ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 26586
ตอบกลับ: 57
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระพุทธรูปปางนาคปรก

[คัดลอกลิงก์]
พระพุทธรูปปางนาคปรก


ปางนาคปรก เป็นชื่อเรียกพระพุทธรูปลักษณะนั่งสมาธิ และมีพญานาคแผ่หัวเป็นพังพานขึ้นจากไหล่ไปปรกพระเศียรของพระพุทธรูป แต่เดิมทำเป็นรูปพญานาคเป็นมนุษย์ มีรูปงู 7 หัวเป็นพังพานขึ้นจากไหล่ไปปรกพระเศียร (ศีรษะ) ในกิริยาที่พญานาคทำท่านมัสการพระพุทธเจ้า ต่อมาภายหลังทำพญานาคเป็นรูปงูขดตัวเป็นฐานตั้งพระพุทธรูปนั่งสมาธิบนตัวพญานาค และมีพังพานและหัวของพญานาค 7 เศียรปรกอยู่


2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-1-10 18:08 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ประวัติ[แก้]
หลังจากที่พระพุทธโคตมได้ทรงตรัสรู้ พระพุทธองค์ได้แปรที่ประทับเพื่อเสวยวิมุติสุขยังสถานที่ต่างๆ ในอาณาบริเวณที่ไม่ห่างจากต้นพระศรีมหาโพธิ์นักโดยประทับแต่ละที่สัปดาห์ละ 7 วัน และในสัปดาห์ที่ 6 ในขณะที่พระพุทธองค์ทรงประทับ ณ ใต้ต้นมุจลินท์ (ต้นจิก) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ เมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาประทับอยู่ที่นี่ ได้บังเกิดมีฝนและลมหนาวตกพรำตลอดเจ็ดวันไม่ขาดสาย ผู้รจนาปฐมสมโพธิได้แต่งเล่าเรื่องไว้ว่า พญานาคชื่อ มุจลินทร์ ได้ขึ้นจากสระน้ำที่อยู่ในบริเวณแห่งเดียวกันนี้ เข้าไปวงขนด 7 รอบ แล้วแผ่พังพานปกพระพุทธเจ้า เพื่อป้องกันลมฝนมิให้พัดและสาดกระเซ็นมาต้องพระวรกาย ครั้นฝนหาย ฟ้าสาง พญานาคจึงคลายขนดออก แล้วจำแลงเป็นเพศมาณพยืนเฝ้าพระพุทธเจ้าทางเบื้องพระพักตร์ ลำดับนั้นพระพุทธองค์จึงทรงเปล่งอุทานว่า

ความสงัดคือความสุขของบุคคลผู้มีธรรมอันได้สดับแล้วได้รู้เห็นสังขารทั้งปวงตามเป็นจริงอย่างไร ความสำรวมไม่เบียดเบียนในสัตว์ทั้งหลาย และ ความเป็นผู้ปราศจากกำหนัดหรือสามารถก้าวล่วงพ้นซึ่งกามทั้งปวงเสียได้ เป็นสุขอันประเสริฐในโลก ความขาดจากอัสมิมานะหรือการถือตัวตนหากกระทำให้ (การถือตัว) หมดสิ้นไปได้นั้นเป็นความสุขอย่างยิ่ง

พระพุทธโคตม
ความสำคัญ[แก้]
ครั้นพระพุทธองค์เสด็จประทับเสวยวิมุตติสุข ณ ร่มไม้อชปาลนิโครธสิ้น ๗ วัน แล้วพระองค์ก็เสด็จไปประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขยังร่มไม้จิก อันมีชื่อว่า มุจจลินท์ ซึ่งตั้งอยู่ด้านทิศอาคเนย์ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ วันนั้นเกิดฝนตกพรำอยู่ไม่ขาดสายตลอด ๗ วัน พญานาคมุจจลินท์ ผู้เป็นราชาแห่งนาค ได้ออกจากนาคพิภพ ทำขนดล้อมพระวรกาย ๗ ชั้น แล้วแผ่พังพานใหญ่ปกคลุมเบื้องบน เหมือนกั้นเศวตฉัตรถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยความประสงค์มิให้ฝนและลมหนาวสาดต้องพระวรกาย ทั้งป้องกันเหลือบ ยุง บุ้ง ร่าน ริ้น และสัตว์เลื้อยคลานทั้งมวลด้วย ครั้งฝนหายแล้ว พญามุจจลินท์นาคราช จึงคลายขนดจากที่ล้อมพระวรกาย พระพุทธเจ้า จำแลงเพศเป็นมาณพน้อยยืนทำอัญชลีถวายนมัสการพระพุทธองค์ ในที่เฉพาะพระพักตร์ ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานว่า สุโข วิเวโก ตุฏฺฐัสสะ สุตะธัมมัสสะ ปัสสะโต อัพยาปัชชัง สุขัง โลเก ปาณะภูเตสู สัญญะโม สุขา วิราคะตา โลเก กามานัง สะมะติกฺกะโม อัสมิมานัสสะ วินะโย เอตัง เว ปะระมัง สุขัง ฯ ความว่า ความสงัดเป็นสุขของบุคคลผู้มีธรรมอันได้สดับแล้ว รู้เห็นสังขารทั้งปวงตามเป็นจริงอย่างไร ความเป็นคนไม่เบียดเบียน คือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย และความเป็นคนปราศจากความกำหนัด คือความก้าวล่วงกามทั้งปวงเสียได้ เป็นสุขในโลกความนำออกเสียซึ่งอัสมินมานะ คือความถือตัวตนให้หมดได้นี้เป็นสุขอย่างยิ่ง พระพุทธจริยาที่เสด็จประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข ภายในวงขนดของพญานาคมุจจลินท์นาคราชที่ขดแวดล้อมพระกายอยู่นี้ เป็นเหตุให้สร้างพระพุทธรูปปางนี้ขึ้นมา เรียกว่า ปางนาคปรก เรื่องพระปางนาคปรกนี้ นิยมสร้างเป็นพระนั่งบนขนดตัวพญานาคเหมือนเอานาคเป็นบัลลังก์ดูสง่า องอาจเป็นพระเกียรติอำนาจของพระองค์อย่างหนึ่ง ได้ลักษณะเป็นอย่างพระเจ้าของพราหมณ์ ถ้าจะรักษาลักษณะของพระพุทธรูปตามประวัติ ก็จะเป็นไปอีกในลักษณะหนึ่งคือ พระพุทธรูปจะมีพญานาคพันรอบพระวรกายด้วยขนดตัวพญานาคถึง ๔-๕ ชิ้น จนบังพระวรกายมิดชิด เพื่อป้องกันฝนและลม จะเห็นได้ก็เพียงพระเศียร พระศอ และพระอังสาเป็นอย่างมาก ทั้งเบื้องบนก็มีหัวพญานาคแผ่พังพานปกคลุมอีกด้วย
ความเชื่อและคตินิยม[แก้]
  • เป็นพระพุทธรูปประจำวันเกิดของคนเกิดวันเสาร์
  • พระคาถาบูชา สวด 10 จบ (องคุลีมาลปริตร) ดังนี้ "ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต นาภิ ชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตา เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะ"

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/พระพุทธรูปปางนาคปรก

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-1-10 18:10 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


ปางนาคปรก
พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ หงายพระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนกันบนพระเพลา มีพญานาคแผ่พังพานปกคลุมเบื้องบนพระเศียร บางแห่งสร้างเป็นแบบขัดสมาธิเพชร

พระนาคปรกนี้มี ๒ แบบ คือ แบบหนึ่งประทับนั่งสมาธิบนขนดพญานาค แบบหนึ่งประทับนั่งสมาธิภายในวงขนดพญานาค คือพญานาคขดตัวล้อมพระกายไว้ถึงพระอังสา เพื่อป้องกันลมฝนตามตำนาน

พระพุทธรูปปางนี้ มีตำนานดังนี้

เมื่อเสด็จประทับเสวยวิมุติสุข ณ ร่มไม้ อชปาลนิโครธ ๗ วันแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จไปประทับนั่งเสวยวิมุติสุขยังร่มไม้จิก ชื่อว่า มุจจลินท์ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศอาคเนย์ของต้นมหาโพธิ์นั้น.

บังเอิญในวันนั้น เกิดมีฝนตกพรำอยู่ไม่ขาดสายตลอด ๗ วัน พญามุจจลินท์นาคราชออกจากพิภพ ทำขนดล้อมพระวรกาย ๗ ชั้น แล้วแผ่พังพานใหญ่ปกคลุมเบื้องบน เหมือนกั้นเศวตรฉัตรถวายพระผู้มีพระภาคด้วยความประสงค์มิให้ฝนและลมหนาวสาดต้องพระวรกาย ทั้งป้องกันเหลือบยุง บุ้ง ร่านริ้น และสัตว์เลื้อยคลานทั้งมวลด้วย.

ครั้นฝนหายขาดแล้ว พญามุจจลินท์นาคราชจึงคลายขนดจากที่ล้อมพระวรกายพระผู้มีพระภาคเจ้า จำแลงเพศเป็นมาณพน้อย ยืนทำอัญชลีถวายนมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้าในที่เฉพาะพระพักตร์.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงเปล่งอุทานว่า :-
สุโข วิเวโก ตุฏฺฐสฺส     สุตธมฺมสฺส ปสฺสโต
อพฺยาปชฺชํ ลุขํ โลเก     ปาณภูเตสุ สญฺญโม
สุขา วิราคตา โลเก     กามานํ สมติกฺกโม
อสฺมิมานสฺส วินโย     เอตํ เว ปรมํ สุขํ.

ความว่า ความสงัดเป็นสุขของบุคคลผู้มีธรรมอันได้สดับแล้ว รู้เห็นสังขารทั้งปวงตามเป็นจริงอย่างไร ความเป็นคนไม่เบียดเบียน คือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย และความเป็นคนปราศจากความกำหนัด คือความก้าวล่วงกามทั้งปวงเสียได้ เป็นสุขในโลก ความนำออกเสียซึ่งอัสมิมานะ คือความถือตัวตนให้หมดได้นี้ เป็นสุขอย่างยิ่ง

พระพุทธจริยาที่เสด็จประทับนั่งเสวยวิมุติสุข ภายในวงขนดของพญามุจจลินท์นาคราชที่ขดแวดวงพระกายอยู่นี้ เป็นเหตุให้สร้างพระพุทธรูปอีกปางนี้ เรียกว่า "ปางนาคปรก" ดังนั้นพระพุทธรูปปางนี้ จึงอยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ หงายพระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนกันบนพระเพลาที่นิยมสร้างชนิดนั่งสมาธิแบบพระมารวิชัยก็มี มีพญานาค ๗ หัว แผ่พังพานปกคลุมเบื้องบนพระเศียรเพื่อป้อง ลม ฝน ตามเรื่อง

เรื่องพระนาคปรกนี้ นิยมสร้างเป็นพระนั่งบนขนดตัวพญานาคเหมือนเอานาคเป็นบัลลังก์ดูสง่า องอาจเป็นพระเกียรติอำนาจของพระพุทธเจ้าอย่างหนึ่ง ได้ลักษณะเป็นอย่างพระเจ้าของพวกพราหมณ์ ลางทีจะเอาแบบลัทธิพราหมณ์มาสร้างก็ได้ แต่ลักษณะนี้ ดูจะป้องกัน ลม ฝน ไม่ได้ ไม่สมกับเรื่องที่พญานาคมาแวดวงขนดรอบพระกายเพื่อป้องกันลมฝนถวาย

ถ้าจะรักษาลักษณะของพระพุทธรูปตามเรื่องนี้ ก็จะเป็นลักษณะอีกอย่างหนึ่งคือ พระพุทธรูปจะมีพญานาคพันรอบพระกายด้วยขนดตัวพญานาค ๔-๕ ชั้น จนบังพระกายมิดชิด เพื่อป้องกัน ลม ฝน จะเห็นแต่พระเศียร พระศอ และพระอังษา เป็นอย่างมาก ทั้งเบื้องบน ก็จะมีหัวพญานาคแผ่พังพานปกคลุมอีกด้วย ขอให้ดูพระพุทธรูปปางนาคปรก ในหนังสือพุทธประวัติทัศนศึกษาที่ถ่ายมาจากโบสถ์พระแก้ว ในพระบรมมหาราชวังเป็นตัวอย่างเถิด จะเห็นเป็นจริงตามลักษณะของเรื่องนี้ มิใช่อย่างที่นิยมสร้างกันอยู่ในบัดนี้ หากแต่รูปแบบนี้ไม่งาม ถ้าคนที่ไม่ทราบเรื่องมาก่อนอาจเห็นไปว่าพระถูกพญานาครัดจะกลืนกินก็ได้ แต่คนไม่รู้แล้วไม่เรียนให้รู้ เราก็จะช่วยอะไรไม่ได้เหมือนกัน.
พระพุทธรูปปางนาคปรกนี้ นิยมสร้างเป็นพระพุทธรูปที่สักการบูชาประจำวัน ของคนเกิดวันเสาร์.
ข้อมูลจากหนังสือ "ตำนานพระพุทธรูปปางต่าง ๆ" นิพนธ์ของ พระพิมลธรรม ราชบัณฑิต (ชอบ อนุจารีมหาเถร)


ที่มา http://www.onab.go.th/index.php? ... 5-34&Itemid=279
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-1-10 19:34 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

พระพุทธรูปปางนาคปรก วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ ( นั่ง ) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองวางหงายซ้อนกันบนพระเพลา ( ตัก ) พระหัตถ์ขวาซ้อนทับพระหัตถ์ซ้าย เหมือนปางสมาธิ แต่มีพญานาค ขดร่างเป็นวงกลมเป็นพุทธบัลลังก์ และแผ่พังพานปกคลุมอยู่เหนือพระเศียร
ความเป็นมาของปางนาคปรก
   
         พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จออกจากใต้ร่มไทร เสด็จประทับที่ใต้ต้นมุจลินท์ ( ต้นจิก ) ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ฝนเจือลมหนาวตกพรำอยู่ตลอดเวลา ๗ วันไม่ขาดสาย พญานาคราชชื่อมุจลินท์ ราชาแห่งนาคพิภพได้ขึ้นมาจากบาดาล ขนดกายเป็นพุทธบัลลังก์ แล้วแผ่พังพานเหมือนกั้นเศวตฉัตรถวายพระพุทธองค์ ปกป้องมิให้ลมฝน ยุง เหลือบ ริ้น ไร และสัตว์เลื้อยคลานมาต้องพระวรกาย เมื่อฝนหยุด พญานาคราชจึงจำแลงกายเป็นชายหนุ่มมาถวายนมัสการต่อพระพุทธองค์

ที่มา http://www.itti-patihan.com/พระพุทธรูปปางนาคปรก.html
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-1-10 19:36 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระปางนาคปรกปางมหานาค องค์ใหญ่ที่สุดในโลก


พระพุทธรูปปางนาคปรก ปางมหานาคประมาณช่วงฤดูร้อนของปี พ.ศ. ๒๕๔๑ หลวงปู่หลวงได้มีโอกาสไปพักผ่อนภาวนาที่น้ำตกแจ้ซ้อน อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน อ.เมืองปาน จ.ลำปาง โดยไปพักอยู่ที่สวนของลูกศิษย์คนหนึ่ง อากาศที่แจ้ซ้อนเย็นสบายมาก วันหนึ่งหลวงปู่บอกว่า “ได้นิมิตว่าเทวดามาบอกให้สร้างพระพุทธรูปปางนาคปรกองค์ใหญ่ โดยเอาเลข ๙ ขึ้นหน้า ให้สร้างไว้บนภูเขาใน จ.ลำปาง เมื่อสร้างเสร็จแล้วเมืองลำปางจะอุดมสมบูรณ์”

ด้วยเหตุนี้หลวงปู่หลวง กตปุญโญ จึงมีดำริโครงการที่จะสร้าง “พระพุทธรูปปางนาคปรก” องค์ใหญ่ ขนาดหน้าตักกว้าง ๙.๙๙ เมตร สูง ๒๘ เมตร เพื่อปกป้องคุ้มครอง แล้วนำไปประดิษฐานไว้ ณวัดคีรีสุบรรพต (วัดสามัคคีบุญญาราม) บ้านทุ่งสามัคคี ต.พระบาท อ.เมือง จ.ลำปาง

ปัจจุบัน สำนักสงฆ์คีรีสุบรรพต ได้รับการยกฐานะขึ้นให้เป็นวัดอย่างถูกต้องสมบูรณ์แล้ว ต่อมา วัดคีรีสุบรรพต ได้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่โดยมีชื่อทางราชการว่า วัดสามัคคีบุญญาราม

เมื่อออกพรรษาในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ แล้ว จึงได้ปรับปรุงเตรียมพื้นที่และได้ทำการประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เพื่อทำการก่อสร้างพระพุทธรูปปางนาคปรกองค์ใหญ่ โดยหลวงปู่หลวงได้มอบหมายงานทุกอย่างให้กับ พระเทพวิสุทธิญาณ (ท่านพระอาจารย์ไพบูลย์ สุมงฺคโล) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระปัญญาพิศาลเถร แห่งวัดอนาลโยทิพยาราม ต.สันป่าม่วง อ.เมือง จ.พะเยา เป็นผู้ควบคุมดูแลทั้งในเรื่องการเขียนแบบแปลน การจัดหาช่างมาก่อสร้าง ซึ่งงานนี้เป็นงานที่สำคัญมาก โครงสร้างจะต้องแข็งแรงมั่นคงทำให้คำนวณแบบแปลนยาก กระทั่งเป็นเหตุทำให้งานก่อสร้างได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๔๕ นี้เอง ซึ่งการก่อสร้างได้ดำเนินการไปเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง โดยใช้งบประมาณกว่า ๒๐ ล้านบาทโดยประมาณ ในที่สุดการดำเนินการก่อสร้างก็สำเร็จสมบูรณ์เป็นที่เรียบร้อย และได้มีการจัดงานฉลองสมโภช “พระพุทธรูปปางนาคปรก” องค์นี้ขึ้นเมื่อวันเสาร์-วันอาทิตย์ที่ ๒๔-๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นเวลา ๒ วัน ณ วัดคีรีสุบรรพตhttp://www.facebook.com/#!/profile.php?id=100003726340235

เขียนโดย วัดสามัคคีบุญญาราม (วัดดอยหลวงปู่หลวง)ที่ 22:00


ที่มา http://watsamakeeboonyaram.blogspot.com/2012/04/blog-post.html


6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-1-10 19:59 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


พระพุทธรูปปางนาคปรกแบบศิลปะไทย เดินกลับเข้าทางเดินอีกครั้งหลังจากเข้าวิหารพระหมื่นปี เห็นพระพุทธรูปปางนาคปรกขนาดใหญ่มากองค์หนึ่งในวัดอนาลโยทิพยาราม สร้างด้วยศิลปะแบบไทยและใช้สีสันที่สวยงาม

ที่มา http://www.touronthai.com/วัดอนาลโยทิพยาราม-7000017.html#.Us_uakQ1OYA
metha ตอบกลับเมื่อ 2014-1-10 19:59
พระพุทธรูปปางนาคปรกแบบศิลปะไทย เดินกลับเข้าทางเดิ ...

สวยงาม
8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-1-10 20:10 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้




พระปางนาคปรก ..เมืองลาว

ที่มา http://talongirls.blogspot.com/2005/12/3012_30.html
9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-1-10 20:25 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

กฟผ.ลำตะคอง

ที่มาhttp://www.bloggang.com/m/viewdi ... oup=13&gblog=23
10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-1-10 20:37 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


พระพุทธรูปปางนาคปรก ด้านข้างพระอุโบสถ
วัดพระศรีมหาธาตุ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร สร้างเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๓ ตั้งอยู่ริมถนนพหลโยธิน ตรงหลักกิโลเมตรที่ ๑๘ ตำบลอนุสาวรีย์ (เดิมชื่อตำบลกูบแดง) อำเภอบางเขน กรุงเทพมหานคร


ที่มาhttp://moohin.in.th/trips/bangkok/watphrasri/
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้