ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2435
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

โบสถ์ขวางตะวัน๑เดียวที่วัดเชิงท่าลพบุรี

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย oustayutt เมื่อ 2014-1-14 19:39

ท่องไปในแดนธรรม
เรื่องและภาพ ไตรเทพ ไกรงู                                                                 

              วัดเชิงท่า เป็นวัดตั้งอยู่ริมแม่น้ำลพบุรีฝั่งตะวันออก วัดเชิงท่าจึงมีอายุนานไม่น้อยกว่าสามร้อยปี กล่าวกันว่าเดิมชื่อวัดท่าเกวียนด้วยเป็นท่าของเกวียนลำเลียงสินค้าขนลงมาที่ท่าน้ำในบริเวณวัดแห่งนี้ ก่อนที่จะลำเลียงลงเรือส่งไปยังที่อื่นๆ พื้นที่ของวัดเชิงท่าตั้งขวางหน้าพระราชวังคือ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ ด้านที่หันหน้าสู่แม่น้ำ ลพบุรีเกือบครึ่งด้าน จึงชวนให้สันนิษฐานว่า วัดเชิงท่าน่าจะสร้างก่อนพระราชวัง และนับได้ว่าวัดเชิงท่า จึงเป็นวัดที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และศิลปกรรมแห่งหนึ่งที่เชิดหน้าชูตา สร้างความงามสง่าทางศิลปวัฒนธรรมให้จ.ลพบุรีมาโดยตลอด

              พระครูสุธรรมโฆษิต (ปิยชัย ปภาโส) เจ้าอาวาสเชิงท่า อธิบายให้ฟังว่า สิ่งก่อสร้างในวัด แบ่งออกเป็น ๒ สมัย คือ ๑.สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ได้แก่ พระอุโบสถพระเจดีย์ประธานของวัดซึ่งอยู่บริเวณด้านหลังของพระอุโบสถ และ ๒.สมัยรัตนโกสินทร์ ได้แก่ กุฏิสงฆ์เป็นแบบตึกสองชั้นทรงเก๋งจีน ศาลาตรีมุข อาคารโวทานธรรมสภา หอระฆัง ศาลาการเปรียญและพิพิธภัณฑ์หอโสภณศิลป์

              ๑.พระอุโบสถ มีลักษณะสถาปัตยกรรมคล้ายกับอุโบสถของวัดอื่นๆ ที่สร้างในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตัวพระอุโบสถตั้งอยู่บนฐานสูง มีลานกว้างโดยรอบตรงขอบลานมีกำแพงแก้วและมีซุ้มประตูกำแพง หน้าบันซุ้มทำเป็นรูปจั่ว ผังพระอุโบสถแบ่งพื้นที่ใช้สอยเป็นสองส่วนคือ ส่วนหน้าเป็นห้องโถงไม่มีผนัง เสาคู่หน้าสุดของพื้นที่ส่วนนี้เป็นเสาสี่เหลี่ยม มีปูนปั้นประดับหัวเสาเป็นรูปดอกบัวกลีบยาว ส่วนหลังมีพื้นที่ยาวกว่าคือ ห้องโถงมีผนังรอบ หลังคาของพระอุโบสถมุงด้วยกระเบื้องกาบ ช่อฟ้าและหางหงส์ทำเป็นรูปหัวนาค สำหรับพระอุโบสถก็คือเสมาคู่รอบพระอุโบสถ ซึ่งมักทำให้มีผู้สันนิษฐานว่า เสมาแบบนี้คือวัดหลวงไม่ใช่วัดราษฎร์

              นอกจากนั้นในพระอุโบสถยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประธานปางมารวิชัย ที่สร้างขึ้นด้วยหินทราย ลักษณะศิลปกรรมของพระพุทธรูปคล้ายกับพระประธานของวิหารวัดไลย์ อ.ท่าวุ้ง เป็นพระพุทธรูปแบบที่นิยมสร้างขึ้นครั้งรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง จนถึงต้นรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.๒๑๗๒ - พ.ศ.๒๒๒๐) พระอุโบสถได้รับการบูรณะหลายครั้ง แต่ก็ได้พยายามคงรูปแบบลวดลายของเดิมไว้

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-1-14 19:38 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

[url=][/url][url=][/url]
[url=][/url]
[url=][/url]


"วัดที่ชาวมอญสร้างมีความแปลกประหลาดไม่เหมือนกับคนไทยทั่วไป คนจะนิยมสร้างโบสถ์หันหน้าตามการขึ้นลงของดวงอาทิตย์นิยมสร้างด้านหน้าของโบสถ์ไปทางทิศตะวันออก ด้านหลังของโบสถ์จะหันไปทางทิศตะวันตก ส่วนชาวมอญนิยมสร้างโบสถ์ขวางตะวัน ตรงข้ามการขึ้นลงของดวงอาทิตย์ เข้าใจว่าการสร้างโบสถ์มีลักษณะขวางตะวันของวัดเชิงท่า เพราะต้องการให้ด้านหน้าหันสู่แม่น้ำ" พระครูสุธรรมโฆษิตกล่าว

              ๒.พระเจดีย์ ตั้งอยู่บนลานเดียวกันกับพระอุโบสถแต่อยู่ด้านหลัง มีด้วยกันทั้งหมดสามองค์ด้วยกัน ดังนี้ เจดีย์ประธานตั้งอยู่กึ่งกลางลาน เป็นเจดีย์ทรงระฆังคว่ำเพรียวยาวลักษณะเจดีย์ทรงระฆังคว่ำแบบนี้คล้ายกับเจดีย์ของวัดอัมพวัน อ.เมืองลพบุรี ซึ่งเป็นวัดในชุมชนมอญบ้านบางขันหมาก ส่วนเจดีย์บริวารอีกสององค์เป็นเจดีย์ทำเป็นรูปดอกบัวบานรองรับองค์ระฆัง มีลักษณะคล้ายกับเจดีย์วัดตองปุ (ลพบุรี) อ.เมืองลพบุรี ซึ่งสร้างขึ้นครั้งปลายสมัยอยุธยานอกจากนั้นบริเวณนอกลานพระอุโบสถด้านทิศตะวันออกยังมีเจดีย์บริวารอีก ๓ องค์ เป็นเจดีย์แบบย่อมุมไม้สิบสอง เป็นเจดีย์แบบย่อมุมไม้สิบสอง ซึ่งเป็นศิลปกรรมที่แพร่หลายตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยต้นรัตนโกสินทร์

              ๓.หอระฆัง หอระฆังเป็นอาคารทรงปรางค์แปดเหลี่ยม สร้างขึ้นเมื่อปี ๒๔๖๒ ลักษณะจองการสร้างคือมีการเจาะช่องประตูและหน้สต่างเป็นช่องโค้งแหลม นับเป็นหอระฆังที่มีลักษณะที่แปลกและหาชมได้ยาก
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้