ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 4632
ตอบกลับ: 6
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระไพรีพินาศกับตำนาน...ทวารรบาลติดฝิ่นวัดบวรฯ

[คัดลอกลิงก์]
วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดราชวรวิหาร ซึ่งในช่วงประมาณสมัยรัชกาลที่ ๓ ทรงสร้างขึ้น ติดกับบริเวณวัดรังษีสุทธาวาส ในภายหลัง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ ได้รวมวัดบวรนิเวศกับวัดรังษีสุทธาวาส เป็นวัดเดียวกัน และตั้งชื่อใหม่ว่า วัดบวรรังษี และในที่สุดได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดบวรนิเวศวิหาร                                                                
สถาปัตยกรรมวัดบวรนิเวศวิหาร สร้างขึ้นด้วยศิลปะไทยผสมจีน ภายในพระอุโบสถ มีพระพุทธรูปสำคัญอยู่ ๒ องค์ คือ พระประธาน อัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน จ.เพชรบุรี และพระพุทธชินสีห์ อัญเชิญมาจากวิหารทิศเหนือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก ถัดจากพระอุโบสถออกไปเป็นเจดีย์กลมขนาดใหญ่หุ้มกระเบื้องสีทอง สร้างสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ นอกจากนี้ก็มีจิตรกรรมฝาผนังฝีมือขรัวอินโข่ง
เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๔ ได้มีเหตุการณ์สำคัญยิ่ง ๒ อย่าง คือ สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ามงกุฎ ทรงลาผนวช ขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติสืบสันตติวงศ์ เป็น รัชกาลที่ ๔ แห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระปรมาภิไธยว่า "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"
ส่วนอีกเหตุการณ์หนึ่ง คือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงครองวัดบวรนิเวศวิหาร สืบต่อจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเดิมพระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ สมเด็จวังหน้าในรัชกาลที่ ๒ พระนามเดิมว่า "พระองค์เจ้าฤกษ์" พระองค์ทรงเชี่ยวชาญในภาษาบาลีมาก ทรงเป็นพระอุปปัชฌายาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสร้างพระกริ่งที่โด่งดัง นั่นคือ "พระกริ่งปวเรศ"
ในสมัยรัชกาลที่ ๔ นี้ ได้มีการปรากฏขึ้นของพระพุทธรูปสำคัญอีกองค์หนึ่ง และได้มีการสร้างจำลองแบบต่อมา จนเป็นพระที่โด่งดังมากในวงการพระเครื่อง นั่นคือ "พระไพรีพินาศ"
"พระไพรีพินาศ" เป็นพระนามของพระพุทธรูป ซึ่งปัจจุบันได้ประดิษฐานอยู่ ณ ระเบียงชั้น ๒ ของพระเจดีย์ใหญ่ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระพุทธรูปที่สร้างจากเนื้อหินแกะ หน้าตักกว้างประมาณ ๑๓ นิ้ว พุทธลักษณะปางมารวิชัย แต่หงายฝ่ามือขึ้น คล้ายปางประทับนั่งประทานพร
สำหรับที่มาของพระไพรีพินาศ ได้มีผู้นำมาถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งในขณะนั้นท่านยังทรงผนวชอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร และได้ทรงบูชาพระไพรีพินาศ จนเกิดอภินิหาร บังเกิดกับหม่อมไกรสร ซึ่งไม่ทรงถูกกับพระองค์ ได้ถูกสำเร็จโทษ พระองค์จึงพ้นภัยจากหม่อมไกรสร จึงได้โปรดให้สร้างเก๋งประดิษฐาน พระราชทานนามว่า "พระไพรีพินาศ" และยังทรงเขียนข้อความไว้ใต้ฐานซึ่งมาค้นพบเมื่อวันจันทร์ที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๗ ระหว่างซ่อมแซมพระเจดีย์ ๙๖ ปี ไว้ว่า "พระสถูปเจดีย์ศิลาบัลลังก์องค์ จงมีนามว่า พระไพรีพินาศ เทอญ" และอีกด้านทรงเขียนว่า "เพราะตั้งแต่ทำมาแล้ว คนไพรีก็วุ่นวาย ยับเยินไปโดยลำดับ"
ในวงการพระเครื่องแล้วนั้น พระไพรีพินาศ ก็เป็นพระเครื่ององค์จำลองจากพระพุทธรูปไพรีพินาศองค์นี้นั่นเอง ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูง และกว้างขวางเป็นอย่างมาก โดยได้สร้างให้ประชาชนได้บูชาเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๔๙๕ ในวาระเมื่อสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช สกลสังฆปริณายก มีพระชนมายุครบรอบ ๘๐ พรรษา ได้จัดสร้างวัตถุมงคล ดังนี้
๑.พระบูชาไพรีพินาศ
๒.พระกริ่งไพรีพินาศ
๓.พระชัยวัฒน์ไพรีพินาศ
๔.พระชัยวัฒน์แบบทั่วไป
๕.เหรียญพระไพรีพินาศ
๖.หม้อน้ำมนต์
ตำรับการสร้างพระกริ่งในวัดบวรนิเวศ เป็นตำนานการสร้างที่สืบทอดมาจากสมเด็จพระพนรัต วัดป่าแก้ว แห่งกรุงศรีอยุธยา ตกทอดมายังท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ แห่งวัดบวรนิเวศ จนได้จัดสร้าง "พระกริ่งปวเรศ" ที่โด่งดัง และสืบไว้ในวัดบวรนิเวศต่อมา จนได้นำมาสร้างพระเครื่องรุ่นต่อๆ มา ของวัดบวรนิเวศ จึงทำให้พระเครื่องทุกรุ่นทุกแบบของวัดบวรนิเวศ มีความศักดิ์สิทธิ์ไม่น้อยไปกว่าพระกริ่งปวเรศของสมเด็จกรมพระยาปวเรศ จนเราเห็นได้ว่า พระเครื่องแทบทุกรุ่นของวัดบวรนิเวศนั้นได้รับความนิยมในวงการพระอย่างสูงมาก แล้วท่านผู้อ่านได้มีพระของวัดบวรนิเวศไว้บูชาบ้างหรือยังครับ?
สุดท้ายนี้ต้องขอบคุณ คุณสมศักดิ์ ศกุนตนาฏ ผู้อำนวยการสำนักพิมพ์คเณศ์พร และประธานชมรมนักข่าวและช่างภาพพระเครื่อง ที่เอื้อเฟื้อภาพจากหนังสือ "พระไพรีพินาศ"
ทวารบาลติดฝิ่น
เรื่องของ "ทวารบาล" นั้น ผู้ที่เข้าวัดเข้าวาบ่อยๆ คงจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะตามวัดส่วนใหญ่มักจะมีทวารบาลยืนยาม เฝ้าตามประตู หน้าต่าง ผนัง ของโบสถ์วิหาร เพื่อป้องกันภูตผีปีศาจร้าย
ทวารบาล มาจากคำ ๒ คำ คือ "ทวาร" แปลว่า ประตู ส่วน "อภิบาล" แปลว่า "ดูแลรักษา, ปกครอง" เมื่อรวมกันเข้าจึงมีความหมายว่า "ผู้เฝ้ารักษาประตู"
คติการสร้างรูปทวารบาลที่มีหลักฐานเห็นได้ชัดเจน เริ่มขึ้นในสมัยอินเดียโบราณ เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๖ ภาพสลักที่โคนเสาซุ้มประตู หรือ โตรณะของสถูปสาญจี ที่ภารหุต มีรูปสลักนูนต่ำของบุคคลหลายคู่ ที่เรียกว่า ยักษ์ (Yaksha) ยืนทำหน้าที่เหมือนเป็นผู้เฝ้าประตูทางเข้าสู่ศาสนสถาน นับแต่นั้นจึงเกิดคติการเขียนทวารบาลในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เรื่อยมา
ส่วนที่บานประตูกำแพงแก้ว วัดบวรนิเวศวิหาร มีทวารบาลจีนแท้ขนาดใหญ่ แต่งตัวถืออาวุธแบบจีนโบราณ ดูเหมือนจะเป็นภาพแกะไม้ หรือปูนปั้น แต่ปิดทองเหลืองอร่ามทั้งองค์ ประตูนี้คนเรียกกันว่า "ประตูเซี่ยวกาง" ที่สร้างตามคตินิยมแบบจีน
การติดสินบนทวารบาล ที่ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อย คือ ทวารบาล บริเวณประตูทางเข้าวัด ด้านตรงข้ามโรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัยนั้น ที่ประตูแห่งนี้ที่ปากทวารบาลดูดำปื้น ส่วนตามตัวก็มีพวงมาลัยและถุงกาแฟดำห้อยอยู่ตามจุดต่างๆ นัยว่าเฝ้าประตูนานเดี๋ยวหลับยาม คนบนเลยซื้อมาให้กิน เพื่อตาจะได้สว่างขึ้นบ้าง
ความเฮี้ยนของทวารบาลของประตูเซี่ยวกาง มีเรื่องเล่าสืบกันต่อๆ มาว่า ยุคที่เมืองไทยยังดูดฝิ่นได้ มีชาวจีนคนหนึ่งติดฝิ่นงอมแงม ต่อมาทางการได้ปราบทำลายโรงงานยาฝิ่นจนหมดสิ้น เมื่อแกหาฝิ่นดูดไม่ได้ สุดท้ายเลยไปลงแดงตายตรงประตูนี้
หลังจากนั้นเมื่อทางวัดมาพบ จึงทำพิธีกงเต๊กให้ ต่อมาชาวจีนคนนั้นไปเข้าฝันสมเด็จท่านเจ้าอาวาสว่า ให้ทำที่ให้แกอยู่แล้ว แกจะเฝ้าวัดให้ ทางวัดจึงสร้างกำแพงทำซุ้มประตูแล้วอัญเชิญดวงวิญญาณชาวจีนคนนั้นมาสถิตอยู่ ณ ประตูแห่งนี้
ต่อมามีเรื่องเล่ากันว่า ของในวัดที่เคยถูกขโมยไปหลายครั้ง ล้วนได้คืนกลับมาหมด ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ของดวงวิญญาณคนจีนที่คอยเฝ้าวัด ทำให้เกิดการสักการบูชาประตูเซี่ยวกางขึ้น ซึ่งหลายๆ คนต่างเชื่อกันว่าถ้าบนอะไรแล้วก็จะได้สิ่งนั้นตามที่ขอหมด จนทวารบาลองค์นี้ติดฝิ่นไปแล้ว ทุกวันนี้ความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ของทวารบาลวัดบวรฯ ยังคงมีอยู่ แต่เครื่องติดสินบนจากฝิ่นกลับกลายเป็นกาแฟดำ ดอกไม้ ธูปเทียนแทน
พระกริ่งปวเรศ องค์วัดบวรฯ
พระกริ่งปวเรศ ถือเป็นต้นกำเนิดของพระกริ่งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ สร้างโดยองค์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ วัดบวรนิวเศวิหาร ทรงสร้างด้วยเนื้อนวโลหะ เพื่อประทานแก่เชื้อพระวงศ์ เจ้านายในวังที่สนิทคุ้นเคย หรือผู้ที่เห็นสมควรเท่านั้น ตามประวัติที่กล่าวไว้ว่า ท่านได้สร้างไว้รวมทั้งหมดไม่น่าจะเกิน ๓ ครั้ง และรวมทั้งสิ้นแล้วมีประมาณกว่า ๓๐ องค์
พระกริ่งปวเรศองค์ที่เป็นของจริงนั้น ก็คือองค์ต้นแบบที่ประดิษฐานอยู่ในเก๋งกระเบื้องดินเผาจีนที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์วัดบวรฯ เวลามีงานใหญ่จริงๆ ถึงจะได้ชม แถมอยู่ไกลและอยู่ในเก๋งทำให้แทบจะพิจารณาให้ละเอียดไม่ได้
ด้วยหาดูยากจริงๆ กรมหลวงวชิรญาณวงศ์แห่งวัดบวรฯ เคยมีดำรัสถึงเรื่องพระกริ่งปวเรศนี้ว่า “เท่าที่ฉันได้ยินมานั้น สมเด็จกรมพระยาปวเรศฯ ท่านทรงสร้างขึ้นด้วยพระองค์เอง มีจำนวนน้อยมาก น่าจะไม่เกิน ๓๐ องค์  ต่อมาได้ประทานให้ หลวงชำนาญเลขา (หุ่น) ผู้ใกล้ชิดพระองค์นำไปจัดสร้างขึ้นอีกจำนวนหนึ่ง แต่หลวงชำนาญเอาไปเทนั้น จะมากน้อยเท่าใดฉันไม่ได้ยินเขาเล่ากัน”
ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ คือ แม้จะมีการประมาณว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ จะสร้างพระกริ่งปวเรศประมาณ ๓๐ องค์ แต่กลับมีผู้ครอบครองพระกริ่งปวเรศที่ยืนยันว่าเป็นของแท้มากถึงหลักร้อยองค์ บางรายยืนยันว่า ครอบครองพระกริ่งปวเรศมากถึง ๗ องค์ นอกจากนี้แล้ว อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อยยิ่งกว่ากัน คือ ค่านิยมพระกริ่งปวเรศทุกองค์ที่มีการซื้อขายกันราคาอยูในหลักหลายสิบล้านบาท
ในหนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพอำมาตย์เอก พระยาชลประทานธนารักษ์ ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๑๕ ผู้รู้ที่ใช้นามปากกา ศักดิ์ สุริยัน รวบรวมข้อมูลเรื่องพระกริ่งปวเรศ เอาไว้หลายด้าน เป็นชุดความรู้ขนาดใหญ่กว่า ที่ไม่เคยอ่านผ่านตากันมาก่อน
ตำนานเรื่องพระกริ่งปวเรศ ของวัดบวรฯ กล่าวว่า “ทราบกันมาว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ฯ ได้ทรงสร้างพระกริ่งและหม้อน้ำมนต์ พระกริ่งนั้น บัดนี้เรียกกันว่า พระกริ่งปวเรศ ทรงสร้างขึ้นเมื่อไร มีจำนวนเท่าไร ไม่พบหลักฐาน
เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ได้เคยรับสั่งว่า "พระกริ่งนั้นสมเด็จฯ ทรงสร้างขึ้นเอง เพื่อถวายเจ้านาย มีจำนวนน้อย ไม่เกิน ๓๐ องค์ แต่ หลวงชำนาญเลขา (หุ่น) สมุห์บัญชีในกรมของพระองค์ ได้ขอประทานพระอนุญาตนำแบบพิมพ์ ไปสร้าง ได้ไปสร้างขึ้นอีกเท่าไหร่ไม่ทราบ"
เต้ สระบุรี

เทวดาดีดพิญ วัดบวรว่ากันว่าขลังมิใช่น้อยคับ
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-8 22:49 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
lnw ตอบกลับเมื่อ 2013-11-8 20:55
เทวดาดีดพิญ วัดบวรว่ากันว่าขลังมิใช่น้อยคับ ...

ดีครับ
เทวดาดีดพิญ
เริ่มอยากรู้ประวัติแล้วล่ะสิ
Metha ตอบกลับเมื่อ 2013-11-9 05:57
เทวดาดีดพิญ
เริ่มอยากรู้ประวัติแล้วล่ะสิ

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้