ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ตำนานว่าน 108

[คัดลอกลิงก์]
11#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-15 08:14 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


ว่านเถาวัลย์หลง

สรรพคุณทางสมุนไพร นำต้นมาตำให้ละเอียด ใช้พอกแผลช่วยให้หายเร็ว ว่านเสน่ห์เมตตามหานิยม ว่านนี้นิยมมาแต่โบราณ บ้านเรือนร้านค้าใด นำมาปลูกไว้จะเป็นศิริมงคลแก่บ้านเรือน ผู้มีว่านนี้ไว้ในครอบครองจะทำให้มีเสน่ห์มหานิยม รากต้นใช้ในพิธีสร้างพระผงพระเครื่อง ความเชื่อและโชคราง คนโบราณเชื่อถือมาก เกือบทุกภาครวมทั้งคนจีนนิยมปลูกไว้หน้าบ้านมักจะปลูกต้นเถาวัลย์หลงไว้หน้าบ้านทำให้ค้าขายดี หากนำเถาแห้งพกติดตัวจะเป็นนะจังงังและเมตตาอีกด้วย คาถาเสกว่านให้เสกด้วย " นะโม พุทธายะ " หรือ " อิธะคะมะ"



12#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-15 08:14 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ว่านกุมารทอง

ลักษณะคล้ายหอมหัวใหญ่มาก ด้นที่สมบูรณ์ขนาดของหัวจะยิ่งใหญ่สีเขียวอ่อน

มีจุดแดงทั้วหัว เมื่อยังอ่อนจะมีสีขาวส่วนรากเป็นแท่นรอง มองดูคล้ายเด็กน่งแท่นไว้ผมจุก

ดอกสีแดงเป็นเกสรฝอย เมื่อบานเต็มที่เป็นพุ่มกลมสวยงาม ลักษณะเกสรเป็นพู่กระจาย

จึงได้หนี่งชื่อว่า "พู่จอมพล" ภาคกลางและอีสานเรียก "แสงอาทิตย์" ทางเหนือเรียก "ดอกพฤษภา"

ส่วนในตำราบิลว่านโบราณท่านเรียก "กุมารทอง"

    เป็นว่านโบราณที่นิยม ใช้ปลูกเสี่ยงทาย ให้คุณนำโชคลาภมาสู่ผู้ปลูก ถือเป็นว่านคู่กับ ว่านนางคุ้ม

ถ้าจะใช้ในทางคงกระพันโบราณท่านใช้ ดอกมาผสม กับ น้ำมันที่สกัดจากพืช นำมาทาตัวจะคงกระพัน

แต้ต้องเป็น น้ำมันที่สกัดจากพืชเท่านั้น ห้ามใช้น้ำมันจากเกสรดอกไม้ น้ำมันจากสัตว์

ว่านนี้ห้ามรับประทาน เพราะยางของว่านจะทำให้ลิ้นแข็งตายได้ หัวว่านนำไปแกะทำกุมารได้

(ถ้าจะให้ดีอย่าให้ไก่บินข้ามว่าน เพราะอิทธิฤกษ์ว่านจะเสื่อม)
10.jpg (33.13 KB)
จำนวนดาวน์โหลด:0
2012-1-25 08:20





101.jpg (50.88 KB)
จำนวนดาวน์โหลด:0
2012-1-25 08:22






13#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-15 08:15 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เคล็ดลับการปลูกว่าน

ประโยชน์อันใดที่ผู้มีอุปการระคุณพึงจะได้รับแล้วจะต้องนำมาบันทึกไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพราะขึ้นชื่อว่า ว่าน (พืชมีหัว) กับ สมุนไพร (พืชไม่มีหัว) ปัจจุบันมีทั้งที่ค้นพบสรรพคุณทางภสัชแล้ว และที่อยู่ระหว่างค้นคว้าอยู่นั้นมีอยู่ประมาณ 3.000 ชนิด ในเมืองไทยและที่สถาบันพฤกษชาติได้ค้นคว้าขึ้นทำเทียบไว้ มีอยู่ทั้งสิ้น 34 วงศ์ 12 สกุล 1,715 พันธุ์ หลักฐานนี้ได้รวบรวมขึ้นไว้ เมื่อปี พ.ศ. 25l5
การปลูกเลี้ยงว่านและสมุนไพรของคนไทยเรานั้นนิยมมาแต่โบราณและได้แยกประเภทสรรพคุณไปตามอิทธิฤทธิ์ของว่นมีทั้งทางเภสัช.....เมตตามหานิยม...โชคลาภและคงกระพันชาตรี เหตุนี้โบราณท่านจึงได้กำหนด วัน เดือนปีที่ปลูกและขุดว่าน และคาถากำกับตามที่ได้มีอยู่ในรายละเอียดของหนังสือนี้เล้ว เพื่อความสมบูรณ์ วันเดือนปีที่จะปลูกซื่งขอนำมากล่าวไว้เสียด้วยตรงนี้คือ

ปลูกว่านในเดือนอ้ายหรือเดือน 1       ท่านให้ปลูกในวันพุธ
ปลูกว่านในเดือน  2  หรือเดือน  7      ท่านให้ปลูกในวันพฤหัสบดี
ปลูกว่านในเดือน  3  หรือเดือน  8      ท่านให้ปลูกในวันศุกร์
ปลูกว่านในเดือน  4  หรือเดือน  9,11 ท่านให้ปลูกในวันเสาร์
ปลูกว่านในเดือน  5  หรือเดือน  10    ท่านให้ปลูกในวันอาทิตย์
ปลูกว่านในเดือน  6  หรือเดือน  12    ท่านให้ปลูกในวันอังคาร

การปลูกนิยมปลูกในเดือน 6 เพราะตรงกับฤดูฝน และในเดือน 12 นั้นเป็นฤดูน้ำไหลบ่าและว่านจะยุบฟักตัวจึงเป็นฤดูกาลที่จะกู้ว่านขึ้นมาใช้หรือเก็บไว้ขยายพันธุ์ต่อไป
อีกประการหนึ่ง ที่อดที่จะนำมากล่าวไม่ได้คือ วิญญาณอนุรักษ์มรดกไทย ผู้นิยมว่านและสมุนไพร ควรได้มีไว้ประจำใจเสมอ การที่จะไปตั้งชื่อขึ้นให่ม่ทั้งๆ ที่สถาบันพฤกษชาติได้ประกาศไว้แล้วในทำเนียบนั้นเป็นสิ่งที่มีควรกระทำเลย  ยิ่งในรายที่ ไม่มีวิญญาณ จะอนุรักษ์มรดกไทย ปลอมแปลงนำหัว ว่านหลักที่มีราคาแพงในปัจจุบัน ออกมาวางขายนั้นเป็นสิ่งที่น่าละอายและจะให้อภัยกันไม่ได้ จำเป็นจะต้องนำมาบอกกล่าวไว้บนเนื้อที่ตรงนี้ เพื่อท่านจะได้รู้เรื่องจุดตายของว่านที่ราคาเพงและว่านหลักนิยมไว้ ดังนี้คือ
ว่านตระกูลกวัก
กวักพุทธเจ้าหลวง - ใบจะต้องบิด
กวักนางพญาใหญ่ - หูใบจะชิดกัน
และบรรดาว่านตระกูลกวักอื่นๆ ดอกสีขาวและมีกลีบดอก 6 กลีบ แทบทั้งสิ้น ส่วน ว่านมหาโชค จะมีกลีบดอกเพียง 5 กลีบเท่านั้น ตรงนี้คือจุดตายของว่านมหาโชค
ในชุดกวักใบพาย กวักแม่ทองใบ กวักหงสาไทย และกวักสิบแสนนั้นมีราคาแพงมาก จึงมีผู้นำหัวว่านต่อไปนี้มาปลอมคือ หัวว่านพญาลิ้นงู ว่านกวักเศรษฐี และว่านนางล้อมกับน้ำเต้าทองนี้มาวางขายเกร่อ
และว่านเสน่ห์จันทน์ขาว ปัจจุบันมีราคาแพง และมีหน่อวางขายเกร่ออีกเช่นกัน ขอได้ทราบด้วยว่า อันหน่อเสน่ห์จันทน์ขาวนั้นสีของหน่อมิได้มีสีขาว จะต้องสีเขียวครับ
แน่นอนที่สุด หากพากันหยุดพิจารณาสักนิดว่าว่านราคาแพงๆ ที่มีหน่อและหัว ราคาถูก ๆ มาวางขายนั้น ไม่มีใครเขทำกันแน่ จึงขอให้พากันยับยั้งหยุดพิจารณาก่อนซื้อไว้เพื่อป้องกันความผิดหวังของนักนิยมว่านมือใหม่
สุดท้าย ต้องขอลาท่านผู้มีอุปการคุณด้วยเคล็ดตรงที่พากันเข้าใจว่า ว่านจะขลังนั้นต้อง ขโมย ผู้อื่นไปปลูกจะขลังนั้น ขอจงทราบด้วยว่า เคล็ดนี้มิใช่จะให้เที่ยวไปปีนรั้วบ้านผู้อื่นเข้าไปขโมยก็หาไม่ อย่าได้ประพฤติเช่นนั้นเด็ดขาด เป็นได้มีหวังถูกปืนหรือไม่ก็ติดคุกหัวโตโบราณท่านว่ายังงี้ ก่อนขุดว่านของเรานั่นแหละ ก่อนลงมือขุดก็ใช้มือตบที่พื้นดินและส่งเสียงร้องตะโกน.....ขโมย.....ขโมย.....ขโมย เรื่องของเคล็ดก็มีอยู่เท่านี้เองแหละคุณ


ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล หนังสือชุมนุมว่านยาและไม้มงคล ซึ่งให้ความรู้ไว้โดยละเอียดเป็นอย่างยิ่งhttp://www.gardenerstory.com/ind ... 43-28&Itemid=17

14#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-15 08:16 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ชื่อ : พญาว่าน





พญาว่านถือเป็นสุดยอดของว่านทั้งปวง ทางพฤษกศาสตร์ จัดให้พญาว่านอยู่ในวงศ์ขิง ซึ่งเมืองไทยเรานี้มีอยู่ 11 สกุล และ 46 พันธุ์ด้วยกัน หัวของพญาว่านนั้นมีลักษณะเหมือนขิง การแตกแขนงแทงหน่อขยายพันธุ์ของพญาว่านก็เหมือนกับขิง

ลักษณะ :ลำต้นสีแดง ลักษณะลำต้นและใบเหมือนขมิ้นมาก แต่ขนาดลำต้นของพญาว่านจะสูงใหญ่กว่าขิง กระดูกใบ ตลอดไปถึงส่วนยอดของใบสีแดง ส่วนพื้นหน้า-หลังของใบนั้นสีเขียว สีเนื้อในหัวมีสีเหลืองขมิ้น และมีรสขม ดอกสีขาว คล้ายกับดอกกระเจียว พญาว่านจะแทงช่อดอกออกมากลางลำต้น

ประโยชน์ : สรรพคุณของพญาว่าน เป็นว่านที่สูงด้วยคุณค่า สามารถใช้ได้ทั้งกันและแก้ พญาว่านนี้สามารถป้องกันควบคุมอิทธิฤทธิ์ของบรรดาว่านทั้งปวงทุกชนิดมิให้เสื่อมสรรพคุณ และสามารถใช้แก้เมื่อกินว่านที่เบื่อเมาเข้าไป หรือถูกพิษภัยของบรรดาไม้มีพิษต่างๆ พญาว่านจะใช้รักษาได้ชงัด หากกินว่านมีพิษเข้าไปหรือถูกภัยของไม้มีพิษ ให้นำหัวพญาว่านมาฝนกับน้ำซาวข้าวทา หรือโขลกละเอียดคั้นน้ำผสมสุราโรงกินอาการจะหายทันที และพญาว่านนี้เมื่อนำไปปลูกรวมกับว่านอื่นๆในกระถางเดียวกันบรรดาว่านอื่นๆ นั้นจะกลายเป็นพญาว่านไปด้วย แต่ถ้าหากว่าปลูกพญาว่านไว้เดี่ยวในกระถางเดียว แล้วนำไปตั้งในท่ามกลางหมู่ว่านอื่นทุกชนิด อิทธิฤทธิ์ของพญาว่านนี้จะคุ้มครองสรรพคุณของว่านทั้งหลายนั้นให้คงสภาพเดิม มีคุณค่าในสรรพคุณไม่เสื่อมคลาย

สำหรับรายที่ปลูกว่านเป็นแปลงใหญ่เพื่อการค้า พญาว่านนี้นิยมกันนำไปปลูกเป็นประธานในแปลงหัวแถวอยู่เสมอ และยังจะสามารถคุ้มครองความปลอดภัยแก่ผู้เป็นเจ้าของว่านนั้นอีกด้วย

วิธีปลูก : ดินร่วนปนทรายเหมาะสำหรับที่จะปลูกพญาว่านนี้ แต่ควรเป็นดินที่สำอาดจากกลางแจ้งนำมาเผาไฟแล้วทุบให้ละเอียดผึ่งตากน้ำค้างไว้สักคืนจะดียิ่ง ปุ๋ยต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์เท่านั้น ดินที่ใช้ปลูกควรคลุกเคล้ากับมูลวัวมูลควายตากแห้งสนิท หรือใบพืชตระกูลถั่วทุกชนิดที่ผุพังจะทำให้ว่านเจริญงอกงามดี
ในการปลูกว่านหัวใจสำคัญคือต้องปลูกให้ “หัวว่านโผล่” อย่ากลบดินจนมิดหัวว่านและอย่ากดดินจนแน่นเกินไป จะทำให้การระบายน้ำไม่ดี

การรดน้ำ : ก็รดแต่เพียงชุ่มๆ อย่าให้โชกจนน้ำขัง รดน้ำว่านนั้นวันละ 2 เวลา เช้าเย็น และในตอนเย็นควรให้สิ้นแสงอาทิตย์เสียก่อน ประการสุดท้ายบรมครูแนะนำให้รดน้ำเสกด้วยคาถา “อิติปิโสภควา จนถึง ภควาติ” หนึ่งจบทุกครั้งไป ท่านให้ปลูกในเดือน 6 และวันพฤหัส เฉพาะข้างขึ้นเท่านั้น
ป้ายกำกับ:ว่านมงคล พญาว่าน ( สุดยอดของว่านทั้งปวง )
15#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-15 08:17 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ว่านกวักพุทธเจ้าหลวง




ในสมัยโบราณ ว่านกวักพุทธเจ้าหลวง เป็นว่านมงคลที่มีชื่อเสียงมาก และมีนิยมปลูกกันมากจนมาถึงปัจจุบัน บางคนก็ปลูกเลี้ยงตกทอดกันมา โดยไม่รู้จักชื่อเลยด้วยซ้ำ กล่าวกันว่า ว่านกวักพุทธเจ้าหลวงนั้น มีอิทธิฤิทธิ์เหนือกว่าว่านกวัก....ทั้งหลาย เป็นว่านที่มีอานุภาพสูงมากในด้านเมตามหานิยม เรียกโชคลาภเงินทอง อีกทั้งช่วยคุ้มครองจากภัยพิบัติต่างๆได้อย่างยอดเยี่ยม ที่สำคัญเป็นว่านที่หาได้ยากยิ่ง หากว่าใครได้ครอบครองควรปลูกไว้ที่สูงอย่าให้ผู้มีประจำเดือนเข้าใกล้ และเมื่อปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้วท่านจะได้พบกับความมหัศจรรย์ ทุกครั้งที่รดน้ำต้องเสกด้วยคาถา อิติปิโส 3 จบจึงรดน้ำ ผู้เลี้ยงจะประจักษ์ด้วยตัวเอง ว่านนี้สำคัญหากว่าเจ้าของว่านประพฤติไม่ดีต้นว่านจะไม่สวยงามและเหี่ยวเฉา ตายไปเอง เมื่อใดว่านออกดอกให้หาผ้าแพรสีขาวมาผูกรับขวัญแล้วอธิษฐานจะสมดังใจ


ลักษณะใบของว่านกวักพุทธเจ้าหลวง
ข้อสังเกตุ เนื่องจากว่านกวักพุทธเจ้าหลวง มีลักษณะคล้ายคลึงกับว่านซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกันหลายต้นจึงมีผู้แอบอ้างมา ขายกันมากในสมัยก่อน แม้ในสมัยนี้ก็หายากที่จะดูออก จึงมีจุดให้สังเกตุดังนี้
1. ขอบใบจะบิดเป็นคลื่นหงิก ผิวใบขรุขระ มีแถบด่างสีเหลืองกระจายอยู่ทั่วไป
2. ว่านกวักพุทธเจ้าหลวงจะแตกกอได้ยากมาก ปีหนึ่งถ้าเลี้ยงดีๆก็อาจจะได้ดูดอกกันถ้าออกดอกเมื่อไหร่ก็มีหน่อให้ได้ยลกันละครับ
3. เมื่อนำว่านกวักพุทธเจ้าหลวงไปวางไว้ใกล้ต้นว่านชนิดอื่น ต้นนั้นก็จะมีจุดแถบด่าง ปื้นสีเหลืองตามไปด้วย

ลักษณะ เป็น พืชหัว หัวคล้ายหอมหัวใหญ่ สีขาว ใบรูปรีปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบบิดเป็นคลื่น หงิก ผิวใบขรุขระ มีจุดด่างสีเหลืองทางกระจาย ขอบกลีบดอกเป็นคลื่น

การปลูก เครื่องปลูกต้องสะอาด เป็นดินกลางนา ดินที่โล่ง ปลูกในวันพฟหัวข้างขึ้นจะดี ก่อนปลูกก่อนรดน้ำควรเสกบูชาก่อน จึงจะดี ถ้าไม่เสกบูชา ก้ไม่มีปัญหาครับเพียงแต่เขาก็จะเป็นไม้ธรรมดาไม่มีอิทธิฤิทธิ์อันใดเท่า นั้นเอง


http://saimherbal.blogspot.com/2011/09/blog-post_12.html
16#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-15 08:17 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ว่านตอด...ว่านอันตราย

ว่านตอด เป็นว่านชนิดหนึ่งที่คนรู้จักกันน้อย เพราะคนที่รู้จักก็มักจะปิดบังข้อมูล เพราะต้องการจะให้เป็นความลับ เพื่อใช้ในวัตถุประสงค์บางอย่าง นั่นคือ เพื่อใช้ในการป้องกันอาณาบริเวณหรือทรัพย์สิน (ส่วนบุคคล) กล่าวว่า เป็นต้นไม้ที่ขนหรือหนามเล็กๆ ของมัน ไม่ว่าจะไปถูกต้องผิวหนังส่วนใด ก็จะปวดแสบปวดร้อน เกิดการอักเสบเป็นแผลลุกลามกินไปถึงกระดูก ซึ่งแพทย์แผนปัจจุบันไม่อาจวิเคราะห์อาการและวางยาให้หายได้ จะแก้ได้ก็ด้วยการใช้สมุนไพรและว่านบางชนิดตามตำรับโบราณเท่านั้น

ผู้เขียนเองไม่เคยปลูกและไม่คัดค้านหากผู้ใดคิดจะปลูกว่านดังกล่าวไว้เพื่อวัตถุประสงค์ดังที่ว่านั้น เพราะเป็นสิทธิอันชอบธรรมของท่าน แต่ท่านก็ควรจะมีความรู้ไว้เพื่อการป้องกันพิษภัยของว่านตอดให้ตนเอง คนในครอบครัว หรือคนดีๆ คนอื่นๆ ที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ด้วย หากเผลอไผลไปถูกต้องเข้า

ขณะที่เขียนบทความชิ้นนี้อยู่ ผู้เขียนยังไม่พบข้อมูลเกี่ยวกับชื่อทางวิทยาศาสตร์ของว่านชนิดนี้ เพราะพจนานุกรมหลายเล่มไม่ได้บันทึกชื่อของ "ว่านตอด" เอาไว้ ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตย์ท่านบันทึกชื่อต้นไม้ที่มีลักษณะและคุณสมบัติเหมือนว่านตอดเอาไว้คือ คำว่า "ตะรังตังช้าง" รายละเอียดมีว่า

"ตะรังตังช้าง น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Dendrocnide sinuata (Blume) Chew ในวงศ์ Urticaceae ใบใหญ่ ขอบจัก ถูกเข้าจะปวดคันและเป็นผื่นตามผิวหนัง"

เนื่องจากตัวของผู้เขียนเองเคยเห็นแต่ต้นของ ว่านตอด แต่ยังไม่เคยเห็นต้นตะรังตังช้าง จึงไม่อาจสรุปว่า พืชทั้ง 2 ชื่อดังกล่าวเป็นพืชชนิดเดียวกันหรือไม่ แต่อาจารย์วิศิษฏ์ ดวงสงค์ ข้าราชการบำนาญของกระทรวงศึกษาธิการ ท่านบอกว่า ท่านเคยเห็นต้นตะรังตังช้างและเข้าใจว่าน่าจะเป็นพืชชนิดเดียวกันกับ ว่านตอด (ขอฝากเรื่องนี้ให้เป็น "การบ้าน" สำหรับท่านผู้อ่านด้วยครับ)

ตามตำรา "ชุมนุมว่านยาและไม้มงคล" ของ "บัว ปากช่อง" ได้ให้ความรู้ไว้ว่า ว่านตอดมีด้วยกันถึง 3 ชนิด ได้แก่ 1. ลักษณะเหมือนใบหนาด 2. เหมือนใบขมิ้น และ 3. เหมือนใบยอ คนมักปลูกไว้เพื่อป้องกันทรัพย์สิน (ตั้งใจจะ "แกล้งขโมย" โดยเฉพาะ ว่างั้นเถอะ) แต่ตนเองหรือคนในครอบครัวก็อาจจะพลั้งเผลอไปโดนเข้าได้โดยไม่ตั้งใจ ดังนั้น ท่านจึงแนะนำว่า ก่อนจะปลูกว่านตอด จะต้องหาว่านแก้พิษคือ พญาว่าน หรือ จ่าว่าน (คนละชนิดกัน) ให้ได้เสียก่อน เผื่อฉุกเฉินจะได้นำเอาหัวว่านดังกล่าวมาฝนกับน้ำซาวข้าวทาแก้พิษว่านตอด หรือโขลกหัวว่าน (พญาว่าน หรือจ่าว่าน) คั้นเอาน้ำผสมเหล้าโรงดื่ม จะสามารถทำลายพิษของว่านตอดได้ มิฉะนั้น จะต้องเสียชีวิตภายใน 15 วัน
17#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-15 08:18 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ผู้เขียนเองไปพบต้นว่านตอดเอาด้วยความบังเอิญ ในสวนสมุนไพรของ คุณศุภกร ศรีคำแหง (คุณโต้ง) ที่หมู่ที่ 8 ตำบลพลับพลาไชย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี (ซึ่งมีอยู่เพียงต้นเดียว) เจ้าของปลูกเอาไว้เพื่อศึกษาลักษณะและนิสัยของมัน เพราะเห็นเป็นว่านแปลกที่ได้รับมาจากญาติที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นว่านตอดที่ได้ต้นพันธุ์มาจากป่าแถบชายแดนของประเทศกัมพูชา และเป็นว่านตอดชนิดที่มีลักษณะใบเหมือนกับใบยอ (แต่ใบสาก ไม่เลื่อมเป็นมันเหมือนใบยอ) ลักษณะลำต้นและใบอวบ เติบโตดีมาก สูงราว 1 เมตรเศษ ส่วนว่านตอดชนิดใบหนาดและชนิดใบขมิ้น ยังไม่เคยเห็น

อันที่จริงแล้ว หากพิจารณาถึงประโยชน์หรือโทษที่มีต่อมนุษย์แล้ว ว่านตอด ไม่มีระบุไว้ถึงประโยชน์ในทางเป็นยาสมุนไพรตำรับใดๆ จะมีก็แต่ประโยชน์ในเชิงป้องปรามขโมย คือใช้เป็นส่วนหนึ่งในการพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น แต่ในด้านโทษภัยของว่านชนิดนี้ นับว่ามีอยู่มากทีเดียว ทั้งต่อตัวหรือลูกหลาน (ที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่) ของผู้ปลูกเอง หรืออาจจะเป็นขโมยขโจรที่เข้ากระทำการลักทรัพย์ของผู้อื่นก็ตาม เรียกว่าผู้ปลูกเองก็อาจจะมีโอกาสพลาดไป เผลอถูกว่านชนิดนี้เข้าได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นการศึกษาเรื่องราวว่านตอดเอาไว้ก็น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่คิดจะเลี้ยงต้นไม้แปลกๆ ซึ่งประโยชน์ถ้าจะมีก็น่าจะเป็นในด้านของการอนุรักษ์พืชพรรณไม้หายากเอาไว้ หรือเป็นประโยชน์เพื่อการศึกษาเรียนรู้ เพื่อจะได้ไม่ถูกพิษร้ายของต้นไม้ชนิดนี้จนเกิดอันตรายขึ้นได้สำหรับคนที่มีโอกาสจะต้อง "เดินป่า"

สำหรับคนที่ประพฤติตนเป็นหัวขโมยนั้น แม้ว่าจะรอดพ้นจากพิษของว่านตอดไปได้ แต่ไม่ช้าก็เร็ว คงจะหนีคุกหนีตะรางไม่พ้น หรือที่หนักไปกว่านั้น ก็คือ หนีมีดหนีปืนไม่พ้น ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องศึกษาเรื่องราวของว่านตอดกันต่อไป เรียกว่า "แสวงหาความรู้เพื่อนำมาป้องกันอันตรายให้แก่สุจริตชน" ว่างั้นเถอะ ส่วนที่จะหวังให้ป้องภัยจากขโมยได้ทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ คงจะหวังได้ยาก

ตามตำราท่านกล่าวว่า ใครคิดจะปลูกว่านตอดเอาไว้ ก็ต้องระมัดระวังให้จงหนัก ต้องบอกกล่าวถึงพิษภัยของว่านดังกล่าวให้คนในครอบครัวหรือญาติพี่น้องที่มักจะไปมาหาสู่ได้ทราบเป็นข้อมูลเอาไว้ ถ้าจะให้ดีต้องแยกต้นไปปลูกในจุดที่ไม่มีคนเข้า-ออกพลุกพล่าน หรืออาจจะถึงกับต้องล้อมคอกเอาไว้ พร้อมทั้งเขียนป้ายบอกไว้ว่า "ต้นไม้อันตราย" หรือ "ต้นไม้มีพิษ ห้ามจับต้อง" เป็นต้น และสิ่งที่ผู้ปลูกควรจะเตรียมเอาไว้ก็คือ ต้องหาต้นพญาว่าน หรือต้นจ่าว่าน มาไว้ในครอบครองและขยายพันธุ์ให้ได้หลายๆ ต้นเสียก่อน เพื่อที่ว่าหากเกิดเหตุการณ์อันไม่คาดคิด มีคนไปถูกหรือไปต้องเข้า ก็จะได้ใช้หัวของพญาว่าน หรือหัวของจ่าว่านมาใช้ฝนกับน้ำซาวข้าวทา หรือโขลกคั้นน้ำผสมกับเหล้าโรงกินถอนพิษว่านตอดได้ทันท่วงที เรียกว่า เตรียมการไว้ให้พร้อม ก่อนที่จะเกิดเหตุร้ายขึ้น อย่างที่ฝรั่งเขาบอกว่า "เซฟตี้เฟิรสต์" (Safety First) คือ "ปลอดภัยไว้ก่อน" นั่นเอง

ต้นพญาว่าน กับ ต้นจ่าว่าน เป็นว่านคนละชนิดกัน แต่มีสรรพคุณในการแก้พิษเสมอกัน ลักษณะของต้น สีสันคล้ายคลึงกัน แต่ก็มีส่วนแตกต่างที่พอให้สังเกตได้ ว่านทั้ง 2 ชนิดนี้อยู่ในตระกูลขมิ้น พญาว่าน มีใบเหมือนกับขมิ้น แต่ต้นเล็กกว่า ลำต้นมีกาบสีแดงเข้ม ร่องกลางใบสีแดงเข้ม ใบสีเขียวค่อนข้างเข้ม ขนาดของลำต้นเล็กกว่าขนาดของจ่าว่าน ในขณะที่กาบของจ่าว่านจะมีสีแดงเรื่อๆ ใบสีเขียวแต่จางกว่าพญาว่าน (รูปทรงของใบจะกว้างกว่าพญาว่าน) เนื้อในหัวสีเหลือง ในขณะที่หัวของพญาว่านจะมีขนาดเล็ก แต่มีสีเหลืองเข้มกว่าจ่าว่าน คนที่รักว่านจะต้องหาว่านทั้ง 2 ชนิดนี้มาไว้ในครอบครองให้จงได้

ก่อนจะจบเรื่องราวของว่านตอดในฉบับนี้ ผู้เขียนบังเอิญไปอ่านพบวิธีแก้พิษว่านตอดในหนังสือ "เคล็ดลับตำรับยาสมุนไพรรักษาโรค" ซึ่งเขียนโดย "ลำปาง ปาซิโร" (เจ้าของคอลัมน์ "เล่าขานตำนานว่าน" ใน "นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน") ซึ่งไม่ต้องพึ่งพญาว่าน หรือจ่าว่าน เห็นว่าน่าสนใจ และคงจะเกิดประโยชน์แก่ประชาชนโดยทั่วไป จึงขออนุญาต อาจารย์ลำปาง ปาซิโร คัดลอกมาบันทึกไว้เป็น "วิทยาทาน" ดังต่อไปนี้

18#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-15 08:18 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
วิธีแก้พิษว่านตอด-ว่านตอด เป็นไม้พุ่มมีพิษที่ใบ ใบหรือทรงพุ่มมองดูเผินๆ จะเหมือนต้นยอบ้าน ที่ใบว่านตอดจะมีขนเล็กๆ เวลาขนสัมผัสหรือถูกส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายเราจะทำให้เจ็บปวด ทรมาน ยิ่งถูกความเย็น เช่น อาบน้ำ ไปตรวจกับหมอแผนปัจจุบันก็ไม่มีสาเหตุอะไร วิเคราะห์ไม่ได้ เพราะปกติ แต่ตัวคนป่วยจะตายภายใน 5-7 วัน ต่อไปนี้คือยาแก้ ตัวยาให้เอา ดังนี้

น้ำมะนาว ปูนขาว ยาสูบ ตำผสมกัน ใส่น้ำนิดหน่อย ใช้สำลีชุบทาตรงที่ถูกว่านตอดตำจะหายในทันที

อีกขนาน ให้เอากะปิปั้นเป็นก้อน แล้วเอามาคลึงแผลที่ถูกตอด จะถอนขนพิษว่านตอดออกได้ ขนานนี้พอบรรเทา"

เป็นตำราที่ใช้วัตถุสมุนไพรง่ายๆ ของพื้นบ้าน คือ น้ำมะนาว ปูนขาว ยาสูบ หรืออีกขนานหนึ่งใช้เพื่อการบรรเทา คือกะปิที่เราใช้ตำน้ำพริกนี่เอง ท่านผู้อ่านที่มีโอกาสจะเข้าป่าเข้าดงควรจะจดจำไว้ให้ขึ้นใจนะครับ (ถ้าเข้าป่าหลายวัน ก็ควรเตรียมใส่ย่ามไปด้วยแหละดี)

ก่อนจะจบเรื่อง "ว่านตอด" ผู้เขียนอยากจะพูดถึงความหมายของชื่อว่านไว้สักเล็กน้อย คำว่า "ตอด" นั้น ภาษาภาคกลางมีความหมายไม่รุนแรงและไม่ร้ายแรง เพราะท่านหมายความว่า "ตอด 1 ก. เอาปากงับกัดทึ้งโดยเร็ว อย่างปลาตอด, โดยปริยายหมายถึง อาการเหน็บแนม เช่น พูดตอดเล็กตอดน้อย" แต่หากเป็นภาษาลาว หรือภาษาอีสาน จะมีความหมายที่รุนแรงกว่า เพราะหมายถึงทั้งจิก ฮุบ กัด และต่อย ดังที่ว่า

"ตอด ก. จิก นกจิกบ้ง เรียก นกตอดบ้ง ฮุบ ปลาฮุบเหยื่อ เรียก ปลาตอดเหยื่อ ต่อย แตนต่อย เรียก แตนตอด งูกัด เรียก งูตอด อย่างว่า แนวนามเชื้อทำทานปล้องถี่ คัน ได้ตอดพี่น้องบ่ทันได้สั่งไผ (กลอน) เห็นว่าเหวกเหวกฮ้องอย่าฟ้าวว่าเสียงกบ ลางเทื่อเป็นทำทานตอดตายบ่มีฮู้ (กลอน) เห็นว่ากองฝอยน้อยอย่ากลอยใจฟ้าวนั่ง ลางเทื่องูอยู่ลี้ในหั้นชิตอดตาย (ย่า). to peck, swallow (like fish), sting (like bee), bite (like snake)"

ผู้เขียนนำมาจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตย์ และสารานุกรม ภาษาอีสาน-ไทย-อังกฤษ ของ อาจารย์ ดร.ปรีชา พิณทอง เช่นเคย ทั้งนี้ ก็เพื่อจะได้เห็นว่า ชื่อ "ว่านตอด" นั้น มิใช่เป็นเพียง "ตอดเล็กตอดน้อย" หากแต่ร้ายแรงเทียบได้กับ "พิษของงูเห่าหรืองูจงอาง" เลยทีเดียว

เรื่องราวของ ว่านตอด ก็ขอจบลงแต่เพียงแค่นี้

ไพบูลย์ แพงเงิน
19#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-15 08:18 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
" ... ว่านโพง ..."

ว่านโพงนี้ ชาวบ้านแถบอีสาน มักจะเรียกกันว่า " ว่านกระสือ " หรือ " ว่านผีปอบ "
   
ซึ่งขึ้นตามป่าทึบแถวภาคอีสาน โดยเฉพาะชายแดนที่ติดกับเขมรจะพบบ่อย ว่านนี้คนสมัยก่อน...เชื่อกันว่ามีวิญญาณร้ายสิงอยู่ ว่านชนิดนี้ชอบกินเลือดสด ๆ และเนื้อสัตว์ป่าเป็นอาหาร โดยอาจารย์ไสยเวทย์ที่เป็นฆราวาส ชอบนำว่านชนิดนี้มาเลี้ยงไว้ เพื่อใช้ให้ทำงานต่าง ๆ ให้ โดยเฉพาะการสั่งให้ไปทำร้ายคู่อริหรือฝ่ายตรงข้าม ผู้ที่จะเลี้ยงว่านชนิดนี้ได้ต้องเป็นผู้ที่มีวิชา อาคมแก่กล้าเข้าขั้นทีเดียว จึงจะสามารถสะกดเหล่าดวงวิญญาณร้าย ที่สิงสถิตย์อยู่ในว่าน ให้อยู่ภายใต้คำสั่งได้ หากมิฉะนั้นดวงวิญญาณเหล่านั้น ที่อยู่ในว่านโพงจะก็จะทำร้าย และกินวิญญาณผู้เลี้ยงเป็นอาหารแทน หากว่าไม่สามารถ ที่จะสะกดดวงวิญญาณเหล่านั้นได้
20#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-15 08:19 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ว่านดอกทอง (หรือรากราคะ)

"รากราคะ" หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "ว่านดอกทอง"ซึ่งเป็นว่านโบราณที่หายากและใกล้จะสูญพันธุ์

นายณรงค์ ค้านอธรรม นักอนุรักษ์ว่านไทยโบราณ เจ้าของว่านรากราคะ เผยว่า ว่านนี้อยู่ในวงศ์ซิงจิเบอร์เรซี เป็นพืชตระกูลเดียวกับขิง ลักษณะลำต้นใต้ดินเป็นเหง้ากลม แตกแง่งเป็นไหลเล็กยาว 5-10 นิ้ว เนื้อในหัวถ้าเป็นตัวผู้จะมีสีเหลือง ส่วนตัวเมียเนื้อสีขาว มีกลิ่นคาวจัดคล้ายกับอสุจิของคนพบมากทางภาคตะวันตกและภาคเหนือ แถบจังหวัดกาญจนบุรี ตาก ลำปาง ใบเป็นรูปหอกสีเขียวมีขนาดเล็กเส้นกลางใบสีแดง ทั้งต้นสูงประมาณ 1 ฟุต ออกดอกในหน้าฝน คล้ายดอกกระเจียว แต่ไม่มีก้านดอกจะอยู่ติดกับพื้นดิน มีสีขาวอมเหลือง โดยแทงดอกขึ้นจากเหง้าหลักที่อยู่ใต้ดินก่อนการงอกขอ งใบว่านดังกล่าวนี้

ตามตำราโบราณระบุว่ามีอำนาจทางเพศรุนแรง โดยเฉพาะผู้หญิงเกิดรุนแรงมาก ถ้าเอาหัว หรือใบหรือต้นใส่โอ่งน้ำหรือบ่อน้ำ หากใครกินเข้าไปจะมีความรู้สึกทางเพศรุนแรงมาก โดยเฉพาะดอกเพียงได้กลิ่นผู้คนที่ได้กลิ่นทั้งหญิงแล ะชายจะพากันมัวเมาในโลกีย์รส ฉะนั้นจึงต้องเด็ดดอกออกเสีย


นอกจากนี้ตามความเชื่อโบราณปลูกไว้ที่บ้าน ร้านค้า มีสรรพคุณทางเมตตามหานิยม ทำให้มีลูกค้าอุดหนุนอย่างไม่ขาดสาย อีกทั้งว่านดังกล่าวใกล้จะสูญพันธุ์แล้ว จึงนำออกมาแสดงให้ประชาชนได้ชมก่อนที่จะสูญพันธุ์ไป


Credit: http://www.thaimiss.com/webboard/index.php?topic=17611.0
จำนวนดาวน์โหลด:0
2012-2-9 14:37





จำนวนดาวน์โหลด:0
2012-2-9 14:37






ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้