ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 3619
ตอบกลับ: 3
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

~ พระครูพิสิษฐ์สมถคุณ(หลวงพ่อเฮง) วัดเขาดิน ~

[คัดลอกลิงก์]
พระครูพิสิษฐ์สมถคุณ(หลวงพ่อเฮง)
วัดเขาดิน อ.เก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์


หลวงพ่อเฮง

ท่านเกิดปี พ.ศ.๒๔๐๒ ที่บ้านมหาโพธิ์ ตำบลมหาโพธิ์ อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ โยมบิดาชื่อโยมสังข์
โยมมารดาชื่อโยมเปี่ยม พอหลวงพ่อเฮงเกิดมาครอบครัวก็มีฐานะดีขึ้นตามลำดับ โยมบิดามารดาจึงตั้งชื่อให้ว่า "เฮง"
ท่านมีนิสัยเมตตาต่อสัตว์และชอบให้ทานแก่สัตว์มาตั้งแต่เด็กๆ ขนาดโยมบิดาให้ไปเฝ้านา ท่านเห็นนกมากินข้าวก็ยังไม่ยอม
ไล่ เพราะท่านถือว่าเป็นการให้ทานแก่นก หลวงพ่อเฮง วัดเขาดินท่านเป็นคนที่รักการศึกษา เมื่อมีเวลาว่างจะไปหาหลวงพ่อทับ
วัดมหาโพธิ์ ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ที่โด่งดังในสมัยนั้น เพื่อให้สอนวิชาให้ คือวิชาแพทย์แผนโบราณ คชศาสตร์
และวิทยาคมต่างๆ พออายุได้ ๑๒ ปี ท่านก็ขอโยมบิดามารดา บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดมหาโพธิ์ใต้ อยู่ได้ ๔ พรรษาก็ลาสึก
ออกมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพพออายุครบบวชในปี พ.ศ.๒๔๒๓ หลวงพ่อเฮงจึงได้อุปสมบท ที่วัดมหาโพธิ์ใต้
โดยมีพระครูกิ่ม เจ้าอาวาส วัดมหาโพธิ์ใต้เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อบวชแล้วก็ได้ศึกษาพระธรรมวินัย ตลอดจนวิชาโหราศาสตร์
และวิทยาคมต่างๆ อีกมากมายจากพระอาจารย์กิ่ม และที่วัดมหาโพธิ์ใต้ยังเป็นแหล่งรวบรวมวิชาการและตำราต่างๆ ไว้มากมาย
อีกทั้งพระอุโบสถ ของวัดก็เป็นพระอุโบสถแบบมหาอุด ซึ่งเป็นที่ปลุกเสกเครื่องรางของขลังได้ยอดเยี่ยม และมีอายุเก่าแก่
กว่า ๓๐๐ ปี วัดมหาโพธิ์ใต้ เป็นวัดที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิง จึงมีพระเกจิอาจารย์ที่ออกธุดงค์มาแวะพักอยู่เสมอๆ หลวงพ่อเฮง
จึงได้รับการถ่ายทอดสรรพวิชาต่างๆ จากพระเกจิอาจารย์เหล่านั้นไปด้วย ต่อมาหลวงพ่อเฮงท่านก็ได้ออกธุดงค์ไปใน
ป่าดงดิบต่างๆ ถึงพม่า เขมรและลาวหลายครั้ง และท่านก็เข้าใจธรรม ชาติของสัตว์ป่าได้ดี และสามารถเรียกอาการ ๓๒ ของสัตว์ที่ตายแล้วให้มาเข้ารูปจำลองที่ได้สร้างขึ้นได้จากการที่หลวงพ่อเฮงท่านได้ธุดงค์ไปตามป่าเขาต่างๆ ท่านจึงได้รู้ว่า
งาช้างที่มีการทนสิทธิ์ในตัวเองมี ๒ ประเภทคือ งากำจัดและงากำจาย งากำจัดคืองาที่ช้างตัวผู้ตกมันแทงงาหักติดกับต้นไม้
และงากำจายคืองาที่ช้างตัวผู้ต่อสู้กันเพื่อแย่งชิงเป็นจ่าฝูง และแตกหักตกอยู่ในป่า เมื่อหลวงพ่อเฮง ท่านพบก็จะเก็บไว้เพื่อ
นำมาสร้างเป็นเครื่องรางของขลังต่อมา ซึ่งส่วนมากก็จะมาแกะเป็น รูปเสือ คชสีห์ สิงห์ และหมู เป็นต้น หลวงพ่อเฮง
ได้กลับมาจากธุดงค์พอดีกับทางวัดว่างเจ้าอาวาส ท่านก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดมหาโพธิ์ใต้ในปี พ.ศ.๒๔๓๔
และได้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๔๙ ก็ได้เป็นเจ้าอาวาสปกครองถึง ๒ วัด คือวัดมหาโพธิ์ใต้และวัดเขาดิน
ซึ่งอยู่สองฝั่งแม่น้ำปิง ต่อมาท่านก็ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดเขาดินเนื่องจากทางวัดกำลังก่อสร้างศาลาการเปรียญอยู่ และได้มีเหตุการณ์ที่ทำให้ชาวบ้านเลื่อมใสมากก็คือท่านได้บอกกับชาวบ้านว่า ให้จัดทำปะรำพิธีต้อนรับที่วัดเขาดิน

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-4-1 15:51 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ชาวบ้านต่างไม่เข้าใจว่าให้สร้างทำไม และในวันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ซึ่งเสด็จประพาสต้นไปกำแพงเพชร ทางชลมารคได้จอดเรือพระที่นั่งแวะที่วัดเขาดินโดยไม่มีหมายกำหนดการ และชาวบ้าน
แถบนั้นไม่มีใครรู้มีจดหมายเหตุของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ บันทึกไว้ว่า "เมื่อมาถึงวัดเขาดินได้ยินเสียงมโหรีและพระสวด
เห็นเวลายังวันอยู่จึงได้คิดแวะถ่ายรูป แต่ชายหาดน้ำตื้นเรือใหญ่เข้าไปไม่ถึง ต้องลงเรือเล็กลำเลียงเข้าไปอีก เดินหาด
ร้อนเหลือกำลังทั้งเวลาก็บ่ายสี่โมงแล้ว ไม่ตั้งใจจะขึ้นเขา แต่ครั้นเข้าถ่ายรูปที่เขาแล้วเห็นวัด วัดตระเตรียมแน่นหนามาก
จึงเลยไปถ่ายรูป ครั้นเข้าไปใกล้ดูคนตะเกียกตะกายกันหนักขึ้น จะต้องยอมขึ้นวัดๆ นี้มีเจ้าอธิการชื่อเฮง รูปพรรณสัณฐาน
ดีกลางคนไม่หนุ่มไม่แก่ เป็นพระฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่คนจะนับถือมากเพิ่งมาจากวัดมหาโพธิ์ใต้ที่ฝั่งตรงกันข้ามได้ ๒ ปี
แต่มีคนแก่สัปบุรุษและชาวบ้านหลายคนมาคอยอธิบายชี้แจงโน้นนี่ เจ้าอธิการว่าได้สร้างศาลาไว้หลังหนึ่งขัดเครื่องมุง
จึงให้เงิน ๑๐๐ บาท ช่วยศาลานั้น แล้วสัปบุรุษทายกชักชวนให้เข้าไปดูในวัด ซึ่งเชื่อเสียแล้วว่าจะไม่มีอะไร แต่ทนเสียง
อ้อนวอนไม่ได้ ครั้นเข้าไปถึงลานวัดเห็นวัดใหญ่โตมาก เป็นที่รักษาสะอาดหมดจดอย่างยิ่ง รู้สึกสบาย ถ่ายรูปแล้วพวก
สัปบุรุษชวนให้ไปดูพระอุโบสถซึ่งอยู่บนเขา จึงรู้ว่ามีทางอีกทางหนึ่งสำหรับขึ้นมา มีบันไดอิฐขึ้นตลอดจะต่ำกว่าเขาบวชนาค
สักหน่อยแต่ทางขึ้นง่าย ไม่ใช่เขาดินเป็นเขาศิลามีดินหุ้มอยู่แต่ตอนล่างๆ พวกสัปบุรุษพากันตักน้ำขึ้นไปไว้สำหรับให้กินจะให้อาบ
โบสถ์นั้นรูปโปร่งเป็นศาลา ไม่มีฝา หลังใหญ่มีพระเจดีย์องค์หนึ่ง แต่ข้างหลังโบสถ์และดูภูมิที่งดงามดี คือมีบึงใหญ่เห็นจะเป็น
ลำเดียวกันกับบึงบ้านหูกวาง และเห็นเขาหลวงเมืองนครสวรรค์สกัดอยู่ ในที่สุดถ่ายรูปแล้วไล่เลียงเรื่องวัดนี้ ได้ความว่า
พระครูหวาอยู่วัดมหาโพธิ์ใต้มาเริ่มสร้างได้ ๘๐ ปีมาแล้วได้ปฏิสังขรณ์ต่อๆ กันมา เจ้าอธิการได้เอาแหวนถักพิรอดมาแจก
แหวนนั้นทำนองเดียวกับขรัวม่วงวัดประดู่ แต่ขรัวม่วงถักด้วยกระดาษลงรัก แต่นี่ถักด้วยด้ายทำเรียบร้อยดี"ขณะที่อยู่ที่วัดเขาดิน
การที่หลวงพ่อเฮงไปช่วยสร้างศาสนสถานที่วัดเขาดิน ท่านจึงปกครองทั้ง ๒ วัด คือวัดมหาโพธิ์ใต้และวัดเขาดิน ซึ่งอยู่ตรงกันข้าม
ฝั่งแม่น้ำถือว่าเป็นวัดพี่วัดน้องกัน หลวงพ่อเฮงท่านเป็นพระสมถะ กินง่ายอยู่ง่าย พบง่าย ชอบช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก
ท่านโปรดที่จะฉันข้าวกับกล้วยน้ำว้าสุกงอม กับน้ำปลา ปลาเค็ม ท่านเป็นที่รักเคารพและศรัทธาของชาวบ้าน ต่อมาหลวงพ่อเฮงท่านก็ปรารถนาที่จะกลับมาจำพรรษาที่วัดมหาโพธิ์ใต้และอยู่ตลอดเรื่อยมาจนท่านมรณภาพ ในเดือน
๑๒ พ.ศ.๒๔๘๕ สิริอายุได้ ๘๓ ปี พรรษาที่ ๖๓

ที่มา  http://www.nakhonsawantemple.com ... e-l027/jaorwat.html
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-4-1 15:53 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ประวัติวัดเขาดินใต้
วัดพระหน่อธรรินทรใกล้วารินคงคาราม

วัดเขาดินใต้
    หรือวัดพระหน่อธรรินทรใกล้วารินคงคาราม เมื่อครั้งรัชกาลที่๕ เสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชรทางชลมารค
ได้แวะเมืองนครสวรรค์ เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๔๔๙ ทรงสนทนาธรรมกับ " หลวงพ่อเฮง " อดีตเจ้าอาวาส
เป็นที่พอพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่งและทรงแต่งตั้งให้เป็นพระครูชั้นพิเศษ นาม " พระครูพิสิษฐสมถคุณ "
" หลวงพ่อเฮง " เป็นพระที่รัชกาลที่๕ ทรงนับถือมากจนได้รับนิมนต์เข้าไปในพระราชพิธีต่างๆ ตลอดรัชกาล
และได้รับพระราชทานสิ่งของเครื่องใช้หลายอย่าง ซึ่งทางวัดมหาโพธิ์ได้เก็บรักษาไว้และดังปรากฎใน
พระราชหัตถเลขาของรัชกาลที่ ๕ ทรงบันทึกไว้ว่า ทรงเลื่อมใสในศีลา- จารวัตรหลวงพ่อเองมาก และทรง
บริจาคเงิน ๑๐๐ บาท ร่วมสร้างศาลวัดเขาดินใต้

" วัดเขาดิน หรือ วัดเขาดินใต้ "
    ในปัจจุบันเนื่องจากต่อมาภายหลังได้มีการสร้างวัดเขาดินเหนือโดยวัดเขาดินใต้นี้เป็นวัดเก่าแก่สร้างตั้งแต่
สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย อายุประมาณ ๒๐๐ ปีเศษ ตั้งอยู่ในเขตตำบลเขาดิน อำเภอเก้าเลี้ยว
จังหวัดนครสวรรค์ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิงฝั่งตะวันตกด้วยเหตุนี้เองจึงมีชื่อเต็มว่า " วัดพระหน่อธรณิรนทรใกล้
วารินคงคาราม " ตั้งอยู่ตรงข้ามวักมหาโพธิ์ใต้ ซึ่งเป็นวัดพี่วัดน้องกันเพราะหลวงพ่อเฮงท่านเป็นเจ้าอาวาส
ปกครองดูแลทั้ง ๒ วัด

    ซึ่งภายในวัดมีจุดสำคัญต่างๆ ในการตามรอยเสด็จประพาสต้น ดังนี้ นมัสการ " หลวงพ่อเฮง "
แวะชมวิหารเล็ก ตั้งอยู่บนเขาหน้าวัดเขาดินประดิษฐรอยพระพุทธบาทจำลองที่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
ถวาย "หลวงพ่อเฮง " เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ แวะชมพระอุโบสถบนยอดเขามรทางขึ้นเป็นบันไดนาคสวยงามมาก
และ ถ้ำลับแล

    การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๑๗ สายนครสวรรค์-พิษณุโลก ประมาณ ๒ กิโลเมตร
แล้วแยกซ้ายมือไปทางบ้านแก่งอีกประมาณ ๑๓ กิโลเมตร วัดอยู่ติดถนนทางด้านขวามือ ห่างจากจังหวัด
เพียง ๑๕ กิโลเมตร

กราบนมัสการครับ

ขอบพระคุณข้อมูลครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้