จัดสร้างโดย วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลกสมัยพระอาจารย์ ถนอม เขมจาโร และพระครูบวรชินรัตน์
โดยมีสมเด็จพระวันรัต (ปุ่ ปุณณสิริ) ซึ่งค่อมาเป็น สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นประธานฝ่าย
สงฆ์และทรงจุดเทียนชัย พระอาจารย์ ไสว สุมโน เป็นเจ้าพิธี พระครูวามเทพมุนี เป็นประธานฝ่ายพราหมณาจารย์ และพล
โท สำราญ แพทยกุล แม่ทัพภาพที่ 3 เป็นประธานฝ่ายฆราวาสและหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ทำพิธีดับเทียนชัย
วัตถุประสงค์ เพื่อจัดหาจตุปัจจัยในการสร้างพระอุโบสถวัดนางพญา เพื่อเป็นสถานที่ประกอบสังฆกรรมแห่งสงฆ์ โดย
เริ่มต้นดำเนินการเมื่อวันพุธ ที่ 29 มกราคม 2512 เวลา 9 นาฬิกา 12 นาที เป็นปฐมฤกษ์ตามพระฤกษ์สร้างพระอุโบสถที่ได้
รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และได้ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกมหาจักรพรรดิ์ตราธิราชตามจารีต
ประเพณีโบราณาจารย์ เมื่อวันเสาร์ที่ 30 มกราคม 2514 ในวิหารวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก
เจ้าอาวาสวัดนางพญาเล่าว่าพิธีพุทธาภิเษกในครั้งนั้นต้องเรียกว่าเป็นอภิมหาพิธีพุทธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่ ที่สุด
ในยุคนั้นมีสุดยอดเกจิอาจารย์จากทั่วประเทศร่วมพิธี อาทิเช่น หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ ฉิมพลี หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่ผาง
หลวงปู่แหวน หลวงพ่อเกษม หลวงพ่อแพ เป็นต้น มีการถ่ายทอดเสียงออกอากาศทางสถานีวิทยุไปทั่วประเทศตลอดวัน
ตลอดคืน เริ่มตั้งแต่เวลา 06.05 น.ประกอบพิธีบวงสรวงครูบาจารย์ และอดีตเจ้าอาวาสตามด้วยพิธีถวายเครื่องสักการะบูชา
พระพุทธชินราช พิธีถวายเครื่องสักการะบูชาบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พิธีถวายเครื่องสักการะบูชาพระคุณ
พระรัตนตรัย พิธีบวงสรวงเทพยดาและพิธีบวงสรวงบูชาฤกษ์ เวลา 16.00 น. สมเด็จพระวันรัต ประธานฝ่ายสงฆ์ ทรง
อธิษฐานจิตจุดเทียนชัย พระคณาจารย์จากทั่วประเทศนั่งปรกรอบมณฑลพิธีภาวนาปลุกเสกตลอดเวลา เวลา 19.30 น. จุด
เทียนชัยมหาพุทธาภิเษก เวลา 02.00 น. เริ่มต้นสวดคาถาพระจักรพรรดิ์ตราธิราช พระคณาจารย์นั่งปรกเจริญภาวนาปลุก
เสกตลอดรุ่ง และหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมได้กระทำพิธีดับเทียนชัย ณ เวลา 06.05 น. ในครั้งนั้นวัดนางพญาได้จัด
สร้างวัตถุมงคลหลายรายการที่สำคัญ คือ พระนางพญาเนื้อดินเผาที่พบอยู่ในขณะนี้ ตามประวัติการสร้างเป็นพระนางพญา
ที่ถอดพิมพ์และผสมเนื้อพระนางพญาจากกรุพระนางพญามี 2 พิมพ์คือ พิมพ์ใหญ่ (เข่าโค้ง) และ พิมพ์เล็ก (สังฆาฏิ) โดย
อัญเชิญพระฤกษ์ พระราชทานประดิษฐานด้านหลังพระนางพญารุ่นนี้ทุกองค์ ปั้นกดพระด้วยมือและใช้ใบเลื่อยตัดออกทีละ
องค์ๆ สันนิษฐานว่าสร้างจำนวน 84,000 องค์ บูชาในขณะนั้นองค์ละ 10 ปี ปัจจุบันเล่นหากันอยู่องค์ละ 1,000 - 2,000
บาท แล้วแต่สภาพว่าสวยหรือไม่สวย
|