ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระ ประธาน

[คัดลอกลิงก์]
181#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-21 13:13 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
วัดถ้ำคูหา อ.กาญจนดิษฐ์ สุราษฎร์ธานี

เขาคูหา เขาหินปูนที่มีโพรงถ้ำเสมือนพระวิหารในพระพุทธศาสนา

มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า มีพรานป่ากลุ่มหนึ่งได้ไล่ติดตามฝูงโคป่าฝูงหนึ่ง จนฝูงโคกระเจิดกระเจิงไป มีโคตัวหนึ่งได้หนีหายเข้าไปในถ้ำบริเวณนั้น แต่เมื่อนายพรานติดตามเข้าไปค้นหาก็ไม่พบ พยายามเท่าไรก็ไม่เป็นผล จึงบนบานให้เทวดาดลบันดาลให้พบกับโคป่าตัวนั้น หลังจากนั้นได้ช่วยกันค้นหาอีก ก็พบโคตัวหนึ่งกำลังยืนนิ่ง ส่วนหัวจมอยู่ในหินเมื่อเข้าไปใกล้ก็จมลงไปจนเหลือเพียงท่อนหางเท่านั้น พวกพรานเห็นว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเพราะเทพเจ้าบันดาลให้เป็นไปเช่นนั้น จึงละจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต และพร้อมใจกันสร้างวัดไว้ทางทิศตะวันออกของถ้ำ เนื่องจากถ้ำนี้เป็นถ้ำที่โคหายเข้าไปในถ้ำ จึงมีผู้เรียกว่า "ถ้ำโคหาย" แต่ต่อมาอาจจะด้วยสำเนียงพูดของคนท้องถิ่น จึงกลายมาเป็น "โคหา" จนเพี้ยนมาเป็น "คูหา" ในที่สุด

ตัวถ้ำและวัดถ้ำคูหาอยู่ทางทิศเหนือของภูเขา ห้องโถงใหญ่ของถ้ำคูหามีขนาดถ้ำยาวประมาณ 17 เมตร กว้าง 8 เมตร ปากถ้ำหันไปทางทิศตะวันออก ภายในถ้ำเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปซึ่งมีทั้งพระพุทธรูปปูนปั้น พระพุทธรูปศิลาทราย และพระพุทธรูปดินดิบ ในปางต่างๆกัน พระพุทธรูปปางมารวิชัยและปางสมาธิประดิษฐานเรียงราย เป็นแถวชิดผนังถ้ำด้านทิศเหนือและทิศใต้ มีประมาณ 50 องค์ โดยมีพระประธานเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองปางไสยยาสน์ ยาวประมาณ 8 เมตร ประดิษฐานไว้สุดผนังด้านในฝั่งตรงข้ามปากทางเข้าถ้ำ มีพระพุทธรูปดินดิบ เป็นพระพุทธรูปดินปั้นนูนสูง ประกอบด้วยภาพพระพุทธเจ้า และภาพเล่าเรื่องตามคัมภีร์ สัทธรรมปุณฑริกสูตรในพุทธศาสนามหายาน ปั้นปะติดบนผนังและเพดานถ้ำ เดิมมีผู้เล่าว่าภาพดินปั้นเหล่านี้มีเต็มตลอดเพดานถ้ำ แต่ได้หลุดร่วงไปเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันเหลือภาพดินปั้นอยู่สองตำแหน่ง ได้แก่ บริเวณผนังและเพดานตรงปากทางเข้าถ้ำและบริเวณมุมซอกเพดานด้านตะวันออกเฉียงใต้ กรมศิลปกรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมื่อ 3 มกราคม 2480
ถ้ำคูหา นับได้ว่าเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องกันมานับพันปี ในระยะแรกคงเป็นพุทธสถานศาสนาลัทธิมหายาน โดยดูจากพระพุทธรูปดินดิบที่ปั้นประดับอยู่บนผนังและเพดานถ้ำด้านบน กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 14-15 ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่ามีชุมชนโบราณตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยในบริเวณลุ่มน้ำคลองท่าทองมาตั้งแต่สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้นและคงมีการติดต่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับชุมชนภายนอก ในย่านชายฝั่งทะเลตั้งแต่อ่าวบ้านดอนไปถึงแหลมญวน อันเป็นอารยธรรมที่รุ่งเรืองในพื้นถิ่นลุ่มน้ำสำคัญต่างๆของไทยไล่ไปตั้งแต่ลุ่มน้ำหลวง ลุ่มเจ้าพระยา ไปจนถึงลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งจะเห็นได้จากศิลปกรรมของพระพุทธรูปดินดิบที่ถ้ำคูหาได้รับอิทธิพลศิลปจาม ในประเทศเวียดนาม ผสมผสานกับอิทธิพลศิลปทวารวดี ที่แผ่ขยายอยู่ในแถบตอนกลางของไทย ส่วนภาพปูนปั้นรูปซุ้มพญานาคและพระพุทธรูปนาคปรกปางมารวิชัย เป็นศิลปขอมมีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 17-18 ยังมีพระพุทธรูปปูนปั้นและพระพุทธรูปศิลาทรายที่สร้างตามศิลปกรรมแบบอยุธยา ที่บอกถึงเวลาสร้างว่าเป็นช่วงศตวรรษที่ 20 และก็พัฒนาต่อมาเป็นอารามตามสมัยปัจจุบัน

รูปเคารพในพุทธศาสนาที่ปรากฏในวัดถ้ำคูหา นอกจากมีความสำคัญในเชิงศิลปกรรมทางศาสนาแล้ว ยังเป็นร่องรอยทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญให้ชนรุ่นหลังได้สืบค้นย้อนกาลเวลา เพื่อรู้จักรกรากชนพื้นถิ่นบรรพบุรุษของชาวกาญจนดิษฐ์ ที่เรารู้ว่าเป็นชุมชนโบราณที่มีวิวัฒนาการในย่านลุ่มน้ำคลองท่าทอง และมีอดีตยาวนานมาเป็นพันปี ร่วมสมัยกับแหล่งอารยธรรมอื่นในคาบสมุทรแห่งนี้ ที่มีการใช้ถ้ำเป็นศาสนสถาน ซึ่งจะเห็นได้จากพระพุทธไสยาสน์วัดคูหาแห่งนี้ คล้ายคลึงกับพระพุทธไสยาสน์ วัดคูหาภิมุข ที่จังหวัดยะลาเป็นวัดสมัยทวารวดีคาบเกี่ยวกับศรีวิชัยเช่นกัน

วัดถ้ำคูหามีเนื้อที่ประมาณ 32 ไร่ ตั้งอยู่ในท้องที่ หมู่ที่ 1 บ้านหนองยอ ตำบลช้างขวา อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ห่างจากที่ว่าการอำเภอกาญจนดิษฐ์ประมาณ 3 กิโลเมตร จากบ้านดอนประมาณ 15 กิโลเมตรตามทางสาย 401 ตรงสามแยกไฟแดงกาญจนดิษฐ์ มีทางแยกทางขวาไปวัดถ้ำคูหาประมาณ 1 กิโลเมตร หรือถ้าตรงไปที่สี่แยกไฟแดงถัดไป เลี้ยวขวาไปแระมาณ ครึ่งกิโลเมตร มีทางแยกขวา ไปทางนี้ตรงไปถึงหน้าวัดเลย


ที่มา : http://www.siamfreestyle.com/travel-tip ... B%E0%B8%B2
182#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-21 13:14 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


หลวงพ่อพระชีว์ พระประธานในพระวิหารจตุรมุข
วัดบูรพาราม (พระอารามหลวง) ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=45927
183#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-21 13:15 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


หลวงพ่อพระใส พระประธานในพระอุโบสถ
วัดโพธิ์ชัย (พระอารามหลวง) ต.ในเมือง อ.เมือง จ.หนองคาย

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19300
184#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-21 13:16 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


พระเจ้าองค์ตื้อ หรือ “หลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อ”
พระประธานในวิหาร วัดศรีชมภูองค์ตื้อ จ.หนองคาย
185#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-21 13:17 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


หลวงพ่อพระไชยเชษฐา พระประธานในอุโบสถ
วัดถ้ำสุวรรณคูหา ต.นาสี อ.สุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำภู

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19284
186#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-21 13:18 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย metha เมื่อ 2013-12-21 13:20


หลวงพ่อโต หรือ “หลวงพ่อร้องไห้”
[พระพุทธรูปองค์ใหญ่ประทับนั่งห้อยพระบาท ปางป่าลิไลยก์
ประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่บริเวณประตูทางเข้าวัด]
วัดสี่ร้อย ต.สี่ร้อย อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=41178

พระพุทธรูปปางป่าลิไลยก์ : อนุสรณ์เหตุการณ์พระสงฆ์ทะเลาะกัน
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=41164
187#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-21 13:20 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

พระพุทธไสยาสน์ พระประธานในพระวิหารพระพุทธไสยาสน์
วัดป่าโมก วรวิหาร ต.ป่าโมก อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=38925
188#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-21 13:21 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


พระมหาพุทธพิมพ์ หรือ “หลวงพ่อโต”
พระประธานในพระวิหาร วัดไชโย วรวิหาร จ.อ่างทอง
189#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-21 13:22 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


สมเด็จพระศรีเมืองทอง พระประธานในวิหารแก้ว
วัดต้นสน ต.ตลาดหลวง อ.เมือง จ.อ่างทอง
190#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-21 13:23 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


พระพุทธมหานวมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ หรือ “หลวงพ่อใหญ่”
[พระพุทธรูปนั่งปางประทานพรที่สูงที่สุดในโลก สูง ๙๕ เมตร]
วัดม่วง บ้านหัวตะพาน ต.หัวตะพาน อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=39180
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้