ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2517
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

สมเด็จเนื้อกล้วยหอม หลวงพ่อจุ่นวัดเขาสะพายแร้ง

[คัดลอกลิงก์]



เหรียญหลวงพ่อจุ่น รุ่นแรก เนื้อทองแดง ปี 2511 วัดเขาสะพายแร้ง
“เขาสะพายแร้ง” ชื่อค่อนข้างแปลกหูนี้ ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลสนามแย้ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ห่างจากอำเภอท่ามะกาไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 25 กิโลเมตร และห่างจากพระแท่นดงรังมาทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 23 กิโลเมตร เขาลูกนี้เป็นเขาโทนขนาดย่อม ๆ สูงประมาณ 120 เมตร ตั่งอยู่ ท่ามกลางไร่อ้อยอันเวิ้งว้างและเขียวชอุ่มตลอดปี เมื่อขึ้นถึงยอดเขาจะมองเห็นทิวทัศน์อันสวยงามในท้องที่อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี อำเภอกำแพงแสน และมองเห็นองค์พระปฐมเจดีย์ได้อย่างชัดเจน
        ที่เชิงเขาลูกนี้ เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านเขาสะพายแร้ง วัดเขาสะพายแร้ง และโรงเรียนนิวิฐราษฎร์อุปถัมภ์ ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาระดับตำบลของชุมชนในละแวกนั้น ตำนาน มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า แต่เดิมเขาโทนลูกนี้ชื่อว่า “เขาน้อยกลางดง”(เดี๋ยวนี้กลางไร่อ้อยไปเสียแล้ว) ครั้งสมัยศึกสงครามเก้าทัพกับพม่าในตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ นายกองพม่าคนหนึ่งถูกฝ่ายไทยฟันร่างขาดสะพายแล่งที่บริเวณเชิงเขาลูกนี้ ชาวบ้านจึงเรียกชื่อเป็นอนุสรว่า “เขาพม่าขาดสะพายแล่ง” ต่อมาเสียงก็ห้วนลงเหลือเป็นเขาสะพายแล่ง และเพี้ยนเสียงเป็นเขาสะพายแร้งในที่สุด จนทุกวันนี้
        การเพี้ยนเสียงจาก “สะพายแล่ง” มาเป็น “สะพายแร้ง” นี้ ชวนให้เชื่อว่ามาจากการออกเสียงคำพูดของชาวบ้านพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในย่านแห่งนี้ ซึ่งพูดภาษาและ สำเนียงแบบขาวไทยอีสาน เพราะบรรพบุรุษเป็นชาวบ้านโป่ง โพธาราม ซึ่งอพยพมาจากเวียงจันทร์ในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว ชาวไทยอีสานเมื่อพูดภาษาไทย กลางจะออกเสียงวรรณยุกต์โทเป็นเสียงตรี เช่น พ่อ แม่ เป็น พ้อแม้ พี่น้อง เป็น พี้น้อง เป็นต้น ครั้นพูดภาษาไทยกลางว่า “สะพายแล่ง” จึงเป็น “สะพายแร้ง” แต่การสื่อความหมายระหว่างชาวบ้านบ้านผู้พูด (ภาษาไทยกลาง) กับเจ้าหน้าที่บ้านเมืองในสมัยนั้นคงจะไม่ตรงกัน จึงได้เขียนเป็น “สะพายแร้ง” แต่ชาวบ้านก็ยังคงเรียนตามสำเนียงพื้นเมืองว่า “เขาสะพายแล่ง” เหมือนเดิม ส่วนคำว่า “อีแร้ง” ไม่ได้เรียกว่าแร้งแต่อย่างใด
        บริเวณชายเขาสะพายแร้งเคยเป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์ก่อนสมัยก่อนสมัยทวาราวดี ที่บริเวณเชิงเขาสะพายแร้งนี้ เคยมีผู้ขุดพบโบราณวัตถุยุคก่อนประวัติศาสตร์ เช่น มโหระทึกเครื่องสัมฤทธิ์ ลูกปัด เครื่องปั่นดินเผา และเครื่องใช้อื่น ๆ เช่นเดียวกับท้องที่อื่นๆในจังหวัดกาญจนบุรี แต่ไม่มีใครให้ความในใจมากนัก ของที่ขุดได้ก็นำมาเป็นสมบัติส่วนตัวเสียมาก กระทั่งต่อมาปี 2519 พระครูสมณธรรมนิวิฐ (หลวงพ่อจุ่น ฐานิสสโร)พร้อมด้วย คณะกรรมการพัฒนาการศึกษาของหมู่บ้านได้นำรถไถดินไปไถปรับพื้นที่บริเวณเชิงเขาลูกนี้เพื่อเตรียมปลูกสร้างโรงเรียนมัธยมศึกษา (ซึ่งได้รับการขนานนามต่อมาว่าโรงเรียนนิวิฐราษฎร์อุปถัมภ์) ก็ได้พบหม้อดินเผาที่ยังคงสภาพดีอยู่และชำรุดหลายชิ้นและกระดูกคนจำนวนหนึ่ง ศึกษานิเทศก์กรมสามัญศึกษา ซึ่งทำหน้าที่เป็นเลขานุการโครงการส่งเสริมการสอนวิชาอาชีพในโรงเรียนมัธยมศึกษาในขณะนั้น จึงได้นำหม้อดินและกระดูกคนมาให้ผู้เชียวชาญของกรมศิลปากรตรวจสอบ หลังจากคณะผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดีได้ตรวจสอบวัตถุตลอดจนสถานที่ขุดพบแล้ว ก็ให้ความเห็นว่าโบราณวัตถุที่ขุดพบนี้เป็นวัตถุก่อนสมัยทวาราวดี แต่ก็อยู่เบื้องหลังยุคบ้านเชียง บรรดาวัตถุเหล่านี้ทางวัดได้รวบรวม (และขอคืนจากชาวบ้านที่พอจะขายได้) เก็บรักษาไว้ที่วิหารบนเขาสะพายแร้งให้ประชาชนได้ชม เช่น มโหระทึก (ชำรุด) เครื่องสัมฤทธิ์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหิน ลูกปัด ระฆังหิน ฯลฯ เป็นต้น
        คำบอกเล่าของชาวบ้าน ชาวบ้านเขาสะพายแร้งได้เล่าสืบๆ กันมาตั้งแต่ครั้งปู่ย่าตายายว่า ในวันพระวันโกน ชาวบ้านจะได้ยินเสียงพิณพาทย์อันไพเราะเพราะพริ้งจากเขาลูกนี้ ครั้นชาวบ้านพากันตามเสียงพิณพาทย์เข้ามาถึงเชิงเขา เสียงพิณพาทย์ ก็เลือนหายไป แต่เมื่อชาวบ้านพากันหันหลังกลับออกไป เสียงพิณพาทย์ก็กลับดังกล้องขึ้น ต่อ ทำให้ชาวบ้านพากันแปลกใจมาก จึงช่วยกันแสวงหาแหล่งที่เกิดเสียงดนตรีนี้ในที่สุดก็พบถ้ำแห่งหนึ่งที่เชิงเขาลูกนี้ ภายในถ้ำเต็มไปด้วยชามและอุปกรณ์เครื่องใช้นานาชนิด เมื่อชาวบ้านมีงานเทศกาลหรือพิธีกรรมทางศาสนาก็พากันมานำถ้วยชามและเครื่องใช้จากถ้ำไปใช้ ครั้นเสร็จงานแล้วก็นำกลับมาเก็บไว้ตามเดิม ต่อ ๆ มาชาวบ้านที่นำถ้วยชามและเครื่องใช้เหล่านี้ไปใช้แล้วก็ไม่นำมาเก็บไว้ดังเดิม กลับเก็บไว้เป็นสมบัติของตนเองตามนิสัยเห็นแก่ได้ จนกระทั่งสิ่งของเครื่องใช้ภายในถ้ำร่อยหรอลงทุกที ในที่สุดปากถ้ำที่เคยเปิดอยู่ก็ปิดลงสนิท ไม่มีผู้ใดสามารถเข้าไปได้อีก และเสียงพิณพาทย์ที่เคยได้ยินได้ฟังทุกๆ วันพระวันโกนก็เงียบหายไปตั้งแต่นั้นมาจนกระทั่งทุกวันนี้
        เขาสะพายแร้งในปัจจุบัน เนื่องจากบริเวณพื้นที่ย่านนี้มีเขาสะพายแร้งเป็นเขาโทนลูกเดียวที่ตั้งอยู่กลางไร่อ้อยอันเวิ้งว้าง จึงเหมาะแก่การขึ้นไปชมทิวทัศน์อันสวยงามรอบ ๆ ยอดเขาได้ทุกเวลา
        บนยอดเขามีสำนักสงฆ์ของวัดเขาสะพายแร้ง มีวิหารประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองไว้ให้ประชาชนนมัสการตลอดเวลา ชาวบ้านจะจัดงานสมโภชทุก ๆ เพ็ญเดือนสาม ซึ่งเป็นงานเทศกาลประจำปีของชุมชนในละแวกนี้ รอยพระพุทธบาทจำลองนี้เดิมสร้างด้วยศิลาแลง จะสร้างมาแต่สมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานและอยู่ในสภาพชำรุดมาช้านานจนกระทั่ง พ.ศ. 2500 พระครูสมณธรรมนิวิฐ (หลวงพ่อจุ่น ฐานิสสโร) เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันได้พาญาติโยมสร้างรอยพระพุทธบาทโลหะเลียนแบบรอยเดิมครอบไว้ ดังที่เห็นปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้
        เหรียญหลวงพ่อจุ่น รุ่นแรก เนื้อทองแดง ที่ท่านได้เห็นอยู่นี้ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงของ จ.กาญจนบุรี เหรียญรุ่นแรกของท่าน สร้างใน ปี 2511 ขึ้นชื่อลือชาด้านคงกระพันชาตรี ประสบการณ์มากมาย เหรียญสภาพสวยงาม สนนราคาหลักหมื่น
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้