ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 7858
ตอบกลับ: 31
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระพุทธรูปสำคัญ

[คัดลอกลิงก์]
พระพุทธมหามณีรัตน์ปฏิมากร (พระแก้วมรกต)
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร


ตามประวัติกล่าวว่า พระแก้วมรกตพระองค์นี้ เทวดาสร้างถวายพระอรหันต์องค์หนึ่ง มีนามว่า พระนาคเสนเถระ แห่งเมืองปาตลีบุตร ในอินเดีย พระนาคเสน ได้อธิษฐานอาราธนาพระบรมสารีริกธาตุ ของสมเด็จพระสัมมนาสัมพุทธเจ้า ให้ประดิษฐานอยู่ในองค์พระแก้วมรกต ๗ พระองค์ คือ ในพระโมฬี พระนลาฏ พระอุระ พระอังสาทั้ง ๒ ข้าง พระชานุทั้ง ๒ ข้าง ต่อมาพระแก้วมรกตได้ตกไปอยู่ที่เมืองลังกา เมืองกัมโพชา เมืองศรีอยุธยา เมืองละโว้ เมืองกำแพงเพชร และเมืองเชียงราย ตามลำดับ เจ้าเมืองเชียงรายได้เอาปูนทาแล้วลงรักปิดทอง นำไปบรรจุไว้ในพระเจดีย์ที่เมืองเชียงราย เพื่อซ่อนเร้นจากศัตรู
เมื่อ พ.ศ. ๑๙๗๙ เกิดฟ้าผ่าที่องค์เจดีย์ ชาวเมืองได้เห็นพระพุทธรูปปิดทองปรากฎอยู่ คิดว่าเป็นพระพุทธรูปศิลาทั่วไป จึงได้อัญเชิญไปไว้ในวิหารในวัดแห่งหนึ่ง ต่อมาปูนที่ลงรักปิดทองได้กะเทาะออกที่ปลายพระนาสิก เห็นเป็นเนื้อแก้วสีเขียว จึงได้แกะปูนออกทั้งองค์ จึงพบว่าเป็นพระพุทธรูปแก้วทึบทั้งองค์ ผู้คนจึงพากันไปนมัสการ พระเจ้าสามฝั่งแกน เจ้าเมืองเชียงใหม่ จึงจัดกระบวนไปอัญเชิญพระแก้วมรกตมาเชียงใหม่ แต่ช้างที่ใช้อัญเชิญได้หันเหไปทางลำปางถึงสามครั้ง จึงต้องยอมให้อัญเชิญไปประดิษฐานที่ นครลำปางถึง ๓๒ ปี ที่วัดพระแก้ว ยังปรากฎอยู่ถึงปัจจุบันนี้
เมื่อ พ.ศ. ๒๐๑๑ พระเจ้าติโลกราชครองเมืองเชียงใหม่ ได้อัญเชิญพระแก้วมรกต มาประดิษฐานที่เมืองเชียงใหม่ เป็นเวลา ๘๔ ปี ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๐๙๔ พระเจ้าไชยเชษฐา โอรสพระเจ้าโพธิสาร ซึ่งเป็นพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) ได้ครองเมืองเชียงใหม่ต่อจากพระอัยกา ครั้นเมื่อพระเจ้าโพธิสารทิวงคต ทางกรุงศรีสัตนาคนหุต จึงเชิญพระเจ้าไชยเชษฐา กลับไปเมืองหลวงพระบาง จึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปด้วย เมื่อ พ.ศ. ๒๐๙๕ และได้ประดิษฐานอยู่ที่เมืองหลวงพระบาง ๑๒ ปี ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๑๐๗ ได้ย้ายราชธานีไปอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์ และได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปด้วย พระแก้วมรกต ได้ประดิษฐานอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์อีก ๒๑๔ ปี
เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ขณะที่ทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ยกกองทัพ ไปตีได้เมืองเวียงจันทน์ และได้อัญเชิญพระแก้วมรกตพร้อมกับพระบาง มายังกรุงธนบุรี ได้ประดิษฐานไว้ ณ โรงพระแก้วในบริเวณพระราชวังเดิม ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ฯ ได้ครองราชย์ที่กรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ ได้ทรงโปรดให้ประดิษฐานพระแก้วมรกต ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๗

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-19 13:42 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

พระพุทธชินราช
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก




ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารใหญ่ด้านทิศตะวันตกของวัด ซึ่งเป็นด้านหน้าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หน้าตักกว้าง ๕ ศอก คืบ ๕ นิ้ว ผันพระพักตร์ไปทางแม่น้ำ
พระพุทธชินราชเป็นพระพุทธรูปสำคัญ ซึ่งพระมหากษัตริย์ไทยทรงเคารพนับถือสักการะบูชา มาแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา ดังมีรายพระนามที่ปรากฎในพงศาวดาร คือ สมเด็จพระราเมศวร สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร สมเด็จพระมหาธรรมราชา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเพทราชา พระเจ้าบรมโกฐ พระเจ้ากรุงธนบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี องค์ต่อ ๆ มาเกือบทุกพระองค์
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสรรเสริญไว้ว่า พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศาสดา ทั้ง ๓ พระองค์ เป็นพระพุทธปฏิมากรดีล้ำเลิศ ประกอบไปด้วยพุทธลักษณะอันประเสริฐ มีสิริอันเทพยดาหากอภิบาลรักษา ย่อมเป็นที่สักการะบูชานับถือแต่โบราณ
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-19 13:43 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

พระพุทธสิหิงค์
พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร




พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปหล่อหุ้มทอง ปางสมาธิ ตามประวัติกล่าวว่า พระเจ้ากรุงลังกาองค์หนึ่งได้สร้างขึ้นไว้ ต่อมาเจ้านครศรีธรรมราช ได้ไปขอมาถวายพระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย เมื่อพระบรมราชาธิราชที่ ๑ แห่งกรุงศรีอยุธยาได้กรุงสุโขทัยเป็นเมืองขึ้น จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่กรุงศรีอยุธยา ต่อมาได้มีผู้นำไปไว้ที่ เมืองกำแพงเพชร และที่เชียงราย เมื่อพระเจ้าแสนเมืองมา เจ้านครเชียงใหม่ ยกทัพไปตีเมืองเชียงรายได้ จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ มาประดิษฐานที่เชียงใหม่ พร้อมกับพระแก้วมรกต เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชตีเมืองเชียงใหม่ได้ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๐๕ ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ มาประดิษฐานที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ กรุงศรีอยุธยาเป็นเวลา ๑๐๕ ปี เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ ชาวเชียงใหม่ซึ่งสมัยนั้นยังอยู่ข้างพม่า ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์กลับไปที่เชียงใหม่
เมื่อมณฑลพายัพได้กลับมาเป็นของไทย ในสมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาสุรสิงหนาท จึงได้โปรดให้อัญเชิญลงมายังกรุงเทพ ฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๘ โดยประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระบวรราชวัง


4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-19 13:44 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

พระพุทธเทวปฏิมากร
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร




  พระพุทธเทวปฏิมากร เป็นพระประธานในอุโบสถวัดพระเชตุพน ฯ ปางสมาธิ หน้าตักกว้าง ๕ ศอก คืบ ๔ นิ้ว เดิมเป็นพระประธานอยู่ที่ วัดศาลาสี่หน้า (วัดคูหาสวรรค์ปัจจุบัน) แขวงจังหวัดธนบุรี
เมื่อสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสร้างวัดโพธาราม ให้เป็นวัดใหญ่สำหรับพระนคร และได้ทรงขนานนามใหม่ว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระองค์ได้ทรงเลือกหาพระพุทธรูป ที่มีพุทธลักษณะงามสมควรเป็นพระประธานในพระอุโบสถของวัด จึงได้พบและเลือกพระพุทธรูปองค์นี้จากวัดศาลาสี่หน้า ดังกล่าว

5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-19 13:45 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

พระศรีศากยมุนี
วัดสุทัศนเทพวราราม

  พระศรีศากยมุนี เป็นพระประธานในพระวิหารหลวงวัดสุทัศนเทพวราราม หล่อด้วยโลหะ หน้าตักกว้าง ๓ วา ๑ คืบ นับเป็นพระพุทธรูปหล่อที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ในยุคก่อน ๒๕ พุทธศตวรรษ เดิมเป็นพระประธานอยู่ในพระวิหารหลวง วัดมหาธาตุ สุโขทัย สร้างสมัยราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ให้อัญเชิญมายังกรุงเทพ ฯ ได้ทรงมีพระราชดำริจะสร้างพระอาราม ที่มีพระวิหารใหญ่อย่างวัดพนัญเชิงที่อยุธยา โดยประดิษฐานไว้กลางพระนคร เมื่อชลอพระศรีศากยมุนีมาถึงกรุงเทพ ฯ แล้วให้ประทับท่าสมโภช ๗ วัน แล้วจึงทรงชักเลื่อนองค์พระทางสถลมารค และพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินตามขบวนแห่พระในรัชสมัยของพระองค์ ทำได้เพียงอัญเชิญองค์พระขึ้นตั้งไว้ ตัววิหารลงมือสร้างในรัชกาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-19 13:46 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

พระพุทธชินสีห์ (องค์หน้า)
วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร



  
พระพุทธชินสีห์ สร้างขึ้นคราวเดียวกันกับพระพุทธชินราช และพระศาสดา เป็นพระพุทธรูปสำคัญพระองค์หนึ่งของหัวเมืองฝ่ายเหนือ ได้ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารด้านเหนือของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลกมาแต่ต้น ต่อมาพระวิหารชำรุดทรุดโทรมลง ขาดการปฏิสังขรณ์ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพย์ จึงโปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๒ โดยประดิษฐานไว้มุขหลังของพระอุโบสถที่เป็นจตุรมุข ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยเมื่อยังทรงผนวช และครองวัดบวรนิเวศวิหารอยู่ ได้ทูลขอพระบรมราชานุญาตพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว อัญเชิญพระพุทธชินสีห์มาเป็นพระประธานในพระอุโบสถ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเคารพนับถือพระพุทธชินสีห์มาก ได้โปรดให้กะไหล่รัศมีองค์พระด้วยทองคำ ฝังพระเนตรฝังเพชรที่พระอุณาโลม แล้วปิดทองทั้งองค์พระ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๓ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๗ ได้โปรดให้หล่อฐานด้วยทองสัมฤทธิ์ ปิดทองใหม่ทั้งองค์พระและฐาน แล้วให้มีการสมโภช ๕ วัน

7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-19 13:46 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

พระศาสดา
วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร

  
พระศาสดา สร้างคราวเดียวกับพระพุทธชินราช และพระพุทธชินสีห์ ได้ประดิษฐานอยู่ในวิหารด้านทิศใต้ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุมาแต่ต้น ต่อมาพระวิหารชำรุดไม่มีผู้ปฏิสังขรณ์ จึงได้อัญเชิญพระศาสดามาไว้ ที่วัดบางอ้อช้าง ทางแม่น้ำอ้อม จังหวัดนนทบุรี ตั้งแต่ต้นสมัยกรุง รัตนโกสินทร์ เมื่อสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติปฏิสังขรณ์วัดประดู่ คลองบางหลวง จึงได้ขออัญเชิญพระศาสดาไปเป็นพระประธาน
ล่วงมาถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง พระราชดำริว่า พระศาสดาเป็นพระพุทธรูปอยู่ที่พระอารามหลวงมา แต่โบราณ ไม่สมควรอยู่ที่วัดอื่น จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้อัญเชิญมา ประดิษฐานไว้ที่มุขหน้าพระอุโบสถวัดสุทัศน์เทพวราราม เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๖ ต่อมาได้ทรงพระราชดำริว่า พระศาสดาและพระพุทธชินสีห์ เคยประดิษฐานอยู่ในพระอารามเดียวกันที่เมืองพิษณุโลก จึงโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระวิหารขึ้นใน วัดบวรนิเวศวิหาร แล้วอัญเชิญพระศาสดาจากวัดสุทัศน์ ฯ ไปประดิษฐานไว้ในพระวิหารนั้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๖

8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-19 13:47 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

พระโต (องค์ใหญ่)
วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร



  พระโต เป็นพระประธานองค์ใหญ่ของวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระพุทธรูปโบราณ หน้าตักกว้าง ๙ ศอก ๒๑ นิ้ว เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดสะพาน เมืองเพชรบุรี ชาวบ้าน เรียกกันว่า พระโต
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพย์ โปรดให้อัญเชิญมาเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เข้าใจว่าน่าจะมีการซ่อมใหม่ในโอกาส นี้ เพราะมีลักษณะที่เป็นฝีมือช่างสมัยรัตนโกสินทร์ปรากฎอยู่มาก ลักษณะเดิมขององค์พระมีเค้าว่าเดิมน่าจะเป็นพระขอม

9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-19 13:48 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


พระสิทธารถ
วัดพิชัยญาติ กรุงเทพมหานคร


   
พระสิทธารถ เป็นพระประธานวัดพิชัยญาติ มีประวัติว่าได้อัญเชิญมาจากเมืองพิษณุโลก เป็นพระพุทธรูป ฝีมือช่างสมัยสุโขทัย สันนิษฐานว่า เดิมน่าจะประดิษฐานอยู่วัดที่สำคัญของเมืองพิษณุโลกคือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดวิหารทอง วัดราชประดิษฐาน และวัดจุฬามณี ไม่วัดใดก็วัดหนึ่ง พระสิทธารถ และพระทศพลญาณ เป็นพระพุทธรูปสำคัญที่อัญเชิญมาจาก เมืองเหนือในชั้นหลัง
10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-19 13:50 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

พระมงคลบพิตร
วิหารพระมงคลบพิตร จ.พระนครศรีอยุธยา



  พระมงคลบพิตร ไม่ปรากฎหลักฐานชัดว่าสร้างในรัชกาลใดแห่งกรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานว่าสร้างใน สมัยอยุธยาตอนต้น เพราะพระพักตร์แม้จะมีลักษณะค่อนข้างเป็นวงรีแล้ว แต่ก็ยังคงเห็นเค้าพระพักตร์เป็นเหลี่ยมอยู่ ซึ่งเป็นพุทธลักษณะแบบอยุธยาตอนต้น เมื่อพิจารณาถึงเส้นพระขนงที่โค้ง ก็จะพบว่าเป็นศิลปที่ ผสมผสานกับศิลปะสุโขทัยอีกด้วย องค์พระก่อด้วยอิฐแล้วหุ้มสำริดแผ่น นับเป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดองค์ หนึ่งของไทย
จากหลักฐานมีอยู่ว่า เมื่อปี พ.ศ. 2146 พระเจ้าทรงธรรมได้โปรดเกล้า ฯ ให้ชะลอหลวงพ่อวัดมลคลบพิตร จากด้านตะวันออกของวังหลวงมาไว้ทางด้านตะวันตก ณ ที่ประดิษฐานปัจจุบัน และยังได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระมณฑปที่มีลักษณะเช่นเดียวกับมณฑปพระพุทธบาทสระบุรีสวมไว้ด้วย
ในสมัยพระพุทธเจ้าเสือ เกิดอสุนีบาตต้องยอดพระมณฑป เกิดไฟไหม้พังลงมาต้องพระศอของพระมงคล บพิตรหัก พระองค์จึงโปรดเกล้า ฯ ให้รื้อเครื่องบนออกแล้วสร้างใหม่เป็นพระวิหาร แต่คงทำเครื่องยอดอย่าง มณฑปของเดิม ต่อมาในสมัยพระเจ้าบรมโกศ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศน์เป็นแม่กองบูรณะปฏิสังขรณ และได้รื้อยอดมณฑปเดิมเปลี่ยนเป็นพระวิหาร

  
  วิหารพระมงคลบพิตรถูกไฟเผาผลาญ ครั้งเสียกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2310 จนเครื่องบนของพระวิหารพังลงมา ถูกพระเมาฬีและพระกรขวาขององค์พระชำรุด พระยาโบราณราชธานินทรเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยา ได้บูรณะซ่อมแซมให้คืนดี สำหรับพระวิหารที่ชำรุดหักพังเกือบจะโดยสิ้นเชิงนั้น ได้บูรณะขึ้นใหม่อย่างที่เป็นอยู่ปัจจุบันเมื่อปี พ.ศ. 2499 โดย นายอูนุ นายกรัฐมนตรีสหภาพพม่าในขณะนั้น ได้บริจาคเงินจำนวนสองแสนบาท ร่วมกับฝ่ายรัฐบาลไทยอีกสองแสนห้าหมื่นบาท
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้