ตะกรุดข้า ๕๐๐ ทุกดอก ถ้ายิงออกไม่ต้องเอาไป
พระครูประสาธน์วิทยาคม หรือ หลวงพ่อนอ จันทสโร วัดกลางท่าเรือ(พระครูนอ) ประวัติ หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา
พระครูประสาธน์วิทยาคม หรือ หลวงพ่อนอ จันทสโร วัดกลาง เกิดวันอังคารที่ ๓๑ มกราคม ๒๔๓๕ ตรงกับขึ้น ๑๔ค่ำ เดือน ๓ ปีมะโรง ณ บ้านศาลาลอย อ.ท่าเรือ เป็นบุตรของ นายสวน นางพุฒ งามวาจา
บรรพชา อายุ ๑๗ ปี ณ วัดกษัตราธิราช
อุปสมบท ปี ๒๔๕๘ ณ วัดศาลาลอย
มรณภาพ วันที่ ๑๖กุมภาพันธ์ ๒๕๒๑ ตรงกับขึ้น ๙ค่ำ เดือน ๓ปีมะเมีย
รวมสิริอายุ ๘๖ ปี ๖๓ พรรษา โยมบิดาตั้งนามว่า “นอ” อายุได้ ๗ ขวบ ได้เข้าเล่าเรียนอักขระสมัยกับพระสวย ที่เป็นหลวงลุงที่วัดกษัตราธิราช และได้บรรพชาเป็นสามเณรที่นั่น อายุครบบวชจึงได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดศาลาลอย และได้เล่าเรียนวิชาอาคมกับพระอาจารย์นาค และพระอาจารย์วงษ์ ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ที่มีอาคมแก่กล้าเป็นที่นับถือในหมู่คนทั่วไป โดยพระอาจารย์วงษ์เก่งทางด้านคงกระพัน พระอาจารย์นาคเก่งทางด้านมหาอุด โดยได้ศึกษามาจากสำนักวัดประดู่ทรงธรรมพระนครศรีอยุธยา หลวงพ่อนอ ท่านได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดกลางท่าเรือเพราะญาติโยมที่เคยเห็นสรรพคุณของท่านมาก่อนได้ นิมนต์มาช่วยสร้างวัด เพราะตอนนั้นวัดกลางท่าเรือเป็นวัดที่แทบจะเป็นวัดร้าง หลวงพ่อนอจึงได้ตั้งใจเด็ดเดี่ยวกับกรรมการวัดว่า ไม่เป็นไรหรอก เมื่อไว้ใจให้ฉันมาช่วยสร้างวัด คอยดูนะ ฉันจะจารตะกรุดสร้างวัดให้พวกแกดู การก็เป็นความจริง หลวงพ่อนอลงตะกรุดโทนตะกรุดหนังหน้าผากเสือหาเงินเข้าสร้างโบสถ์และเสนาสนะ ปรากฏว่า ตะกรุดโทนหลวงพ่อนอ ตะกรุดหนังหน้าผากเสือของท่านท้ายิงได้ทุกดอก ยิงออกไม่ต้องเอาเงินทำบุญ หลวงพ่อนอ
สุดยอดเครื่องราง ตะกรุดหนังเสือ
หนังสือเครื่องรางยุคเก่าจัดลำดับให้หนังหน้าผากเสือหลวงพ่อนอ อยู่ในลำดับ เครื่องรางของขลังยอดนิยมอันดับ ๕ ครับ แต่ปัจจุบันหลวงพ่อนอ น่าจะอยู่ในอันดับที่ ๔ครับ ตามลำดับ ดังนี้…หลวงปู่นาค – หลวงปู่บุญ – หลวงพ่อหว่าง – หลวงพ่อนอ – หลวงพ่อเต๋ – หลวงพ่อตาบ – หลวงพ่อคง จันทบุรี ฯลฯ ฟอร์มมาตรฐาน ถักหุ้มหัวท้าย (หรือเรียกว่าลายกระสอบ) ราคาทำบุญจากวัดดอกเล็ก ๕๐๐ บาท (ประมาณปี ๒๔๘๐ – ๒๔๙๕ ถือว่าแพงมากในสมัยนั้น และที่สำคัญมีการลองยิงในวัดทีเดียว ขลังมากครับ) หนังหน้าผากเสือ ดีทางมหาอำนาจสูงมาก แต่ทั้งนี้เสือนั้นมีดี ๓ อย่าง (๑)…เป็นเจ้าป่า มีตบะเดชะมหาอำนาจ แค่เพียงกลิ่นสาปเสือโชยไปกระทบสัตว์อื่นเป็นต้องหวาดกลัว (๒)…ถึงแม้เสือจะเป็นสัตว์ที่ดุและน่ากลัวแต่คนก็อยากเห็นและอยากเจอเสือ ข้อนี้ท่านว่าเป็นเมตตามหานิยมครับ (๓)…หากินคล่องไม่มีฝืดเคืองเรื่องอาหาร หลวงพ่อนอท่านลงตะกรุดหนังหน้าผากเสือ ถวายพระเจ้าอยู่หัว ร.๙ เมื่อปี ๒๔๙๕ (จากบันทึกของสำนักราชเลขาธิการ ลงวันที่ถวาย ๑๐ สิงหาคม ๒๔๙๕ และพระเจ้าอยู่หัวทรงร.๙โปรดเกล้าฯให้จัดไตรครองนำมาถวายหลวงพ่อนอ ๑ ชุด ลงวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๔๙๕ ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือ สนามพระ
แต่เดิมนั้น หลวงพ่อนอ ท่านสร้างจะใช้แต่หนังเสือเพียงอย่างเดียวมาทำการปลุกเสกเมื่อเสร็จ ก็ทำการแจกจ่ายให้ชาวบ้านและลูกศิษย์ลูกหาที่อยู่ในละแวกนั้นนำไปใช้พกติด ตัวทำกิจวัตรประจำวัน ทำให้ตะกรุดโดนเหงื่อโดนน้ำโดนฝน ก็ทำให้ตะกรุดเกิดความเสียหาย ยุ่ยเปื่อย เสียรูปทรงง่าย หลวงพ่อคงทราบจากชาวบ้านหรือลูกศิษย์ ก็จึงคิดพัฒนาโดยการนำไม้ไผ่มาเหลาไว้เพื่อใช้เป็นแกนกลางก่อนที่จะนำ หนังเสือมาพันไว้รอบแกนไม้ไผ่อีกทีจากนั้นจึงนำมาถักเชือกลงรัก ซึ่งต่อมายุคหลังๆแกนกลางจะใช้ทองแดง คงไม่มีใครปฏิเสธ เมื่อถ้ามีโอกาสเที่ยวสวนสัตว์ หรือคนสมัยก่อนเมื่อเข้าป่า ก็อยากเห็นหรือเจอเสือ ในทางกลับกันในใจเมื่อเห็นก็กลัวสุดๆ การสร้างตะกรุดต่างๆมีการนำวัตถุหลายๆอย่างหลายประเภทมาสร้าง หนังเสือก็เป็นส่วนหนึ่งเพราะเป็นอาถรรพณ์วัตถุศักดิ์สิทธิ์ในตัวมีทั้ง เมตตามหานิยม พลังมหาอำนาจ และแคล้วคลาด บวกกับขั้นตอนในการบรรจุวิทยาคม ของหลวงพ่อนอซึ่งขั้นตอนในการปลุกเสกไม่มีอาจารย์ท่านใดเหมือนแน่นอน ก่อนปลุกเสกท่านจะใช้เหล้าเพื่อบูชาครู จากนั้นตัวของท่านจะแดงมาก ท่านจะปิดกุฏิปลุกเสกเงียบๆคนเดียวอยู่ในกุฏิ ช่วงเวลาปลุกเสก ลูกศิษย์จะได้กลิ่นสาปเสืออบอวลทั่วทั้งบริเวณตลอดจนเป็นเรื่องเล่าขานสืบ ต่อมาไม่รู้จบของพิธีกรรมปลุกเสกที่เข้มขลังในยุคนั้น ตะกรุดหนังเสือเป็นเครื่องรางที่มองดูผิวเผินก็ดูจะธรรมดาๆ แต่จริงๆแล้วทุกท่านก็คงประจักษ์กันมานักต่อนักแล้วแม้นจะเป็นเรื่องเล่าขาน สืบต่อหรือประสบการณ์กับตนเองในเรื่องของพุทธคุณไม่เป็นรองวัตถุมงคลใดๆเลย โดยจะเห็นได้จากปัจจุบันตะกรุดหนังเสือสำนักนี้มีราคาค่างวดสูงมากยิ่งขึ้น แรงแซงทางโค้งเนื่องจากเจตนาการสร้างดี พุทธคุณเป็นที่ประจักษ์ ความมาตรฐานนิยม ความหายากและจะเป็นเช่นนี้ต่อไปจวบจนนิรันดร์ (ขอบคุณข้อมูลจากคุณathaiและพี่เกร็ดเพชร) ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพ และที่มาเนื้อหาข้อมูลมา ณ ที่นี้ ศิษย์มีครู เพื่อเผยแผ่บารมีเป็นสังฆบูชา และเทิดทูนเกียรติคุณครูบาอาจารย์ |