ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2573
ตอบกลับ: 4
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

โลหะสร้างพระ

[คัดลอกลิงก์]

http://www.yorbor.com/index.php?topic=4571.0;wap2
การศึกษาพระเครื่อง มีหลักง่ายๆ คือ พิมพ์ต้องถูก เนื้อต้องใช่ ธรรมชาติต้องมี
หลักทั้ง ๓ อย่างนี้ เป็นสิ่งที่เซียนพระต้องยึดถือย่างเคร่งครัด
เพราะสามารถเป็นเกราะป้องกัน เพื่อไม่ให้เช่าถูก พระปลอม ได้เป็นอย่างดี


เนื้อต้องใช่ ในการศึกษาพระเครื่องนั้น ขอเขียนถึงพระเนื้อโลหะ กรรมวิธีการสร้างพระเนื้อโลหะ จะประกอบด้วยการสร้าง ๓ ประเภท คือ พระหล่อ พระปั๊ม และพระฉีด

ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ คือ ระหว่าง พระเครื่องเนื้อชิน และ พระเครื่องโลหะอื่นๆ ก่อนว่าเหตุใดจึงแยกพระทั้งสองประเภทนี้ออกจากหมวดเดียวกัน



พระเครื่องเนื้อชิน หมายถึง โลหะทุกชนิด อาจเป็นโลหะล้วนๆ หรือโลหะผสมกัน เช่น ตะกั่ว เหล็ก ดีบุก ทองเหลือง ทองแดง เงิน นาก ทอง เป็นต้น นำมาหลอมละลายแล้วหล่อลงในเบ้า หรือกดลงในแบบพิมพ์ ซึ่งทำมาจากดินเหนียว หิน หรือไม้แกะสลักก็ได้ สีขององค์พระจะเป็นไปตามลักษณะของโลหะ และสภาพของกรุที่ฝังอยู่ ซึ่งมีอายุและมีความร้อนชื้นแตกต่างกัน คราบกรุที่มีอายุมากๆ จะสังเกตได้จากผิวขององค์พระว่า มีคราบราที่ฝังแน่นลึกเข้าไปในเนื้อ บางแห่งจะเห็นการผุกร่อน หรือระเบิดออกมา

เหตุที่บูรพาจารย์ที่เป็นนักสะสมพระยุคแรกๆ ไม่นำมารวมอยู่ในพระเนื้อโลหะอื่นๆ เนื่องจาก

๑.พระเครื่องเนื้อชิน ล้วนเป็นพระกรุ พระเก่า ที่มีอายุการสร้างนานเป็นร้อยๆ ปีขึ้นไป อันถือเป็นพระเครื่องยุคโบราณ ปัจจุบันไม่นิยมสร้างพระเครื่องเนื้อนี้อีกแล้ว



๒.ส่วนผสมหลักของพระเครื่องเนื้อชิน คือ ดีบุกและตะกั่ว มากน้อยตามแต่ผู้สร้างมีความประสงค์ ซึ่งปัจจุบันผู้สร้างได้ค้นพบโลหะอื่นๆ ที่มีคุณสมบัติที่ดีกว่า สะดวกกว่า และคงทนกว่า มาใช้ในการสร้างพระเครื่องแทนพระเครื่องเนื้อชิน

ส่วนอีกเหตุผลหนึ่ง คือ ผู้ที่นิยมมีความคิดว่า พระเครื่องประเภทเนื้อชินจะต้องเป็นพระยุคเก่า เท่านั้น จึงได้รับความนิยมในการสะสม หากเป็นพระยุคหลังที่สร้างขึ้นใหม่ จะดูขาดธรรมชาติ ไม่เป็นที่น่าสนใจของประชาชน เพราะขึ้นชื่อว่า เป็นพระเครื่องเนื้อชิน ต้องดูเก่า มีธรรมชาติคราบไข ถ้าดูใหม่จะคาดคะเนให้เป็นพระปลอมไว้ก่อนเป็นอันดับแรก

ปัจจุบัน พระเครื่องเนื้อโลหะต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในวงการพระ โดยเฉพาะพระสร้างใหม่ ประกอบด้วยพระเนื้อโลหะ ๔ ชนิดหลักๆ คือ ๑.พระเนื้อทองคำ ๒.พระเนื้อเงิน ๓.พระเนื้อทองแดง ๔.พระโลหะผสม

ในจำนวนเนื้อโลหะสร้างพระทั้ง ๔ ชนิด พระเนื้อโลหะผสม ถือว่าเป็นพระที่มีมุมมองให้ศึกษามากมาย ด้วยเหตุที่ว่า พระโลหะผสมมีมากมายหลายเนื้อมวลสาร ซึ่งบางประเภทมีสูตรจากตำราชี้เฉพาะปริมาณของส่วนผสม และบางประเภทก็ไม่ชี้ชัด เพียงใส่มวลสารแร่ธาตุเดิมให้ครบตามจำนวนธาตุที่ต้องการผสมเท่านั้น

จึงเป็นที่มาของความไม่แน่นอน ในโลหะผสมของแต่ละเบ้า แต่ละครั้งในการหลอมละลาย
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-10 17:33 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
โลหะผสมที่ได้รับความนิยมในการสร้างพระเครื่องได้แก่

สุดยอดของพระเนื้อโลหะผสมต้องยกให้ พระเนื้อนวโลหะ หมายถึง การนำแร่ธาตุต่าง ๙ ชนิด มาหลอมรวมกัน

พระเนื้อนวโลหะ ที่มีตำราชี้เฉพาะปริมาณของส่วนผสม ได้แก่ พระในกลุ่มพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ที่มี สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศนฯ กทม.เป็นองค์ปฐมการสร้าง สืบตำราต้นแบบที่บังคับในการสร้างพระกริ่งเนื้อนวโลหะสายวัดสุทัศนฯ ประกอบไปด้วย

๑.ชิน น้ำหนัก ๑ บาท (๑ บาท = ๑๕.๒ กรัม) ๒.จ้าวน้ำเงิน น้ำหนัก ๒ บาท (แร่ชนิดหนึ่ง สีเขียวปนน้ำเงิน) ๓.เหล็กละลายตัว น้ำหนัก ๓ บาท ๔.บริสุทธิ์ทองแดงบริสุทธิ์น้ำหนัก ๔ บาท ๕.ปรอท น้ำหนัก ๕ บาท ๖.สังกะสี น้ำหนัก ๖ บาท ๗.ทองแดง น้ำหนัก ๗ บาท ๘.เงิน น้ำหนัก ๘ บาท และ ๙.ทองคำ น้ำหนัก ๙ บาท



นำโลหะทั้ง ๙ นี้มาหลอมรวมกัน ได้เนื้อนวโลหะที่งดงามยิ่ง ส่วนกรรมวิธีที่แสนวิจิตรเข้มขลัง เคร่งครัด จะกล่าวอย่างละเอียดในการศึกษาเรื่องพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ให้ลึกซึ้งต่อไป
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-10 17:37 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ส่วนพระเนื้อโลหะที่น่าสนใจศึกษาเป็นอันดับสอง คือ เนื้อสัตตโลหะ หมายถึง โลหะผสม ๗ ชนิด อันประกอบด้วย ๑.เหล็ก ๒.ปรอท ๓.ทองแดง ๔.เงิน ๕.ทองคำ ๖.จ้าวน้ำเงิน และ ๗ บริสุทธิ์ ตามอัตราส่วนของแต่ละตำรา และวัสดุที่ทำขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ เช่น อาวุธที่เป็นเนื้อสัตตโลหะจะมีปริมาณของแร่เหล็กมากกว่าแร่ชนิดอื่น เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีพระที่สร้างจากโลหะ ๕ ชนิด ที่เรียกว่า เบญจโลหะ หมายถึงโลหะผสม ๕ ชนิด อันประกอบด้วย ๑.เหล็ก ๒.ปรอท ๓.ทองแดง ๔.เงิน และ ๕.ทองคำ อัตราส่วนตามความเหมาะสมของวัตถุที่สร้าง แต่โลหะหนักส่วนมากมักจะเป็นเหล็ก เพราะเหล็กมีราคาถูกกว่าโลหะชนิดอื่นๆ

พระเนื้อทองเหลือง นับเป็นโลหะผสมที่นิยมใช้กันมากในยุคหลังๆ ซึ่งเป็นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี และอาจจะมีธาตุอื่นปะปนอยู่บ้างเล็กน้อย เช่น ตะกั่ว ดีบุก อะลูมิเนียม เหล็ก แมงกานีส นิเกิล เป็นต้น

พระเนื้อบรอนซ์ เป็นชื่อดั้งเดิมของโลหะผสม ระหว่างดีบุกกับทองแดง ปัจจุบันหมายถึงโลหะผสมระหว่างทองแดงกับโลหะอื่นๆ ยกเว้นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี ซึ่งจะเป็นทองเหลือง ไม่ใช่บรอนซ์

พระเนื้อเมฆพัด เป็นโลหะผสมที่เกิดจากการนำแร่โลหะต่างๆ หลายชนิด อาทิ เหล็ก ทองแดง ดีบุก ตะกั่ว เงิน ทองคำ เป็นต้น จะเป็นปริมาณเท่าใด หรือใช้กี่ประเภท ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้สร้าง ระหว่างหุงแร่จะซัดด้วยกำมะถัน จนเกิดเป็นสีดำมันวาว ออกเหลือบสีน้ำเงิน

พระเนื้อเมฆสิทธิ์ นับเป็นโลหะผสมที่มีความคล้ายคลึง และเป็นคู่แฝดกับเนื้อเมฆพัด กรรมวิธีการสร้างก็คล้ายกัน

ถ้าเป็นคนรุ่นเก่าจะเรียกการสร้างโลหะผสมเมฆสิทธิ์ และเมฆพัดว่า การเล่นแร่แปรธาตุ นับเป็นโลหะที่เชื่อว่า มีความศักดิ์สิทธิ์ในตัว เพราะขณะที่ทำการหลอมรวม จะต้องบริกรรมพระคาถาต่างๆ ไปด้วย

สำหรับโลหะผสมเมฆสิทธิ์ ประกอบด้วยแร่ธาตุ ๔ ชนิด คือ เงิน สังกะสี ทองแดง และปรอท

พระเนื้อสัมฤทธิ์ เป็นโลหะผสมที่นิยมนำมาสร้างพระบูชา และรูปหล่อขนาดใหญ่ นับเป็นโลหะผสมยุคแรกๆ ที่มีการสร้างขึ้นมาแต่โบราณ บางคนเรียกว่า ทองสัมฤทธิ์ หรือ ทองบรอนซ์ ส่วนประกอบของโลหะผสมสัมฤทธิ์คือ ทองแดง ดีบุก เงิน และทองคำ

พระเนื้อโลหะประเภทสุดท้าย คือ ขันลงหิน เป็นเนื้อโลหะที่รู้จักกันมาแต่โบราณ และเป็นประเภทหนึ่งของโลหะผสมที่เรียกกันว่า บรอนซ์

แต่โลหะผสมเนื้อขันลงหิน จะเจาะจงเฉพาะโลหะผสม ระหว่างทองแดงกับดีบุกเท่านั้น ส่วนบรอนซ์จะรวมถึงโลหะทุกประเภทที่ผสมกับทองแดง ยกเว้นสังกะสี ดังนั้นสีบรอนซ์จึงมีหลายสี เช่น บรอนซ์เงิน บรอนซ์ทอง บรอนซ์ออกสีนาก เป็นต้น

โลหะผสมที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นโลหะผสมที่นิยมนำมาสร้างพระบูชาและพระเครื่อง

นอกจากนี้ ก็มีพระที่สร้างจากเนื้อโลหะหลัก ที่มีส่วนผสมอื่นเจือปนอยู่บ้าง แต่เป็นส่วนน้อย เพื่อความสะดวกในการขึ้นรูป ทำให้สวยงาม และคงทนยิ่งขึ้น เช่น ทองคำ เงิน ตะกั่ว เป็นต้น แต่ไม่เป็นที่รู้จักนิยมแพร่หลายเช่นที่กล่าวมา
มวลสารอีกอย่างที่เกิดจากการร่วมทำบุญ ของผู้มีจิตศรัทธาอาจเป็นทองคำ ทองแดง เงิน เหล็ก พดด้วง เราอาจจะเรียกว่าสำริด ก็ได้ครับ
สาระ  น่ารู้   ขอบคุณ ครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้