ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนาน เรื่องเล่า เกร็ดความรู้ เรื่องลี้ลับ
»
18 ปี ชีวิตจั๊กจั่น กับการได้ขับขานเสียงเพลงแห่งป่า "เพียง 4 เดือน"
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 869
ตอบกลับ: 0
18 ปี ชีวิตจั๊กจั่น กับการได้ขับขานเสียงเพลงแห่งป่า "เพียง 4 เดือน"
[คัดลอกลิงก์]
รามเทพ
รามเทพ
ออฟไลน์
เครดิต
8083
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2023-4-5 16:34
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
18 ปี ชีวิตจั๊กจั่น กับการได้ขับขานเสียงเพลงแห่งป่า "เพียง 4 เดือน"
ทุกคนคงเคยได้ยินเสียงร้องของจั๊กจั่น
โดยเฉพาะเวลาที่เราไปพักผ่อนต่างจังหวัดที่มีพื้นที่เป็นป่าสักหน่อย ความเงียบของสถานที่มักจะถูกขัดจังหวะด้วยเสียงร้องดังไปทั่วบริเวณ แต่แทนที่เราจะรู้สึกรำคาญ กลับเป็นเสียงที่ฟังแล้วรู้สึกผ่อนคลาย จั๊กจั่นมีอายุถึง 18 ปี แต่มันจะโผล่ออกมาขับขานเสียงเพลง แค่ช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น มาติดตามเรื่องราวของนักร้องแห่งผืนป่ากันดีกว่าครับ
จั๊กจั่น เป็นแมลงดึกดำบรรพ์ที่กำเนิดขึ้นมาในโลกนี้เมื่อราว 200 ล้านปีก่อน เก่ากว่ายุคยุลาสสิคอีกนะครับ ปัจจุบันโลกเรามีจั๊กจั่นอยู่กว่า 2,500 สายพันธุ์ด้วยกันครับ
ตามปกติเราจะพบเห็นจั๊กจั่นได้ง่ายและชุกชุมในช่วงฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงมิถุนายนของทุกๆ ปี ซึ่งเป็นช่วงที่จั๊กจั่นตัวโตเต็มวัย เริ่มเข้าสู่การผสมพันธุ์ ส่วนในฤดูอื่นๆ นั้น จะพบเห็นได้น้อยมาก โดยเราจะพบเห็นมันเกาะอยู่ตามต้นไม้ต่างๆ และต้นไม้ที่มันชอบมากเป็นพิเศษ ก็คือ “ต้นฉำฉา” หรือ “ต้นจามจุรี” นั่นเองครับ
แม้ว่าจั๊กจั่นจะเป็นแมลงตัวเล็กๆ ก็จริง หากแต่เวลามันขยับปีกทำเสียงแล้ว จะดังมาก โดยจั๊กจั่นตัวใหญ่และโตเต็มวัยจะสามารถทำเสียงดังได้ถึง 200 เดซิเบล เลยทีเดียว
เสียงที่เราได้ยินนั้นเป็นเสียงของจั๊กจั่นตัวผู้นะครับ ส่วนตัวเมียนั้นไม่สามารถทำเสียงได้ และเสียงที่เราได้ยินก็ไม่ใช่เสียงที่ร้องออกมาจากปากของมันแต่อย่างใด หากแต่เป็นเสียงที่เกิดจากการขยับปีกทำเสียงของมันนั่นเอง แหล่งกำเนิดเสียงอยู่ที่บริเวณใต้ลำตัวของท้องปล้องแรกต่อกับส่วนอก โดยมีเหตุผลในการทำเสียงหลายอย่างด้วยกัน เช่น เตือนภัย เรียกร้องความสนใจจากสาวๆ คนสมัยก่อนเมื่อจั๊กจั่นเริ่มส่งเสียง ก็เป็นสัญญาณให้รู้ว่า ฤดูร้อนเริ่มขึ้นแล้วครับ
จั๊กจั่น เป็นแมลงที่มีช่วงอายุยาวนานถึง 18 ปี เลยทีเดียว หลังจากจั๊กจั่นทำการผสมพันธุ์กันเรียบร้อยแล้ว จั๊กจั่นตัวเมียก็จะไปวางไข่ไว้ตามใต้เปลือกไม้ต่างๆ เมื่อวางไข่เสร็จแล้วตัวเมียจะหมดอายุไขและตายลงไป ซึ่งช่วงที่เป็นไข่นี้จะอยู่ประมาณ 4 เดือน จากนั้นไข่ก็จะกลายสภาพเป็นตัวอ่อน (คล้ายๆ หนอน) และตกลงไปฝังตัวอยู่ในดินและใช้ชีวิตอยู่ใต้ดินเป็นเวลาประมาณ 17 ปี ด้วยกัน โดยจะดูดกินน้ำเลี้ยงหรืออาหารจากรากของต้นไม้ ซึ่งบางตัวจะอยู่ลึกลงไปในดินมากกว่า 1 เมตรเลยก็มี
หลังจากใช้ชีวิตอยู่ใต้ดินครบ 17 ปีแล้ว ตัวอ่อนหรือ "ดักแด้" ของจั๊กจั่นก็จะคลานต้วมเตี้ยมๆ ขึ้นมาเหนือพื้นดินและไต่ขึ้นไปเกาะอยู่ตามต้นไม้ต่างๆ และลอกคราบกลายเป็นจั๊กจั่นอย่างสมบูรณ์แบบต่อไป โดยจะเกาะอยู่ตามต้นไม้ และกินน้ำเลี้ยงของต้นไม้เป็นอาหาร ซึ่งช่วงที่โดยเต็มวัยนี้จะมีระยะเวลาประมาณ 4 เดือนด้วยกัน ช่วงนี้แหละครับที่เราจะได้ยินเสียงร้องของจั๊กจั่นดังระงมไปทั่ว
จากนั้น วงจรชีวิตมันก็เริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง มันเริ่มมีการผสมพันธุ์ วางไข่ หลบไปอยู่ใต้ดิน และขึ้นมาลอกคราบ เป็นวัฏจักรหมุนเวียนอยู่อย่างนี้
18 ปี ของชีวิตจั๊กจั่นที่ยาวนาน แต่เพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้นเองที่มันได้ขับขานเพลงกล่อมป่าให้พวกเราได้ฟัง อีกทั้งมันยังมาส่งเสียงร้องให้เราได้รู้ว่า ฤดูร้อนได้มาเยือนแล้ว
เรียบเรียงโดย พรชัยสังเวียนวงศ์
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...