หลวงพ่อสุ่น จันทะโชติโก
แห่งวัดศาลากุล
ประวัติของหลวงพ่อสุ่น ไม่เป็นที่กระจ่างมากนัก เล่ากันว่าท่านชื่อ สุ่น นามสกุล ปานกล่ำ
เป็นชาวปากเกร็ดโดยกำเนิด เกิดเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๓๕
เมื่อบวชแล้วได้ฉายาว่า จันทโชติโก แปลว่า รุ่งเรืองดุจจันทร์เพ็ญ ไม่ปรากฏนามพระอุปัชฌาย์อาจารย์
จำพรรษาอยู่ที่วัดศาลากุน ตั้งแต่หนุ่ม ปลูกต้นรัก และต้นพุดซ้อน ดูแลอย่างดี
ตั้งแต่ยังไม่ได้เป็นสมภาร ด้วยการทำน้ำมนต์รดต้นไม้ทั้งสองเสมอมา
เมื่อเป็นสมภารคลองวัด จึงให้ลูกศิษย์ขุดรากไม้รักและพุดซ้อนตากจนแห้ง
ให้ช่างมีฝีมือแกะเป็นรูปหนุมานทรงเครื่องสวยงาม
ต้นพุดซ้อนที่ส่วนมากหลวงพ่อนำมาใช้แกะหนุมาน
หลวงพ่อสุ่น เป็นสหธรรมิกของ หลวงพ่อกลิ่น วัดสะพานสูง
โดยมีอายุมากกว่าหลวงพ่อกลิ่นประมาณ ๕ ปี
เมื่อราว พ.ศ.๒๔๘๑-๒๔๘๒ หลวงพ่อสุ่นมรณภาพ สิริอายุประมาณ ๗๘ ปี
ในวันประชุมเพลิงหลวงพ่อสุ่นเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๙ นั้น
หลวงพ่อกลิ่นมาเป็นเจ้าภาพด้วยตัวเอง
เคยมีเรื่องเล่าถึงศิษย์หลวงพ่อสุ่น
ส่วนหนึ่งที่ตอนหลังได้ไปรับใช้ชาติโดยการเป็นทหารเรือในยุคสมัยของรัชกาลที่ 5 เสด็จเตี่ยกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์(เสด็จในกรม)พระบิดาแห่งกองทัพเรือไทย ท่านได้ทำน้ำพระพุทธมนต์รับขวัญทหารใหม่ พรมไปที่ร่างเหล่าทหารใหม่ทั้งหลาย หลายคนเฉยๆไม่แสดงอาการอะไร แต่พวกที่พกหนุมานไม้แกะของหลวงพ่อสุ่น แทบทุกคน ของขึ้นเป็นลิงเป็นหนุมานกันหมด!!!! แสดงถึงอำนาจจิตและเจตสิกของหนุมานของท่านได้เป็นอย่างดีครับ เสด็จเตี่ยท่านถึงกับเอ่ยชมหลวงพ่อสุ่นในคราวนั้นเองว่า " พระอาจารย์รูปนี้เก่ง"
|