ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 6495
ตอบกลับ: 24
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

~ พระมงคลวิสุทธิ์ หลวงปู่สุภา กนฺตสีโล วัดสีลสุภาราม ~

[คัดลอกลิงก์]

พระมงคลวิสุทธิ์(สุภา กนฺตสีโล)
หลวงปู่สุภา


เกิด     17 กันยายน พ.ศ. 2439

บรรพชา     พ.ศ. 2448

อุปสมบท     พ.ศ. 2459

มรณภาพ     2 กันยายน พ.ศ. 2556

พรรษา     98

อายุ     118

วัด     วัดสีลสุภาราม

จังหวัด     ภูเก็ต

ตำแหน่ง
ทางคณะสงฆ์
     เจ้าอาวาสวัดสีลสุภาราม

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0 ... 0%B9%82%E0%B8%A5%29

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-9 21:49 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


ปฐมบทของหลวงปู่สุภา กันตสีโล


     ครอบครัวของท่านขุนภักดี หรือผู้ใหญ่บ้านพล วงศ์ภาคำ และนางสอ วงศ์ภาคำ เป็นที่เคารพของชาวบ้านคำบ่อ อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร ทั้งนี้เพราะท่านผู้ใหญ่พลสร้างแต่ความดี มีน้ำใจและบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎรในปกครองอย่างเสมอหน้า ว่ากล่าวตักเตือนด้วยความเมตตา เมื่อพบผู้กระทำผิดอันพอจะอภัยได้ และกระทำการจับกุมอย่างเด็ดขาดในกรณีที่กฎหมายไม่อาจจะละเว้นหรือตักเตือนได้ ทุกคนจึงพร้อมที่จะร่วมมือกันท่านผู้ใหญ่พลในทุก ๆ ด้าน บ้านคำบ่อจึงอยู่กันอย่างสงบสุขตลอดมา วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๓๙ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีวอก คุณแม่สอก็ให้กำเนิดบุตรชายคนที่ ๘ ในสกุลวงศ์ภาคำ เป็นเด็กที่มีความอ้วนท้วนสมบูรณ์ หน่วยก้านบอกว่า ต่อไปจะเป็นคนดีของบ้านเมือง และคนดีศรีวงศ์ตระกูล ท่านผู้ใหญ่พล จึงให้นามบุตรชายคนนี้ว่า “ สุภา ” อันประกอบด้วย “ สุ ” แปลว่า “ ดี ” และ “ ภา ” มาจากส่วนหนึ่งของสกุลว่า “ วงศ์ภาคำ ” ซึ่งมีความหมายว่า คนดีของตระกูลวงศ์ภาคำ นั่นเอง

หลวงปู่สุภา มีพี่น้องทั้งหมด 8 คน คือ
1. นางสี วงศ์ภาคำ (ถึงแก่กรรม)
2. นายเสน วงศ์ภาคำ (บวชเป็นพระภิกษุ - มรณภาพ)
3. นางผม วงศ์ภาคำ (ถึงแก่กรรม)
4. นางเกตุ วงศ์ภาคำ (ถึงแก่กรรม)
5. นายจันทร์เพ็ง วงศ์ภาคำ (ถึงแก่กรรม)
6. หลวงปู่สุภา กนฺตสีโล     (มรณภาพ 2 กันยายน 2556)
7. นางมาลีจันทร์ วงศ์ภาคำ (ถึงแก่กรรม)
8. นางกา วงศ์ภาคำ (ถึงแก่กรรม)


ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-9 21:50 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หลวงปู่สุภา รำลึกความหลังให้กับสานุศิษย์ได้รับรู้ว่า เมื่อท่านยังเป็นเด็กที่มีรูปร่างอ้วนท้วน เจ้าเนื้อ ผิวขาว ซุกซนตามประสาเด็กทั่วไป แต่ไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อยู่ในครอบครัว และผู้ที่อยู่ใกล้ชิด เมื่อวัยของท่านเจริญเติบโตเพียงพอจะเล่าเรียนได้แล้ว ผู้เป็นบิดาของท่านได้พาไปฝากไว้ในวัด ให้ได้เล่าเรียนเขียนอ่านตามสมควรแก่วัย และเวลาหลวงปู่เป็นเด็กที่ว่านอนสอนง่าย มักชอบเล่าเรียนมากว่าเด็กในรุ่นเดียวกัน
หลวงปู่สุภายังจำได้แม่นยำเหมือนเพิ่งเกิดเมื่อไม่กี่วันมานี้ ถึงสิ่งที่ท่านได้ประสบกับสิ่งที่เรียกว่า “ การพยากรณ์ ” จากปากของพระธุดงค์ที่มาปักกลดใต้ต้นตะแบกใหญ่ท้ายหมู่บ้านคำบ่อ เด็กน้อยชื่อสุภา วัยเพียง ๗ ขวบ คลานเข้าไปกราบแทบตักพระธุดงค์ มือของพระธุดงค์ลูบศีรษะของเด็กน้อยด้วยความเอ็นดู บอกให้ลุกขึ้นนั่งทอดสายตา มองดูรูปร่างของเด็กน้อยที่นั่งอยู่ตรงหน้าเป็นครู่ใหญ่ จึงกล่าวกับเด็กน้อยหรือ หลวงปู่สุภาเมื่อตอนอายุได้ ๗ ขวบ ว่า
      “เด็กน้อยเอ๊ย ต่อไปเจ้าจักได้บวชเรียน ถวายตัวในพุทธศาสนา บวชเมื่อใดแล้วจงอย่างลืมไปเสาะหาหลวงพ่อให้จงได้ อย่าลืมนะ พบกันในวาระที่เจ้าได้ครองผ้าเหลืองเหมือนหลวงพ่อนี้แหละ”
  หลวงปู่สุภาเมื่อยังเป็นเด็ก ไม่เข้าใจว่านั่นคือคำพยากรณ์ จึงไม่ใส่ใจ แต่ได้จ้องดูหน้าของพระธุดงค์จนจดจำองคาพยพไว้ได้ทั้งหมด ก่อนจะกราบลาออกไปวิ่งเล่นตามประสาเด็กซุกซนตามปกติ
     วันเวลาเคลื่อนคล้อยไปอีกสองปีเต็ม หลวงปู่สุภามีอายุได้ ๙ ขวบ จึงขอผู้เป็นบิดาออกบรรพชาเป็นสามเณร ท่านผู้ใหญ่พลไม่ขัดข้อง เพราะเห็นแล้วว่า หลวงปู่สุภา เป็นผู้เอาใจใส่ในการเล่าเรียน แม้จะไม่ได้เรียนทางโลก หากแต่เรียนทางธรรม ย่อมมีความเจริญดุจเดียวกัน จึงนำไปให้พระอาจารย์สวนทำการบรรพชาเป็นสามเณรและสั่งสอนอบรมอยู่หนึ่งปีเต็มวันหนึ่ง พระอาจารย์สวนได้บอกกับ หลวงปู่สุภา
“ อย่างเณรมันต้องก้าวหน้ากว่านี้ ฉันจะพาเข้าเมืองอุบลฯ ไปเล่าเรียนต่อให้แตกฉาน อยู่กับฉันมันก็แค่นี้แหละเณร ”

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-9 21:51 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kit007 เมื่อ 2013-9-9 21:52

พบพระผู้ให้การพยากรณ์



พุทธศักราช ๒๔๔๙ หลวงปู่สุภา ได้รับการนำตัวลงมาจากบ้านคำบ่อ มาฝากไว้ในสำนักเรียนของพระมหาหล้า แห่งวัดไพรใหญ่ จ. อุบลราชธานี โดยพระมหาหล้าได้ทดสอบความรู้เบื้องต้น พบว่า หลวงปู่สุภา เมื่อเป็นสมาเณรมีความรู้เบื้องต้นดีมาก เรียนต่อก็ไม่ลำบากยากแก่การอบรม จึงร่วมกับอาจารย์ลุยผู้เป็นฆราวาสเปรียญธรรม อบรมสั่งสอนให้เล่าเรียน “ มูลกัจจายน์ ” ห้าเล่มอยู่อย่างเอาเป็นเอาตาย หลวงปู่เล่าเรียนด้วยความมานะพยายาม จนจบมูลกัจจายน์ในขณะอายุได้ ๑๖ ปีพอดี หลวงปู่สุภา ได้กราบเรียนถามพระมหาหล้าผู้เป็นอาจารย์สอนมูลกัจจายน์ว่า หากจะเล่าเรียนต่อไป จะไปทางไหนดี คำตอบของพระมหาหล้าคือ
“ มีอยู่สองทางคือ ไปเรียนบาลี เป็นมหาเปรียญ หรือไปเรียนวิปัสสนากรรมฐาน เป็นพระวิปัสสนาจารย์ เธอใคร่ครวญให้รอบคอบ แล้วจึงตัดสินใจ ”
ระหว่างสองทางเลือกนี้ สามเณรสุภาตัดสินใจระหว่าง ลาภ ยศ สรรเสริญ ทางเป็นมหาเปรียญ กับการเป็นวิปัสสนาจารย์ผู้คร่ำเคร่งกับการปฏิบัติทางจิตและการแสวงหาความวิเวก ท่ามกลางป่าเขาลำเนาไพรอันรกเรื้อ ห่างไกลจากความเจริญ ไม่มีพัดเปรียญธรรม ไม่อาจจะสละทางสงฆ์ เทียบวุฒิเข้าทำงานแบบฆราวาสได้เหมือนมหาเปรียญ มโนนึกต่อสู้กันอย่างเอาเป็นเอาตาย ที่สุด ฝ่ายวิปัสสนาจารย์ก็ได้รับชัยชนะ
ในระหว่างที่ หลวงปู่สุภา จะก้าวออกนอกวัดไพรใหญ่ เพื่อเข้าสู่เส้นทางของวิปัสสนาจารย์ ก็ให้บังเอิญมีญาติโยมจากท่าอุเทนมาที่วัดไพรใหญ่ ได้มาทำบุญเบี้ยพระที่วัด และได้รู้จักกับสามเณรสุภา ได้เล่าความให้สามเณรฟังถึงพระภิกษุผู้เป็นพระสายวิปัสสนาที่ขณะนี้กำลังสร้างพระธาตุอุเทนว่า เป็นพระผู้มีเมตตาธรรมและมีบารมีธรรมอันน่าเคารพนับถือเป็นครูบาอาจารย์ นั่นคือสิ่งที่กระตุ้นให้สมเณรสุภา กราบลาพระมหาหล้า ออกเดินทางสู่ท่าอุเทนในทันที เพื่อไปนมัสการพระวิปัสสนาจารย์ ที่ได้รับการบอกเล่าจากญาติโยมชาวท่าอุเทน เมื่อไปถึงท่าอุเทนแล้ว ได้สอบถามเส้นทางไปพระธาตุท่าอุเทน
ขณะเมื่อไปถึงพระธาตุท่าอุเทน เป็นเวลาที่พระวิปัสสนาจารย์กำลังเทศนาและสอนกรรมฐานแก่ญาติโยมพุทธศาสนิกชน จึงหยุดรออยู่นอกสถานที่สอนกรรมฐาน ครั้นเมื่อผู้คนแยกย้ายกันกลับไปหมด จึงเดินเข้าไปกราบนมัสการตรงหน้าพระวิปัสสนาจารย์ สายตาของพระวิปัสสนาจารย์ประสานกับสายตาของสามเณรน้อยผู้มาใหม่ แล้วเกิดกระแสแห่งความคุ้นเคย เสียงของพระวิปัสสนาจารย์พูดกับสามเณรน้อยขึ้นว่า
“ บัดนี้ถึงเวลาที่เราจะได้พบกัน เด็กน้อยจำเราได้หรือไม่ เราไม่เคยลืมแววตาคู่นี้เลย ”

5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-9 21:51 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ภาพเด็กตัวเล็ก ๆ คลานเข้าไปกราบพระธุดงค์ที่ปักกลดอยู่ใต้ต้นตะแบกใหญ่ กลับมาปรากฏชัดในมโนภาพของสามเณรน้อย แม้องคาพยพของใบหน้าพระผู้ที่นั่งอยู่ตรงหน้า จะผิดไปจากใบหน้าของพระธุดงค์ด้วยความชรา แต่น้ำเสียงและแววตามิเคยเปลี่ยนไปเลย สามเณรน้องจึงเปล่งเสียงออกมาด้วยความดีใจเป็นล้นพ้นว่า
“ ท่านอาจารย์นั่นเอง ที่ใต้ต้นตะแบก จริง ๆ ด้วยขอรับ เป็นท่านอาจารย์จริง ๆ ”
เมื่อหลวงปู่ได้พบกับพระธุดงค์ที่มาปักกลดใต้ต้นตะแบกท้ายหมู่บ้านอีกครั้งตามพยากรณ์แล้ว หลวงปู่เกิดความปีติและยอมรับว่า พระธุดงค์ที่พบตอนอายุ ๗ ขวบนั้น ช่างเป็นพระผู้พยากรณ์เหตุการณ์ได้แม่นยำ ก้มลงกราบอีกครั้ง ท่านพระวิปัสสนาจารย์จึงกล่าวว่า
“ เราชื่อ สีทัตต์ เณรมีนามใดกัน มาจากที่ใด ต้องการอะไรจากเราก็ขอให้บอกมาเถิด ”
หลวงปู่สุภา ได้กล่าวตอบด้วยความปีติเป็นล้นพ้นว่า
“ กระผมดั้นด้นมานมัสการพระคุณอาจารย์ก็ด้วยความปรารถนาจะได้รับการอบรมด้านวิปัสสนากรรมฐานจากพระคุณอาจารย์ตามแบบที่พระคุณอาจารย์ได้รับการถ่ายทอดมา กระผมเรียนมูลกัจจายน์ห้าเล่มสำเร็จแล้วครับ ”
“ เณรน้อยเรียนมูลกัจจายน์มาแล้ว ใยไม่เรียนปริยัติธรรมต่อไป ไม่รู้หรือว่า การเรียนพระปริยัติธรรมนั้น เจริญได้ทั้งทางโลกและทางธรรม คือ เป็นมหาเปรียญ นักเทศน์ เป็นครูสอนพระปริยัติ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ก้าวหน้าในตำแหน่งการปกครอง ส่วนประโยชน์ทางโลกคือ เมื่อสึกออกไปแล้ว เทียบวุฒิการทำงาน หรือรับราชการได้ตำแหน่งดี เณรน้อยเอาดีทางธรรม ทางปฏิบัติอย่างเดียวไม่เสียดายเวลาที่หมดไปหรือ ถ้าสึกออกไปเป็นฆราวาส ก็ไม่ต้องมาอยู่ในกฎระเบียบ ๒๒๗ ข้อนี้อีกต่อไป คิดให้ดีนะเณร ”
พระอาจารย์สีทัตต์หยั่งเชิงสามเณรน้อยเพื่อค้นหาความตั้งใจ ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แล้วว่าดูคนไม่ผิด แต่สามเณรน้อยตอบชัดถ้อยชัดคำว่า
“ กระผมต้องการเพียงทางเดียว คือปฏิบัติทางจิต หรือ วิปัสสนากรรมฐาน เพื่อให้ชีวิตในร่มกาสาวพัสตร์มีความหมายมากขึ้น หากกระผมต้องการเป็นมหาเปรียญละก็ ไม่ลงทุนมาเสาะแสวงหาพระคุณอาจารย์ถึงท่าอุเทนนี่หรอกขอรับ ขออย่างเดียว รับกระผมเป็นศิษย์ กระผมจะอยู่ในโอวาทของพระคุณอาจารย์ทุกประการ ”
พระอาจารย์สีทัตต์ทดสอบความอดทนของสมาเณร ตั้งแต่การขบฉัน การทำงานหนักในการก่อสร้างพระธาตุท่าอุเทน และการทดสอบด้านจิตใจ จนแน่ใจว่า จะทนรับการสอนที่หนักหนาสาหัสในการที่จะเรียนวิปัสสนากรรมาน จึงอบรมกรรมฐานให้แก่สามเณรสุภา เริ่มโดยการกำหนดลมหายใจเข้าออก ภาวนาว่า “ พุทโธ ” ตั้งแต่แรก จนไม่ต้องภาวนา จากสมาธิเพียงชั่วแล่น ก็ค่อย ๆ กลายเป็นสมาธิที่ยาวนานและสามารถดำรงสติได้อย่างมั่นคง จึงให้ขึ้นธุดงควัตร ๑๓ ประการจนคล่อง จึงบอกกับสามเณรสุภาว่า
“ ต่อจากนี้ไป เป็นการปฏิบัติจริงในป่าเขาลำเนาไพร อันอุดมไปด้วยสิงสาราสัตว์และภูตพรายทั้งปวง อมนุษย์และพวกหมอผี นักล่าชีวิตมนุษย์ด้วยคุณไสย มนต์ดำ สิ่งที่เรากล่าวมา อบรมมา พึงนำมาใช้ให้ยิ่งยวด เพราะเธอจะต้องพึ่งตนเองมากกว่าพึ่งเราในการเดินทาง ”
ข้ามโขงจากนครพนม ไปสู่พระราชอาณาจักรลาว ผ่านป่าเขาลำเนาไพร ผจญความยากลำบากมากมาย ทั้งสัตว์ร้าย งูพิษ ต้นไม้พิษ ตลอดจนหมอผีและภูตไพรต่าง ๆ หลายหนที่ต้องฉันใบไม้อ่อน เพราะไม่มีสัปปายะจะให้บิณฑบาต แต่ก็ผ่านมาได้ จนพระอาจารย์สีทัตต์ยอมรับในความอดทนของสามเณรน้อยสุภา
ถึงจุดที่พระอาจารย์สีทัตต์พามาฝึก คือ “ ถ้ำภูควาย ” อันเป็นถ้ำเร้นลับ อยู่บนภูเขาที่มีลักษณะปลายยอดสองข้างโค้งเข้าหากัน มองคล้ายกับเขาควาย มีพระภิกษุมาจากสถานที่ต่าง ๆ มาชุมนุมกันเล่าเรียนวิปัสสนากรรมฐานกับพระอาจารย์สีทัตต์หลายรูป

6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-9 21:52 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เข้าสู่การเป็นพระภิกษุ



ในปีพุทธศักราช ๒๔๕๙ สามเณรสุภามีอายุครบอุปสมบท พระอาจารย์สีทัตต์ขึงได้จัดเตรียมหารเครื่องบริขารจนครบ และนำสามเณรสุภาข้ามไปยังฝั่งลาว รอนแรมไปจนถึงภูความ ซึ่งพระอาจารย์สีทัตต์ได้อธิษฐานเป็นวิสุงคามสีมา พร้อมด้วยพระวิปัสสนาจารย์ ทำการอุปสมบทสามเณรสุภาในถ้ำนั้น โดยมีพระอาจารย์สีทัตต์เป็นพระอุปัชฌาย์ และมีพระวิปัสสนาจารย์ร่วมเป็นพระกรรมวาจาจารย์และพระอนุสาวนาจารย์ ศิษย์ในพระวิปัสสนาจารย์ติดตามมาเป็นพระอันดับ ได้รับฉายาว่า “ กันตสีโล ” นับแต่นั้นมา
พระอาจารย์สีทัตต์ได้ขอให้พระวิปัสสนาจารย์ที่มาร่วมปฏิบัติสั่งสอนข้อวัตรปฏิบัติทั้งในทางธุดงค์ ไปจนถึงคาถาอาคมป้องกันตัวจากสัตว์ร้าย อสรพิษ ภูตไพรทั้งปวง และเดินทางกลับท่าอุเทนเพื่อเข้าพรรษากาลเป็นปีแรกแห่งการเป็นสมมติสงฆ์ การออกเดินธุดงค์ภายใต้การดูแลของพระอาจารย์สีทัตต์ จึงทำให้ หลวงปู่สุภา มีความก้าวหน้าในการกำหนดอารมณ์และสติในการเผชิญภัยต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
ในการเดินธุดงค์ผจญความยากลำบาก หลวงปู่สุภา ทำได้เป็นอย่างดี พระอาจารย์สีทัตต์ผู้เป็นอาจารย์รู้สึกนิยมในความก้าวหน้าของศิษย์เอกผู้นี้เป็นอย่างมาก สี่พรรษาเต็มแห่งการออกธุดงค์ เมื่อจำพรรษา พระอาจารย์สีทัตต์ให้เล่าเรียนพระปริยัติธรรมด้วยคัมภีร์ปริยัติห้าหมวด ปละเร่งทดสอบอารมณ์กรรมฐานอย่างละเอียด พอขึ้นพรรษาที่ห้า พระอาจารย์สีทัตต์จึงบอกกับ หลวงปู่สุภา ว่า
“ สมควรแก่เวลาที่เณรน้อยจะต้องออกธุดงค์ด้วยตนเองแล้ว แต่สำหรับก้าวแรกในการธุดงค์ลำพังนี้ เราจะให้พระสองรูป เณรหนึ่งรูป ธุดงค์ไปกับเณรน้อย เณรน้อยจงคุ้มครองป้องกันภัยให้เขา คอยอบรมให้อยู่ในธุดงควัตร เหมือนที่เราเคยได้ทำกับเณรน้อยเมื่อสี่ปีมาแล้ว ”
หลวงปู่สุภา ได้ทำหน้าที่ควบคุมพระและเณร ธุดงค์ไปจนถึงภูควายและกลับมาท่าอุเทนอย่างปลอดภัย เป็นการสอบผ่านธุดงควัตรอย่างแท้จริง หลวงปู่สุภา เล่าต่อไปว่า
“ พระอาจารย์สีทัตต์มิได้เป็นพระวิปัสสนาจารย์อย่างเดียว แต่ท่านมีวิชาอาคมหลายแขนง สามารถถอดกายทิพย์ท่องไปในภูมิต่าง ๆ ได้ ซึ่งภาษานกและภาษาสัตว์ในป่า ท่านก็ฟังออก และเคยแสดงให้ หลวงปู่สุภา ดู และยังได้สอนให้ทำจนถึงแก่นอีกด้วย เรียกว่าสอนแบบไม่ปิดบัง แต่สำหรับภาษาสัตว์ ท่านไม่ขอเรียน ”

7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-9 21:53 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
คำสั่งพระอาจารย์สีทัตต์

พุทธศักราช ๒๔๖๓ หลวงปู่สุภา ได้ตัดสินใจธุดงค์เดี่ยว จึงมากราบลาพระอาจารย์สีทัตต์เพื่อออกธุดงค์ พระอาจารย์สีทัตต์ได้สั่งสอนว่า

“ ไปให้ดีเถอะเณรน้อย เดินให้สม่ำเสมอ จิตรู้อารมณ์ อย่าเร็วนัก อย่าช้านัก ให้อยู่ในกลาง ๆ โบราณาจารย์ได้สั่งสอนศิษย์เป็นคติสอนใจว่า อยากถึงเร็วให้คลาน อยากถึงนานให้วิ่ง รู้ไหม หมายความ

เมื่อ หลวงปู่สุภา พร้อมที่จะเดินทาง พระอาจารย์สีทัตต์ได้กล่าวคล้ายคำสั่งเสียด้วยความห่วงใยว่าว่าอย่างไร อยากถึงเร็วให้คลาน คือไปแบบไม่รีบร้อนด่วนได้ จะถึงจุดหมายแบบปลอดภัย ให้ลุกลี้ลุกลนเกินไป ก็จะเหมือนคนวิ่งไปด้วยความคะนอง สะดุดล้ม แข้งขาหัก เดินไปไหนมาไหนไม่ได้ ต้องช้าไปอีกนานทีเดียว ”
“ เณรน้อยจงไปภูเขาควาย ออกจากภูควายแล้ว ให้ไปท่าเดื่อ จากท่าเดื่อไปหนองคาย ที่นั่นเธอจงสละธุดงควัตร แล้วเร่งเดินทางไปทางเหนือ ที่นั่นเธอจะได้พบพระอาจารย์องค์หนึ่ง มีความเชี่ยวชาญด้านกสิณและวิชชาแปดประการ มีอภิญญาสูงมาก เธอจะได้รับความรู้จากท่านเป็นอันมาก ที่ต้องให้สละธุดงควัตร เพราะท่านเหลือเวลาไม่มากแล้วในการสั่งสอนเณรน้อย หากเดินธุดงค์แบบธรรมดาน่าจะสายเกินไป ”
จากภูควาย หลวงปู่สุภา ข้ามมาท่าเดื่อ แล้วอธิษฐานจิตออกจากธุดงควัตรที่ตัวจังหวัดหนองคาย ฝากบริขารธุดงค์ไว้กับพระที่คุ้นเคยในระหว่างธุดงค์ภูควาย และจับรถไฟเข้ามากรุงเทพฯ อันเป็นจุดเริ่มต้นของการไปสู่ภาคเหนือเพื่อแสวงหาพระอาจารย์ตามคำสั่งของพระอาจารย์สีทัตต์ เหมือนโชคชะตาเป็นใจให้ หลวงปู่สุภา เพราะในขณะที่อยู่ที่กรุงเทพฯ ท่านก็ได้ข่าวพระอาจารย์รูปหนึ่งที่แถววังนางเลิ้ง เขาบอกกันว่า
ท่านพระครูวิมลคุณากร หรือหลวงปู่ศุข เกสโร แห่งวัดอู่ทอง ปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท ซึ่งเสด็จในกรมฯ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงเลื่อมใส ถวายตัวเป็นศิษย์ถึงที่วัดทีเดียว ”
หลวงปู่สุภา จึงเดินทางไปวัดอู่ทอง ปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท ด้วยการเดินทางสมัยนั้นยังลำบากและเหน็ดเหนื่อย แต่พอเดินทางมาถึงวัดอู่ทอง เมื่อพอเข้าเขตวัด หลวงปู่รู้สึกว่าเยือกเย็นและมีอะไรบางอย่างที่บอกว่า ที่นี่แหละคือที่ ๆ พระอาจารย์สีทัตต์กำหนดให้มา

8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-9 21:54 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เบื้องหน้าผู้สำเร็จวิชชาแปดประการ



เมื่อ หลวงปู่สุภา เดินทางมาถึงวัดอู่ทอง จึงเดินทางไปกุฏิ พอเห็นกุฏิหลวงปู่ศุข ก็จะขึ้นไปนมัสการ ขณะล้างเท้า เสียงของหลวงปู่ศุขก็ดังมาจากชั้นบนของกุฏิ
“ มาถึงแล้วหรือพ่อเณรน้อย กำลังรออยู่พอดี ล้างเท้าแล้วขึ้นมาเห็นหน้าเห็นตากันหน่อย ”
มีแต่เสียงทักทาย แต่ไม่ปรากฏหลวงปู่ศุขที่นอกชาน เมื่อมองขึ้นไปไม่เห็นใคร จึงได้คิดในใจว่า ... นี่คือพลังปราณของผู้ที่สำเร็จ สามารถออกเสียงให้ดัง ค่อย หรือไกล ใกล้แค่ไหนก็ได้ ขึ้นไปชั้นบนของกุฏิแล้ว ก็เห็นพระภิกษุรูปร่างสันทัด ผอมเกร็ง แต่ผิวพรรณวรรณะผุดผ่อง คล้ายกับทาด้วยขมิ้น ทว่า เมื่อคลานเข้าไปกราบต่อหน้าท่านและลุกขึ้นนั่งพนมมือ ได้สังเกตใกล้ ๆ พบว่า ไม่ใช่ขมิ้น แต่เป็นแสงอะไรบางอย่างที่เรื่อเรืองอยู่บนผิวพรรณของหลวงปู่ศุข ที่ทำให้เกิดความสง่าคล้ายทาขมิ้น หลวงปู่ศุขได้มองมาที่หลวงปู่สุภา และเอ่ยขึ้นว่า
“ นี่เอง เณรที่ท่านสีทัตต์ได้บอกไว้ในฌาน เป็นคุณนี่เอง เณรน้อยต้องการอะไร จะเรียนอะไรก็บอกมาได้ไม่ขัดข้อง ท่านสีทัตต์ฝากมาแล้วนี่ ”
คำว่า “ ฌาน ” คำว่า “ ฝากมาแล้วนี่ ” ทำให้ หลวงปู่สุภา ประจักษ์ว่า อภิญญาจิต การถอดกายทิพย์ การใช้โทรจิต มีจริง ก่อนที่ท่านจะมานมัสการหลวงปู่ศุข ทางพระอาจารย์สีทัตต์ได้ถอดกายทิพย์มาฝากฝัง หลวงปู่สุภา กับหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ไว้เรียบร้อยแล้วนั่นเอง หลวงปู่สุภา จึงไม่กล้าที่จะเอ่ยว่า จะมาเรียนอะไร นอกจากจะกล่าว
“ กระผมขอให้เป็นเรื่องที่ท่านอาจารย์จะเมตตาอบรมสั่งสอนก็แล้วกันขอรับ เห็นว่าอะไรเหมาะ อะไรควร ก็สั่งสอนให้กระผมก็แล้วกัน ”
เมื่อหลวงปู่ศุขได้ยินดังนั้น ก็หัวเราะ หึ หึ ด้วยความพอใจ แล้วกล่าวกับ หลวงปู่สุภา ว่า
“ สมแล้วที่เป็นศิษย์ท่านสีทัตต์ มีความสงบเสงี่ยมเจียมตัวใช้ได้ หลายรูป มาถึงไม่ดูวาสนาบารมีตนเองว่าจะสามารถรองรับได้หรือไม่ จะเรียนโน่น จะเรียนนี่ สุดท้ายก็กลับไปมือเปล่า เพราะขาดวาสนาบารมี เพราะเมื่อขาดวาสนาบารมีและการเจียมตัวแล้ว อะไรก็ไม่สำเร็จ เอาละ ไปพักผ่อนก่อน ถึงเวลา จะเรียกมาสอบฐานความรู้และประสิทธิประสาทวิชาต่อไป ”
เมื่อถึงเวลา หลวงปู่ศุขก็ได้สอบอารมณ์กรรมฐานและดูพื้นฐานการศึกษาวิชาอาคมของท่าน ที่ร่ำเรียนมาจากพระอาจารย์สีทัตต์ เมื่อทดสอบแล้วเห็นว่าบกพร่องตรงไหน ก็ช่วยแก้ไขให้ถูกต้อง ปรับระดับการเข้าฌาน การทำกสิณและการเพ่งด้วยกสิณเป็นประการต่าง ๆ หลวงปู่ศุขสอนว่า
“ มีวิชาหลายอย่างที่ปู่สำเร็จ แต่บารมีเณรน้อยนั้นเรียนไม่ได้ โดยเฉพาะวิชชาแปดประการที่เณรน้อยต้องการจะเรียน วาสนาบารมีของเณรน้อยไปไม่ได้ จะให้วิชาสำคัญ คือ การลงนะหน้าทอง และการเสกให้ทองเข้าไปแทรกในอณูภายในร่างกาย เขาเรียกว่า เป่าทองเข้าตัว ”

9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-9 21:55 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
วิชาเป่าทองเข้าตัว / อภิญญจิตตัวสำคัญ

หลวงปู่ศุขได้เมตตาอธิบายให้เข้าใจถึงหลักของการเป่าทองเข้าตัวอย่างละเอียด ซึ่ง หลวงปู่สุภา ได้บันทึกไว้ว่า
“ วิชาเป่าทองเข้าตัว มิใช่เพื่อมหานิยม แต่ยังสามารถป้องกันอันตรายต่าง ๆ ทั้งจกคมหอก คมดาบ ปละปืนไฟ ไปจนถึงมีมหาอำนาจแล้วแต่จะประสิทธิ์ประสาทในด้านใด ต้องพิจารณาบุคคลแต่ละบุคคลที่จะลงแผ่นทองหรือเป่าทองให้ ว่าเป็นอย่างไร บารมีพอที่จะรับทองได้กี่แผ่น แต่ละคนล้วนมีข้อปลีกย่อยผิดแผกออกไปแล้วแต่กรณีต้องดูว่าจะลงให้ทางไหน ตามที่กำหนดไว้ในตำรับของครูบาอาจารย์เท่านั้น จะนอกเหนือหรือขาดตกบกพร่องไม่ได้เลยแม้แต่นิดเดียว การที่ทองจะแทรกเข้าไปในสู่ทุกอณูไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ แต่ต้องมีหัวใจสองอย่างคือ น้ำมันว่าน และเกสร ๑๐๘ ชนิด เคี่ยว ผสมด้วยพระเวทย์อาคมที่ต้องแก่กล้าด้วยพลังอภิญญาเท่านั้น หากทำไม่ถูกต้อง จะไม่สามารถเปิดรูขุมขนของผู้ที่จะเป่าทองเข้าตัวได้ การเป่าก็จะไม่ได้ผลทั้งสิ้น ไม่เกิดพลังใด ๆ เป็นสูญเท่านั้น การจุดเหล็กจาร ที่จุ่มน้ำมันว่านและเกสร ๑๐๘ ชนิด และการเป่าภาวนาเพื่อดันทองเข้าสู่ร่างกายของผู้ที่จะลง และให้กำหนดให้ผู้รับการลง หรือเป่าทอง กำหนดจิตอธิษฐานเอาเอง การเรียนการสอนทำได้เฉพาะตอนกลางคืนที่เป็นเวลาสงัด เพราะตอนกลางวันไม่สามารถจะเรียนได้ ด้วยมีคนมานมัสการหลวงปู่ศุข ขอโน่นขอนี่ จนท่านไม่มีเวลาจำวัด เรียกว่า หัวบันไดไม่แห้ง แต่หลวงปู่ศุขก็ไม่เคยท้อถอย หรือแสดงอาการไม่พอใจแต่อย่างใด"

10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-9 21:56 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หมากหินยอดของขลัง

หลวงปู่สุภา มีหน้าที่คอยอุปัฏฐากหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่าด้วยการตำหมากถวาย ที่หลวงปู่ศุขเคี้ยวหมากติดต่อกัน ไม่ใช่ว่าท่านเคี้ยวหมากจนติด แต่ที่ท่านต้องเคี้ยวติดต่อกัน ก็เพราะ ญาติโยมที่มานั้น จะจ้องขอชานหมากของหลวงปู่ศุขที่เคี้ยวแล้ว เพื่อติดตัว นำไปป้องกันอันตราย เมื่อหลวงปู่ศุขพูดคุยกับญาติโยมไป ท่านก็เคี้ยวหมากไปเรื่อย ๆ พอเขาจะลากลับ ก็จะขอชานหมากของท่าน ท่านก็จะคายชานหมากออกมาที่ฝ่ามือ จัดให้เป็นก้อนกลม ๆ ด้วยการปั้น ชานหมากที่ปั้นแล้วท่านจะเอามาไว้ในฝ่ามือที่พนม หลับตาภาวนาคาถาของท่านครู่ใหญ่ จึงเป่าลมปราณลงไปในฝ่ามือที่แบออกดัง “ เพี้ยง ” จากนั้นก็ยื่นให้กับญาติโยมที่ขอคนละเม็ด ตอนแรก หลวงปู่สุภา ก็คิดว่าเป็นชานหมากเสกธรรมดา แต่มีหลายคนที่รับมาแล้ว ไม่ได้ระวัง เลยหลุดจากมือ ตกลงกระทบพื้นเสียงดัง “ แป๊ก ” คล้ายกับลูกหิน หรือลูกกระสุนยิงนกที่ปั้นด้วยดินเหนียวตากแห้งตกกระทบพื้น ก็ชานหมากธรรมดาน่ะ นุ่ม แม้ตากแห้งก็ร่วนกรอบ แต่นี่หลวงปู่ศุขเสกแล้วหล่นลงพื้นดัง แป๊ก จึงรู้สึกแปลกใจ เมื่อมีเวลา เลยแอบขอญาติโยมดูด้วย แล้วพิจารณาหลวงปู่สุภา ท่านบอกว่า
“ ลูกอมชานหมากที่หลวงปู่ศุขปั้นแล้วเสกเพี้ยง แทนที่จะมีสภาพเป็นชานหมากนุ่ม ๆ กลับเปลี่ยนสภาพเป็นชานหมากที่แข็งมาก บีบดูเหมือนบีบลูกหิน หากไม่ได้ลูบ ก็ต้องบอกว่าเป็นไปไม่ได้ แต่มันเป็นไปแล้ว หลวงปู่ศุขเปลี่ยนสภาพจากชานหมากนุ่ม ๆ ให้เป็นชานหมากหินไปได้ในเวลาเพียงหนึ่งอึดใจเท่านั้น ”
เมื่ออยู่กันสองต่อสอง เวลาเรียน หลวงปู่ศุขก็พูดกับ หลวงปู่สุภา ว่า เณรน้อยสนใจไม่ใช่หรือ หมากหินน่ะ เห็นไปแอบขอญาติโยมดู พลังจิตของเณรสามารถทำได้นะ แต่ต้องได้รับคำแนะนำอีกเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ทำได้แล้ว หลักไม่มีอะไรมากหรอก เป็นการใช้อำนาจปฐวีกสิณ เปลี่ยนชานหมากที่เป็นของเหลว หยุ่น ธาตุน้ำ ให้แข็งเป็นหิน เป็นดิน เขาเรียกว่า “ เคลื่อนย้ายถ่ายเปลี่ยนธาตุ ” โดย หลวงปู่สุภา ก็ได้รับการถ่ายทอดจากหลวงปู่ศุขจนสามารถเสกชานหมากได้ในที่สุด โดยการเจริญสมาธิ เข้าฌานและเข้ากสิณ จนถึงการภาวนา และเปลี่ยนจนชานหมากแปรสภาพไปในที่สุด จนเสกให้หยุ่นเหมือนกับลูกยางก่อน แล้วจึงเร่งพลังขึ้นไปจนถึงที่สุด หลวงปู่สุภา เล่าตอนนี้ว่า
“ เสกได้จริง แต่ไม่เหมือนกับหลวงปู่เสก คือของหลวงปู่ศุขเป็นหินจริง ๆ แต่ของท่านเสกให้แข็งได้แต่ภายนอก แต่ภายในยังไม่แข็ง เรียกว่า บีบแรง ๆ กระแทก ๆ ก็จะแตกเห็นเป็นชานหมากธรรมดาที่แห้ง ไม่แข็งเป็นหินทั้งหมด ด้วยบารมีท่านไม่อาจสู้หลวงปู่ศุขได้ เหมือนคำโบราณ ‘ ศิษย์ไม่อาจคิดสู้ครูได้ ' “
หลวงปู่สุภา ทำหน้าที่คอยอุปัฏฐากหลวงปู่ศุขจนได้เวลาอันสมควร หลวงปู่ศุขจึงได้เรียกให้ หลวงปู่สุภา มาพบ และได้บอกว่า เณรน้อยได้เรียนมาพอสมควรแล้ว วิชาที่เรียนไปก็พอจะช่วยเหลือคนได้ เณรน้อยทิ้งธุดงควัตรมานานแล้ว เณรเหมาะกับธุดงค์ เณรชอบของเณรอย่างนั้น ปู่เองก็เคยเป็นนักธุดงค์ แต่เมื่อโยมแม่ขอให้อยู่ใกล้ชิด ก็เลยแขวนกลดแต่นั้นมา เณรน้อยเตรียมตัวให้พร้อม ปู่จะสอนวิชาที่ไม่เคยมีผู้ใดได้เล่าเรียนมาก่อน และวาสนาบารมีของเณรน้อยเรียนวิชานี้ได้

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้