้นบรรพบุรุษของขอมโบราณ และมักมาปรากฏช่วยสร้างเมืองอยู่เสมอ จนเมื่อชาวขอมจะสร้างศาสนาสถานต่างๆ ก็มักจะจำลองรูปพญานาคไว้ บ้างก็ถือว่านาคเป็นตัวแทนของสะพานสายรุ้งที่เชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับสวรรค์ด้วย

ส่วนพุทธศาสนา เป็นที่ทราบกันว่ามีความนิยมสร้างพระพุทธรูปปางนาคปรก อันเกี่ยวเนื่องกับพญานาคที่ชื่อ “มุจลินท์” ซึ่งมาแผ่พังพานปกป้องพระพุทธองค์ และกลายเป็นพระประจำวันเสาร์ นอกเหนือไปจากเรื่องพญานาคเลื่อมใสในพุทธศาสนาถึงขนาดปลอมตนมาขอบวชจนเรียกว่า “บวชนาค” มาจนถึงปัจจุบันนี้ นอกจากนี้ หากพิจารณาอาคารสถาปัตยกรรมจะพบเห็นเค้าเงื่อนที่พญานาคทำหน้าที่ปกป้องดูแลพระศาสนาอย่างเอาจริงเอาจัง เช่น การทำช่อฟ้า รวยระกา ใบระกา และหางหงส์ เป็นรูปพญานาค หรือการทำคันทวยเป็นรูปนาค เรียกกันว่า “นาคทัณฑ์” ล้อมรอบอุโบสถ วิหารไว้


สาธุค่ะ
กราบปู่ศรีสุทธรรม

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
อาถรรพณ์แห่งนาคราช

บายศรีพญานาค

เมื่อพระนางสิริมหามายา พระพุทธมารดาจุติ (ตาย) จากโลกมนุษย์ ก็เสด็จสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ สรวงสวรรค์แห่งองค์อมรินทราธิราชเจ้า ลุถึงเดือนแปด จนตลอดวาระแห่งพรรษาทั้งไตรมาส พระพุทธเจ้าเสด็จโปรดพระพุทธมารดา และเหล่าเทพยดา ณ ที่นั้น แม้องค์อมรินทราธิราช ก็ปวารณา ถวายช้างทรงเอราวัณ เป็นพุทธบูชา จวบสิ้นไตรมาส จึงเสด็จกลับลงมายังโลกมนุษย์

ถึงวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 วันเสาร์ พญาศรีสุทโธนาคราช และบริวารแสนโกฐิ พร้อมใจต้อนรับพระพุทธองค์เสด็จจากดาวดึงส์ ราชาแห่งบาดาล เจ้าแห่งนาค ตั้งสัจจะ ขอถวายอัญมณี ดวงไฟแห่งนาคราช สมบัติล้ำค่าแห่งเมืองบาดาล เป็นพุทธบูชา

วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 วันเสาร์ เมื่อรัตติกาลมาถึง พญานาคถวายอัญมณี ผ่านเวิ้งน้ำอันกว้างใหญ่ ของแม่น้ำโขง อันป็นทางทอดสู่บาดาล อัญมณีพุ่งผ่านพื้นน้ำลอยสู่ความมืดมิด เหนือลำโขง ประกายแดงอมชมพู เหมือนมีน้ำกลอกกลิ้งอยู่ภายใน เงียบเชียบ ไร้ควัน ไร้สุ้มเสียง

บันทึกไว้ในใบลานก้อม ที่เชื่อว่าเป็นบันทึกของ สำเร็จลุน อริยสงฆ์ เทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำโขง ใบลานนี้มีทั้งหมด 9 หน้า เขียนเป็นตัวธรรมลาวโบราณ ความว่า..

หากแม้นผู้ใด ได้มองเห็นแก้วมณีแห่งพญานาคนั้น แม้นตัวเองได้ทำสัจจะ บำเพ็ญสมาธิ ขอพร ขออิทธิฤทธิ์อันใดใด จากนาคราช ก็ดี หากหลังจากทำสมาธิวิปัสสนา มิได้ตั้งจิตอธิษฐานอุทิศส่วนกุศลแก่พญานาคราชและบริวาร จะถูกอาถรรพ์แห่งนาคราช เจ็บป่วย จงประกอบพิธีขอขมา แต่งกระทงดอกไม้ ขันธ์ 5 และขันธ์ 8 ลอยลงสู่สายน้ำไหล อธิษฐานขอขมาลาโทษ และสำรวมจิตเป็นสมาธิ จึงอุทิศส่วนกุศลแก่นาคราชและบริวาร ผู้นั้นจึงจะประสบสิริมงคลอย่างสูง ปรารถนาสิ่งใดย่อมสำเร็จ



ใบลานนี้มีทั้งหมด 9 หน้า เขียนเป็นตัวธรรมลาวโบราณ

ผู้ใด ได้มองเห็นแก้วมณีแห่งพญานาค แม้นตัวเองได้ทำสัจจะ บำเพ็ญสมาธิ ขอพร ขออิทธิฤทธิ์อันใดใด จากนาคราช หากหลังจากทำสมาธิวิปัสสนา มิได้ตั้งจิตอธิษฐานอุทิศส่วนกุศลแก่พญานาคราชและบริวาร จะถูกอาถรรพ์แห่งนาคราช จงประกอบพิธีขอขมา แต่งกระทงดอกไม้ ขันธ์ 5 และขันธ์ 8 ลอยลงสู่สายน้ำไหล อธิษฐานขอขมาลาโทษ และสำรวมจิตเป็นสมาธิ จึงอุทิศส่วนกุศลแก่นาคราชและบริวาร ผู้นั้นจึงจะประสบสิริมงคลอย่างสูง ปรารถนาสิ่งใดย่อมสำเร็จ

หลังจากพระครูวิโรจน์ฯ มรณภาพ สมุดใบลานได้ถูกเคลื่อนย้ายไปเก็บไว้บนเพดานวิหารหลวงพ่อเงิน และไม่มีผู้ใดพบเห็นสมุดใบลานนี้อีก ใบลานก้อมของสำเร็จลุนนี้ บ้างก็ว่าเป็นของพระมหากัสสปะเถระ พระครูวิโรจน์รัตโนบล(บุญรอด นันตโร) อดีตเจ้าคณะจังหวัดอุบลฯ ได้มา คราวไปบูรณะพระธาตุพนม

ภายหลังนำมาเก็บที่หอไตรกลางน้ำ ที่วัดทุ่งศรีเมือง หลังจากพระครูวิโรจน์ฯ มรณภาพ สมุดใบลานได้ถูกเคลื่อนย้ายไปเก็บไว้บนเพดานวิหารหลวงพ่อเงิน และไม่มีผู้ใดพบเห็นสมุดใบลานนี้อีก หลังจากท่านมรณภาพ ใบลานนี้ก็หายสาบสูญไป สมเด็จลุน คนลาวเรียกท่านว่า "สำเร็จลุน"

ประวัติ "สมเด็จลุน"
"ผู้เฒ่า" ขอเรียบเรียงประวัติย่อของท่าน โดยแปลจากใบลานต้นฉบับภาษาลาว ที่ได้มาจากเมืองโพนทอง แขวงจำปาศักดิ์

เกิด พ.ศ. 2396 สถานที่เกิด บ้านหนองไฮท่า ต.เวินไซ เมืองโพนทอง แขวงจำปาศักดิ์ สปป.ลาว
บิดา พ่อบุญเลิศ สว่างวงศ์ มารดา แม่กองศรี
ลักษณะพิเศษ อยู่ในครรภ์มารดา 10 เดือน
ชื่อเดิม ท้าวลุน
บวชสามเณร อายุ 12 ปี
สามเณรลุน มีความจำเป็นเลิศ อ่านหนังสือ ท่องบทสวดมนต์ได้หมดอย่างรวดเร็ว
เพียงแค่อ่านผ่านตาเพียงครั้งเดียว

เรียนวิชาจากฤาษีพระยาจักรสรวง สำเร็จศาสตร์ทุกแขนง
ว่ากันว่าถึงขั้นเหาะเหินเดินอากาศ
กำบังตนหายตัว ย่นพสุธา เสกใบไม้เป็นกองทัพได้
เจนจบวิชาคาถาอาคม สมุนไพร อิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์
เกร็ดอิทธิฤทธิ์ของท่าน เป็นตำนาน เล่า 7 คืน 8 วันก็ไม่หมด ว่างๆ ผู้เฒ่าจะเล่าให้ฟัง

ละสังขารเมื่ออายุ 108 ปี
อัฐิของท่านบรรจุที่เจดีย์ วัดบ้านเวินไซ แขวงจำปาศักดิ์
จุดที่เผาศพของท่าน เกิดต้นโพธิ์ 5 ต้น เกี่ยวกระหวัดม้วนพันกันดุจพระยานาค เปลือกต้นโพธิ์ทั้ง 5 ต้น มีประกายระยิบระยับ มันเลื่อมคล้ายเกล็ดพญานาคราช ปัจจุบันต้นโพธิ์ทั้ง 5 ต้นยังมีอยู่


ข้อมูล - http ://board.goosiam.com/html/0047608.html
ภาพ - http: //login.totalweblite.com

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้