ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
มรดกขลัง หลากหลายเกจิอาจารย์
»
พระว่านยาของดีวัดเสนหา
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 8556
ตอบกลับ: 2
พระว่านยาของดีวัดเสนหา
[คัดลอกลิงก์]
oustayutt
oustayutt
ออฟไลน์
เครดิต
22903
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2013-12-26 16:12
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
หลวงพ่อขาว-หลวงพ่อดำ พระว่านยาของดีวัดเสนหา(1)
มุมพระเก่า
อภิญญา
วัดเสนหา หรือชาวบ้านนิยมเรียกว่า วัดเสน่หา พระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ริมพระราชวังสนามจันทร์ (ในอดีตเป็น ที่ว่าการมณฑลนครชัยศรี) ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมืองนครปฐม มีพระเครื่องที่น่าสนใจ และหลายๆ คนมองข้ามอย่างน่าเสียดาย
"พระว่านสมเด็จสองพี่น้อง" หรือ "พระสมเด็จหลวงพ่อดำ-หลวงพ่อขาว"
พระเครื่องดังกล่าวดังมานาน 30 กว่าปีแล้ว ถึงแม้ว่าจะพอพบเห็นกันอยู่บ้างก็มักจะมองผ่านไป ด้วยเหตุที่ไม่ทราบถึงแหล่งที่มาประการหนึ่ง และทางวัดเองก็ไม่ได้มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ พระว่านยาทั้งสองพิมพ์ จึงรู้กันแต่ในวงจำกัดว่า "ดีพร้อม" ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าพระว่านยาหรือพระผงยาของสำนักอื่นๆ กรรมวิธีการสร้างก็ยุ่งยากซับซ้อน ตั้งแต่จัดรวบรวมมวลสารต่างๆ จนกระทั่งถึงพิธีพุทธาภิเษก
มูลเหตุการจัดสร้างพระเครื่องพระว่านยาทั้ง 2 พิมพ์คือ ชนิดเนื้อสีขาวและชนิดเนื้อ สีดำ เพราะทางวัดขาดแคลนทุนทรัพย์ที่จะนำมา บูรณ ปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุต่างๆ เพราะลำพังเงินบริจาคของ พุทธศาสนิกชน และเงินผลประโยชน์ของวัดเองนั้น มีจำนวนไม่เพียงพอที่จะนำมาดำเนินการได้ ฉะนั้นในวาระที่ทางวัดจะจัดพิธีหล่อรูปเหมือน พระเทพเจติยาจารย์ (วงค์)เจ้าอาวาส ทางคณะกรรมการวัดจึงดำเนินงานจัดสร้างพระเครื่องวัตถุมงคลดังกล่าวนี้ขึ้นเพื่อสมนาคุณ ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงินสมทบทุนบูรณะและพัฒนาวัดเสนหา
ผู้ดำเนินการจัดสร้างคือ พระเทพกิติเมธี (สิริ ฐานยุตโต) เจ้าอาวาสรูปที่ 4 แห่งวัดเสนหา เนื่องในโอกาสหล่อรูปเหมือนเท่าองค์จริงของหลวงปู่ใหญ่ (พระเทพเจติยาจารย์) หรือ หลวงพ่อวงศ์ วัดเสนหา ศิษย์เอกพระพุทธวิถีนายก หรือ หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว เมื่อวันเสาร์ห้า ตรงกับ วันแรม 5 ค่ำ เดือน 5 ซึ่งตรงกับ วันที่ 13 เมษายน 2506
มวลสารหลักที่ใช้สร้าง พระหลวงพ่อดำ-หลวงพ่อขาว ได้แก่ ว่านยา 108 ชนิด ที่มีคุณวิเศษ ไม่ซ้ำกัน อาทิ พระยาว่าน ว่านท้าวมหาพรหม ว่านแม่โพสพ ว่านนะโมพุทธายะ ว่านช้างผสมโขลง ว่านขุนแผน ว่านพิชัยดาบหัก ฯลฯ ดอกไม้ 108 ชนิด ที่ไม่ซ้ำกัน อาทิ ดอกปทุมบัวหลวง ดอกเสี่ยงทาย ดอกสาวตามชู้ ดอกว่านหางกระรอก ดอกรัก ไม่ลืม ดอกดาบนารายณ์ ดอกเสือหมอบ ฯลฯ แต่ที่ขาดไม่ได้ก็คือ ดอกว่านขันหมากเงิน-ขันหมากทอง ซึ่งต้องเก็บในวันเข้าพรรษา อย่างละ 9 ดอก นำไปบูชาที่หน้าพระพุทธรูปพร้อมกับสวดมนต์ปลุกเสกทุกวัน จนครบไตรมาส จึงจะนำมาใช้ได้
น้ำท่า 108 บาง ที่ไม่ซ้ำกัน อาทิ บางไทร บางเลน บางพระ บางอ้อม บางระกำ เป็นต้น ดอกไม้บูชาพระประธานในพระอุโบสถ คืนวันเข้าพรรษา และต้องนำมาถึงที่วัดเสนหาภายในคืนวันเข้าพรรษา 108 วัด ดอกไม้ที่พุทธศาสนิกชนนำไปบูชาพระประธานในพระอุโบสถเนื่องในวันมาฆบูชา และต้อง นำกลับมาที่วัดเสนหาภายในคืนวันมาฆบูชา 108 วัด น้ำในมหานที 9 สาย นำมา ทำน้ำมนต์ประพรม พระหลวงพ่อดำ-หลวงพ่อขาว
ตะไคร่น้ำ ที่พระบรมมหาเจดีย์ 9 แห่งดินโป่ง 9 แห่ง แร่ธาตุ 9 ชนิด อาทิ แร่สังขวานร เป็นต้น ผงวิเศษได้จากที่ต่างๆ กัน 11 ชนิด อาทิ ผงหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ ที่หลวงปู่เฮี้ยง ใช้ในการผสมสร้างพระปิดตาของท่าน เป็นต้น ดินจากสังเวชนียสถาน 4 ตำบล คือ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงพระธัมมจักฯ และที่ปรินิพพาน ผงวิเศษ 5 ชนิด ของ อ.ชุมไชยคีรี
น้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์จากสถานที่ต่างๆ 14 แห่ง อาทิ น้ำมนต์จากพิธี 25 พุทธศตวรรษ ที่ท้องสนามหลวง น้ำมนต์หลวงพ่อทิม วัดช้างให้ น้ำมนต์ในพระอุโบสถวัดพระแก้ว เป็นต้น ขี้เถ้าธูปจากกระถางบูชาในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ 11 แห่ง อาทิ ศาลพ่อตาหินช้าง ศาลหลักเมืองปัตตานี หลวงพ่อทวดวัดช้างให้ เป็นต้น
นอกจากสิ่งของที่กล่าวมาข้างต้น ยังได้ดอกไม้ที่ในหลวงใช้บูชาพระแก้วมรกต
ในคืนวันจาตุรงคสันนิบาต เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2506 มาผสมด้วย
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
oustayutt
oustayutt
ออฟไลน์
เครดิต
22903
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-12-26 16:13
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หลวงพ่อขาว-หลวงพ่อดำ พระว่านยาของดีวัดเสนหา(จบ)
มุมพระเก่า
อภิญญา
สมเด็จว่านยา
พระสมเด็จหลวงพ่อดำ-หลวงพ่อขาว ทำพิธี พุทธาภิเษกถึง 3 วาระด้วยกัน ครั้งที่ 1 นำว่านยาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมด ที่จะใช้สร้างพระสมเด็จหลวงพ่อดำ-หลวงพ่อขาว ทำพิธีพุทธาภิเษกด้วยพระปาติโมกข์ ในพระอุโบสถ ในวันจาตุรงคสันนิบาต วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2506
ครั้งที่ 2 นำว่านยาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมดที่ผ่านการบดละเอียดเป็นผงแล้ว มาทำพิธีบวงสรวงเทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งมวลให้ร่วมเทวาภิเษกเพื่อให้เป็น ทิพยวัตถุ โดยมีพระสงฆ์ 32 รูปเท่าอาการ 32 ของคน ร่วมทำพิธีเจริญพระพุทธมนต์ สวดชยันโต และทำพิธีกดพิมพ์เป็นปฐมฤกษ์
ครั้งที่ 3 นำพระสมเด็จหลวงพ่อดำ- หลวงพ่อขาว ที่กดพิมพ์เรียบร้อย ลงทำพิธีพุทธาภิเษก ระหว่างวันที่ 13-15 เมษายน 2506 โดยมี พระเทพเจติยาจารย์ (วงศ์) หรือหลวงปู่ใหญ่ เป็นผู้จุดเทียนชัยเป็นปฐมฤกษ์
พระเกจิอาจารย์ที่โด่งดังในยุคนั้น เข้าร่วมในพิธีพุทธาภิเษก อาทิ พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน จ.นครศรีธรรมราช หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา จ.นครปฐม หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม ท่านเจ้าคุณวรพรตปัญญาจารย์ (เฮี้ยง) วัดอรัญญิการาม จ.ชลบุรี หลวงพ่อนารถ วัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง จ.กาญจนบุรี หลวงพ่อสำเนียง วัดเวฬุวนาราม จ.นครปฐม หลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก จ.สุพรรณบุรี หลวงพ่อลำเจียก วัดศาลาตึก จ.นครปฐม หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ กรุงเทพฯ ฯลฯ โดยมีอาจารย์ชุม ไชยคีรี เป็นเจ้าพิธี ตลอดทั้ง 3 วัน 3 คืน
พระเครื่องทั้งหมดแบ่งออกเป็น 2 พิมพ์ 2 สี เรียกว่า พระว่านยา หลวงพ่อขาวและหลวงพ่อดำ เนื่องจากเป็นพระที่ค่อนข้างตื้นรายละเอียดต่างๆ บางองค์ก็ติดชัดเจนดีบางองค์ก็เกือบจะมองไม่เห็น พระว่านยาหลวงพ่อขาวเป็นพระปางปฐมเทศนา ประทับนั่งบนฐานบัวสองชั้นข้างล่างมีอักษรไทยว่า หลวงพ่อขาว ด้านหลังเป็นยันต์ประกอบอักขระขอม พระว่านยาหลวงพ่อดำเป็นพระปางสมาธิ ประทับนั่งบนฐานบัวเช่นกัน และด้านล่างมีอักษรไทยว่า หลวงพ่อดำ ด้านหลังมียันต์และอักขระขอม
หลวงพ่อเงิน
พระว่านยาหลวงพ่อดำและหลวงพ่อขาวมีพระพุทธคุณและอุปเท่ห์การบูชาอยู่ในตำรา ซึ่งกล่าวไว้ว่าพระหลวงพ่อดำมีมหิทธานุภาพ ทางแคล้วคลาดภยันตรายและเป็นเมตตามหานิยม อำนวยโชคลาภผล พระหลวงพ่อขาวทรงมหิทธานุภาพ ทางคงกระพันชาตรีป้องกันสรรพาวุธสัตว์เขี้ยวเล็บงา และภูตผีปีศาจ
อุปเท่ห์การนำพระว่านยาทั้งสองชนิดติดตัว หรือแก้ไขคุณไสยและบรรดาพิษภัยร้ายทั้งปวง ให้ระลึกถึงคุณพระศรีรัตนตรัย คุณบิดามารดาครูบาอาจารย์ และผู้มีพระคุณ แล้วจึงบริกรรมพระคาถา นะโม อิสวาสุ อิติตังสะปาระมิโย อารักขันตุ ครบ 3 คาบ
การนำพระสมเด็จหลวงพ่อดำ-หลวงพ่อขาว ไปใช้โดยอาราธนาติดตัว ให้ว่าด้วย นโม 3 จบแล้วต่อด้วย "นโม อิสวาสุ อิติ ติสปารมิโย อารักขันตุ" ครบ 3 จบ
พระว่านยาทั้งสองชนิดนี้มีข้อห้ามอยู่ ด้วยว่า อย่าได้นำพระไปใช้ในทางทุจริตผิดกฎหมาย และศีลธรรมเป็นอันขาด ซึ่งหากฝ่าฝืนจะเกิดโทษนานัปการ ตรงกันข้ามถ้า นำไปใช้ในทางที่ชอบก็ถูกที่ควรแล้ว จะเกิดสิริมงคลอย่างอนันต์
แม้จะเป็นพระเครื่องที่มีการจัดสร้างจำนวนมาก และราคาไม่สูง แต่ด้วยกาลเวลาที่ผ่ามาเกือบ 50 ปี จึงทำให้ไม่ค่อยพบเห็นในสนาม เพราะวงการพระไม่ค่อยให้ความสนใจ
ยกเว้นบางคนที่ล่วงรู้ถึงประวัติการสร้างจะเก็บไว้ในฐานะ
"พระดี-ราคาเบา-พระเก่า-พิธีใหญ่"
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
sriyan3
sriyan3
ออฟไลน์
เครดิต
2969
3
#
โพสต์ 2013-12-27 09:23
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ขอบคุณคร้าบ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...