ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระหลอกผี(วินัยพระภิกษุที่คนควรรู้)

[คัดลอกลิงก์]
ใช่ครับ
12#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-10-25 08:04 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-10-25 08:07

ผู้ครองอาภรณ์แห่งธรรม


ยิ่งความเจริญทางโลกเพิ่มมากขึ้นเท่าไหร่
ข่าวคราวในทางไม่สู้ดีเกี่ยวกับ พระสงฆ์ หรือ บรรพชิต ผู้ครองอาภรณ์แห่งธรรม
ก็ยิ่งปรากฎตามหน้าสื่อมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นข่าวเล็กข่าวใหญ่
แต่ทุกครั้งย่อมนำมาซึ่งความเสื่อมศรัทธาของประชาชนทั่วไป.."


ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธ ที่ตามหลักพระพุทธศาสนา พระรัตนตรัย อันประกอบไปด้วย

พระพุทธ พระธรรม และ พระสงฆ์ ถือเป็นแก้วสามประการประกอบกันและทำหน้าที่

ธำรงคุณงามความดี ผิดชอบชั่วดีแก่มนุษย์มาหลายพันปี


พระพุทธ และ พระธรรม เป็นของสูง เป็นแก่นแท้และหลักการนำสู่การคิดปฏิบัติ โดย พระสงฆ์
มีบทบาทสำคัญในการสืบทอดพระพุทธศาสนา และถือเป็นผู้น่าเลื่อมใส สามารถตัดกิเลสเครื่อง
เศร้าหมองทั้งปวงได้ เป็นที่สมควรแก่การกราบไหว้บูชา


แต่ถ้า พระสงฆ์ ไม่ควรเป็นที่กราบไหว้บูชา จะเกิดอะไรขึ้น?


ยิ่งความเจริญทางโลกเพิ่มมากขึ้นเท่าไหร่ ข่าวคราวในทางไม่สู้ดีเกี่ยวกับ พระสงฆ์ หรือ
บรรพชิต ผู้ครองอาภรณ์แห่งธรรม ก็ยิ่งปรากฎตามหน้าสื่อมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นข่าวเล็กข่าวใหญ่
แต่ทุกครั้งย่อมนำมาซึ่งความเสื่อมศรัทธาของประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะกรณีที่เป็นข่าวคราวโด่งดัง
ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน มีปรากฎแล้วมากมาย จากวันนั้นจนวันนี้ ก็ไม่มีทีท่าจะจบจะสิ้



สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) ในฐานะปกครองสงฆ์ ได้รวบรวมข้อมูลที่พระสงฆ์ถูกร้องเรียนมากที่สุดและส่วนใหญ่พบว่าเป็นเรื่องจริง และเป็นการผิดวินัย ที่ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัด โดยเรื่องร้องเรียนที่พศ. พบมากที่สุดนั้น เป็นเรื่องการบิณฑบาตไม่เหมาะสม ซึ่งมีทั้งพระจริง และฆราวาส(พระปลอม)


นอกจากนี้ยังมี การฉันอาหารตอนเย็น เล่นพนัน การเปิดเพลงเสียงดัง ทะเลาะวิวาทกับฆราวาส รับเงิน ใช้ของแพง ซื้อลอตเตอรี่ การดูหนังโป๊ มีสีกาอยู่ในกุฏิซึ่งก็จะถือเป็นการปาราชิกร้ายแรง หรือแม้แต่พฤติกรรมไม่สำรวมในรูปแบบเพศที่สาม การไปเกี่ยวข้องกับการเมือง และการร่วมชุมนุมต่อต้านตามสถานที่ต่างๆ มีการแสดงท่าที่ไม่สำรวม ทั้งนี้พระไม่สามารถเล่นการเมือง หรือเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทางการเมืองได้ โดยมีคำสั่งของมหาเถรสมาคม พ.ศ.2538 ห้ามไว้อย่างชัดเจน


หากย้อนไปในอดีต กรณีอื้อฉาวเกี่ยวกับพระเกิดขึ้นมากมาย หลายกรณีก็เป็นเรื่องราวใหญ่โตตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของสังคมไทยอย่างครึกโครมมาแล้ว..



http://www.isranews.org.




13#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-10-31 20:40 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-10-31 20:44

อะไรที่จัดเป็นอนันตริยกรรมฐานทำสังฆเภท (ทำสงฆ์สาวกแตกแยก)


๑)    พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าปฏิบัติถูกต้องตรงทางแล้วยุยงให้แตกแยกกัน แต่ถ้าพระสงฆ์สาวกเป็นเดียรถีย์ เป็นพระปลอม เราไปจับสึก ทำลายเสีย อย่างนี้ ไม่ใช่สังฆเภท เพราะสิ่งที่ทำลายไปนั้น นับว่าเป็น “พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้” การนับว่าเป็น “สังฆเภท” ก็ต่อเมื่อได้กระทำต่อพระสงฆ์สาวกอันแท้จริงของพระพุทธเจ้าที่ปฏิบัติถูกต้องตรงทางเท่านั้น ของปลอมไม่นับเป็นสังฆเภท ได้รับกรรมเท่ากับ “การยุยงกลุ่มคนให้แตกกัน” เฉยๆ ไม่มีกรรมต่อพุทธศาสนา

๒)    พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าปฏิบัติถูกต้องตรงทางแล้ว ไม่ได้ยุยงให้แตกแยกกัน แต่ทำความดีแล้วชักชวนให้ไปปฏิบัติต่างไปในทางของตนอีกแบบ แม้ได้รับการยอมรับนับถือมากมาย แต่เพราะปฏิบัติแตกต่างไปจากเดิมจนเป็นเหตุให้ ไม่ได้นิพพานนั้น คือ “อนันตริยกรรม” ทำหมู่สงฆ์เดิม แยกออกไปสู่นิกายใหม่ แต่ถ้าเกิดนิกายใหม่ที่ไม่ได้นิพพานอยู่ก่อนแล้ว ตนพยายามหาทางนิพพานแต่ไม่สำเร็จ รู้ว่านิกายเก่าไม่ได้นิพพาน จึงชักชวนเพื่อนแยกเป็นนิกายใหม่ อันนี้ ไม่เข้าข่ายสังฆเภท เพราะสงฆ์ในนิกายนั้น ไม่ใช่พระสงฆ์สาวกในแบบเดิมแท้


๓)    พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าปฏิบัติถูกต้องตรงทางแล้ว ก็ไปให้การช่วยเหลืออย่างดี แล้วบอกแก่ท่านเหล่านั้นว่าท่านทำดังนี้เถิดไม่ถือ ไม่ผิดธรรมวินัย ไม่มีใครต่อว่าดอก อันส่งผลให้พระสงฆ์เชื่อ แล้วทำตามๆ กันมากมาย จนเกิดแนวทางการปฏิบัติที่ไม่ได้นิพพานดังเก่าก่อน อันนี้เป็น “สังฆเภท” สำเร็จสมบูรณ์แล้ว แม้ไม่มีการแตกกลุ่ม ยังอยู่ร่วมกันอยู่ก็ตาม แต่ถ้าเอากลุ่มที่ปฏิบัติไม่ได้นิพพานออกไปตั้งนิกายใหม่ ก็จัดเป็น “สังฆเภท” ได้ทันที ทว่า ถ้ามีใครแยกเอากลุ่มที่ปฏิบัติผิดทางให้ “สึก” ไป ไม่นับเป็น “สังฆเภท” แต่เป็น “สังคายนา”     


๔)   พระสงฆ์สาวกถูกทำให้แตกแยก หรือถูกภัยสงครามอยู่ก่อนแล้ว ตนมีเจตนาดีที่อยากรวบรวมหรือฟื้นฟูขึ้นใหม่ แล้วบอกแก่หมู่พระสงฆ์ว่าตนนี่แหละ มีแนวทางปฏิบัติเพื่อนิพพาน (แต่ไม่ได้นิพพานจริง) แม้ผู้คนนับถือมากมายตั้งนิกายสำเร็จ แต่ไม่นิพพานจริง เมื่อไม่มีใครแจ้งว่าพุทธศาสนาที่แท้จริงอยู่ที่ใด ยังไม่จัดเป็น “สังฆเภท” แต่เมื่อใดที่มีผู้แจ้งว่าศาสนาพุทธที่แท้จริงยังมีอยู่ แต่ไม่สนใจ แย่งดึงคนออกจากศาสนาพุทธที่ถูกต้องได้สำเร็จแม้คนเดียว เป็น “สังฆเภท” ทันที แม้สงฆ์จะแตกกันอยู่ก่อนแล้ว แต่เพราะไปดึงคนออกจากแนวทางที่ถูกต้อง (แต่ถ้าประกาศว่าตนไม่ได้นิพพาน แค่มาช่วยเบื้องต้นเท่านั้น อันนี้ไม่เป็นสังฆเภท)


๕)   สร้างนิกายใหม่ ที่ไม่เคยมีมาก่อนเลย แม้ว่าพระพุทธศาสนาที่แท้จริงไม่ปรากฏ แต่ได้ประกาศแก่คนทั่วไปว่านิกายนี้นิพพานได้แน่ แต่ไม่ได้นิพพานจริง ถ้ายังมีพุทธศาสนาจริงเหลืออยู่ ยังไม่นับเป็น “สังฆเภท” ต่อเมื่อมีพระสงฆ์ที่อยู่ในพุทธศาสนาที่แท้จริงแม้แต่หนึ่งรูปแยกออกจากแนวทางที่ถูกต้องนั้นมาสู่นิกายใหม่นี้ นับเป็น “สังฆเภท” ทันที คือ เขานั้นจะได้นิพพานในศาสนาที่ถูกต้องอยู่แล้ว แต่เพราะคำโฆษณาของนิกายนั้นๆ ทำให้แยกออกมา จึงเป็น “สังฆเภท” ทันที   


ในสมัยพุทธกาล พระสงฆ์สาวกมีสองประเภท คือ ประเภทที่ปรารถนานิพพาน และแบบที่ปรารถนาพุทธภูมิ (คือยังไม่เอานิพพาน) ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงรับบวชทั้งสองแบบ แต่ไม่ได้แยกออกเป็นนิกาย ทว่า ทรงให้ปฏิบัติห่างไกลกัน เพื่อไม่ให้เกิดความแตกแยก และมีศูนย์รวมใจที่เดียวคือพระพุทธเจ้า ไม่มีเจ้าสององค์ ไม่มีสองนิกายในศาสนาเดียว เช่น พระมหากัจจายนะ ก็ปรารถนาพุทธภูมิ แต่ต้องไปเผยแพร่ศาสนาไกลมาก ในแคว้นที่กันดาร แต่ทุกรูปก็ไม่มีใครมีใจแตกออกไปจากพระพุทธเจ้า จนเกิดนิกายใหม่ก็หาไม่   


การทำสังฆเภท ไม่ได้แปลตื้นๆ แค่ว่าทำพระสงฆ์แตกแยกกัน แต่มีความหลายลึกซึ้งด้วยว่า หมายถึงทำให้พระสงฆ์ที่ปฏิบัติถูกต้องตรงทางทั้งสองแบบ ต้องแยกออกไปนอกลู่นอกทาง แม้แต่รูปเดียว ไม่ใช่เป็นกลุ่ม เป็นหมู่คณะ ก็นับว่า “สังฆเภท” แล้ว เพราะเราไม่ทราบว่าพระสงฆ์ที่แยกออกไปแม้รูปเดียวนั้น อาจไปสร้างนิกายใหม่ๆ ที่ไม่ได้นิพพาน แล้วแย่งคนไปจากพระพุทธศาสนาที่ถูกต้องอีกเท่าใดในอนาคต ดังนั้น แม้แย่งคนแค่คนเดียวที่ปฏิบัติถูกต้องตรงทางออกมา ก็เกิดกรรมหนัก คือ “สังฆเภท” แล้วโดยสมบูรณ์ ยกเว้นว่าท่านที่ปฏิบัติถูกต้องตรงทางนั้น ท้อแท้ แล้วลาสิกขาเอง อันนี้ไม่เป็นสังฆเภท ถ้าเขาสึกออกเสียจากพระสงฆ์แล้วไปตั้งนิกายใหม่ที่ประกาศตนว่าไม่ใช่พระพุทธศาสนา ก็ไม่เป็นสังฆเภท แต่เมื่อใดก็ตามที่ทำเป็นพระพุทธศาสนาแต่ไม่ได้นิพพาน กลับไปชักชวนคนที่ปฏิบัติถูกต้องให้แยกออกมา จะจัดเป็นสังฆเภททันที   


อะไรบ้างที่คล้ายสังฆเภทแต่ไม่ใช่สังฆเภท


๑)    ทำให้สงฆ์ในนิกายที่ผิด แตกกัน อันนี้ให้ผลกรรมไม่ถึงสังฆเภท เพราะพระสงฆ์เหล่านั้นเดิมปฏิบัติผิดทางอยู่ก่อนแล้ว กรรมหนักไม่มากเท่าท่านที่ปฏิบัติตรงทาง ไม่ใช่อนันตริยกรรม เป็นเพียง กรรมที่กระทำให้หมู่คนแตกแยกกันเท่านั้น
  
๒)    เอาหมู่สงฆ์แยกออกมาจากลัทธินิกายที่ผิด แล้วเร่งปฏิบัติให้ถูกต้องตรงทาง โดยมีศูนย์รวมใจที่พระพุทธเจ้าองค์เดียว ไม่มีใครเป็นเจ้าลัทธิ เจ้านิกาย ไม่มีหัวหน้า ทุกคนเท่าเทียมกัน ช่วยเหลือกัน ฐานะสาวกเช่นเดียวกัน ไม่มีอื่นอีก


๓)    จับพระสงฆ์ปลอมให้สึกเสีย ไปจากกลุ่มพระสงฆ์ที่ปฏิบัติถูกทาง อันนี้ไม่ใช่สังฆเภท แต่ถ้าจับแยกออกแล้ว ให้เขาไปตั้งนิกายใหม่ในพระพุทธศาสนา อันนี้เป็นสังฆเภท ถ้าสงสารต้องให้สึก แล้วให้เขาตั้งศาสนาอื่น ที่ไม่ใช่พระพุทธศาสนา




พระรัตนตรัยนั้น มีพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธ, มีพระธรรมวินัยทิ้งไว้ตามแหล่งหนังสือต่างๆ, มีพระสงฆ์สาวกแท้ รออยู่ที่ใดที่หนึ่งที่ไม่ใช่ในนิกายต่างๆ ขอเพียงเราตั้งจิตตรงต่อพระรัตนตรัยแน่วแน่ ย่อมได้พบพระพุทธศาสนาที่แท้จริง หากวิริยะพากเพียรในป่าอย่างถึงที่สุดแล้ว ย่อมจะได้พบพระอรหันต์แท้มาโปรดเราได้


โดย physigmund_foid
14#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-27 07:55 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ภิกษุอภิมหาโจร


ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าประทับจำพรรษาอยู่ ณ ป่ามหาวันใกล้เมืองเวสาลี ขณะนั้นฝนฟ้าเกิดอาเพศไม่ตกต้องตามฤดูกาล ทำนาทำไร่ไม่ได้ผล บังเกิดทุพภิกขภัยไปทั่ว ชาวบ้านอดอยากยากจนไม่มีข้าวปลาอาหารกิน ไม่มีใส่บาตรถวายพระ
ขณะนั้นมีภิกษุกลุ่มหนึ่งจำพรรษาอยู่ที่ชายป่าริมฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา เมื่อเห็นว่าชาวบ้านไม่ใส่บาตรเกิดความอดอยากหนักเข้า ก็คิดหาอุบายหลอกลวงชาวบ้านเพื่อจะได้ข้าวปลาอาหารมาฉันกันเหมือนเดิม จึงได้ประชุมปรึกษาหารือ ในที่สุดตกลงกันว่าจะต้องใช้อุบายอวดอ้างคุณวิเศษว่าเป็นผู้สำเร็จวิชชา ๓ ประการ อภิญญา ๖ สามารถสำแดงอิทธิฤทธิ์อภินิหารให้รู้ว่า เป็นผู้วิเศษ ทำทีพูดจายกย่องกันเองให้ชาวบ้านฟังว่า..


พระรูปนี้ได้ฌานที่ ๑ พระรูปนั้นได้ฌานที่ ๒ พระรูปโน้นบรรลุโสดาบัน พระอาจารย์องค์นั้นเป็นพระอนาคามี พระอาจารย์องค์นี้เป็นพระอรหันต์ จนชาวบ้านพากันหลงเชื่อว่าเป็นผู้วิเศษจริง เกรงว่าภิกษุผู้วิเศษจะอดอยากปากแห้ง จึงดิ้นรนหาข้าวปลาอาหารมาใส่บาตรเลี้ยงดูภิกษุเหล่านั้นทุกวัน จนอิ่มหนำสำราญอ้วนท้วนผ่องใส


ครั้นเมื่อออกพรรษา...

  ภิกษุเหล่านั้นต่างเก็บข้าวของเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี ปรากฏว่า บรรดาภิกษุอื่นที่เดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ล้วนแต่มีรูปกายผ่ายผอมซูบซีดอิดโรย เพราะอดอยากกันมาตลอดพรรษา คงมีแต่ภิกษุกลุ่มเดียวเท่านั้นที่มีผิวพรรณผ่องใสอ้วนท้วนสมบูรณ์ดี พระพุทธเจ้าทรงมีความสงสัย ตรัสซักไซ้ไล่เลียงจึงรู้ว่า ภิกษุเหล่านั้นได้ใช้อุบายอวดวิเศษหลอกลวงชาวบ้าน



พระองค์จึงทรงตรัสเรียกประชุมสงฆ์ เทศนาธรรมแล้ว ทรงมีพุทธบรรหาร

บัญญัติเรื่อง “ภิกษุมหาโจร ๕ ประเภท” คือ..




โจรที่รวมพวกกันได้นับร้อยนับพัน ยกพลบุกเข้าปล้นบ้านเผาเมืองฆ่าฟันผู้คน แย่งชิงปล้นเอาทรัพย์สินของเขามาเป็นของตนเอง เทียบได้กับภิกษุลามกรวบรวมบริวารแวดล้อมได้เป็นร้อยเป็นพัน ทำทีจาริกเข้าไปในหมู่บ้าน นิคม เมืองใหญ่ ใช้กลอุบายหลอกลวงให้ชาวบ้านหลงเชื่อเคารพบูชา เพื่อให้ตนได้มาซึ่งลาภสักการ จนร่ำรวยด้วยปัจจัย ๔ ภิกษุลามกอย่างนี้จัดเป็น “มหาโจรประเภทที่ ๑”



ภิกษุลามกบางรูปที่ได้เล่าเรียนพระธรรมวินัยอันล้ำลึก ซึ่งพระตถาคตผู้ทรงตรัสรู้อริยสัจได้ประกาศแล้ว กลับฉ้อฉลอ้างว่ารู้มาด้วยตนเอง คิดขึ้นมาได้เอง ไม่ได้เล่าเรียนมาจากใคร ภิกษุลามกอย่างนี้จัดเป็น “มหาโจรประเภทที่ ๒”



ภิกษุลามกบางรูปที่ปั้นเรื่องเท็จใส่ความเพื่อนพรหมจรรย์ผู้บริสุทธิ์ให้ได้รับความเสียหาย กล่าวหาโดยปราศจากมูลความจริง ก่อให้เกิดความแตกแยกในหมู่สงฆ์ ภิกษุลามกอย่างนี้จัดเป็น “มหาโจรประเภทที่ ๓”



ภิกษุลามกบางรูปอยากได้ลาภยศสักการจากคฤหัสถ์ เบียดบังเอาครุภัณฑ์ ครุบริขาร เครื่องใช้ไม้สอยของวัด ที่ดินพัสดุของสงฆ์ นำไปยกให้แก่คฤหัสถ์ ประจบประแจงเอาใจ ภิกษุเหล่านี้ถือว่าเป็น “มหาโจรประเภทที่ ๔”


ภิกษุลามกพวกสุดท้ายที่จัดเป็น “มหาโจรชั้นเลิศ” ทั้งในโลกมนุษย์ มารโลก และพรหมโลก คือ ภิกษุที่อวดตนว่ามีวิชาความรู้วิเศษ ทั้งๆ ที่ตนเองรู้อยู่แล้วว่าไม่เป็นความจริง ไม่สามารถทำให้วิเศษขึ้นได้จริงตามที่อวดอ้าง แต่เมื่อให้ได้มาซึ่งความเคารพนับถือกราบไหว้บูชา ได้มาซึ่งลาภสักการ อันเป็นการกระทำด้วยอุบายหลอกลวงเหมือนดังนายพรานผู้วางเหยื่อดัก* เพื่อจับกินเป็นอาหาร แม้ผู้นั้นห่อหุ้มคลุมกายด้วยผ้ากาสาวพัสตร์ ก็ได้ชื่อว่าบริโภคก้อนข้าวของชาวบ้านในแบบลักขโมยด้วยการเนรคุณ ภิกษุลามกทุศีล “อวดอุตริมนุสสธรรม” เช่นนี้ถือว่าเป็น “ภิกษุอภิมหาโจรชั้นเลิศ” ประเภทที่ ๕




ครั้นแล้วพระพุทธเจ้าทรงตรัสตำหนิติเตียนเหล่าภิกษุที่จำพรรษาอยู่ริมฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา ด้วยประการต่างๆพร้อมทั้งทรงบัญญัติสิกขาบท “อจินไตย ๔ ประการ” เพิ่มเติม ทรงมีพุทธฎีกาห้ามไม่ให้ภิกษุทั้งหลาย อวดอ้างคุณวิเศษที่ไม่มีในตน แต่ได้อวดวิเศษไปหลอกลวงคนอื่นไปแล้ว แม้ว่าจะมาสารภาพผิดในภายหลัง ก็ถือว่าเป็นอาบัติปราชิก “จตุตถปราชิก” อันเป็นกรรมหนัก



ดังนั้นภิกษุรูปใดที่ “อวดอุตริมนุสธรรม” มีความผิดอาบัติปราชิกข้อที่ ๔ จึงเป็นครุกรรม ขาดจากความเป็นภิกษุไปในทันที แม้จะไม่มีใครรู้ไม่มีใครเห็น ไม่มีใครกล่าวโทษฟ้องร้องก็ตาม เมื่อถูกสึกจากภิกษุไปแล้ว จะกลับมาบวชใหม่อีกไม่ได้



  ขอบคุณครับ
17#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-1-19 18:15 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
19#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-10-21 06:08 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
คำถามคือ..



ในเมื่อประเทศไทยประกาศตนว่าเป็น “เมืองพุทธ” แล้วที่ผ่านมา

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทำอะไร เพื่อปกป้องสิ่งที่ได้ชื่อว่า

เป็น 1 ใน 3 สถาบันหลักของประเทศบ้างหรือไม่?

20#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-10-30 05:15 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้