ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

คุณ พ.ศ. ไหน ???

[คัดลอกลิงก์]
ยิ่งเรื่องนี้ในโรงอย่างเดียว5รอบไม่รวมซื้อแผ่นเก็บไว้ดูอีก แต่ก่อนขับมอไซค์ทำงานทุกครั้งที่เป็นหวัดก็จะจินตนาการว่าน้ำมูกที่หยดใส่ถังน้ำมันคือเลือดที่หยดลงมาของหลิวเต้อหัวได้ฟิวส์มากครับ 555
22#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-9 10:21 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
Autsadakorn ตอบกลับเมื่อ 2013-11-9 07:46
ยิ่งเรื่องนี้ในโรงอย่างเดียว5รอบไม่รวมซื้อแผ่นเก็บ ...

ช่วงนั้นใครๆก็อยากเป็นอาหัว กันทั้งบ้านทั้งเมืองสรุปแล้วผมไปดูเกือบสิบรอบ
เพียงแต่คนนั่งข้างๆไม่ซ้ำหน้ากัน. แค่นั้นเอง   ฮิฮิ
ใครจะรู้ว่าพี่มัดมี่ เคยแสดงหนังกับสุพรรษา
24#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-10 06:44 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
metha ตอบกลับเมื่อ 2013-11-9 19:50
ใครจะรู้ว่าพี่มัดมี่ เคยแสดงหนังกับสุพรรษา ...

เรื่องอะไรครับ? แสดงเป็นอะไรครับ?
รามเทพ ตอบกลับเมื่อ 2013-11-7 07:16
อาหัว (Andy Lau) เป็นเด็กเสเพลที่เติบโตมาจากข้างถนน เลี ...

ก็เพราะดูเรื่องนี้ ...มอเตอร์ไซย์คันแรก ก็เลยได้เจ้านี่มา SUZUKI GSXR250....อยากได้ 400 cc. แต่งบไม่ถึงได้แค่ 250cc. นึกถึงตอนนี้ยังเสียดายไม่น่าขายไปเลยสมัยก่อนจดทะเบียนได้ไม่กี่ตังค์....เดี่ยวนี้ค่าจดทะเบียนแพงกว่าค่าตัวรถซะอีก.....( เคยบิดตาม FZR400 หนีไม่ออกละกัน ....อิอิ )


26#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-10 19:12 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
morntanti ตอบกลับเมื่อ 2013-11-10 07:29
ก็เพราะดูเรื่องนี้ ...มอเตอร์ไซย์คันแรก ก็เลยได้เจ้ ...

แรงบันดาลใจ
27#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-10 19:19 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
น้ำพุ








เป็นภาพยนตร์ไทย ที่ออกฉายเมื่อปี พ.ศ. 2527  สร้างโดย ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น  กำกับการแสดงโดย ยุทธนา มุกดาสนิท สร้างจากเนื้อเรื่องมาจากหนังสือ เรื่องของน้ำพุ ของ สุวรรณี สุคนธาซึ่งเป็นเรื่องราวชีวิตจริงของ วงศ์เมือง นันทขว้าง เป็นบุตรชายคนเดียวของ สุวรรณี สุคนธา ที่ติดยาเสพติด เป็นอุทธาหรณ์ ของการเลี้ยงบุตร และ อันตรายของยาเสพติด เป็นเรื่องราวของน้ำพุเป็นเด็กที่เติบโตมาในครอบครัวที่มีปัญหาและเขาก็ได้ค้นหาสิ่งใหม่ๆให้ชีวิตของเค้าทั้งดีและไม่ดี แต่น้ำพุ ก็เลือกทางผิด แม่ของน้ำพุรู้ก็สายไปเสียแล้ว น้ำพุได้ติดยาอย่างหนักและในที่สุดยาเสพย์ติดได้เอาชีวิตน้ำพุไป    ออกเข้าฉายเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน  พ.ศ. 2527 ที่โรงภาพยนตร์เอเธนส์


เรื่องย่อ



ในปี พ.ศ. 2517 แม่ (ภัทราวดี ศรีไตรรัตน์ เบรดี), น้ารัน (เรวัติ พุทธินันท์) และลูกๆช่วยกันพังประตูเข้าไปในห้องของน้ำพุ (อำพล ลำพูน) ซึ่งอยู่ในสภาพตาเหลือก ไม่มีสัญญาณใดๆที่บ่งบอกถึงการมีชีวิต และหอบหิ้วกันขึ้นรถเพื่อนำตัวไปโรงพยาบาลในสภาพทุลักทุเล

หมอกับพยาบาลกำลังยื้อยุดฉุดชีวิตของน้ำพุกับความตาย ห้วงคำนึงของแม่คิดถึงความเป็นมาเกี่ยวกับเด็กหนุ่มผู้วายชนม์ที่ต้องบอกว่ามันเริ่มต้นด้วยความโชคร้ายทีเดียว ตั้งแต่การเป็น ‘ไอ้เด็กเกิดวันที่สิบสาม ไอ้ตัวซวย’ ตามคำบริภาษของผู้เป็นพ่อ (สุเชาว์ พงษ์วิไล) ในห้วงยามที่ฝ่ายหลังเดือดดาล ตามมาด้วยการเป็นลูกผู้ชายเพียงคนเดียว และไม่ได้รับอนุญาตให้เล่นตุ๊กตากับพี่ๆน้องๆต่างเพศกัน บ้านของเขาต้องกลายเป็นสมรภูมิรบระหว่างพ่อแม่ที่ทะเลาะเบาะแว้งและถึงขั้นลงไม้ลงมือต่อหน้าต่อตาน้ำพุเป็นประจำ แต่บางที สิ่งที่อาจเรียกได้ว่าเป็นตราบาปที่ฝังแน่นในจิตใจของน้ำพุก็คือการที่เขาถูกผู้เป็นพ่อทำให้รู้สึกว่าเป็นต้นเหตุให้แม่ตัดสินใจหอบลูกๆทั้งหมดออกจากบ้านไป ทั้งๆที่ในความเป็นจริงแล้ว พ่อของน้ำพุใช้มีดตัดสายป่านจนขาด อันเป็นเหตุให้เด็กน้อยไปฟ้องแม่ด้วยน้ำตานองหน้า และแม่สั่งให้ลูกๆทุกคนเก็บข้าวของออกจากบ้าน และ “เราจะไม่กลับมาเหยียบบ้านนี้อีก” เป็นเพียงแค่ฟางเส้นสุดท้ายของความขัดแย้งระหว่างคนเป็นพ่อแม่เท่านั้นเอง

ต่อมา น้ำพุกับเพื่อนที่ชื่ออ๊อด (กฤษณะ จำปา) ซึ่งยังเป็นนักเรียนมัธยม กำลังชักชวนกันหนีโรงเรียนและเพิ่งจะรอดพ้นจากการถูกสารวัตรนักเรียนจับกุม น้ำพุยังนับว่าดีกว่าของอ๊อดที่พ่อแม่ไม่เพียงแยกทางกัน หากตัวเขายังถูกส่งไปอยู่กับลุง ขณะที่น้ำพุยังได้อยู่กับแม่ของตัวเอง การอยู่ตามลำพังกับแม่ของน้ำพุ ขณะที่พี่น้องคนอื่นๆถูกส่งไปอยู่กับญาติ แม่ของน้ำพุซึ่งก็ไม่ได้แตกต่างไปจากชนชั้นกลางในเมืองหลวงทั่วๆไปที่ต้องดิ้นรนกระเสือกกระสนภายใต้ระบบเศรษฐกิจที่บีบรัดตัว เพราะตระหนักว่าการงอมืองอเท้าและไม่ทำอะไร รังแต่จะนำไปสู่ความล้าหลัง, ถดถอยและความยากจน ต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำ และกลับบ้านดึกๆดื่นๆตลอดเวลา นั่นยังไม่ต้องเอ่ยถึงการที่แม่ไม่อาจตัดตัวเองขาดจากสังคม และมีเรื่องให้ต้องสังสรรค์กับเพื่อนฝูงเป็นประจำ หรือกระทั่งมีแฟนใหม่ ซึ่งมองในมุมของคนที่ต้องแบกภาระอะไรไว้มากมาย มันเป็นการแสวงหาการปลอบประโลมมากกว่าความฟุ่มเฟือย


น้ำพุกลับบ้านซึ่งเป็นเพียงห้องพักเล็กๆ ที่ขอแบ่งเช่าบนตึกแถวเพื่อมาอยู่กับตัวเองจึงดูเหมือนจะเป็นสภาวการณ์อันเป็นปกติธรรมดา ที่แม่ของน้ำพุต้องเดินทางไปเมืองนอก 2-3 เดือน และหนุ่มน้อยถูกส่งไปอยู่กับลุงและป้า ชีวิตน้ำพุก็ค่อยๆโน้มเอียงไปในทางเพื่อนๆ ซึ่งมี ’หน้าตาแปลกๆ’ โผล่เข้ามา หนึ่งในนั้นก็คือใหม่ (ปิติ จตุรภัทร์) ผู้ซึ่งก็เหมือนกับอ๊อดและน้ำพุตรงที่พ่อแม่แยกทางกัน แต่ที่หนุ่มน้อยคนนี้พกติดตัวมามากกว่าใครๆก็คือ ความโกรธเกลียดและคับแค้นพวกผู้ใหญ่ทุกๆคน น้ำพุไม่เคยมีความสุขกับบ้านหรือครอบครัวเลย เพราะหลังจากที่แม่สามารถเก็บหอมรอมริบ จนกระทั่งสามารถดาวน์บ้านเป็นของตัวเอง และลูกๆทุกคนได้กลับมาอยู่ร่วมกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา มันก็นับเป็น ‘วันชื่นคืนสุข’ สำหรับน้ำพุอย่างแท้จริง ระหว่างเขากับพี่หน่อย (นิศา มุจลินทร์กุล) และหนูแดง (กนกวรรณ บุรานนท์) มักจะมีเรื่องให้ระหองระแหงใจเป็นประจำ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่โต

ทุกคนได้กลับมาเป็นครอบครัว ต่อมา น้ารัน เพื่อนสนิทรุ่นน้องของแม่ ขออาศัยอยู่ด้วยและกลายเป็นเรื่องช่วยไม่ได้ที่น้ำพุจะรู้สึกว่าน้ารันเป็นเสมือนส่วนเกินหรือกระทั่งภัยคุกคามต่อความมั่นคงในครอบครัว ต่อมา น้ำพุซึ่งอยู่ในห้องนอนของตัวเอง แอบสูบกัญชาและผล็อยหลับไปพร้อมกับฝันว่าตัวเขากำลังเล่นว่าวกับผู้เป็นแม่กลางทุ่งกว้างตามลำพังสองคน ก่อนที่มันจะสิ้นสุดลงด้วยภาพของน้ำพุ นอนตระกองกอดแม่ของตัวเองและหลับไป


น้ำพุพยายามประท้วงการมาของน้ารันโดยแสวงหาแนวร่วมจากศัตรูเก่าของตัวเอง นั่นก็คือการนำเรื่องที่เกิดขึ้นไปฟ้องพ่อ คงจะด้วยหวังว่า บางที พ่ออาจจะช่วยจัดการอะไรได้ แต่มันก็การดิ้นรนที่สูญเปล่าและไม่เกิดดอกผลแต่อย่างใด เพราะพ่อของน้ำพุได้แต่หมกมุ่นอยู่กับการเขียนรูปและไม่แสดงให้เห็นถึงความยี่หระต่อสิ่งที่เกิดขึ้นภายนอก
น้ำพุอับจนหนทางและต้องเอ่ยปากสารภาพกับแม่อย่างไม่ปิดบังว่าเขาติดยา ในบรรดาความรู้สึกอันหลากหลายที่ประดังประเดเข้ามาพร้อมๆกัน ทั้งตกตะลึงและไม่อยากจะเชื่อในสิ่งที่ตัวเองได้ยิน มีอยู่แว่บหนึ่งที่ผู้ชมสามารถสัมผัสได้ก็คือความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจของแม่ที่ลูกชายไม่นึกถึงเธอ จึงเดินทางไปวัดถ้ำกระบอกกับเพื่อนเพื่อเลิกยา แต่เมื่อเขากลับมาบ้านอีกครั้ง เขากลับไม่ได้รับการต้อนรับอย่างดีเท่าที่เขาคาดหวัง จึงเกิดความรู้สึกน้อยใจตามประสาวัยรุ่น จึงฉีดเฮโรอีนเกินขนาดจนถึงขั้นเสียชีวิต

ที่มา..
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Sornpraram ตอบกลับเมื่อ 2013-11-10 06:44
เรื่องอะไรครับ? แสดงเป็นอะไรครับ?

ถามพี่มัดหมี่แล้ว
พี่มัดหมี่จำชื่อไม่ได้ จำได้แค่ว่าได้ปล้ำนางเอก
29#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-13 12:03 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ครกกระเดื่อง ครกมอง(โรงสีข้าวสมัยโบราณ)



ครกกระเดื่อง ครกมอง
ก่อนที่จะมีโรงสีข้าวนั้น ครกกระเดื่องเป็นเครื่องมือ
สำคัญในการแปรรูปข้าวเปลือกให้เป็นข้าวสารโดยวิธีการ
ตำข้าว วิธีการตำข้าวแบบเดิมของชาวอีสานนั้นเป็นการ
กระเทาะแยกเอาเปลีอกหุ้มจากเมล็ดข้าว เริ่มแรกใช้วิธีการ
ทุบข้าว ต่อมาใด้ทำครกตำข้าวขึ้นสองรูปแบบคือครกซ้อม
มือหรือครกกระเดื่องหรือครกมองมีรายละเอียดดังนี้
ครกมือ เป็นครกตำข้าวที่ใช้มืจับสากตำข้าวเปลือก
ส่วนประกอบของครกมือมีดังนี้
1. ตัวครอ เป็นท่อนไม้ขนาดใหญ่ ที่มีความยาวประ
มาณ 80-90 เซนติเมตรมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ50-60
เซนติเมตรเจาะตรงกลางเป็นร่องลึกโดยใช้ขวานฟันเอา
แกลบใส่เป็นเชื้อและจุดไฟเผาส่วนกลางของท่อนไม้ เผาเป็น
โพรงให้มีขนาดลึกตามต้องการ ขัดภายในให้เกลี้ยงเกลา
ตัวครกมีสองขนาด คือครกขนาดใหญ่ และครกขนาดเล็ก
ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง
2. สาก ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง มีความยาวขนาดสองเมตร
มีลักษณะปลายทั้งสองข้างโค้งมน หัวสากทุ่มนใหญ่ ปลาย
สากมนเรียวเล็ก ตรงกลางลำตัวสากคอดกลมกลึงพอดีกับมือ
กำอย่างหลวม ปลายสากมีไว้ตำข้าวตำ หัวสากมีไว้ตำข้าว
ซ้อม ผู้ตำข้าวซ้อมมือนี้ ตำกันเป็นกลุ่มครั้งละ 2-3 คน ผู้ตำ
ข้าวส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน วิธีตำข้าวมีลำดับดังนี้
1. นำข้าวที่จะตำไปผึ่งแดดหนึ่งวันเพื่อให้ข้าวแห้ง
จะบุบเปลือกง่ายขึ้น
2. นำข้าวมาเทลงในครกจำนวนพอเหมะ ใช้คนตำ
สองสามคนมีจังหวะการตำที่ไม่พร้อมกัน
3. ใช้เวลาในการตำข้าวนาน จนกว่าจะเหลือข้าว
เปลือกจำนวนน้อยที่ปนอยู่ในข้าวสาร แล้วเก็บกากออก


ข้อดีของการตำข้าวด้วยครกมือคือ
เลือกสถานที่และเคลื่อนย้านที่ตำได้ตามต้องการเพราะครก
มือไม่ได้ฝังลงในดิน นอกจากนี้ครกมือใช้คนตำจำนวนน้อย
ประมาณ 2-3 คน ข้อเสียของครกมือคือใช้เวลาการตำนาน
ออกแรงมาก ทำให้เหนื่อยเร็วและได้ ข้าวจำนวนน้อย การ
ตำข้าวด้วยครกมือนิยมมากเขตอีสานใต้ แถบจังหวัดสุรินทร์
และบุรีรัมย์ปัจจุบันมีผู้นำสากมาเป็นอุปกรณ์ประกอบการละเล่น
พื้นเมืองเรียกว่าเรือนอันเร ซึ่งมีลัษณะคล้ายกับรำลาวกระทบ
ไม้
ครกกระเดื่องหรือครกมอง ครกกระเดื่อง เป็นเครื่องใช้
ที่มีแทบทุกครัวเรือนโดยชาวบ้านนิยมทำไว้ข้างยุ้งข้าวเพื่อ
ความสะดวก โดยมุงหลังคายื่นออกมากันแดดกันฝนเรียกว่า
เทิบมองรหรือเพิงมอง ถ้าบ้านใต้ถุนสูงจะตั้งครกไว้ใต้ถุน
บ้าน ครกกระเดื่อง เป็นครกตำข้าวที่มีพัฒนาการสูงกว่าครก
มือคือทุ่นแรงมากกว่า ตำข้าวได้ปริมาณมากและเร็วกว่าการ
ตำด้วยครกมือ



ส่วนประกอบของครกกรเดื่องได้แก่


1. ตัวครก ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง นิยมใช้ไม้สะแบง
ไม้แคน ไม้จิก ไม้แดง ซึ่งเป็นไม้เนื้อดี ทนทานต่อการ
ฝังดิน ตัวครกทำจากท่อนไม้กลมยาวพอประมาณ มี
เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 เมตร เจาะเป็รร่องลึกตรงกลาง
เหมือนครกทั่ว ๆ ไป โดยใช้ขวานฟันตรงกลา เอาแกลบ
ใส่เป็นเชื้อและจุดไฟเผา ถ้ายังไม่ลึกพอก็ใช้ขวานฟัน
และเผาต่อจนได้หลุมครกลึกตามต้องการ ขัดภายใน
ให้เรียบร้อยและสวยงาม เหนือจากก้นครกถึงส่วนล่าง
สุดของไม้ประมาณหนึ่งศอก ฝังลงในดินให้แน่น


2. แม่มองหรือตัวมอง ทำจากไม้เนื้อแข็งทั้งต้น
นิยมใช้ไม้สมอไทยเพราะเนื้อแข็ง เหนียวและทนทาน
เพื่อไม่ให้หักแล แตกง่ายเวลาตอกลิ่นที่หัวแม่มองหรือ
ได้รับการกระแทกเวลาตำข้าว ตัวมองแบ่งเป็นส่วน
สำคัญสองส่วนคือหัวแม่มองและหางแม่มอง
หัวแม่มอง คือส่วนที่เป็นโคนของต้นไม้เป็นส่วน
ที่เพิ่มน้ำหนักในการตำข้าวทำให้เปลือกหุ้มข้าวที่ตำ
กระเทาะเร็วหรือช้าได้ ถ้าหัวแม่มองสั้นน้ำหนักกระแทก
ลงน้อยเปลือกจะกะเทาะช้า ถ้าหัวแม่มองยาวจะทำให้
ออกแรงตำมากเปลือกข้าวจะกะเทาะเร็ว การเจาะรูทะลุ
สำหรับใส่สากมอง ควรกะระยะห่างจากหัวแม่มองพอ
สมควร ไม่สั้นหรือยาวจนเกินไป

หางแม่มอง คือส่วนที่อยู่ปลายของลำต้นและเป็นส่วนที่
ใช้เท้าเหยียบเพื่อจะให้แม่มองกระดกขึ้นเวลาตำข้าวหาง
แม่มองจะบากหรือถากออกเล็กน้อยกันไม่ให้ลื่นดินบริเวณ
ใต้หางแม่มองจะขุดเป็นหลุมเรียกว่าหลุมแม่มอง ซึ่งเป็น
ส่วนที่ช่วยให้การตำข้าว ได้ผลดี ถ้าไม่มีหลุมแม่มอหาง
แม่มองจะยกไว้สูง
สากมอง ที่ใช้กับครกมองต้องใช้ให้ถูกกับขั้นตอน
ข้าว เวลาตำข้าวจะต้องออกแรงมาก

30#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-13 12:03 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

3. เสาแม่มองและคานมอง
เสาแม่มองอยู่ค่อนไปทางหางแม่มองประกอบด้วย
เสาสองต้นปักดินให้แน่นเสาแม่มองเป็นไม้เนื้อแข็งเหนียว
และทนทาน เพราะต้องรับแรงเสียดสีจากคานแม่มอง
ทั้งรับน้ำหนักแม่มองและสากมอง ถ้าเสาทำจากไม้ไม่ดี
จึงสึกและพังเร็ว
คานแม่มอง
เป็นส่วนของไม้ที่สอดเพื่อยึดตัวมองกับเสาแม่มอง
อยู่ค่อนไปทางหางแม่มอง ซึ่งบางแห่งนิยมทำสลัก
เพื่อไม่ไห้ตัวมองเลื่อนไปทางใดทางหนึ่ง


4. สากมอง สากเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ การตำข้าว
จะเสร็จและได้เมล็ดข้าวสวยหรือไม่ขึ้นอยู่กับสาก สากทำจาก
ไม้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะคือมีน้ำหนักเหนียวแข็งและมัน ได้แก่
ไม้ค้อและไม้หนามแท่ง ข้าวจะไม่ติดสากหากทำจากไม้ดังกล่าว
สากมองมีความยาวประมาณ 60 เซนติเมตรมีสามชนิดคือ
สากตำ มีขนาดเล็กพราะต้องการให้กระแทรกถึงก้นครก
ขณะที่ตำข้าวและข้าวจะกะเทาะเปลือกเร็ว
สากต่าว มีขนาดใหญ่กว่าสากตำใช้ตำข้าว ให้เป็นข้าวกล้อง
เปลือกข้าวจะออกมากกว่าข้าวตำ
สากซ้อม เป็นสากที่มีขนาดใหญ่ ใช้ตำเพื่อขัดข้าวในชั้นสุด
ท้าย การใช้สากทั้งสามชนิดนั้นใช้ตำข้าวแต่ละขั้นตอนที่แตก
ต่างกัน ถ้าใช้สากผิดชนิดจะทำให้ข้าวที่ตำนั้นเป็นข้าวหักหรือ
เมล็ดข้าวไม่สวย


5. ลิ่มแม่มอง ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เหนียวและทนทาน
เพราะได้รับแรงกระแทกอยู่ตลอดเวลา ใช้สำหรับตอกเสริม
สากเพื่อยึดสากมองกับแม่มองให้แน่น ทุกครั้งที่ตำข้าวผู้ตำ
จะต้องคอยตอกลิ่มให้แน่นอยู่เสมอ เพราะถ้าลิ่มไม่แน่นจะ
ทำให้สากหลุดจาก หัวแม่มองที่เจาะเป็นรูทะลุ อาจกระเด็น
ออกไปถูกผู้ที่อยู่บริเวณไกล้เคียง ทำให้ได้รับบาดเจ็บหรือ
อันตรายได้
6. หลักจับ เป็นหลักไม้สำหรับผู้ตำข้าวใช้จับพยุงตัว
เวลาตำข้าว หลักจับมักจะบักคร่อมที่หางแม่มองทำจากไม้ไผ่
หรือไม้ที่หาได้ง่าย ๆ ในท้องถิ่น



วิธีตำข้าวด้วยครกกระเดื่อง การตำข้าวเป็นงานประจำ
ของสตรีทั้งแม่และลูกสาว อาจตำเวลาเช้าตรู่เมื่อไก่ขันหรือ
ตำเวลากลางคืนก็ได้ การตำข้าวด้วยครกกระเดื่องจะใช้ผู้ตำ
3-4 คน เหยียบที่หางแม่มองคนละข้าง น้ำหนักเท้าคนตำเมื่อ
เหยียบ ที่หางแม่มองจะทำให้หางแม่มองลดต่ำลงไปในหลุม
แม่มองแม่มองจะกระดกขึ้นและยกสากที่หัวแม่มองขึ้นด้วย
เมื่อปล่อยเท้าหางแม่มองจะถูกยกขึ้น สากมองจะตกลงไปใน
ครกทำให้สากกระทบข้าวเปลือกหลาย ๆ ครั้ง

เปลื่อกข้าวจะกะเทาะออกแยกเป็นเมล็ด ข้าวและแกลบ
การตำข้าวจะได้เมล็ด



ข้าวสวยหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับจังหวะของการตำข้าวซึ่งมีอยู่
สองจังหวะคือ
ตำเป็นบาท คือจังหวะการตำช้า เป็นจังหวะเนิบ ๆทิ้ง
ช่วงช้า ๆ จังหวะการตำข้าวเช่นนี้จะทำให้ข้าวหัก เมล็ดข้าว
ไม่สวยเพราะจังหวะการกระแทกสากลงที่ครกจะมีน้ำหนัก
มากและทิ้งช่วงนาน
ตำสักกะลัน คือจังหวะการตำเร็ว เป็นช่วงจังหวะถี่ ๆ
เร็วสม่ำเสมอจะทำให้ได้ข้าวเมล็ดสวย


ขั้นตอนการตำข้าวมีดังนี้


1. ตักขาวจากยุ้งใส่กระบุงหรือตะกร้าเทลงในครก
กระเดื่อง ปริมาณที่ตำแล้วแต่ความต้องการ ส่วนใหญ่ตำ
สำหรับ บริโภควันเดียว


2. สวมสากตำ ตอกลิ้นเสริมสากให้แน่ใช้เวลาตำประ
มาณ 15-20 นาที การตำตอนนี้เรียกว่า ตำแหลมเปลือก
หรือตำบุบ ข้าวที่ตำเสร็จแล้วเรียกว่า ข้าวตำตักข้าวตำออก
จากครกใส่เขิงร่อน แล้วเทออกจากเขิงใส่กระดังฝัดเรียกว่า
ฝัดตำส่วนที่ได้จากการฝัดเป็นแกลบหรือเปลือกข้าว


3. เปลี่ยนสากตำออก สวมสากต่าวแทน ตอกลิ้นให้แน่น
เทข้าวตำที่ฝัดแล้วลงในครก การตำตอนนี้เรียกว่าตำต่าว ใช้
เวลาในการตำมากกว่าครั้งแรกเล็กน้อย ข้าวที่ตำเสร็จแล้ว
เรียกว่าข้าต่าวหรือข้าวกล้องตักข้าวออกใส่เขิงร่อน ส่วนที่
ได้จากการร่อนจะเป็นแกลบละเอียด หรือรำ เทข้าวที่ร่อน
แล้วใส่กระด้งฝัดเรียกว่าฝัดต่าว


4. เปลี่ยนสากต่าวออก สวมสากซ้อมเข้าแทน ตอกลิ้น
ให้แน่น เทข้าวต่าวหรือข้าวกล่องลงในครก ใช้เวลาตำประ
มาณ 20 นาที จะได้ข้าวซ้อมมือ ซึ่งมีข้าวสารปนกับข้าว
ปลายหักและข้าวเปลือกเล็กน้อยใส่เขิงร่อนจะได้ปล่อยข้าว
และรำออ่นนำข้าวที่ร่อนแล้วไปทิกด้วยกระด้งเรียกว่าทิก
ข้าว และฝัดเพื่อแยกข้าวสารออกจากข้าวเปลือก ผู้ทิกข้าว
จะต้องอาศัยความชำนาญ เมื่อทิกข้าวแล้วส่วนที่ไม่ต้องการ
เช่นข้าวเปลือกหรือปลายข้าวจะรวมอยู่ที่ส่วนปลายของ
กระด้ง เพื่อสะดวกในกรเก็บข้าวเปลือกออกจากข้าวสาร
เมื่อฝัดข้าวเสร็จแล้วจะได้ข้าวสารที่มีข้าวเปลื่อกปนอยู่เล็ก
น้อยเรียกว่ากาก ผู้ตำข้าต้องเก็บกากออกถึงจะได้ข้าวสารที่
ต้องการ






ที่มา..http://www.baanmaha.com
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้