ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1760
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

เรื่องเล่าเกี่ยวกับดงพญาไฟ ดงพญาเย็น

[คัดลอกลิงก์]
เรื่องเล่าเกี่ยวกับดงพญาไฟ ดงพญาเย็น


       ป่าดงดิบอันกว้างใหญ่ไพศาลคั่นกลางระหว่างที่ราบลุ่มภาคกลางกับที่ราบสูงภาคอีสาน นั่นคือ  เทือกเขาพนมดงรัก    ดงพญาเย็น หรือในอดีตเรียกกันว่า ดงพญาไฟ เป็นชื่อภูเขาที่มีป่าดงใหญ่เต็มไปด้วยสัตว์ร้ายนานาชนิดชุกชุมมาก ตลอดจนภูติผีปีศาจ และอาถรรพณ์ลึกลับ มากมาย   ผืนป่าแห่งนี้ผู้คนจึงขนามนามว่า  ดงพญาไฟ  ป่าดงใหญ่ที่ผู้ใดเข้าไปในป่าผืนนี้แล้วน้อยคนนักที่จะได้กลับออกมา  จนเป็นที่ร่ำลือเล่าขานกันมาอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย และที่น่ากลัวที่สุดก็คือ ไข้ป่า (ไข้มาลาเรีย)  ความน่ากลัวเหล่านี้เป็นที่ครั่นคร้ามหวาดกลัวของผู้คนที่จำเป็นต้องเดินทางผ่านเส้นทางนี้ ซึ่งจำเป็นต้องพักแรมถึง 2 คืนจึงจะผ่านพ้นดงพญาเย็นไปได้ ในแต่ละคืนจะต้องมีการจัดเปลี่ยนเวรยามสลับกันตลอดทั้งคืน ระหว่างที่เฝ้ายามก็จะต้องดูกองไฟ คอยเติมฟืนอยู่ไม่ขาด ให้ไฟลุกโชนอยู่เสมอ แต่ถ้าเมื่อใดหลับยามกองไฟดับมอด เสือโคร่งและสัตว์ป่าหิวกระหายก็จะออกมาลากเอาไปกินที่ลำห้วย
               เทือกเขาดงพญาเย็น ลักษณะจากรูปถ่ายทางอากศจากดาวเทียม มีลักษณะเหมือนรูปตัวยู ที่หันด้านฐานมาทางเมืองลพบุรี-สระบุรี เป็นเทือกเขากั้นภาคกลางและจังหวัดนครราชสีมา ประตูสู่ภาคอีสาน จะอ้อมไปทางเหนือก็เจอเทือกเขาเพชรบูรณ์ อ้อมลงมาทางใต้ก็เจอเทือกเขาสันกำแพง ดังนั้นช่วงเวลาก่อนที่จะสร้างทางรถไฟสายอีสานผ่านนครราชสีมาเมื่อปี พ.ศ. 2446 นั้น การติดต่อของผู้คนระหว่างภาคกลางที่มีความจำเป็นต้องเดินทางไปภาคอีสานนั้น ต้องผ่านดงพญาไฟสถานเดียว

               การเดินทางจากเมืองสระบุรีกับมณฑลนครราชสีมาจะต้องผ่านดงพญาไฟแห่งนี้  และจะใช้เกวียนก็ไม่ได้ ต้องอาศัยการเดินเท้าอย่างเดียว ต้องเดินตามสันเขาบ้าง ไหล่เขาบ้าง ลำธารบ้าง  คนเดินตามปกตินั้นตั้งแต่ตำบลแก่งคอย จังหวดสระบุรี ต้องค้างคืนในป่านี้ถึง 2 คืน  จึงจะผ่านดงนี้ไปได้
เขาดงพญาไฟนี้ คือเทือกเขาอันเป็นเขื่อนของแผ่นดินสูง เขาเขื่อนที่กล่าวถึงนี้เป็นเขาหินปูน ต้นไม้ขึ้นหนาแน่นเป็นดงทึบตลอดทั้งเทือกเขา มีทางข้ามได้เพียงช่องทางเล็ก ๆ ทางเดินผ่านดงพญาไฟนี้เป็นช่องทางเล็ก ๆ สำหรับเดินข้ามไปมาระหว่างสระบุรีกับมณฑลนครราชสีมา มาตั้งแต่ครั้งโบราณ โดยปากดงพญาไฟอยู่บริเวณเชิงเขา อำเภอแก่งคอย ผ่านกลางดงไปออกจากดงที่ตำบลปากช่อง เส้นทางนี้ผ่านไปได้เพียงแต่เดินเท้า จะใช้โคและเกวียนหาได้ไม่ ด้วยทางเดินต้องเลียบขึ้นไปตามไหล่เขาบ้าง เดินไต่ไปตามสันเขาบ้าง เลี้ยวลดไปตามทางเดินที่เดินได้สะดวก คนเดินโดยปกติตั้งแต่ตำบลแก่งคอย ต้องค้างคืนในดงพญาไฟ 2 คืนจึงจะพ้นดงที่ตำบลปากช่อง แล้วก็ใช้โคและล้อเกวียนเดินทางต่อไปถึงเมืองนครราชสีมาได้
            เมื่อก่อนที่จะสร้างทางรถไฟ เป็นที่ถ่ายสินค้าจากเกวียนบรรทุกโคในขาลงเขา และถ่ายสินค้าจากโคต่างบรรทุกเกวียนในขาขึ้นไปเมืองนครราชสีมา แต่ที่ตรงนี้ยังไม่พ้นดง ต่อตำบลปากช่องไปยังมีดงอีกดงหนึ่งเรียกว่า ดงพุ่มเม่น ต้องผ่านไปอีกระยะหนึ่งเป็นทาง 12 กิโลเมตร จึงจะถึงสถานีจันทึก จึงจะพ้นเขตเขาเขื่อนที่ข้ามไป..”
             และจากบันทึกของพันตรี อีริค ไซเดนฟาเดน (Major Erik Seidenfaden) นักชาติพันธุ์วิทยา ชาวเดนมาร์ก ผู้เขียนหนังสือ Guide to Bangkok, with notes on Siam และ The Thai People เล่าถึงป่าดงพญาไฟ บริเวณที่เป็นฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์กในปัจจุบันไว้ตอนหนึ่งว่า

“…เมื่อผ่านสถานีรถไฟมวกเหล็ก ซึ่งเอาชื่อมาจากชื่อภูเขาในแถบนี้ลูกหนึ่งที่มีลักษณะเหมือนหมวก เลยเรียกกันว่าหมวกเหล็ก (จนเพี้ยนมาเป็น มวกเหล็ก ในปัจจุบัน) หากท่านจงใจสังเกต ท่านจะเห็นหลุมศพของนายช่างชาวเดนมาร์ก ซึ่งเป็นไข้ป่าตายระหว่างคุมสร้างเส้นทางช่วงนี้ เขาคือ มร.เค.แอล.ราเบ็ค (K.L. Rebeck)
…การสร้างทางรถไฟในสมัยนั้น ผู้คนล้มตายด้วยไข้ป่าเป็นภูเขาเลากา แถบนี้มีเทือกเขาปกคลุมไปด้วยต้นไม่นานาชนิดชนเป็นป่าทึบหรือป่าสูงที่เรียกกันว่า ป่าพระเพลิง (ดงพญาไฟ) เป็นป่าที่เลื่องลือด้วยไข้ป่ามาแต่โบราณแล้ว..”



ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2022-9-18 09:05 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ในสมัยรัชกาลที่ 4 ชาติยุโรปกำลังแข่งขันกันล่าอาณานิคมในทวีปเอเชีย ประเทศเพื่อนบ้านรอบ ๆ สยาม ต่างเป็นประเทศราชยุโรปไปหมดสิ้นแล้ว ทรงมีพระราชปรารภว่า สยามควรมีราชธานีสำรองไว้สักแห่งหนึ่ง ทรงเลือกเมืองนครราชสีมาเป็นราชธานีสำรอง ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้พระราชอนุชา (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ) เสด็จขึ้นไปสำรวจลู่ทางหาความเป็นไปได้   เมื่อเสด็จกลับถึงพระนคร กราบทูลให้สมเด็จพระเชษฐาทรงทราบว่า ดงพญาไฟเป็นป่าดงที่เย็น ไม่ควรเรียกดงพญาไฟให้ผู้คนหวาดกลัว จึงกราบทูลให้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ดงพญาเย็น ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ผู้คนก็เรียกดงนี้เป็นดงพญาเย็นมาจนกระทั่งปัจจุบัน
         อันตรายจากสัตว์ร้ายและไข้ป่าของดงพญาไฟนั้น ปัจจุบันเหลือเพียงความทรงจำเท่านั้น ป่าดงดิบบนเทือกเขาดงพญาไฟ เหลือเพียงเขาหัวโล้นไปทั้งเทือก คำว่าดงพญาไฟเหลือเพียงตำนาน อีสานร้อยแปดจึงอยากจะบันทึกไว้ให้ลูกหลานของเราไว้ในอีก 50 ปีหรือ 100-200 ปีข้างหน้าว่า ดงพญาไฟ หรือ ดงพญาเย็น ที่ในเวลานั้นคงมีรถไฟความเร็วสูง 700 กิโลเมตรต่อชั่วโมงผ่านทุก ๆ วันนั้น มีอยู่จริง

            กล่าวกันว่าชื่อ “ดงพญาไฟ” หมายถึงป่าที่เต็มไปด้วยไข้ป่าหรือมาลาเรีย ผู้ป่วยเวลาไข้ขึ้นนั้นเนื้อตัวจะร้อนจัดดั่งไฟ จึงเป็นที่ครั่นคร้ามของผู้คนโบราณยามต้องเดินทางผ่านดงนี้ ถึงกับเคยมีคำกล่าวว่า ใครที่ต้องเดินทางผ่านดงพญาไฟ ให้เตรียมหม้อดินติดตัวไปด้วย สำหรับใส่กระดูกของตัวเองฝากเพื่อนกลับมา

            ส่วนชื่อ “ดงพญาเย็น” นั้นเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์นิทานโบราณคดีเรื่อง เที่ยวตามทางรถไฟ ตอนที่กล่าวถึงตำนานเมืองสระบุรีและดงพญาไฟ ทรงเล่าไว้ว่า
         …เขาดงพญาไฟนี้ คือเทือกเขาอันเป็นเขื่อนของแผ่นดินสูง เขาเขื่อนที่กล่าวถึงนี้เป็นเขาหินปูน ต้นไม้ขึ้นหนาแน่นเป็นดงทึบตลอดทั้งเทือกเขา มีทางข้ามได้เพียงช่องทางเล็ก ๆ  ทางเดินผ่านดงพญาไฟนี้เป็นช่องทางเล็กๆ สำหรับเดินข้ามไปมาระหว่างสระบุรีกับมณฑลนครราชสีมามาตั้งแต่ครั้งโบราณ  โดยปากดงพญาไฟอยู่บริเวณเชิงเขา อำเภอแก่งคอย ผ่านกลางดงไปออกจากดงที่ตำบลปากช่อง  เส้นทางนี้ผ่านไปได้เพียงแต่เดินเท้า จะใช้โคและเกวียนหาได้ไม่

            สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเคยพระราชดำริไว้ว่า ไม่ควรเรียกดงพญาไฟเพราะให้คนครั่นคร้าม จึงทรงกราบทูลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอให้เปลี่ยนชื่อจาก ดงพญาไฟ เป็นดงพญาเย็น  แต่คนหลาย ๆ คนก็ยังคงเรียกว่า ป่าดงพญาไฟอยู่ดั้งเดิม
          เรื่องเล่าอันน่าตื่นเต้นของการสร้างทางรถไฟผ่านดงพญาเย็นมีมากมาย แต่เรื่องที่โจษขานเป็นพิเศษ คือเมื่อคณะสำรวจทางมาถึงพื้นที่บ้านหินลับ มีต้นตะเคียนใหญ่ขวางทางอยู่ จะวางรางอ้อมก็ไม่ได้ เพราะเป็นหน้าผาและเหว จำต้องตัดตะเคียนต้นนี้ออก แต่พอจะตัดก็มีคนล้มตายลงเรื่อย ๆ จนไม่มีใครกล้าตัด  ความทราบถึงพระพุทธเจ้า-หลวง พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้นำตราแผ่นดินไปประทับตรงโคนต้นตะเคียน เล่ากันว่า เมื่อตราแผ่นดินตีประทับลงที่โคนต้นแล้ว ตะเคียนนั้นก็แห้งเหี่ยวยืนต้นตายไป จากนั้นโปรดเกล้าฯ ให้สร้างศาลเพียงตาขึ้นที่ใกล้เงื้อมผา การระเบิดทำทางรถไฟจึงดำเนินต่อไปได้
        ทางรถไฟสายอีสานเส้นนี้ถือเป็นการเปิดพงไพรดงพญาเย็นเป็นครั้งแรก หลังจากนั้นอีกราว ๔๐ ปี ทางรถยนต์สายแรกที่บุกเบิกผ่านป่าผืนนี้จึงเกิดขึ้น

      ช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีและมีอำนาจเบ็ดเสร็จ เพชรบูรณ์ถูกเล็งเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่หากเกิดความจำเป็นขึ้น จังหวัดลพบุรีซึ่งเป็นเมืองปราการด้านทิศใต้ของเพชรบูรณ์ จึงได้รับการทำนุบำรุงครั้งใหญ่ นอกจากมีการวางผังเมืองใหม่และตั้งหน่วยทหารสำคัญ ๆ ขึ้นในเมือง ท่านจอมพลยังให้สร้างถนนเพื่อเชื่อมภาคกลางและภาคอีสาน กล่าวกันว่าเป้าหมายตามนโยบายของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นั้นต้องการให้สร้างทางตัดออกสู่เขมรได้เลย  ถนนเส้นนี้เริ่มต้นจากอำเภอโคกสำโรงผ่านอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ขึ้นที่ราบสูงอีสานทางช่องสำราญผ่านหนองบัวโคก อำเภอโนนไทย อำเภอจอหอ เข้าสู่จังหวัดนครราชสีมา เมื่อสร้างเสร็จได้ชื่อว่า “ถนนสุรนารายณ์” ซึ่งปัจจุบันคือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕

เดิมทีรัฐบาลตั้งชื่อถนนช่วงสระบุรี-ปากช่อง-นครราชสีมาว่า “ถนนสุดบรรทัด” และช่วงนครราชสีมา-ขอนแก่น-อุดรธานี-หนองคาย ให้ชื่อว่า “ถนนเจนจบทิศ” แต่ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “ถนนมิตรภาพ” เมื่อ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐ เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความร่วมมือระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา  ถนนมิตรภาพช่วงผ่านดงพญาเย็นสร้างเสร็จและรับมอบอย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคม ๒๕๐๑

การที่ถนนมิตรภาพเป็นถนนชั้นดี แข็งแรง ผิวจราจรกว้าง ทำให้การเดินทางสู่อีสานสะดวกกว่าเส้นทางถนนสุรนารายณ์ ผู้คนมากมายหลั่งไหลไปจับจองที่ดินสองฝั่งถนน บุกเบิกป่าดงพญาเย็นอันดุร้ายในอดีต กลายเป็นไร่ข้าวโพดและมันสำปะหลังตามการสนับสนุนของรัฐบาลสมัยนั้น ที่มีนโยบายส่งเสริมการปลูกพืชเพื่อการส่งออก


ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้