ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ผัก สมุนไพร

[คัดลอกลิงก์]
11#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-2-1 10:55 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
กรรณิการ์ สรรพคุณและประโยชน์ของต้นกรรณิการ์ 34 ข้อ
ลักษณะของกรรณิการ์
  • ต้นกรรณิการ์ จัดเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็กไม่ผลัดใบ มีเรือดยอกเป็นรูปทรงพีระมิดแคบ มีความสูงของต้นประมาณ 3-5 เมตร เปลือกของลำต้นมีลักษณะขรุขระและเป็นสีน้ำตาลกิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยมสี่เหลี่ยม และมีขนแข็งสากมือ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง หรือการปักชำกิ่งเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดี มีความชื้นปานกลาง แสงแดดแบบเต็มวันและครึ่งวัน หากปลูกในที่แห้งแล้งจะออกดอกน้อย โดยจะออกดอกในช่วงประมาณเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน แต่สามารถออกดอกได้ตลอดปีหากมีฝน หรือได้รับการตัดแต่งและมีการให้น้ำอย่างเหมาะสม[1],[2],[5],[6],[7]
  • ใบกรรณิการ์ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ มีความกว้างประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นบางใบจะหยักแบบห่างๆ กัน และจามขอบใบอาจมีขนแข็งๆ หลังใบมีขนแข็งสากมือ ส่วนท้องใบมีขนแข็งสั้นๆ มีเส้นแขนงของใบข้างละ 3-4 เส้น ปลายเส้นจรดกันก่อนถึงขอบใบ และมีก้านใบสั้น ยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร[1],[4]

  • ดอกกรรณิการ์ ออกดอกเป็นช่อ ออกตามซอกใบหรือง่ามใบ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 1.2-2 เซนติเมตร มีใบประดับรูปคล้ายใบเล็กๆ อยู่ 1 คู่ที่ก้านช่อดอก ในแต่ละช่อดอกจะมีดอกอยู่ประมาณ 3-7 ดอก ดอกเป็นดอกย่อยสีขาว และมีกลิ่นหอม ดอกจะบานในช่วงเย็นและจะร่วงในช่วงเช้าวันรุ่งขึ้น ไม่มีก้านดอก ในแต่ละดอกจะมีใบประดับอยู่ 1 ใบ ดอกตูมมีกลีบดอกเรียงซ้อนกันและบิดเป็นเกลียว กลีบดอกมีประมาณ 5-8 กลีบ ปลายกลีบดอกเว้า ส่วนโคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดแบบสีแสดสั้นๆ ยาวประมาณ 1.1-1.3 เซนติเมตรด้านในมีขนยาวๆ สีขาวที่โคนหลอด ส่วนด้านนอกเกลี้ยง ที่ปลายหลอดแยกเป็นกลีบสีเขียว หรือที่เรียกว่ากลีบดอก ประมาณ 5-8 กลีบ ในแต่ละกลีบจะมีความยาวประมาณ 0.1-1.1 เซนติเมตร โคนกลีบแคบ ปลายกลีบกว้างและเว้าลึก ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 2 อัน ติดอยู่ภายในหลอด กลีบดอกบริเวณปากหันด้านหน้าเข้าหากัน มีก้านชูอับเรณูเชื่อมติดเป็นเนื้อเดียวกันกับหลอดดอก ส่วนรังไข่จะอยู่เหนือวงกลีบ มีลักษณะกลม มีอยู่ 2 ช่อง และมีออวุลช่องละ 1 เม็ด ส่วนเกสรเพศเมียจะมีแค่ 1 อัน ยอดเกสรเพศเมียมีลักษณะเป็นตุ่มมีขน และยังมีกลีบเลี้ยงดอกสีเขียวอ่อนอยู่ 4 กลีบ ติดกันเป็นหลอดรูปกรวยปลายติดหรือหยักตื้นๆ 5 หยัก ด้านในเกลี้ยง ส่วนด้านนอกมีขน[1],[2],[4]

  • ผลกรรณิการ์ ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่กลับหรือมีลักษณะเป็นรูปทรงกลมค่อนข้างแบน ปลายผลเป็นมนและมีติ่งแหลม ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ผิวผลเรียบผลอ่อนเป็นสีเขียว ผลเมื่อแก่จะแตกอ้าออกเป็น 2 ซีก ข้างในผลมีเมล็ดซีกละหนึ่งเมล็ด เมล็ดมีลักษณะกลมแบนและเป็นสีน้ำตาล[1],[5],[8]

สรรพคุณของกรรณิการ์
  • รากมีรสขมฝาด ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ (ราก)[1],[2],[3],[4],[6]
  • แก้วาโยกำเริบเพื่ออากาศธาตุ (ราก)[6]
  • ช่วยบำรุงหัวใจ (ดอก)[6]
  • รากใช้เป็นยาบำรุงกำลัง (ราก)[1],[2],[3],[4]
  • ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย (ราก)[6]
  • ช่วยแก้โลหิตตีขึ้น (ดอก)[6]
  • ใบมีรสขม ช่วยทำให้เจริญอาหาร ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 1 กำมือ เติมน้ำคั้นลงไปแล้วคั้นเอาแต่น้ำ1 ถ้วยแก้ว ใช้แบ่งรับประทาน 4 ครั้ง ถ้ากินมากจะมีฤทธิ์เป็นยาระบาย (ใบ)[1],[2],[4],[6]
  • ช่วยแก้ตานขโมย (ใบ)[6]
  • ช่วยบำรุงเส้นผม แก้เส้นผมหงอก ด้วยการใช้ใบ (ไม่แน่ใจว่าใช่ใบหรือไม่) นำไปแช่กับน้ำมันมะพร้าวประมาณ 1-2 คืน ก็จะได้น้ำมันที่มีสีเหลืองอ่อนๆ สำหรับนำมาใช้ทาหมักผมก่อนนอน จะช่วยป้องกันผมหงอกก่อนวัยได้ (ราก)[1],[2],[4],[6]
  • ช่วยบำรุงผิวหนังให้สดชื่น (ราก)[1],[2],[4],[6]
  • เปลือกมีรสขมเย็น ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ ส่วนต้นก็มีสรรพคุณแก้ปวดศีรษะเช่นกัน (ต้น,เปลือก)[1],[2],[3],[4],[6]
  • ดอกมีรสขม สรรพคุณช่วยแก้ลมวิงเวียน (ดอก)[1],[2],[4],[5],[6]
  • ช่วยแก้ลมและดี (ราก)[4],[6]
  • ต้นมีรสหวานเย็นฝาดใช้เป็นยาแก้ไข้ ส่วนใบและดอกก็มีสรรพคุณแก้ไข้เช่นกัน (ต้น,ใบ,ดอก)[1],[2],[3],[4],[5],[6]
  • ใบช่วยแก้ไข้เพื่อดี และแก้ไข้จับสั่นชนิดจับวันเว้นวัน (ใบ)[6]
  • ดอกใช้เป็นยาแก้ไข้มิรู้สติสมปฤดี เป็นไข้บาดทะจิต แก้ไข้ผอมเหลือง (ดอก)[6]
  • รากมีสรรพคุณช่วยแก้อาการไอ (ราก)[1],[2]
  • แพทย์ชนบทในสมัยก่อนจะใช้ต้นและรากกรรณิการ์ นำมาต้มหรือฝนรับประทานเป็นยาแก้อาการไอสำหรับสตรีหลังคลอดบุตรใหม่ๆ (ต้น,ราก)[6]
  • ช่วยแก้ตาแดง (ดอก)[6]
  • ช่วยแก้อาการปวดท้อง (ใบ)[6]
  • ช่วยแก้อาการท้องผูก (ราก)[1],[2],[3]
  • ใบใช้เป็นยาระบาย (ใบ)[6]
  • ช่วยแก้อุจจาระเป็นพรรดึก (ราก)[1],[2],[4],[6]
  • ในอินเดียใช้ใบเป็นยาขับพยาธิ (ใบ)[6]
  • ในประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ใช้ดอกเป็นยาขับประจำเดือน (ดอก)[6]
  • ใบใช้เป็นยาบำรุงน้ำดี ขับน้ำดี (ใบ)[1],[2],[3],[4],[5],[6]
  • ช่วยแก้อาการปวดตามข้อ (ต้น,ใบ)[1],[2],[6]
  • ดอกใช้เป็นยาแก้พิษทั้งปวง (ดอก)[6]

ที่มา http://www.greenerald.com/กรรณิการ์/
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้