ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 3043
ตอบกลับ: 11
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "โจนออฟอาร์ก"

[คัดลอกลิงก์]
10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "โจนออฟอาร์ก"


                                                                                                                                                                                               


                                ทีมงาน toptenthailand ขอเสนอ "10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "โจนออฟอาร์ก" "                                                                       

                                                ที่มา : Wikipedia


2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-14 20:20 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        10. ครอบครัว
                                                   


                            ฌานเป็นบุตรีของฌาคส์ ดาร์กและอิสซาเบลลา โรเม ในหมู่บ้านโดมเรมี (Domrémy) ที่ขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของดัชชีบาร์ ที่ดินทำการเกษตรกรรมราว 50 เอเคอร์ (0.2 ตารางกิโลเมตร) บิดามีรายได้เพิ่มจากการมีหน้าที่เก็บภาษีและเป็นยามในหมู่บ้าน ที่ตั้งของที่ดินของครอบครัวดาร์กอยู่ในบริเวณทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือที่ล้อมรอบโดยดินแดนเบอร์กันดีแต่เป็นหมู่บ้านที่มีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส หมู่บ้านที่โจนเติบโตขึ้นมาก็ถูกรุกรานหลายครั้งและครั้งหนึ่งถึงกับถูกเผา

                    

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-14 20:21 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        9. ถูกจับ
                                                   


                            หลังจากการล้อมเมืองชาริเต-เซอร์-ลัวร์ (Siège de La Charité) ในเดือนพฤศจิกายนและเดือนธันวาคมแล้ว ฌานก็เดินทัพต่อไปยังคองเพียญน์ (Compiègne) ในเดือนเมษายนต่อมาเพื่อป้องกันจากการถูกล้อมเมือง (Siège de Compiègne) โดยฝ่ายอังกฤษและเบอร์กันดี แต่การต่อสู้อย่างประปรายเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1430 นำไปสู่การจับกุมของฌาน เมื่อมีคำสั่งให้ถอยฌานก็ปฏิบัติตัวอย่างผู้นำโดยเป็นบุคคลสุดท้ายที่ทิ้งสนามรบ ฝ่ายเบอร์กันดีเข้าล้อมกองหลัง ฌานต้องลงจากหลังเพราะถูกโจมตีโดยกองขมังธนูและตอนแรกก็มิได้ยอมจำนนทันที ตามธรรมเนียมของสมัยกลางการจับกุมเชลยสงคราม (prisonnier de guerre) เป็นการจับกุมแบบเรียกค่าไถ่ แต่ครอบครัวของฌานเป็นครอบครัวที่ยากจนจึงไม่สามารถหาเงินมาไถ่ตัวฌานจากที่คุมขังได้ นักประวัติหลายคนประณามพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 ที่ไม่ทรงเข้ายุ่งเกี่ยวกับการช่วยเหลือฌานในกรณีนี้ ฌานเองพยายามหลบหนีหลายครั้งๆ หนึ่งโดยการกระโดดจากหอที่สูงจากพื้นดินราว 21 ที่แวร์ม็องดัว (Vermandois) ลงไปบนดินที่หยุ่นของคูเมืองแต่ไม่สำเร็จ หลังจากนั้นก็ถูกย้ายตัวไปเมืองอาร์ราส (Arras) ในเบอร์กันดี และในที่สุดรัฐบาลอังกฤษก็ขอซื้อตัวโจนจากฟิลลิปเดอะกูด โดยมีปีแยร์ โคชง (Pierre Cauchon) บิชอปแห่งโบเวส์ (Beauvais) ผู้เป็นผู้ฝักฝ่ายฝ่ายอังกฤษตั้งตนเป็นผู้มีบทบาทในการเจรจาต่อรองซื้อตัวและต่อมาในการพิจารณาคดีของโจน

                    

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-14 20:21 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        8. เครื่องแต่งกาย
                                                   


                            ฌาน ดาร์กแต่งกายอย่างบุรุษตั้งแต่ออกจาก Vaucouleurs ไปจนถึงการพิจารณาคดีที่รูอ็อง ซึ่งเป็นการทำให้เกิดการตั้งข้อสงสัยในทางคริสต์ศาสนวิทยาในสมัยของฌานเองและต่อมาอีกในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งเหตุผลหนึ่งของการถูกประหารชีวิตอ้างว่ามาจากการขัดกับกฎการแต่งกายจากพระคัมภีร์ ในการประกาศว่า “การพิจารณาคดีกล่าวหา” เป็นโมฆะ ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะคดีแรกไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าข้อกล่าวหานี้ค้านกับพระคัมภีร์ ถ้ากล่าวกันตามกฎหมายศาสนจักรแล้ว การแต่งตัวเป็นชายผู้รับใช้ (page) ของโจนระหว่างการเดินทางฝ่าดินแดนของศัตรูเป็นการกระทำเพื่อสร้างความปลอดภัยให้แก่ตนเอง รวมทั้งการสวมเกราะในระหว่างการยุทธการก็เช่นกัน “บันทึกของปูเซลล์” (Chronique de la Pucelle) กล่าวว่าเป็นการกระทำเพื่อการป้องกันการถูกกระทำมิดีมิร้ายขณะที่ต้องหลับนอนกลางสนามรบ นักบวชผู้ให้การในการพิจารณาคดีครั้งที่สองสนับสนุนว่าฌานยังคงแต่งกายอย่างบุรุษในขณะที่ถูกจำขังเพื่อป้องกันตัวจากการถูกกระทำมิดีมิร้ายหรือจากการถูกข่มขืน ส่วนการรักษาพรหมจรรย์ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่สนับสนุนการแต่งกายสลับเพศ (crossdressing) การแต่งกายเช่นนั้นเป็นการกันการถูกทำร้ายในฐานะที่เป็นสตรีและในสายตาของผู้ชายก็ทำให้ไม่เห็นว่าฌานเป็นเหยื่อในทางเพศ (sex object) ระหว่างการพิจารณาคดีครั้งแรกโจนให้การเกี่ยวกับประเด็นนี้โดยอ้างถึงการสืบสวนที่ปัวตีเย บันทึกการสืบสวนที่ปัวตีเยสูญหายไปแล้วแต่จากหลักฐานแวดล้อมบ่งว่านักบวชปัวติเยร์ยอมรับการปฏิบัติเช่นนั้นของฌาน หรือถ้าจะตีความหมายก็อาจจะกล่าวได้ว่าโจนมีหน้าที่ที่จะดำเนินงานที่เป็นของบุรุษฉะนั้นจึงเป็นการสมควรที่จะแต่งตัวให้เหมาะสมกับสถานะการณ์ นอกจากการแต่งตัวเป็นบุรุษแล้วโจนก็ยังตัดผมสั้นระหว่างการรณรงค์และขณะที่ถูกจำขัง ผู้สนับสนุนโจนเช่นนักคริสต์ศาสนวิทยาฌอง เชร์ซอง (Jean Gerson) และผู้ไต่สวนเบรฮาลในการพิจารณาคดีครั้งหลังสนับสนุนการกระทำเช่นที่ว่าว่าเป็นสิ่งที่สมควรทำ

                    

5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-14 20:21 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        7. ประหาร
                                                   


                            ความผิดในการนอกรีตเป็นความผิดที่มีโทษถึงตายสำหรับผู้ปฏิบัติซ้ำสอง ฌานยอมแต่งตัวอย่างสตรีเมื่อถูกจับแต่สองสามวันต่อมาก็ถูกข่มขืนในที่จำขัง ฌานจึงกลับไปแต่งตัวเป็นผู้ชายอีกซึ่งอาจจะเป็นการทำเพื่อเลี่ยงการถูกทำร้ายในฐานะที่เป็นสตรีหรือตามคำให้การของฌอง มาส์เซอที่กล่าวว่าเสื้อผ้าของโจนถูกขโมยและไม่เหลืออะไรไว้ให้สวม พยานผู้เห็นเหตุการณ์บรรยายการประหารชีวิตโดยการเผาทั้งเป็นเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1431 ว่าฌานถูกมัดกับเสาสูงหน้าตลาดเก่าในรูอ็อง ฌานขอให้บาทหลวงมาร์แต็ง ลาด์เวนู และบาทหลวงอิแซงบาร์ต เด ลา ปิแยร์ถือกางเขนไว้ตรงหน้า หลังจากที่ฌานเสียชีวิตไปแล้วฝ่ายอังกฤษกวาดถ่านหินออกจนเห็นร่างที่ถูกเผาไหม้เพื่อให้เป็นที่ทราบกันว่าฌานเสียชีวิตจริงและมิได้หลบหนี เสร็จแล้วก็เผาร่างที่เหลืออีกสองครั้งเพื่อไม่ให้เหลือสิ่งใดที่สามารถเก็บไปเป็นเรลิกได้ หลังจากนั้นก็โยนสิ่งที่เหลือลงไปในแม่น้ำแซน เพชฌฆาตเจฟฟรัว เตราช (Geoffroy Therage) กล่าวต่อมาว่ามีความหวาดกลัวว่าจะถูกแช่ง

                    

6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-14 20:21 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        6. บทบาทสำคัญ
                                                   


                            ฌาน ดาร์กเป็นผู้มีบทบาทสำคัญทางวัฒนธรรมตะวันตกมาโดยตลอด ตั้งแต่จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 มาจนถึงปัจจุบันนักการเมืองฝรั่งเศสก็มักจะปลุกเร้าความเป็นชาตินิยมโดยการอ้างถึงโจน นักเขียนสำคัญๆ และคีตกวีที่สร้างงานเกี่ยวกับโจนออฟอาร์คก็ได้แก่วิลเลียม เชกสเปียร์ (“เฮนรีที่ 6, ตอนที่ 1”) วอลแตร์ (“La Pucelle d'Orléans” (โคลง)) ฟรีดริช ชิลเลอร์ (Friedrich Schiller) (“Die Jungfrau von Orléans”) จูเซปเป แวร์ดี (“Giovanna d'Arco”) ปีเตอร์ อิลิช ไชคอฟสกี (“Орлеанская дева” (The Maid of Orleans) - อุปรากร) มาร์ค ทเวน (“Personal Recollections of Joan of Arc” (ความทรงจำเกี่ยวกับโจนออฟอาร์ค) - อุปรากร) ฌอง อานุยห์ (“L'Alouette” (นกลาร์ค)) , เบอร์โทลท์ เบร็คท์ (Bertolt Brecht) (“Die heilige Johanna der Schlachthöfe” (นักบุญโจนผู้ศักดิ์สิทธิ์แห่งสต็อคยาร์ด)) และจอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ (“นักบุญโจน” - บทละคร) นอกจากนี้วัฒนธรรมก็สืบเนื่องในการสร้างภาพยนตร์, โทรทัศน์, วิดีโอเกม, เพลง และนาฏศิลป์และการเต้นรำต่อมา

                    

7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-14 20:22 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        5. กู้บ้านเมือง
                                                   


                            ฌานอ้างว่าได้รับนิมิตจากพระเจ้าผู้ทรงบอกให้ไปช่วยกู้บ้านเมืองคืนจากการครอบครองของฝ่ายอังกฤษในปลายสงครามร้อยปี มกุฎราชกุมารชาร์ลส์ซึ่งขณะนั้นยังไม่ได้ขึ้นครองราชย์ทรงส่งโจนไปช่วยผู้ถูกล้อมอยู่ในเมืองออร์เลอองส์ ฌานสามารถเอาชนะทัศนคติของนายทัพผู้มีประสบการณ์ได้และสามารถยุติการล้อมเมืองได้ภายใน 9 วัน หลังจากนั้นการได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดหลายครั้งก็นำไปสู่การราชาภิเษกของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 ที่แรงส์ (Reims) ซึ่งเป็นวิธีการพยายามยุติข้อขัดแย้งของสิทธิในการครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศส

                    

8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-14 20:22 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        4. เป็นผู้นำ
                                                   


                            ฌานไม่เห็นด้วยกับนโยบายที่ระมัดระวังที่เป็นลักษณะของนโยบายของผู้นำฝ่ายฝรั่งเศสใช้ปฏิบัติอยู่ ระหว่างห้าเดือนของการถูกล้อมก่อนที่ฌานจะเข้ามามีบทบาท ผู้รักษาเมืองออร์เลอ็องพยายามออกไปต่อสู้กับฝ่ายอังกฤษเพียงครั้งเดียวและจบลงด้วยความล้มเหลว เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคมฝ่ายฝรั่งเศสที่นำโดยโจนก็เข้าโจมตีและยึดป้อมแซ็งลูป (Saint Loup) ในบริเวณออร์เลอองส์ ตามด้วยการยึดป้อมที่สองแซ็งฌ็อง เลอ บล็องซึ่งไม่มีผู้รักษาการในวันรุ่งขึ้น จึงทำให้เป็นยึดที่ไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ วันต่อมาโจนก็กล่าวต่อต้านฌอง ดอร์เลอองในสภาสงครามโดยการเรียกร้องให้มีการโจมตีฝ่ายศัตรูขึ้นอีกครั้ง ฌอง ดอร์เลอองไม่เห็นด้วยและสั่งให้ปิดประตูเมืองเพื่อป้องกันไม่ให้มีใครออกไปรบ แต่ฌานก็รวบรวมชาวเมืองและทหารไปบังคับให้นายกเทศมนตรีเปิดประตูเมือง โจนขี่ม้าออกไปพร้อมด้วยกัปตันผู้ช่วยอีกคนหนึ่งกับกองทหารไปยึดป้อมแซ็งโตกุสแต็ง (Saint Augustins) ค่ำวันนั้นฌานก็ได้รับข่าวว่าตนเองถูกกีดกันจากการประชุมของสภาสงครามที่ผู้นำในสภาตัดสินใจรอทหารกองหนุนก่อนที่จะออกไปต่อสู้ครั้งใหม่ ฌานไม่สนใจกับข้อตกลงของสภาและนำทัพออกไปโจมตีที่ตั้งมั่นสำคัญของอังกฤษที่เรียกว่า "เล ตูเรลล์" ("les Tourelles") เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ผู้ร่วมสมัยยอมรับกันว่าฌานว่าเป็นวีรสตรีของสงคราม หลังจากที่ได้รับความบาดเจ็บจากลูกธนูที่คอแต่ยังสามารถนำทัพในการต่อสู้ต่อไปทั้งที่บาดเจ็บในการต่อสู้ครั้งสุดท้ายที่ออร์เลอ็องได้ หลังจากชัยชนะในออร์เลอ็องแล้วฌานก็ถวายคำแนะนำให้พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 แต่งตั้งเธอให้เป็นผู้บังคับการกองทหารร่วมกับฌ็อง ดยุกแห่งอาล็องซง (Jean II, Duc d'Alençon) และได้รับพระราชานุญาตให้ยึดสะพานบนฝั่งแม่น้ำลัวร์ที่ไม่ไกลจากที่นั้นคืน ก่อนหน้าที่จะเดินทัพต่อไปยังแรงส์เพื่อไปทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษก คำแนะนำของโจนเป็นคำแนะนำที่ออกจะเป็นความแนะนำที่ออกจะบ้าบิ่นเพราะแรงส์ห่างจากปารีสราวสองเท่าและอยู่ลึกเข้าไปในดินแดนของศัตรู ระหว่างทางฝ่ายฝรั่งเศสยึดเมืองต่างๆ คืนมาได้ที่รวมทั้วฌาร์โก (Bataille de Jargeau) เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน, เมิง-เซอร์-ลัวร์ (Bataille de Meung-sur-Loire) เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน และต่อมาโบจองซีเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ดยุกแห่งอาลองซงตกลงตามการตัดสินใจของโจนทุกอย่าง แม่ทัพคนอื่นๆ รวมทั้งฌอง ดอร์เลอองที่มีความประทับใจในการได้รับชัยชนะของโจนที่ออร์เลอองส์ก็หันมาสนับสนุนโจน ดยุกแห่งอาลองซงสรรเสริญโจนว่าเป็นผู้ช่วยชีวิตตนเองที่ฌาร์โก เมื่อโจนเตือนถึงอันตรายที่มาจากปืนใหญ่ที่ระดมเข้ามา ในระหว่างยุทธการเดียวกันโจนก็ได้รับบาดเจ็บจากกระสุนปืนใหญ่บนหมวกเหล็กขณะที่กำลังปีนกำแพง กองหนุนของอังกฤษมาถึงบริเวณที่ต่อสู้กันเมื่อวันที่ 18 มิถุนายนภายใต้การนำของเซอร์จอห์น ฟาสทอล์ฟ (John Fastolf) ในยุทธการพาเตย์ (Bataille de Patay) ที่เหมือนกับยุทธการอาแฌงคูร์ตแต่ในทางกลับกัน ทหารฝรั่งเศสโจมตีกองขมังธนูของฝ่ายอังกฤษก่อนที่กองขมังธนูจะมีโอกาสได้ตั้งตัวในการโจมตีเสร็จ หลังจากนั้นกองทัพฝรั่งเศสก็ได้เปรียบและเข้าจู่โจมทำลายกองทัพอังกฤษ ในที่สุดฝ่ายอังกฤษถ้าไม่ถูกฆ่าตายหรือได้รับบาดเจ็บก็หลบหนี ฟาสทอล์ฟหนีไปพร้อมกับผู้ติดตามไม่กี่คนและเป็นแพะรับบาปสำหรับความอับอายของอังกฤษ ฝ่ายฝรั่งเศสเสียผู้คนไปเพียงไม่เท่าไหร่
จากนั้นกองทัพฝรั่งเศสของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 ก็เริ่มเดินตั้งต้นเดินทัพจากเฌียง-เซอร์-ลัวร์ (Gien-sur-Loire) ไปยังแรงส์เมื่อวันที่ 29 มิถุนายนและยอมรับการยอมแพ้ที่มีเงื่อนไขของเมืองโอแซร์ (Auxerre) ที่เป็นของเบอร์กันดีเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม เมืองที่ผ่านทุกเมืองต่างก็หันมาสวามิภักดิ์ต่อฝรั่งเศสโดยปราศจากการต่อต้าน ทรัวซึ่งเป็นสถานในการทำสนธิสัญญาที่พยายามตัดสิทธิในการสืบราชบัลลังก์ของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 ยอมจำนนหลังจากถูกล้อมอยู่สี่วัน เมื่อกองทัพเดินทางไปถึงตรัวส์ก็พอดีกับการที่เสบียงหมดลง เอ็ดเวิร์ด ลูซี-สมิธ (Edward Lucie-Smith) จึงอ้างว่าโจนมีความโชคดีมากกว่าที่จะมีความสามารถจริงๆ ที่เห็นได้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ตรัวส์ ก่อนหน้าที่กองทัพฝรั่งเศสก็มีภราดาริชาร์ดเป็นไฟรอาร์ร่อนเร่อยู่ในบริเวณนั้นเที่ยวเทศนาถึงวันโลกาวินาศที่จะมาถึง และชักชวนให้ผู้คนเริ่มสะสมอาหารโดยการปลูกถั่วซึ่งเป็นพืชที่เก็บเกี่ยวได้เมื่อต้นฤดู เมื่อกองทัพฝรั่งเศสมาถึงบริเวณนั้นในจังหวะเดียวกับที่ถั่วพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้พอดี แร็งส์เปิดประตูเมืองให้พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พระราชพิธีบรมราชาภิเษกกระทำกันในวันรุ่งขึ้นเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1429 ที่มหาวิหารนอเทรอดามแห่งแรงส์ แม้ว่าโจนและดยุกแห่งอาล็องซงจะพยายามถวายคำแนะนำให้ทรงเดินทัพต่อไปยังปารีส แต่ทางราชสำนักยังพยายามเจรจาต่อรองแสวงหาสันติภาพกับดยุกแห่งเบอร์กันดี แต่ฟิลลิปเดอะกูด ดยุกแห่งเบอร์กันดีก็ละเมิดสัญญาเพื่อถ่วงเวลาในการรอกองหนุนจากปารีส กองทัพฝ่ายฝรั่งเศสเดินทัพไปยังปารีสระหว่างทางก็ผ่านเมืองต่างๆ ที่ยอมสวามิภักดิ์โดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อ จอห์นแห่งแลงคาสเตอร์ ดยุกแห่งเบดฟอร์ดที่ 1 ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระเจ้าเฮนรีที่ 6 นำกองทัพฝ่ายอังกฤษที่เผชิญหน้ากับฝ่ายฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ฝ่ายฝรั่งเศสเข้าโจมตีปารีสเมื่อวันที่ 8 กันยายน แม้จะได้รับการบาดเจ็บจากธนูที่ขาแต่โจนก็ยังคงนำกองทัพจนกระทั่งวันที่การต่อสู้สิ้นสุดลง แต่วันรุ่งขึ้นฌานก็ได้รับพระราชโองการให้ถอยทัพ นักประวัติศาสตร์ส่วนมากกล่าวโทษ Georges de la Trémoille องคมนตรีฝ่ายฝรั่งเศสว่าเป็นผู้รับผิดชอบต่อการคาดสถานะการณ์ผิดอันใหญ่หลวงหลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งนี้ ในเดือนตุลาคมโจนก็สามารถยึดเมืองแซงต์ปิแยร์-เล-มูติเยร์ (Siège de Saint-Pierre-le-Moûtier) สำเร็จ

                    

9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-14 20:22 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        3. สงครามร้อยปี
                                                   


                            เป็นผู้นำกองทัพฝรั่งเศสในสงครามร้อยปีหลายครั้งที่ได้รับชัยชนะต่อฝ่ายอังกฤษโดยอ้างว่ามีพระเจ้าเป็นผู้ชี้ทาง

                    

10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-14 20:23 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        2. แต่งตั้ง
                                                   


                            พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 ไม่ทรงสามารถที่จะแสดงพระองค์ว่าทรงได้รับอำนาจมาจากผู้ที่ถูกประณามว่าเป็นผู้นอกรีต สมเด็จพระสันตะปาปาคาลิกซ์ตุสที่ 3 จึงทรงมีคำสั่งให้มีตั้งศาลใหม่ในการพิจารณาการดำเนินการการพิจารณาคดีและการตัดสินของศาลแรก ศาลสรุปว่าโจนเป็นผู้บริสุทธิ์ และทางวาติกันประกาศให้โจนเป็น “มรณสักขี” ในปี ค.ศ. 1909 โจนก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นบุญราศี และในที่สุดก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนักบุญในปี ค.ศ. 1920 ฌาน ดาร์กเป็นหนึ่งในสามนักบุญองค์อุปถัมภ์ประเทศฝรั่งเศส

                    

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้