ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนาน เรื่องเล่า เกร็ดความรู้ เรื่องลี้ลับ
»
ตำนานผีล้านนาตอนผีครู
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 3704
ตอบกลับ: 2
ตำนานผีล้านนาตอนผีครู
[คัดลอกลิงก์]
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2013-9-6 09:08
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
ตำนานผีล้านนาตอนผีครู
ลูกศิษย์ที่เรียนศิลปะวิทยาจากครูต้องมีผีครูเพื่อรักษาและให้ความมั่นใจ
ทุกคนที่เกิดมาต้องมีครูเริ่มแต่ในครอบครัวมีพ่อแม่ ญาติพี่น้องเป็นครูเรามาตั้งแต่เรายังเล็กแต่ผีครูที่จะเล่านี้เป็นผีครูที่สั่งสอนศิลปะวิชาการแก่ลูกศิษย์โดยเฉพาะวิชาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน วิชาที่ต้องใช้ทำมาหาเลี้ยงชีพ เช่นว่า ศิลปะการขับซอ การป้องกันตัว การทำให้ผู้อื่นเคารพนับถือ เป็นต้น
ผู้คนสมัยก่อนจะแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ไปหาวิชาที่ตนเองต้องการ บางคนไปเรียนเป็นช่างซอ(ศิลปินซอพื้นบ้านล้านนา) บางคนชอบการต่อสู้ก็ไปเรียนศิลปะการรำเจิง(เชิงการต่อสู้) ทั้งเจิงดาบ เจิงมวย เจิงฆ้อนสองหัว เจิงมือเปล่า เป็นต้น บางคนไม่อยากเจ็บตัวก็ไปเรียนวิชามหาเสน่ห์(มหานิยม)ขั้นตอนการเรียนเริ่มจาก
ลูกศิษย์นำข้าวตอกดอกไม้ธูปเทียนตามจำนวนครูกำหนดไปไหว้สาครูฝากตัวเป็นลูกศิษย์ขั้นตอนนี้เรียกกันกันว่าการ
"ขึ้นครู"
คือเริ่มขึ้นต้นให้ครูได้สอนวิชาการตามที่ต้องการเมื่อเรียนไปกับครูอยู่นั้น ถึงเวลาที่ครูจะต้องเลี้ยงผีครูของตนเอง ครูจะบอกลูกศิษย์เตรียมข้าวของเครื่องสังเวยมาร่วมกับครูช่วยกันประกอบพิธีเลี้ยงครูขั้นตอนนี้เรียกกันว่า
"เลี้ยงผีครู"
ทำให้ลูกศิษย์ได้ประสบการณ์ในพิธีการเลี้ยงครูเป็นความรู้ติดตัวเมื่อตนเองจะต้องเลี้ยงผีครูในอนาคต
ในขณะที่เรียนอยู่ ลูกศิษย์อาจมีอาการป่วยไข้ หรือมีสิ่งที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นแก่ศิษย์ระหว่างเรียนเช่น ศิษย์อาจล่วงเกินครูโดยไม่ตั้งใจ โดยการเผลอ ฯลฯ. ถึงตอนนี้ลูกศิษย์ต้องทำการ
"ยื่นโยงผีครู"
โ
ดยการนำเครื่องสักการะบูชามาบอกกล่าวยื่นโยงขอโทษผีครูขอให้ผีครูยกโทษ หรือช่วยรักษาอาการป่วยไข้ให้แก่ลูกศิษย์ผู้ที่ประกอบพิธีก็คือครูผู้สอนนั่นเอง
เมื่อศิษย์เรียนจบครูผู้สอนก็จะทำการแบ่งปันเครื่องสักการะบูชาได้แก่ สวยดอกไม้ หมากพลู ธูปเทียนแล้วแต่ละครูจะกำหนด การแบ่งเครื่องสักการะนี้ถือว่าศิษย์เรียนจบแล้วครูจึงแบ่งเครื่องสักการะแก่ศิษย์นำไปตั้งขันครูของตนเองขั้นตอนนี้เรียกกันว่า
"แบ่งครู "
ลูกศิษย์จะนำเครื่องสักการะที่แบ่งมาจัดตั้งขัน(พาน)ครูของตนเอง ใส่ไว้บนหิ้งผีครูบนบ้านทำการบูชา เปลี่ยนเครื่องสังเวยตามที่ครูผู้สอนกำหนด อย่างเช่นของลุงหนานพรหมมาต้องทำการบูชาครูเมื่อวันพญาวัน(วันเถลิงศก)ของปี๋ใหม่เมือง (สงกรานต์) วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษาทุกปี สรุปแล้วลุงหนานต้องทำการบูชาครูปีละสามครั้ง อย่างนี้เป็นต้น เมื่อทำการแบ่งปันครูนั้นก่อนที่จะออกจากบ้านครูผู้สอนท่านจะกำหนดให้ก๋ำ(ถือปฏิบัติ)ตนให้กระทำ หรือยกเว้นการกระทำเช่นว่า วิชาข่ามคง(คงกระพัน)จะต้องไม่กินแกงฟักหม่น(ฟักเขียว) ห้ามลอดปื๊นขี้หม่า(ใต้ถุนครัวไฟ)ห้ามลอดแร้ว ห้ามลอดต้นกล้วย ห้ามกินอาหารบ้านศพ เป็นต้น หากเป็นครูศิลปินซอขับขาน รำฟ้อน บางครูห้ามผิดศีลห้า ห้ามขับซอโดยไม่มีปี่เป่าให้ทำนองห้ามสอนคนต่อไปหากยังไม่ผ่านเวลาสิบปี เป็นต้น หากเป็นครูสะหล่า(ช่าง) ห้ามให้ผู้อื่นทำพิธีขึ้นเสามงคล(เสาเอก)คือเมื่อจะสร้างบ้านตนเองนั่นแหละเป็นผู้กระทำพิธี ห้ามให้ผู้อื่นมากระทำพิธี เป็นต้น
ข้อห้ามต่างๆเหล่านี้ลูกศิษย์ต้องก๋ำ(ถือปฏิบัติ)ได้หากผิดข้อกำหนดแล้วถือว่าผิดครู เกิดอาการบ้าคลั่ง บางคนร้องจ๊อยๆ(อารมณ์เศร้า)ซอๆ(อารมณ์ดี) พูดกันง่ายๆคือเดี๋ยวร้องไห้เดี๋ยวหัวเราะอย่างนี้เห็นมาแล้วหลายๆๆๆๆๆๆราย จำเป็นต้อง ทำพิธี
"ฟายครู "
คือการนำสวยดอกไม้เครื่องสักการะมาขอขมาครู
เมื่อจะทำการใดๆเช่นการต่อสู้ การแสดงต่างๆ การออกจากบ้านไปทำงาน ค้าขายต้องทำการเชิญครูเข้ามาสู่กระหม่อมให้ความมั่นใจเรียกกันว่า
"เฮียกผีครู"
มาคุ้มครองให้งานสำเร็จ
หากปกติสุขอยู่สบายดี เมื่อถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนเครื่องบูชาครูเมื่อกระทำพิธีก็มีคำเชิญผีครูมารับเครื่องสักการะบูชาจะเชิญผีครูที่สิ้นชีพไปแล้วแต่โบร่ำโบราณโดยเฉพาะวันพญาวันปี๋ใหม่เมืองล้านนาก็จะดำหัวผีครูเรียกกันว่า
ดำหัวผีครู
ในพิธีนี้อาจมีการทบทวนวิชาการต่อสู้ ทดลองพระคาถาข่ามคงกระพันเช่น การ เป่าเสกมีดฟัน แทง เป็นต้น
การดำหัวผีครูกับดำหัวครูคนละอย่างกัน การดำหัวครูหมายถึงการนำเครื่องสักการะดำหัวไปดำหัวครูที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่ดำหัวผีครูคือพิธีการสักการะผีครูที่สิ้นชีพไปดังกล่าวแล้วพิธีการดำหัวคนล้านนาจะมอบขันน้ำให้ครูเอามือชุบน้ำขมิ้นส้มป่อยแล้วลูบหัวตนเอง ไม่นิยมรดมือครูถือว่า
รดน้ำศพ
ในล้านนาจึงมีแต่คำว่า
"ดำหัว"
ไม่มีคำว่า
รดน้ำ
ดำหัวเหมือนภาคกลางเรื่องผีครูคนล้านนาก็ขอจบลงเพียงเท่านี้ เต้าอี้แล ลุงหนานขอลาไปก่อนแล
บันทึกนี้เขียนที่
GotoKnow
โดย
NIKHOM
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
sriyan3
sriyan3
ออฟไลน์
เครดิต
2969
2
#
โพสต์ 2013-9-6 10:12
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ขอบคุณครับ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
matmee2550
matmee2550
ออฟไลน์
เครดิต
2489
3
#
โพสต์ 2013-9-6 12:04
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เยี่ยม
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...