ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 9208
ตอบกลับ: 4
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ศาลไคฟง

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย รามเทพ เมื่อ 2013-12-26 09:05

  (เปาบุ้นจิ้น)





   


    ศาลไคฟง ท่านเปาบุ้นจิ้น ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในเรื่องความยุติธรรม ในสมัยราชวงศ์ซ่ง สร้างขึ้นใน ค.ศ. 1984 บนเนื้อที่ 4,000 ตร.ม. โดยสร้างตามแบบสมัยราชวงศ์ซ้อง เป็นสถานที่ที่ใช้ในการพิพากษาคดีของท่านเปาบุ้นจิ้น ขุนนางผู้ที่มีความซื่อสัตย์ยุติธรรมจนเป็นที่เลื่องลือแห่งราชวงศ์ซ่ง ปัจจุบันอยู่ในอำเภอไคฟงหรืออดีตคือกรุงไคฟง จังหวัดเจิ้งโจว มณฑลเหอหนาน ประเทศจีน เดิมจมน้ำพังทลายไปหมดสิ้น ต่อมารัฐบาลจีนได้บูรณะขึ้น ปัจจุบันในเวลาเก้านาฬิกาของทุก ๆ วัน จะมีผู้แต่งกายเป็นเปาบุ้นจิ้นออกมาเปิดศาลไคฟงรับเรื่อง


ราวร้องทุกข์และพิจารณาคดี นอกจากนี้ ที่ศาลใหม่ดังกล่าวมีการจัดแสดงไว้ที่หน้าห้องว่าความซึ่งชุดเครื่องประหารของเปาบุ้นจิ้น ด้านในห้องมีหุ่นขี้ผึ้งของคณะเปาบุ้นจิ้น ด้านมี "ชิงซินโหลว" หรือ "บ้านใจบริสุทธิ์" เชื่อกันว่าเป็นจวนของเปาบุ้นจิ้น โดยเป็นหอสูงสี่ชั้น ชั้นที่หนึ่งปัจจุบันมีรูปปั้นเปาบุ้นจิ้นอยู่ รูปปั้นนี้หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์สูง 3.8 เมตร หนัก 5.6 ตัน นับว่าเป็นรูปปั้นที่หนักที่สุดในเมืองจีน

     เปาบุ้นจิ้นนั้นเป็นที่เลื่องลือกันทั่วไปถึงความเข้มงวดในการปฏิบัติราชการ ความกตัญญูกตเวที และการปฏิเสธความอยุติธรรมและการทุจริตในหน้าที่ราชการชนิดหัวชนฝา ชื่อเสียงดังกล่าวทำให้เปาบุ้นจิ้นกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความบริสุทธิ์ยุติธรรม และได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วกระทั่งต่อมาได้รับความนับถือเลื่อมใสถึงขนาดยกย่องเสมอเทพเจ้า

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-26 08:44 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ส่วนวรรณกรรมเรื่อง เจ็ดผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม ว่า


พระจักรพรรดิเหรินจงโปรดให้เปา เจิ่ง ไปตรวจสอบผัง อวี้ (龐昱 Páng Yù ?) ซึ่งโปรดให้เป็นข้าหลวงไปรับมืออุทกภัย ผัง อวี้ นั้นเป็นบุตรของผัง จี๋ (庞籍 Páng Jí ?) และดำรงฐานันดรศักดิ์ "อันเล่อโหว" (安樂侯 ānlè hóu ?; Marquis of Anle) พระจักรพรรดิจึงพระราชทานอาญาสิทธิ์ให้แก่เปา เจิ่ง สามประการ กงซุน เช่อ จึงออกแบบเครื่องประหารสามหลัง มีลักษณะเป็นแท่น ทำเป็นรูปสัตว์ มีใบมีดประทับอยู่ปลายข้างหนึ่ง เปิดขึ้นและฟันลงกับแท่นนั้นได้ แล้วขอให้พระราชทานเป็นอาญาสิทธิ์ใช้ "ประหารก่อน รายงานทีหลัง" ได้ ก็โปรดให้ตามนั้น เครื่องประหารทั้งสามหลังประกอบด้วย


  • เครื่องประหารหัวสุนัข หรือฉบับแปลไทยเรียก "มีดตัดหัวสุนัข" (狗頭鍘 gǒutóuzhá ?) เป็นรูปสุนัข สำหรับประหารชีวิตไพร่
  • เครื่องประหารหัวพยัคฆ์ หรือฉบับแปลไทยเรียก "มีดบั่นศีรษะพยัคฆ์" (虎頭鍘 hǔtóuzhá ?) เป็นรูปเสือ สำหรับประหารชีวิตข้าราชการ
  • เครื่องประหารหัวมังกร หรือฉบับแปลไทยเรียก "มีดปลิดเศียรมังกร" (龍頭鍘 lóngtóuzhá ?) เป็นรูปมังกร สำหรับประหารชีวิตพระยูรญาติ

พระจักรพรรดิเจินจงยังพระราชทานสิ่งสำคัญอีกหลายสิ่งให้แก่เปา เจิ่ง เป็นต้นว่า พระแส้ทองคำ (金黄夏楚 jīnhuángjiáchǔ ?) ใช้เฆี่ยนพระจักรพรรดิปัจจุบันได้ และพระแสงดาบอาญาสิทธิ์ (尚方寶劍 shàngfāngbǎojiàn ?) เมื่อเชิญออกแสดงแล้ว ผู้คนทั้งปวงต้องเชื่อฟังประหนึ่งเป็นพระจักรพรรดิ

ในเรื่อง เจ็ดผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม นั้น เปา เจิ่ง ยังเป็นพระสหายของอ๋องแปด (八王爺 Bāwángyé ?; Eighth Prince)

พระอนุชาของพระจักรพรรดิเจินจง และมักหมางใจกับผัง จี๋ ผู้เป็นราชครู (太師 tàishī ?; Grand Tutor) และเป็นพระศวศุระของพระจักรพรรดิเหรินจง เนื่องจากเปา เจิ่ง พิพากษาประหารชีวิตผัง อวี๋ ผู้เป็นบุตร แต่ในทางประวัติศาสตร์ ไม่ปรากฏเหตุผลที่ผัง จี๋ ปฏิบัติต่อเปา เจิ่ง อย่างศัตรูแต่ประการใด

http://th.wikipedia.org/wiki
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-26 08:48 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เปา เจิ่ง ตามสำเนียงกลาง หรือ เปาจิ้น ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (จีน: 包拯; พินอิน: Bāo Zhěng)


หรือในวรรณกรรมเรียก เปา เหวินเจิ่ง ตามสำเนียงกลาง หรือ เปาบุ้นจิ้น ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (包文拯 Bāo Wén Zhěng ?; 11 เมษายน พ.ศ. 1542 — 20 พฤษภาคม พ.ศ. 1605) เป็นข้าราชการชาวจีนซึ่งมีชีวิตอยู่ในสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือในรัชกาลพระจักรพรรดิเหรินจง ดำรงตำแหน่งหลายหลากในราชการพลเรือน ตั้งแต่นายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด ตำแหน่งสุดท้ายคือเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง) มีชื่อเสียงเป็นอันมากในด้านการตรวจสอบทุจริตในวงราชการ ได้รับยกย่องเป็นรัฐบุรุษในสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ และมีกิตติคุณเล่าขานกันทั่วไปสืบ ๆ มา ทั้งในรูปแบบมุขปาฐะ วรรณกรรม และอุปรากร ปัจจุบัน นับถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความยุติธรรม


ก่อนรับราชการ

พงศาวดารซ่งว่า เปา เจิ่ง เกิดในครอบครัวนักวิชาการ ณ เมืองหลูโจว หรือปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองเหอเฝย์ อยู่ในมณฑลอันฮุย
ครอบครัวเปา เจิ่ง นั้นมีฐานะปานกลาง บิดามารดาสามารถส่งเสียให้เขาร่ำเรียนได้ตลอดรอดฝั่ง แต่ก่อนจะให้กำเนิดเขานั้น มารดาต้องขึ้นเขาลงห้วยไปหาของป่าและฟืนมาขายเพื่อเก็บหอมรอมริบไว้สำหรับวันข้างหน้าอยู่พักใหญ่ เปา เจิ่ง เติบโตขึ้นในท่ามกลางสังคมชั้นล่างซึ่งเป็นพลเมืองหลักของประเทศ จึงรับรู้และเข้าใจปัญหาของคนทั้งนั้นเป็นอย่างดี


ครั้น พ.ศ. 1570 อายุได้ยี่สิบเก้าปี เปา เจิ่ง ก็เข้าสอบขุนนางและผ่านได้เป็นบัณฑิตหลวงเรียก "จิ้นชื่อ" (进士 Jìnshì ) แต่มิได้เข้ารับราชการทันที เขาขอผัดออกไปอยู่บ้านเกิดเพื่อปรนนิบัติบิดามารดาผู้ชราเสียก่อน เวลานั้น หลิว ยุน (刘赟 Liú Yūn ) เป็นผู้ว่าราชการเมืองหลูโจว มีใจซื่อตรง ทั้งยังเป็นกวีผู้มากความสามารถ พอใจคบหาผู้มีสติปัญญา จึงมาอบรมสั่งสอนเปา เจิ่ง ที่บ้านเป็นนิจ บ่มเพาะให้เปา เจิ่ง มีใจกรุณาต่อราษฎรและต่อต้านการทุจริต


4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-26 08:50 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เมื่อบิดามารดาถึงแก่ความตายใน พ.ศ. 1580 และปลงศพตามประเพณีแล้ว เปา เจิ่ง จึงกลับมารับใช้แผ่นดิน เริ่มแรกเขาได้ปกครองอำเภอเทียนฉั่ง มณฑลอันฮุย มีบันทึกว่า ครั้งนั้น ชาวนาผู้หนึ่งมาร้องทุกข์ว่า โคของตนถูกลอบตัดลิ้น เปา เจิ่ง จึงสั่งให้เขากลับบ้านไปฆ่าโคนั้นทิ้งเสีย แต่อย่าได้แพร่งพรายเรื่องนี้แก่ผู้ใด ตามกฎหมายสมัยนั้น การฆ่าปศุสัตว์เป็นสิ่งต้องห้าม เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากทางราชการ ชาวนาผู้นั้นก็กลับไปปฏิบัติตามคำสั่ง เช้าวันต่อมา มีชายอีกผู้หนึ่งมาฟ้องเปา เจิ่ง ว่า ชาวนาข้างบ้านได้ลอบฆ่าโค เปา เจิ่ง ตบโต๊ะตวาดชายผู้นั้นว่า ลอบตัดลิ้นโคเขาแล้วยังมาฟ้องกล่าวหาเขาอีกเล่า ชายผู้นั้นตกใจที่เปา เจิ่ง ล่วงรู้ความจริงก็รับสารภาพว่า ตนผิดใจกับชาวนามาแต่เดิมแล้ว จึงกลั่นแกล้งตัดลิ้นโคเขาเสีย เขาจะได้จำใจฆ่าโคนั้นทิ้ง และจะได้มีความผิดฐานฆ่าปศุสัตว์


ต่อมา ในขณะที่ย้ายไปปกครองอำเภอตวนโจว อยู่ในมณฑลกวางตุ้งปัจจุบัน ซึ่งเป็นแหล่งขึ้นชื่อด้านผลิตจานฝนหมึก เปา เจิ่ง ตรวจสอบพบว่า ผู้ปกครองคนก่อน ๆ มักขูดรีดจานฝนหมึกจำนวนมากจากราษฎร เมื่อทำราชการอยู่ที่อำเภอนี้ เปา เจิ่ง จึงใช้จานฝนหมึกเพียงอันเดียว โดยกล่าวว่า ความจำเป็นมีเท่านั้น ครั้นต้องย้ายไปท้องที่อื่น ประชาชนรักใคร่ก็นำจานฝนหมึกมามอบให้เป็นของขวัญมากมาย เปา เจิ่ง ไม่รับไว้เลย และโยนจานฝนหมึกที่ใช้ประจำอยู่นั้นทิ้งลงสู่แม่น้ำกวางตุ้ง


สติปัญญาของเปา เจิ่ง นั้นเป็นที่ต้องใจของประชาชน เขาจึงได้ดำรงตำแหน่งในราชการพลเรือนหลายตำแหน่งทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค พงศาวดารว่า ในระหว่างที่เปา เจิ่ง รับราชการอยู่นั้น เปา เจิ่ง ได้ไล่และลดตำแหน่งข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยไปมากกว่าสามสิบคนในข้อหาฉ้อราษฎร์บังหลวง กินสินบน และละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เปา เจิ่ง เคยถวายรายงานกล่าวโทษ จาง เย่าโจว (张耀洲 Zhāng Yàozhōu ?) พระปิตุลาของพระสนม ถึงหกครั้ง กล่าวโทษหวัง กุ๋ย (王夔 Wáng Kuí ?) ข้าราชการคนโปรดของพระมหากษัตริย์ อีกเจ็ดครั้ง และกล่าวโทษซ่ง หยาง (宋洋 Sòng Yáng ?)


ผู้เป็นเจ้าพระยามหาอุปราช (นายกรัฐมนตรี) อีกหลายครั้ง   เปา เจิ่ง นั้น แต่ครั้งที่ดำรงตำแหน่งขุนนางทัดทาน (御史台 yùshǐtái ?) ยังได้ทูลคัดค้านพระมหากษัตริย์เป็นผลสำเร็จทุกครั้งไป ต่างจากกรณีที่มีมาแล้วในประวัติศาสตร์ เช่น ซือหม่า เชียนที่ทูลทัดทานพระจักรพรรดิฮั่นอู่เพียงครั้งเดียวก็มีรับสั่งให้ตัดศีรษะเขา แต่โปรดลดโทษเป็นตอนองคชาตแทน


พงศาวดารยังว่า ใน พ.ศ. 1599 เปา เจิ่ง ได้กินเมืองเปียน ซึ่งเป็นเมืองหลวงในครั้งนั้น หรือปัจจุบันเรียก เมืองไคเฟิง ด้วย เปา เจิ่ง ปกครองเมืองไคเฟิงไม่ถึงหนึ่งปี แต่ได้ปฏิรูประบบราชการหลายประการ เช่น เปิดให้ประชาชนเข้าร้องทุกข์ต่อผู้บริหารเมืองได้โดยตรง จากเดิมที่ต้องผ่านปลัดเมืองซึ่งมักเรียกสินบน และเป็นใจให้แก่ผู้มีอิทธิพล ก่อให้เกิดการฉ้อฉลนานัปการ การปฏิรูปดังกล่าวสร้างชื่อเสียงให้แก่เขาเป็นอันมาก
แต่ชีวิตการทำงานของเปา เจิ่ง หลังพ้นจากตำแหน่งผู้ปกครองเมืองไคเฟิงแล้ว กลับเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างยิ่ง เป็นต้นว่า เมื่อเปา เจิ่ง ปลดจาง ฟางผิง (張方平 Zhāng Fāngpín ?) ซึ่งดำรงตำแหน่งสำคัญสามตำแหน่งควบกัน แล้วเปา เจิ่ง ได้รับแต่งตั้งเข้าสู่ตำแหน่งทั้งสามแทน โอวหยาง ซิว (欧阳修 Ōuyáng Xiū ?) จึงถวายฎีกาประณามเขาอย่างรุนแรง


ในภาพรวม เปา เจิ่ง ไม่ปรากฏผลงานโดดเด่นในด้านหนึ่งด้านใด แต่มีชื่อเสียงเป็นอันมากในด้านการตรวจสอบการทุจริต กับทั้งอุปนิสัยเข้มงวดกวดขัน และไม่อดทนหรือรอมชอบต่อความอยุติธรรมและการฉ้อฉล บุคลิกภาพของเปา เจิ่ง ก็เป็นที่ขึ้นชื่อเช่นกัน มีบันทึกว่า เปา เจิ่ง วางตัวเคร่งครัดและเคร่งขรึม ถึงขนาดพูดกันทั่วไปว่า รอยยิ้มของเปา เจิ่ง นั้นหาดูยากยิ่งกว่าฮวงโหกลายเป็นสีใสสะอาด


กิตติศัพท์เกี่ยวกับความซื่อตรงของเปา เจิ่ง นั้นเลื่องลือไปทั่วแผ่นดิน ชื่อเขาจึงกลายเป็นไวพจน์ของคำว่า "ตงฉิน" (忠臣 zhōng chén ?) ขณะที่ตัวเขาเองก็กลายเป็นหัวเรื่องยอดนิยมในวรรณกรรมและอุปรากรอย่างรวดเร็ว พลเมืองมักเล่าขานว่า เปา เจิ่ง นั้นกลางวันรับราชการอยู่บนโลกมนุษย์ กลางคืนไปรับราชการเป็นยมราชอยู่ในนรกภูมิ พูดกันติดปากว่า เช้าชำระคดีคน ค่ำชำระคดีผี
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-26 08:53 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
อสัญกรรม

เปา เจิ่ง ถึงแก่อสัญกรรมที่เมืองหลวงเมื่อ พ.ศ. 1605 เพราะโรค แต่พงศาวดารบันทึกว่า เป็นไปได้ที่จะถูกลอบวางยาพิษ พระจักรพรรดิเหรินจงทรงรับศพเขาไว้ในพระราชานุเคราะห์ และพระราชทานสมัญญาแก่เขาว่า "เสี้ยวสู้" (孝肅 Xiàosù ?; "ปูชนียบุคคลประดุจบิดามารดา")
ก่อนตาย เปา เจิ่ง สั่งเสียไว้ด้วยว่า "ลูกหลานเราคนใดเป็นข้าราชการแล้วกินสินบาตรคาดสินบน ห้ามกลับคืนมายังบ้านเราและห้ามเผาผีร่วมสกุลกันอีก ใครไม่นับถือคุณงามความดีอย่างเรา เราไม่นับเป็นลูกเป็นหลาน"



ครอบครัว

ในด้านครอบครัว เปา เจิ่ง มีภริยาสองคน คือ นางจาง กับนางต่ง และมีบุตรหนึ่งคน คือ เปา อี้ แต่เปา อี้ ตายเสียแต่ยังหนุ่มในระหว่างรับราชการ เปา เจิ่ง จึงรับบุตรบุญธรรมคนหนึ่ง คือ เปา โช่ว แต่เปา โช่ว ก็ตายก่อนวัยอันควรเช่นกัน ระหว่างนั้น สาวใช้คนหนึ่งในบ้านเปา เจิ่ง ตั้งครรภ์ เปา เจิ่ง จึงไล่ออก แต่ภริยาของเปา อี้ ได้แอบช่วยเหลือและเลี้ยงดูทารกไว้ เพราะทราบว่า สามีของตนได้เสียกับสาวใช้คนนั้น เป็นเหตุให้สายเลือดตระกูลเปาไม่สิ้นสุดลงแต่ประการใด
พงศาวดารยกย่องสะใภ้คนดังกล่าวของเปา เจิ่ง อย่างยิ่งที่รู้จักพิทักษ์เลือดเนื้อเชื้อไข และคาดกันว่า เป็นที่มาของเรื่องราวในวรรณกรรมที่ว่า เปา เจิ่ง นั้นบิดามารดาจงเกลียดจงชังมาแต่เล็ก พี่สะใภ้ของเขาจึงเลี้ยงดูเขาแทน เป็นเหตุให้เขาเรียกพี่สะใภ้ว่า "แม่สะใภ้" (嫂娘 sǎoniáng ?)



http://th.wikipedia.org/wiki
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้