ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 12287
ตอบกลับ: 11
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

การสงบนิ่งชนะทุกสิ่ง

[คัดลอกลิงก์]
                   คุณเคยพบกับความสับสันวุ่นวายในจิตใจหรือพบกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวที่สับสนวุ่นวายเช่นกันหรือไม่  แล้วเวลาพบกับสิ่งเหล่านี้คุณทำอย่างไร  เราอยากแนะนำให้คุณมาพิจารณาในสิ่งต่าง ๆ ดังนี้



               คุณเคยเห็นก้อนหินก้อนใหญ่ที่ตั้งตระหง่านอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมในสภาวะต่างๆ ไม่ว่าสภาพแวดล้อมเหล่านั้นจะเลวร้ายแค่ไหน ก้อนหินก้อนนั้นก็ยังคงดูสงบนิ่ง แข็งแกร่ง และตั้งตระหง่านอยู่เช่นเดิม ไม่ใช่ว่าก้อนหินก้อนนั้นจะไม่ได้รับความเสียหายจากสภาวะแวดล้อมที่ทำลายไป เพราะในความเป็นจริงแล้วทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีความสึกหรอไปตามกาลเวลา เพียงแค่มันดูสงบนิ่งจนทำให้เราไม่เห็นความเสียหายเท่านั้นเอง
               ชีวิตมนุษย์ก็เช่นเดียวกัน ถ้าเรารู้จักที่สงบนิ่ง แม้ในสถานการณ์ที่เลวร้ายก็จะสามารถผ่านพ้นไปได้ด้วยดี เพราะความสงบนิ่งนั้นจะช่วยให้เรามีเวลาคิด และแก้ปัญหานั้นๆนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น ในการทำงานหลายๆครั้งย่อมมีปัญหา  อาทิ ผู้บริหารอาจจะมีปัญหาในการควบคุมบุคคลากร ถ้าผู้บริหารจะปกครองด้วยอำนาจที่มีอยู่ เช่นการเรียกผู้ใต้บังคับบัญชาเข้ามาดุด้วยถ้อยคำที่รุนแรง เป็นต้น  ความเคารพที่เกิดจากจิตใจของผู้ใต้บังคับบัญชาก็จะไม่เกิด แต่ถ้าผู้บริหารเรียกเข้ามาด้วยท่าทีที่สงบนิ่ง ถามถึงสาเหตุของเหตุการณ์นั้นๆด้วยน้ำเสียงที่เรียบ ก็จะทำให้ความเคารพยำเกรงเกิดขึ้น เพราะมนุษย์มีความกลัวซ่อนอยู่ลึกๆภายใต้จิตใจ ไม่ชอบความเงียบ และสภาวะกดดัน นั่นเอง
              หรืออีกตัวอย่างที่ชัดเจน เราทุกคนล้วนย่อมผ่านวัยที่ต้องศึกษาเล่าเรียน เรามักจะเคารพเกรงกลัวอาจารย์ผู้สอนที่ดูสงบนิ่ง สุขุม ซึ่งเชื่อว่าในวัยเด็กของทุกคนจะเป็นเช่นนี้ เพราะ คนที่นิ่งและสุขุมนั้นก็เป็นเช่นเดียวกับหินผา ที่ดูไกลๆแล้วตั้งตระหง่านและแข็งแกร่งนั้นเอง
              ในทางจิตวิทยาแล้ว ความสงบนิ่งมีผลต่อสภาวะการรับรู้และตัดสินใจของบุคคล เพราะจะช่วยควบคุมด้านจิตใจ ระบบไหลเวียนโลหิตให้เป็นปกตินั่นเอง

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-10-24 15:04 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
อุบายทำให้จิตสงบ 10 ประการ  ดังนี้

1. มักน้อย
ในฐานะที่เป็นผู้ปฏิบัติเราต้องมักน้อย  ปรารถนาน้อย
เหมือนพระที่พอใจในอัฐบริขารเพียง 8 ประการ
เมื่อมักน้อยแล้วจิตจะนิ่งง่าย
เพราะสิ่งกระทบใจให้เกิดความโลภ โกรธ หลงลดน้อยลง

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการกิน  หากรู้จักกินอย่างพอดี
เพียงแค่พอให้ร่างกายนี้อยู่ได้เพื่อปฏิบัติธรรม
ความอิ่มที่พอดีย่อมจะเกื้อกูลการปฏิบัติ
ไม่ใช่สร้างความง่วงเหงาหาวนอนมาขัดขวาง
เหมือนกับการกินจนพุงกางด้วยความมักมาก
หรือติดใจในรสชาติแล้วกินมากจนเกินอิ่ม


2. สันโดษ
หากต้องการให้จิตสงบต้องสันโดษ  คือ รู้จักพอ
พอใจในสิ่งที่ตนเป็น ตนมี ตนได้รับ  ทำเต็มที่เท่าที่จะทำได้
แต่พอใจกับผลที่ได้รับ แล้วจิตจะสงบ  มีความสุข ไม่ว้าวุ่น ไม่ดิ้นรน
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-10-24 15:05 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
3. ความสงัด   
พยายามหาโอกาสอยู่ในที่ที่สงบเงียบ  สงัดกาย สงัดใจ  
เหมาะแก่การประพฤติปฏิบัติ  แล้วจะทำให้จิตสงบได้ง่ายขึ้น  
ด้วยเหตุนี้  พระธุดงค์จึงเลือกที่จะออกไปสู่ป่าเพื่อหาที่สงัด  
เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม


4. ปลีกตัวออกจากหมู่คณะ  
ที่บางคนเรียกว่าการปลีกวิเวกนั้น  
สามารถสร้างความสงบให้เกิดขึ้น  
และช่วยเพิ่มพลังสติ สมาธิ  
และปัญญาให้มากขึ้นได้  
หากต้องการประพฤติปฏิบัติธรรม
ให้ได้มรรคผลก้าวหน้า  
จึงต้องพยายามปลีกตัวอยู่ห่างจากหมู่คณะ  
เพื่อจะได้ไม่ต้องพูดคุยและทำในเรื่องที่ไร้สาระ  
กระตุ้นให้เกิดกิเลสตัณหา
ที่จะทำให้พลังจิตอ่อนลง  
จิตจึงสงบยาก



5. ความเพียร  
เป็นตัวการสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จทุกประเภท  
ความเพียรจึงเป็นองค์ประกอบของหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จ
อย่างอิทธิบาท 4 สัมมัปปธาน 4 และพละ 5  
ซึ่งเป็นหลักธรรมสำคัญที่ผู้ปฏิบัติพึงนำมาใช้ในการฝึกฝนตนเอง  
ฉะนั้น  หากต้องการให้จิตสงบเพื่อความก้าวหน้าในมรรคผล  
จึงต้องเจริญความเพียรให้มาก


4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-10-24 15:06 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
6. ศีล
อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า ศีลเป็นพื้นฐานของความสงบนิ่ง
และเป็นปกติของจิต


7. สมาธิ  
เมื่อฝึกฝนจนเกิดเป็นสมาธิแล้ว   ต้องรู้จักนำสมาธิแต่ละชนิด
ไปใช้ให้เกิดประโยชน์และเกื้อกูล ต่อการประพฤติปฏิบัติ  
เช่น  ใช้ขณิกสมาธิเป็นพื้นฐาน ในการศึกษาเล่าเรียน  การทำกิจการงาน  
การสร้างสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง   และใช้อุปจารสมาธิเป็นพื้นฐานของ
การฝึกวิปัสสนากรรมฐาน จนเห็นสรรพสิ่งเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์  
และเกิดปัญญาเห็นแจ้งในที่สุด


8. ปัญญา  
เมื่อเกิดสมาธิขึ้นแล้ว  ต้องรู้จักนำปัญญาที่เกิดจากสมาธิมาพิจารณาสิ่งกระทบ
จนปัญญาญาณเห็นแจ้งเกิด  เพื่อให้จิตปล่อยวางสิ่งที่เป็นอนัตตา
ไม่มีตัวตน และสงบนิ่งอย่างแท้จริงด้วยอุเบกขา


9. ความหลุดพ้น  
เมื่อปฏิบัติแล้วต้องโยนิโสมนสิการจนกระทั่งจิตสามารถเห็นแจ้ง
ถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์  และเป็นอนัตตาของสรรพสิ่ง  
แล้วความหลุดพ้นจากสิ่งเศร้าหมอง  คือกิเลสใหญ่ทั้ง 3 ตัว
คือโลภ โกรธ หลง  จึงจะเกิด  และสามารถนำจิตพ้นไปจากกิเลสที่เหลือได้



10.  ความรู้ความเห็นว่าหลุดพ้น
นั้นมีด้วยกันมากมายหลายแนวความเชื่อ  บ้างเชื่อว่าบุคคลสามารถหลุดพ้นได้ด้วยศรัทธา  
หากศรัทธาในพระพุทธเจ้ามากพอจะหลุดพ้นได้  ก่อนตายจึงกอดพระพุทธเจ้าไว้แน่น   
เพราะเชื่อว่าตายแล้วจะได้ไปอยู่กับพระพุทธเจ้า   โดยลืมพิจารณาไตร่ตรองให้ถี่ถ้วนว่า  จริง ๆ แล้วศรัทธาแบบนั้น
ไม่ได้ทำให้ความโลภ  ความโกรธ  ความหลง หมดไปได้เลย   แต่กลับเป็นศรัทธาที่อยู่บนพื้นฐานของความหลงเสียเอง  
จึงยังห่างไกลนักจากความหลุดพ้น  


ในขณะที่บ้างก็เข้าใจว่า  สมาธิจะทำให้หลุดพ้นได้เหมือนอาจารย์ทั้งสองของเจ้าชายสิทธัตถะ  
คือ อุทกกดาบสและอาฬารดาบส  ซึ่งตายในอรูปฌาณสมาบัติ  ด้วยเข้าใจผิดว่านั่นคือนิพพาน



ความเข้าใจที่ผิด ๆ เกี่ยวกับความหลุดพ้น  
จึงสามารถสร้างความเสียหายที่ยิ่งใหญ่แก่ผู้ปฏิบัติ  
เพราะฉะนั้นก่อนจะเชื่ออะไร  จึงต้องอาศัยปัญญาโยนิโสมนสิการพิจารณาให้ถ่องแท้เสียก่อน  
อย่าเชื่อโดยไม่ได้พิสูจน์ด้วยการประพฤติปฏิบัติจนเห็นจริงด้วยตนเอง


5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-10-24 15:10 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-6 17:01 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ฝึกจิตให้นิ่ง ลด "โทสะจริต"

หลวงตาม้ากล่าวถึงโทสะจริตและหากต้องการที่จะแก้ไขนิสัยจะต้องปฏิบัติหรือเตรียมตัวเตรียมใจอย่างไร?

หลวงตา: "ถ้าพวกเอ็งมีโทสะจริต จุดเดือดของเอ็งจำต่ำกว่าคนอื่น อย่างเห็นได้ชัด เอ็งจะโมโหง่าย รำคาญง่าย ดังนั้น หากเอ็งเริ่มรู้ตัวว่า เริ่มโกรธ เริ่มโมโหและเริ่มคำคาญใจ ให้นึกว่า ตัวเอ็งเป็นดั่งขอนไม่ที่นิ่งและสงบ ต้องหยุดมโนกรรม วจีกรรม และกายกรรมที่เป็นอกุศลทุกประเภทก่อนเพราะอกุศลกรรมดังกล่าวจะนำมาซึ่งความเสียหายทั้งต่อตัวเองและผู้อื่นการสร้างความเจ็บปวดแก่ผู้อื่นไม่ว่าจะโดยวจีกรรมหรือกายกรรมก็ตามในที่สุดแล้วจะส่งผลกลับมายังตัวเราเสมอ ดังนั้นหากอารมณ์เอ็งเริ่มขยับด้วยความโกรธแล้วให้เอ็งตั้งสติทำตัวเป็นขอนไม้ทันทีมิฉะนั้นจะสร้างกรรมเวรเพิ่มขึ้นอย่างมากมายและร้ายแรง ส่งผลเสียหายที่ไม่อาจแก้ได้ จึงต้องหัดดูสังเกตอารมณ์ของตัวเองเป็นประจำ ว่า โกรธ รำคาญ อึดอัด ขุ่นเคือง และความรู้สึกอื่นๆ เพราะส่วนหนึ่งเป็นเพราะเอ็งได้สร้างกรอบไว้ข้งตัวเองตีเส้นให้ตัวเองเดินเลี้ยวขวาอยู่ตลอดเวลา"

การที่ฝึกแบบนี้อยู่ตลอดเวลา ท่านจะเริ่มเห็นอารมณ์ของตัวเองชัดเจนขึ้น ในยามที่ความโกรธกำลังจะครอบงำจิตใจหากสังเกตเห็นอารมณ์ในยามนั้น ก็เห็นความโกรธและเห็นความเกรี๊ยวกราดของสภาวะอารมณ์ก็จะช่วยดึงสติกลับมาได้ทันก่อนที่เอ็งจะทำอะไรรุนแรงออกไป และยิ่งดูอารมณ์ต่อไปเรื่อยๆ จิตก็จะเข้าสู่สภาวะปกติได้โดยง่าย ความโกรธก็จะหายเป็นปลิดทิ้งไปเองโดยธรรมชาติ ไม่ต้องบังคับตัว เพราะจิตจะมีกลได้ดับความโกรธตามสภาวะธรรมชาติของมัน พวกเอ็งจงจำไว้ว่าสิ่งที่ปฏิบัติในถ่ำเมืองนะนี้ หลวงตาขอแค่ สวดมนต์พระมหาจักรพรรดิ หรือ ไตรสณคมส์ ไปเรือยๆ และ นึกภาพพระพุทธเจ้าภาพหลวงปู่ทวดหลวงปู่ดู่ไว้เยอะๆ ทุกวัน

1.หัดเจริญเมตตาให้มากๆ
2.พูดทีละคำ ฟังทีละเสียง
3.ให้ฝึกคิดว่า โลกนี้ไม่ต้องจริงจังมากนัก โลกนี้ก็เป็นอย่างนี้
4.ต้องเปิดใจกว้างรับความคิดใหม
่ๆ
5.ต้องคิดก่อนพูด คิดให้นานๆ เข้าไว้
6.ให้พิจารณาว่าความโกรธทำให้เก
ิดความเสื่อมโทรม

เรียบเรียงจากคติธรรมคำสอนของ
พระอาจารย์ วรงคต วิริยธโร
(หลวงตาม้า) วัดพุทธพรหมปัญโญ
(วัดถ้ำเมืองนะ) ต.เมืองนะ
อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

ขอบคุณครับ

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้