ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 36812
ตอบกลับ: 18
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

สระอโนดาต

[คัดลอกลิงก์]
สระอโนดาต สระน้ำศักดิ์สิทธ์ในป่าหิมพานต์






     ถัดจากเขาสุทัสสนะ หรือติดเขาสุทัสสนะ จะเป็นป่าหิมพานต์ ซึ่งป่าหิมพานต์ เป็นรอยต่อแห่งมิติ ส่วนหนึ่งของป่าหิมพานต์เป็นแดนทิพย์ ส่วนหนึ่งเป็นแดนมนุษย์ และส่วนหนึ่งเป็นแดนรอยต่อระหว่างโลกทิพย์กับโลกมนุษย์

     ในป่าหิมพานต์ จึงมีพืชพันธุ์แปลกๆ มากมาย สัตว์พันธุ์แปลกๆ มากมาย ทั้งสัตว์กึ่งเทพ สัตว์กายสิทธิ์ ก็อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ นี่เอง

     ป่าหิมพานต์ ความจริงเป็นภูเขา เรียกว่าภูเขาหิมพานต์ หรือ หิมวันตบรรพต เมื่อมองลักษณะรูปร่างแล้ว เรียกภูเขาหิมพานต์ แต่เมื่อมองในลักษณะมีต้นไม้มากแล้ว ก็คือป่าหิมพานต์

     เขาหิมพานต์ ยังประกอบด้วยยอดเขาย่อยๆ อีกมากมาย
     เขาหิมพานต์ มีสระสำคัญๆ อยู่ ๗ สระ คือ

     ๑. สระอโนดาต  
     ๒. สระกรรณมุณฑะ
     ๓. สระรถการะ  
     ๔. สระฉัททันต์
     ๕. สระกุณาละ  
     ๖. สระมันทากินี
     ๗. สระสีหปปาตะ

     สระอโนดาต เป็นสระที่ได้ยินชื่อบ่อยที่สุด ธารน้ำทั้งหลาย ย่อมไหลลงมาที่สระอโนดาต พื้นสระอโนดาต เป็นแผ่นหินกายสิทธิ์ ชื่อมโนศิลา บริเวณที่เป็นดิน ก็เป็นดินกายสิทธิ์ชื่อหรดาล (ใช้ถูตัวได้ดี) น้ำใสแจ๋วสะอาด ท่าอาบน้ำ มีมากมาย เป็นที่สรงสนานแห่งพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ทั้งหลาย รวมถึงเหล่าผู้วิเศษผู้มีฤทธิ์ทั้งหลาย เช่น ฤๅษี วิทยาธร ยักษ์ นาค เทวดา เป็นต้น  
รอบสระอโนดาต มียอดเขารายรอบอยู่ ๕ ยอดเขาได้แก่

    ยอดเขาสุทัสสนะ (สุทัสสนกูฏ)
     ยอดเขาจิตตะ (จิตรกูฎ )
     ยอดเขากาฬะ (กาฬกูฎ)
     ยอดเขาคันธมาทน์ (คันธมาทนกูฏ)
     ยอดเขาไกรลาส  (ไกรลาสกูฏ)

     ยอดเขาสุทัสสนะ เป็นทองคำ รูปทรงโค้งตามแนวสระอโนดาต และปลายยอดเขา มีสัณฐานโค้งงุ้มดังปากกา โอบปิดด้านบนสระอโนดาตไว้ ไม่ให้โดนแสงอาทิตย์ แสงจันทร์ตรงๆ

     ยอดเขาจิตตะ เป็นรัตนะ รูปทรงคล้ายยอดเขาสุทัสสนะ

     ยอดเขากาฬะ  เป็นแร่พลวง หินแห่งยอดเขาสีนีล รูปทรงคล้ายยอดเขาสุทัสสนะ

     ยอดเขาคันธมาทน์ รูปทรงคล้ายยอดเขาสุทัสสนะ ด้านบนยอดเขา เป็นพื้นราบเรียบ (เหมือนภูกระดึง) อุดมไปด้วยไม้หอมนานาพันธุ์  ทั้งไม้รากหอม  ไม้แก่นหอม  ไม้กระพี้หอม  ไม้เปลือกหอม  ไม้สะเก็ดหอม ไม้รสหอม  ไม้ใบหอม  ไม้ดอกหอม  ไม้ผลหอม  ไม้ลำต้นหอม  ทั้งยังอุดมไปด้วย ไม้อันเป็นโอสถนานาประการ  ในวันอุโบสถ(วันพระ) ข้างแรม ยอดเขานี้จะเรืองแสงเหมือนถ่านไฟคุ ข้างขึ้น แสงยิ่งเปล่งรัศมีโชติช่วงกว่าเดิม... ภายในเขาคันธมาทน์ มีถ้ำบนยอดเขาชื่อว่าถ้ำนันทมูล เป็นที่อยู่ของพระปัจเจกพุทธเจ้า ประกอบไปด้วยถ้ำทอง ถ้ำแก้ว และถ้ำเงิน
     ยอดเขาไกรลาส เป็นภูเขาเงิน  รูปทรงคล้ายยอดเขาสุทัสสนะ วิมานฉิมพลีแห่งพญาครุฑ ก็อยู่ที่เขาไกรลาสนี้

     ยอดเขาทั้ง๕ ตั้งตระหง่านรายล้อมสระอโนดาตไว้ และมีเทวดารวมถึงนาค เป็นผู้ดูแลรักษา ธารน้ำทั้งหลาย จากเขาหิมพานต์ ทุกสารทิศ จะไหลมาผ่านยอดเขา๕ลูกนี้ (ลูกใดลูกหนึ่ง) จากนั้น ก็จะไหลรวมลงสู่สระอโนดาต
(เหตุที่ได้ชื่อว่าอโนดาต ก็เพราะ มีเงื้อมผาโค้งงุ้มดังปากกา โอบบังแสงไว้ด้านบน ทำให้แสงอาทิตย์และแสงจันทร์ ไม่สามารถส่องผ่านไปโดนน้ำตรงๆ ได้ แสงเพียงลอดเข้าด้านข้าง ในแนวเหนือใต้ ตรงระหว่างรอยต่อยอดเขากับยอดเขา เท่านั้น สระนี้ จึงได้ชื่อว่า “อโนดาต”...แปลว่า ไม่ถูกแสงส่องให้ร้อน..)
     จากสระอโนดาต... จะมีปากทางให้น้ำไหลระบายออกอยู่สี่แห่ง ทิศละแห่ง คือ

     สีหมุข... ปากแม่น้ำแดนราชสีห์ (เป็นถิ่นที่ราชสีห์อาศัยอยู่มาก)
     หัตถีมุข... ปากแม่น้ำแดนช้าง (เป็นถิ่นที่ช้างอาศัยอยู่มาก)
     อัสสมุข... ปากแม่น้ำแดนม้า (เป็นถิ่นที่ม้าอาศัยอยู่มาก)
     อุสภมุข... ปากแม่น้ำแดนโคอุสภะ (เป็นถิ่นที่โคอาศัยอยู่มาก)

เกิดเป็นแม่น้ำใหญ่สี่สาย ไหลล่อเลี้ยงรอบนอกของเขาหิมพานต์ ก่อนลงสู่มหาสมุทร...

     ด้านทิศตะวันออก จากสระอโนดาต เลี้ยวขวาสระอโนดาตสามเลี้ยว  ไม่ข้องแวะกับแม่น้ำอีกสามสาย  ไหลผ่านถิ่นอมนุษย์ทางภูเขาหิมพานต์ ด้านทิศตะวันออก  ลงสู่มหาสมุทร  

     ด้านทิศตะวันตก จากสระอโนดาต เลี้ยวขวาสระอโนดาตสามเลี้ยว  ไม่ข้องแวะกับแม่น้ำอีกสามสาย  ไหลผ่านถิ่นอมนุษย์ทางภูเขาหิมพานต์ ด้านทิศตะวันตก  ลงสู่มหาสมุทร  

     ด้านทิศเหนือ จากสระอโนดาต เลี้ยวขวาสระอโนดาตสามเลี้ยว  ไม่ข้องแวะกับแม่น้ำอีกสามสาย  ไหลผ่านถิ่นอมนุษย์ทางภูเขาหิมพานต์ ด้านทิศเหนือ  ลงสู่มหาสมุทร  
(ที่แม่น้ำทุกสาย ไหลวนรอบสระอโนดาตเหมือนกัน แต่ไม่ข้องแวะกัน เพราะ ไหลลอดอุโมงค์หิน ไหลลอดภูเขา ออกไป)

     ด้านทิศใต้ จากสระอโนดาต เลี้ยวขวาสระอโนดาตสามเลี้ยว  แล้วไหลตรงไปทางใต้ประมาณ ๖๐ โยชน์  โผล่ออกมาใต้แผ่นหิน ตรงบริเวณหน้าผา กลายเป็นน้ำตกสูงใหญ่ยิ่ง ความสูงสายน้ำตกประมาณ ๖๐ โยชน์ สายน้ำตกอันรุนแรงนั้น ตกกระทบแผ่นหินเบื้องล่าง จนหินแตกกระจายออก  ในที่สุดกลายเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ รองรับสายน้ำตกนั้น  แอ่งน้ำนี้มีชื่อเรียกว่า “ติยัคคฬา”  เมื่อน้ำมากขึ้น ได้พังทำลายหินอันโอบล้อมอยู่ออกไปได้ทางหนึ่ง เจาะกระแทกหินที่ไม่แข็ง เป็นอุโมงค์ ไหลไป จนถึงส่วนที่เป็นดิน ก็เจาะทะลุดิน เป็นอุโมงค์ และไหลลอดตามอุโมงค์ดินนั้นไป  จนถึงภูเขาหินขวางอยู่ (ติรัจฉานบรรพต=ภูเขาขวาง) ภูเขานี้เรียกว่า วิชฌะ เมื่อน้ำกระทบหินเข้า ก็ไปต่อไม่ได้โดยง่าย แรงน้ำได้ดันจุดที่อ่อนแอที่สุดออกไปได้ ๕ จุด เกิดเป็นทางแยก ๕ แยก และกลายเป็นต้นน้ำสำคัญแห่งมนุษย์ ๕ สาย ด้วยกัน คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหิ และแม่น้ำทั้ง๕ นี้ นอกจากผู้ตาทิพย์แล้ว ไม่มีใครบอกได้ว่า ของจริงอยู่ที่ไหน ...
ขอบคุณครับ
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-6 14:52 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
Nujeab ตอบกลับเมื่อ 2013-11-6 13:13
ขอบคุณครับ

เดี๋ยวอีกหน่อย  เจ้หนูจะได้ครอบครอง
Sornpraram ตอบกลับเมื่อ 2013-11-6 14:52
เดี๋ยวอีกหน่อย  เจ้หนูจะได้ครอบครอง ...

ครอบครองอะไรหรือครับ ?
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-6 15:26 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
Nujeab ตอบกลับเมื่อ 2013-11-6 15:25
ครอบครองอะไรหรือครับ ?

จุ๊ ๆ
Sornpraram ตอบกลับเมื่อ 2013-11-6 15:26
จุ๊ ๆ

จุ๊ ๆ
7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-13 08:16 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้



ปราสาทนาคพัน

• ปีที่สร้าง : สร้างในปีพุทธศตวรรษที่ 18
• รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
• ศิลปะ : เป็นศิลปะแบบบายน
• ศาสนา : ศาสนาพุทธ นิกายมหายาน



ในบรรดาปราสาทที่ก่อสร้างในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ต้องยกให้ปราสาทนาคพันที่มีการก่อสร้างที่แปลกตามากที่สุด ตัวปราสาทตั้งอยู่กลางสระน้ำ เปรียบเสมือนเกาะอยู่กลางทะเล หรือเปรียบกับภูเขาหิมาลัยที่อยู่กลางมหาสมุทร น้ำจากสระแห่งนี้ถือเป็นน้ำที่ศักดิ์สิทธิ์ หรือเปรียบประหนึ่งน้ำจากสระอโนดาต ซึ่งเป็นศูนย์รวมจากแม่น้ำทั้ง 5 ในอินเดีย ได้แก่ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมนา แม่น้ำเนรัญชลา แม่น้ำสินธุ และแม่น้ำพรหมบุตร ผู้ใดที่อาบหรือดื่มกินน้ำจากสระนี้โดยผ่านจากปากของราชสีห์ ช้าง ม้า และมนุษย์ที่อยู่ในศาลาทั้งสี่ทิศ เชื่อว่าจะสามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้

หากเราสังเกตจะพบว่าปราสาทพระขรรค์ ถูกออกแบบเปรียบประหนึ่งถูกสร้างอยู่ใจกลางเกาะซึ่งมีน้ำล้อมรอบแต่ปัจจุบัน บารายนั้นได้ตื้นเขินหมดแล้ว จึงมองภาพไม่ออกว่าปราสาทนี้ตั้งอยู่กลางน้ำอีกต่อไป

นาคพันรอบฐานปราสาท กลางสระน้ำเป็นที่ตั้งของฐานปราสาทที่มีลักษณะกลมเป็นชั้นๆ ที่ฐานหรือชั้นล่างสุดของฐานปราสาทนี้ เป็นนาคเจ็ดเศียรสองตัวที่หางเกี่ยวพันกันทางทิศตะวันตก ลำตัวโอบล้อมฐานหันหน้ามาทางทิศตะวันอออก นาคสองตัวนี้เชื่อกันว่าเป็นพญานาคที่ชื่อว่านันทะและอุปานันทะ

ภาพสลักที่ปรางค์ประธาน ตรงกลางของสระมีบันไดขึ้นไป 7 ชั้น สู่ปรางค์ประธานซึ่งอยู่ตรงกลาง ทางเข้าอยู่ทิศตะวันออก ส่วนอีก 3 แห่งรอบปราสาทเป็นประตูหลอก ที่มุมของปรางค์ประธานมีรูปพญาครุฑ ด้านหลังของปรางค์ประธานมีภาพสลักคติธรรมทางพุทธศาสนา แต่ภาพเหล่านี้ได้ถูกดัดแปลงให้เป็นความเชื่อตามศาสนาฮินดู เช่น ภาพสลักเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะออกผนวช ภาพนี้ถูกดัดแปลงให้มีรูปลักษณะคล้ายศิวลึงค์ อีกภาพหนึ่งเป็นภาพสลักเมื่อพระพุทธเจ้านั่งสมาธิอยู่ใต้ต้นโพธิ์ก็ถูกดัด แปลงเช่นกัน

ประติมากรรมลอยตัวรูปม้าพลา หะ อยู่ด้านหน้าของปรางค์ประธานด้านทิศตะวันออก ม้าพลาหะเป็นอวตารหนึ่งของพระโพธิสัวต์อวโลกิเตศวร ตามตำนานกล่าวว่าเมื่อพ่อค้าจากอินเดียลงเรือสำเภาเพื่อเดินทางไปยังเกาะศรี ลังกาเกิดพายุระหว่างทาง เรือถูกพายุโหมกระหน่ำจนเรือแตก พระโพธิสัตว์ได้แปลงพระองค์เป็นม้ามีปีกลงไปให้ความช่วยเหลือคนที่อยู่ กลางมหาสมุทรได้อย่างปลอดภัย ม้าพลาหะเปรียบเสมือนยานพาหนะลำใหญ่ที่พาผู้คนสู่มรรคผลนิพพาน

รูปสลักคน ราชสีห์ ม้า ช้าง รูปสลักในศาลาทางด้านทิศตะวันออกมีลักษณะเป็นใบหน้าของมนุษย์ ส่วนทางด้านทิศใต้เป็นรูปใบหน้าราชสีห์ รูปของม้าอยู่ทางด้านทิศตะวันตก และรูปของช้างอยู่ทางทิศเหนือ สันนิษฐานว่ารูปสลักใบหน้ามนุษย์เดิมทีเป็นหน้าของวัว เพื่อให้สอดคล้องกับคติธรรมทางศาสนาฮินดูเช่นเดียวกับภาพสลักพระพุทธเจ้าที่ ถูกสกัดใบหน้า ลำตัว แขน ออกให้เหลือฐานกับลำตัวมองดูคล้ายศิวลึงค์ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 8
8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-13 08:17 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ปราสาทนาคพัน


ปราสาทนาคพัน (เขมร:  - ออกเสียงว่า "เนียกปวน"; อังกฤษ: Neak Pean)  เป็นปราสาทขนาดเล็ก ตั้งอยู่บนฐานกลมที่มีลักษณะซ้อนลดหลั่นกันลงไปเป็นชั้นๆ ชั้นสุดท้ายเป็นรูปพญานาค 7 เศียร 2 ตัว โอบล้อมฐานของปราสาทโดยหันส่วนหัวไปทางทิศตะวันออก และส่วนหาง วนอ้อมฐานมาบรรจบกันทางทิศตะวันตก ที่ฐานของปราสาทจำหลักรูปดอกบัวรองรับตัวปราสาท และมีรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิ เตศวรประดิษฐานอยู่ที่ ปราสาททั้ง 4 ทิศ

ปราสาทนาคพัน สร้างอยู่กลางสระสี่เหลี่ยมจตุรัสขนาดใหญ่ มีบ่อน้ำขนาดเล็กตั้งอยู่โดยรอบทั้ง 4 ทิศ แต่ละบ่อมีส่วนที่ไหลไปสู่บ่อเล็กได้ การก่อสร้างปราสาทนาคพันน่าจะเกี่ยวข้องกับคติความเชื่อทางศเชื่อมต่อกับสระ ใหญ่ตรงกลางเพื่อให้น้ำจากสระใหญ่สามารถ าสนา ผังของปราสาทเป็นลักษณะการจำลองของสระอโนดาต  สระอโนดาตเป็นสระน้ำบนสวรรค์มีน้ำที่ใสสะอาดและเต็มเปี่ยมอยู่ตลอดเวลา มีท่าน้ำอยู่ 4 ท่า น้ำในสระอโนดาตจะไหลออกตามช่องภูเขาที่ตั้งอยู่ทั้ง 4 ทิศของสระ ซึ่งปากช่องของภูเขาแต่ละลูกจะเป็นรูปหน้าของสัตว์ 4 ชนิด คือ สิงห์ ช้าง ม้า และวัว

ใน "ย้อนรอยอารยะเมืองพระนคร" ซึ่งเขียนโดย ชากส์ คูมาร์เชย์ และแปลโดยอาจารย์วีระ ธีรภัทร ได้กล่าวถึงรูปจำหลักในทิศทั้ง 4 ของปราสาทนาคพันว่า ที่สระน้ำทางทิศตะวันตกมีหินสลักเป็นรูปหัวมนุษย์ สระน้ำทางทิศเหนือมีหินสลักเป็นรูปหัวช้าง สระน้ำทางทิศตะวันออกมีหินสลักเป็นรูปหัวม้า และสระน้ำทางทิศใต้มีหินสลักเป็นรูปหัวสิงห์  จะเห็นว่าช่างขอมจำหลักรูปหน้าสัตว์ประจำทิศในแต่ละทิศตามคติความเชื่อ เรื่องสระอโนดาต แต่ในทิศตะวันตกกลับจำหลักรูปหน้าคนแทนหน้าวัว

คติความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการสร้างปราสาทนาคพันมีทั้งความเชื่อทางพุทธศาสนาและศาสนา ฮินดูปะปนกัน ตัวปราสาทกลางสระสร้างตามความเชื่อทางศาสนาพุทธ แต่ไม่ปรากฏรูปพระพุทธเจ้ากลับมีรูปสลักของพระ โพธิสัตว์อวโลกิ เตศวรแทน
9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-13 08:19 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


ส่วนเรื่องม้าวลาหกคนอื่นอาจจะงง คือพี่นุชส่งรูปมาให้ดูเป็นรูปนี้

สงสัยว่าคืออะไร สำคัญอย่างไร เพราะไปเจออยู่หน้าสนามบินและไปอ่านเจอในหนังสือว่า The horse Balaha, a manifestation of Lokeshvara rescuing shipwrecked sailors. และอีกรูปอธิบายว่า The central sanctuary and pond of Neak Pean.

ก็เลยมีการคุยกันผ่านอีเมล์ ข้อความที่เราเขียนคุยกันก็ตามนี้ค่ะ "ถามออยแล้ว ออยบอกว่าเรื่องทั้งหมดน่าจะบันทึกอยู่ในคัมภีร์การัณฑวยุหสูตร ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่เขียนเกี่ยวกับปาฏิหาริย์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร (และก็น่าจะมีเรื่องเกี่ยวกับคนที่เรือแตกแล้วพระโพธิสัตว์ลงมาช่วย) ขอไปค้นข้อมูลก่อน พอดีเขาไม่มีหนังสือเล่มนี้ ออยเดาจากคำว่า Horse Balaha น่าจะเป็นม้าวลาหกหนึ่งในสี่ตระกูลของม้าที่อิทธฤทธิ์ ส่วนคำว่า Lokeshvara ก็คือ โลเกศวรหรือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรนั่นเอง เพราะฉะนั้นเดาแบบมีหลักการก็น่าจะเป็นพระโพธิสัตว์คงจะแปลงร่างลงมาช่วยลูกเรือที่เรือแตกกลางทะเล โดยแปลงเป็นม้าวลาหกนั่งแล้วเหาะขึ้นไปส่งฝั่ง แต่ก็ยังไม่แน่ใจนะคะ

มีตำนานเรื่องนี้ในของทางจีนทำนองคล้ายๆ กันว่าพระโพธิสัตว์ได้ยินเสียงร้องขอความช่วยเรือจากชาวเรือที่แพแตก พระองค์มองลงมายังโลกเห็นเข้า จึงลงมาทำการช่วยเหลือให้พ้นภัย ซึ่งชื่อ โลกิเตศวร/โลเกศวร (Lokeshvara) หมายถึงผู้มองเห็น หรือเรียกว่ากวนซียิน/กวนอิมนั่นเอง จริงๆ แล้วยังมีอีกหลายชื่อ แปลว่าผู้ช่วยเหลือ ผู้ถือดอกบัว ฯลฯ

ถ้าพบที่สระน้ำปราสาทนาคพัน และเป็น central sanctuary ประติมากรรมชิ้นนี้ก็น่าจะสร้างสมัยพระเจ้าชัยวรมันต์ที่ 7 เพราะสมัยนั้นกษัตริย์เปลี่ยนมานับถือพุทธนิกายมหายาน ซึ่งเดิมศาสนาพุทธเป็นศาสนาของชาวบ้านไม่ใช่ของกษัตริย์ เรื่องนี้จึงน่าจะเข้าเค้ามาก (พอเป็นชัยวรมันที่ 8 ก็ลบล้างศาสนาพุทธออกจากอาณาจักร โดยกลับมานับถือไศวนิกาย หรือไวษณวนิกายเหมือนเดิม แล้วก็เปลี่ยนพระพุทธรูปต่างๆ โดยลบเม็ดพระศกบนพระเศียรทิ้ง เติมตาเข้าไปให้มีสามตาบ้าง ทำให้ไม่รู้ว่ามีการนับถือศาสนาพุทธ กลายเป็นประติมากรรมเทพฮินดูแทน) ม้าตัวที่พี่เห็นน่าจะเป็นแบบจำลอง ของจริงน่าจะอยู่ที่นั่นหรือไม่ตัวนี้ก็ถูกยกมา เป็นไปได้ทั้งสองอย่าง แต่ถ้าตำนานเป็นตามนั้นที่ออยบอกจริง มาตั้งอยู่ที่หน้าสนามบินนี่ไม่ค่อยดีนะคะ เสียวไส้จะเรือบินตกทะเลเหมือนลูกเรือที่แพแตก : ) หรือเขาอาจจะหมายถึงการพาเหาะข้ามทะเลไปส่งถึงฝั่งอย่างปลอดภัยก็เป็นได้"

แล้วในที่สุดก็ไปหาข้อมูลเจอที่เขายืนยันว่า รูปประติมากรรมนี้ต้นแบบตัวจริงยังอยู่ที่ปราสาทนาคพัน จึงส่งเมล์ให้พี่นุชดังนี้ ...ภายในสระใหญ่นี้ ยังมีประติมากรรมขนาดใหญ่ตั้งอยู่ตามทิศทั้งสี่อีกด้วย ร่องรอยหลักฐานที่เหลือนั้นทำให้ทราบว่าด้านทิศเหนือเป็นรูปศิวลึงค์ ด้านทิศตะวันออกเป็นรูปม้า และด้านทิศตะวันตกเป็นรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ ส่วนทิศใต้นี้ไม่ทราบว่าเป็นรูปอะไรแน่ ในปัจจุบันประติมากรรมรูปม้าได้รับการบูรณะจนสมบูรณ์ และตั้งอยู่ในสระ เป็นรูปม้ามีผู้คนเกาะห้อยอยู่ด้านข้าง ม้าตนนี้เป็นม้าวิเศษที่ชื่อว่า “ม้าอัศวพาหุ หรือม้าวลาหก (พลาหะ)” ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรจำแลงลงมาเพื่อช่วยเหลือชาวเรือแตกที่ไปอาศัยอยู่เกาะที่เป็นที่อยู่ของนางยักษี แต่ก่อนที่จะถูกยักษ์จับกิน ชาวเรือพากันสวดอ้อนวอนขอความช่วยเหลือจากพระโพธิสัตว์ผู้ทรงเปี่ยมด้วยพระกรุณา พระองค์ก็เสด็จลงมาช่วยเหลือในร่างของม้าพาชาวเรือแตกรอดมาได้



ปล. นิกายมหายานน่าจะจำผิด น่าจะเป็นนิกายตันตระมากกว่า เดี๋ยวจะเช็คดูกับออยอีกที

เคดิต http://www.gotoknow.org/blog/k-creation/161166?page=1  ขอขอบคุณครับ
10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-1-4 10:25 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้



ยอดเขาสุทัสสนะ เป็นทองคำ รูปทรงโค้งตามแนวสระอโนดาต และปลายยอดเขา มีสัณฐานโค้งงุ้มดังปากกา โอบปิดด้านบนสระอโนดาตไว้ ไม่ให้โดนแสงอาทิตย์ แสงจันทร์ตรงๆ

ยอดเขาจิตตะ เป็นรัตนะ รูปทรงคล้ายยอดเขาสุทัสสนะ

ยอดเขากาฬะ  เป็นแร่พลวง หินแห่งยอดเขาสีนีล รูปทรงคล้ายยอดเขาสุทัสสนะ

ยอดเขาคันธมาทน์ รูปทรงคล้ายยอดเขาสุทัสสนะ ด้านบนยอดเขา เป็นพื้นราบเรียบ (เหมือนภูกระดึง) อุดมไปด้วยไม้หอมนานาพันธุ์  ทั้งไม้รากหอม  ไม้แก่นหอม  ไม้กระพี้หอม  ไม้เปลือกหอม  ไม้สะเก็ดหอม ไม้รสหอม  ไม้ใบหอม  ไม้ดอกหอม  ไม้ผลหอม  ไม้ลำต้นหอม  ทั้งยังอุดมไปด้วย ไม้อันเป็นโอสถนานาประการ  ในวันอุโบสถ(วันพระ) ข้างแรม ยอดเขานี้จะเรืองแสงเหมือนถ่านไฟคุ ข้างขึ้น แสงยิ่งเปล่งรัศมีโชติช่วงกว่าเดิม... ภายในเขาคันธมาทน์ มีถ้ำบนยอดเขาชื่อว่าถ้ำนันทมูล เป็นที่อยู่ของพระปัจเจกพุทธเจ้า ประกอบไปด้วยถ้ำทอง ถ้ำแก้ว และถ้ำเงิน

ยอดเขาไกรลาส เป็นภูเขาเงิน  รูปทรงคล้ายยอดเขาสุทัสสนะ วิมานฉิมพลีแห่งพญาครุฑ ก็อยู่ที่เขาไกรลาสนี้


ยอดเขาทั้ง๕ ตั้งตระหง่านรายล้อมสระอโนดาตไว้ และมีเทวดารวมถึงนาค เป็นผู้ดูแลรักษา ธารน้ำทั้งหลาย จากเขาหิมพานต์ ทุกสารทิศ จะไหลมาผ่านยอดเขา๕ลูกนี้ (ลูกใดลูกหนึ่ง) จากนั้น ก็จะไหลรวมลงสู่สระอโนดาต


(เหตุที่ได้ชื่อว่าอโนดาต ก็เพราะ มีเงื้อมผาโค้งงุ้มดังปากกา โอบบังแสงไว้ด้านบน ทำให้แสงอาทิตย์และแสงจันทร์ ไม่สามารถส่องผ่านไปโดนน้ำตรงๆ ได้ แสงเพียงลอดเข้าด้านข้าง ในแนวเหนือใต้ ตรงระหว่างรอยต่อยอดเขากับยอดเขา เท่านั้น สระนี้ จึงได้ชื่อว่า “อโนดาต”...แปลว่า ไม่ถูกแสงส่องให้ร้อน..)
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้