ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 3106
ตอบกลับ: 5
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

หลวงปู่มั่นเล่าเรื่องพระธาตุพนมให้หลวงพ่อวิริยังค์ฟัง

[คัดลอกลิงก์]



ท่านอาจารย์มั่นฯ ได้เล่าขณะที่ข้าพเจ้าทำหมากถวายท่านเวลากลางวันต่อไปอีกว่า

พวกเราก็ต้องเดินทางหลังจากออกพรรษาแล้ว รอนแรมตามฝั่งแม่น้ำโขงเรื่อยลงมา ณ ตามฝั่งแม่น้ำโขงนั้นก็มีหมู่บ้านเป็นหย่อม ๆ หลายก๊ก เช่น ภูไท ไทยดำ ลาวโซ่ง

ท่านเล่าว่า
ภูไทมีศรัทธาดีกว่าทุกก๊ก แต่ภูไทนี้การภาวนาจิตใจอ่อน รวมง่าย รักษาไม่ใคร่เป็น ส่วนลาวโซ่งนั้นไม่ใคร่เอาไหนเลย แต่ทุก ๆ ก๊กก็ทำบุญนับถือพุทธทั้งนั้น เขาให้พวกเราได้มีชีวิตอยู่ก็นับว่าดี แต่ขณะนี้ตัวของเราเองก็ยังมองไม่เห็นธรรมของจริง ยังหาที่พึ่งแก่ตนยังไม่ได้ จะไปสอนผู้อื่นก็เห็นจะทำให้ตัวของเราเนิ่นช้า จึงไม่แสดงธรรมอะไร นอกจากเดินทางไป พักไป บำเพ็ญสมณธรรมไป ตามแต่จะได้

ครั้นแล้วท่านอาจารย์เสาร์ก็พาข้ามแม่น้ำโขงกลับประเทศไทย ที่ท่าข้ามตรงกับพระธาตุพนมพอดี

ท่านเล่าไปเคี้ยวหมากไปอย่างอารมณ์ดีว่า
ขณะนั้นพระธาตุพนมไม่มีใครเหลียวแลดอก มีแต่เถาวัลย์นานาชนิดปกคลุมจนมิดเหลือแต่ยอด ต้นไม้รกรุงรังไปหมด ทั้ง ๓ ศิษย์อาจารย์ก็พากันพักอยู่ที่นั้น เพื่อบำเพ็ญสมณธรรม ขณะที่ท่านอยู่กันนั้น พอตกเวลากลางคืนประมาณ ๔-๕ ทุ่ม จะปรากฏมีแสงสีเขียววงกลมเท่ากับลูกมะพร้าว และมีรัศมีสว่างเป็นทาง ผุดออกจากยอดพระเจดีย์ แล้วก็ลอยห่างออกไปจนสุดสายตา และเมื่อถึงเวลาก่อนจะแจ้ง ตี ๓-๔ แสงนั้นก็จะลอยกลับเข้ามาจนถึงองค์พระเจดีย์แล้วก็หายวับเข้าองค์พระเจดีย์ไป

ทั้ง ๓ องค์ศิษย์อาจารย์ได้เห็นเป็นประจักษ์เช่นนั้นทุกๆ วัน ท่านอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถระ จึงพูดว่า
“ที่พระเจดีย์นี้ต้องมีพระบรมสาริกธาตุอย่างแน่นอน”

ในตอนนี้ผู้เขียนกับพระอาจารย์มั่น ฯ ได้เดินธุดงค์มาพักอยู่ที่วัดอ้อมแก้วมี ๒ องค์เท่านั้น และมีตาปะขาวตามมาด้วยหนึ่งคน ท่านจึงมีโอกาสเล่าเรื่องราวเบื้องหลังให้ข้าพเจ้าฟัง ซึ่งน่าจะเป็นประวัติศาสตร์ได้เป็นอย่างดี ผู้เขียนจำได้ว่าเป็นปีที่พระราชทานเพลิงศพพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถระ คุณนายพวงจากจังหวัดอุบลราชธานี จะตีตั๋วให้ไปทางเครื่องบิน ท่านบอกว่า “เราจะเดินเอา” จึงได้พาผู้เขียนพร้อมด้วยตาปะขาวบ๊อง ๆ คนหนึ่งซึ่งไม่ค่อยจะเต็มเต็งเท่าไรนักไปด้วย เดินไปพักไป แนะนำธรรมะแก่ผู้เขียนไปพลาง จนไปถึงพระธาตุพนม เขตจังหวัดนครพนม แล้วท่านก็พาผู้เขียนพักอยู่ที่นี่และได้ฟังเรื่องราวของพระธาตุพนม ซึ่งจะได้เล่าสู่กันฟังต่อไปข้างหน้า โดยจะเล่าถึงการสถาปนาพระธาตุพนม

ดังนั้น ท่านจึงได้ชักชวนญาติโยมทั้งหลายในละแวกนั้น ซึ่งก็มีอยู่ไม่กี่หลังคาเรือน และส่วนมากก็เป็นชาวนา ได้มาช่วยกันถากถางทำความสะอาดรอบบริเวณองค์พระเจดีย์...นั้น ได้พาญาติโยมทำอยู่เช่นนี้ถึง ๓ เดือนเศษๆ จึงค่อยสะอาด เป็นที่เจริญหูเจริญตามาตราบเท่าทุกวันนี้

เมื่อญาติโยมทำความสะอาดเสร็จแล้ว ท่านอาจารย์ก็พาญาติโยมในละแวกนั้นทำมาฆบูชา ซึ่งขณะนั้น ผู้คนแถวนั้นยังไม่รู้ถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาแต่ อย่างใด ทำให้พวกเขาเหล่านั้นเกิดศรัทธาเลื่อมใสอย่างจริงจัง จนได้ชักชวนกันมารักษาอุโบสถ ฝึกหัดกัมมัฏฐานทำสมาธิกับท่านอาจารย์จนได้ประสบผลตามสมควร การพักอยู่ในบริเวณของพระธาตุพนมทำให้จิตใจเบิกบานมาก และทำให้เกิดอนุสรณ์รำลึกถึงพระพุทธเจ้าได้อย่างดียิ่ง

ท่านอาจารย์มั่นฯ ได้เล่าต่อไปว่า
ก่อนท่านจะกลับประเทศไทย ท่านเป็นโรคริดสีดวงจมูกประจำตัวมานาน โรคนั้นมักจะกำเริบบ่อย ๆ จึงทำให้ท่านกำหนดเอาเวทนาเป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจแห่งความเพียรที่ท่านกำหนดเอาเวทนาเป็นอารมณ์อย่างมิได้ท้อถอยนั้น วันหนึ่งจิตของท่านได้รวมเป็นอัปปนาสมาธิ ขณะที่จิตถอยออกจากอัปปนาสมาธิแล้ว ได้ปรากฏความรู้ที่น่าอัศจรรย์ขึ้นมาว่า โรคนี้เป็นโรคที่เกิดขึ้นมาจากกรรมในปัจจุบัน เนื่องจากได้กระทำกรรมไว้ และเมื่อได้พิจารณาตามรูปเรื่องจนเห็นสมจริงตามความรู้นั้นทุกประการแล้ว จิตก็รวมลงเป็นอัปปนาสมาธิอีก คราวนี้ปรากฏว่ามีอีกาตัวหนึ่งมาจับอยู่บนศีรษะ แล้วมันก็เอาจะงอยปากจิกกินจมูกของท่านจนหมดไป ตั้งแต่นั้นมา โรคริดสีดวงจมูกของท่านก็หายเป็นปกติ นี่เป็นการระงับความอาพาธด้วยธรรมโอสถเป็นครั้งที่สอง

จากนั้นท่านทั้ง ๓ ก็ได้ออกเดินทางจาริกต่อไป และแสวงหาความสงบตามป่าดงพงพีไปเรื่อย ๆ โดยมุ่งหวังเพื่อบรรลุธรรม แต่ก็ยังไม่สมความตั้งใจไว้ ต่อมาพระอาจารย์เสาร์ ก็พากลับจังหวัดอุบลราชธานีอันเป็นถิ่นเดิมของท่าน

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-15 06:25 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-11-15 06:28

ข้อความของหลวงปู่หล้า เขมปัตฺโต ที่เขียนถึงฝ่าเท้าของหลวงปู่มั่น



เรื่องที่ลืมเขียนมานานคือ ....


( ฝ่าเท้าหลวงปู่มั่นทั้งสองข้าง เป็นตาหมากรุกหมดเต็มทั้งสองฝ่า )
เวลาสรงน้ำท่านปรารภว่า(ฝ่าเท้าของเราไม่เหมือนหมู่เพียงเท่านี้)
พูดค่อยๆแบบเย็นๆ (ในยุคหนองผือ สี่ปีที่ข้าพเจ้าอยู่กับองค์ท่านนั้น)
พระเณรผู้น้อยที่ถวายข้อวัตรสรงน้ำถวายองค์ท่านนั้น ผู้สงวนฟังจึง -
จะได้ยิน (เพราะองค์ท่านก็ปรารภค่อยแบบประหยัดไม่แกมอวด)
ส่วนข้าพเจ้าไม่ได้__อาจเอื้อมถูข้างบน(ระหว่างฝ่าเท้าเสมอๆ)
จำพวกที่ถูหลัง ตัว แขน ขา ฝ่าเท้านั้น มักจะเป็นพระ ๔-๓-๒-
พรรษาเท่านั้นได้ถู พระผู้ใหญ่เหนือ ๕-๖-๗-๘-๙- ไปแล้วไม่ค่อย
จะได้ถู ตัว แขน ขา เพราะองค์หลวงปู่เทสน์ว่า สรงน้ำนี้เว้นให้ผู้น้อย
เขาสรงเสีย ถ้าพระผู้ใหญ่มาทำขวางผู้น้อย ผู้น้อยเขาระอายเก้อเขิน
เพราะเขาไม่มีทางเอื้อมมือเข้า และเขาก็กระดากระอายดังนี้


ส่วนข้าพเจ้าพรรษาอ่อน แต่อายุสามสิบกว่าในสมัยนั้น
และการที่องค์ท่านปรารภว่า ฝ่าเท้าของเราไม่เหมือนหมู่ นั้นองค์ท่าน
(ปรากฎว่า ปรารภครั้งเดียวเบาๆเท่านั้นไม่ได้ซ้ำๆซากๆอีก) ส่วนข้าพเจ้า
ผู้สงวนถูฝ่าเท้าก็เห็นเป็นตาหมากรุกเต็มฝ่าเท้าทั้งสองทางจริง ข้อนี้
ในชีวะประวัติขององค์ท่านเล่มใดๆก็ไม่ปรากฎเห็น และยุคที่องค์ท่านทรงพระ
ชีวาอยู่ ก็บรรดาลดลใจไม่มีใครสนใจปรารภ (น่าแปลกมาก) ข้าพเจ้าก็บรรดาล
ลืมอีกด้วย เรียกได้ว่าข้าพเจ้าไม่มีพยานก็ว่าได้ (แต่เอาตาหูตนเองเป็นพยาน)
ยุคก่อนๆก็ไม่มีท่านผู้ใดเล่าให้ฟัง (ชะรอยจะว่าดีชั่วไม่อยู่กับฝ่าเท้าอยู่กับใจกับธรรม)


o เรื่องฝ่าเท้าขององค์หลวงปู่มั่นเป็นตาหมากรุกนี้ เป็นของ
ทรงพระลักษณะสำคัญมาก แต่ก็น่าสนใจมากว่า ไฉน
จึงบรรดาลไม่ให้พระจำพวกผู้ใหญ่สนใจเอาลงในชีวะ
ประวัติ(กลายเป็นของไม่สำคัญไป)ชะรอยพระผู้น้อยที่
เห็นในเวลาสรงน้ำถวายแล้ว ไม่เล่าถวายให้พระผู้ใหญ่
ฟัง แต่ข้าพเจ้าเองก็บรรดาลลืม ไม่ค่อยสนใจเล่าเลย
แต่พอมาถึงยุคภูจ้อก้อตอนแก่กว่เจ็ดสิบปีกว่าๆแล้ว
จึงระลึกเห็น เป็นของน่าแปลกมากแท้ๆที่ลืมพากันลืม
เขียนลง แต่คราวองค์ท่านทรงพระชีวาอยู่ก็ดี หรือ
ทรงพระมรณะกาเลก็ดี ไม่มีท่านผู้ใดสงวนปรารภ ก็เป็น
ของคล้ายกับว่าอุตตริขึ้นมาภายหลัง แต่ก็ต้องอาศรัย
หลักของความจริง ไม่หนีจากความจริงเฉพาะตอนนี้
เป็นพยาน จริงก็ต้องเอาจริงเป็นพยาน เท็จก็ตรงกันข้าม

o ชีวะประวัติยุคภูจ้อก้อเป็นยุคสุดท้ายภายแก่ชะราพาธ ถ้าไม่มรณะกา
เลไปเสียแล้ว ชีวะประวัติก็จะไม่จบได้ แต่จะอย่างไรก็ตามทีเถิด
ต่างจะได้พิจารณาว่า เจตนาปฏิบัติพระพุทธศาสนาแพื่อประสงค์อะ
ไรบ้าง และจิตใจจะอยู่ระดับใดบ้าง เหล่านี้เป็นต้น แต่บรรยาย
พอสังเขปก็เอาละ จะบรรยายไปมากก็จะเป็นหลายวรรคหลายตอน
และก็ความพอดีพองามในโลกนี้ไม่รู้ว่าจะอยู่ระดับใดแน่ ถ้ามาก
เกินไปเล่มก็ใหญ่ลงทุนก็มาก ท่านผู้อ่านก็จะระอาอีก น่าพิจารณา
และก็คล้ายๆกับว่าตนเป็นผู้ประเสริฐเลิศล้ำ ระฆังไม่ดังก็ตีจนระฆัง
แตก แต่จะอย่างไรก็อาศรัยเจตนาเป็นเกณฑ์ ก็แล้วกันกระมัง

หล้า

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-15 06:25 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-15 06:26 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-15 06:27 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

สาธุ ของคุณคร้าบ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้