ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2698
ตอบกลับ: 2
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

>> ล็อกเก็ตพระยาพิชัยดาบหัก <<

[คัดลอกลิงก์]
>> ล็อกเก็ตพระยาพิชัยดาบหัก <<
ล็อกเก็ต พระยาพิชัย (ทองดี ฟันขาว )
สร้างปี 2561
จำนวน
1.องค์ครู 1 องค์
2.อุดมวลสาร 119 องค์



ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
รอๆๆๆๆๆๆ
พระยาพิชัยดาบหัก
เดิมชื่อ จ้อย เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2284 ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา บ้านเกิดคือ ห้วยคา อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์  ท่านมีนิสัยชอบชกมวยมาตั้งแต่เด็ก   เมื่ออายุได้ 14 ปี พ่อท่านได้นำไปฝากกับท่านพระครูวัดมหาธาตุ เมืองพิชัย ท่านสนใจเอาใจใส่ในตำราเรียน  และซ้อมมวย ไปด้วย ทั้งหมัด เข่า ศอก และสามารถเตะได้สูงถึง 4 ศอก ในขณะที่เป็นเด็กวัดนั้น  มักจะถูกกลั่นแกล้งจากเด็กที่โตกว่าเสมอ แต่ท่านก็สามารถปราบเด็กวัดได้ทุกคน ด้วยชั้นเชิงมวย
ต่อมาเจ้าเมืองพิชัยได้นำลูกตนเอง มาฝากที่วัดเพื่อร่ำเรียนวิชา  เขากับพวกมักหาเรื่องทะเลาะวิวาทกับจ้อยเสมอ  ท่านจึงตัดสินใจหนีออกจากวัดขึ้นไปทางเหนือ  โดยไม่ได้บอกพ่อแม่และอาจารย์ เดินตามลำน้ำน่านไปเรื่อยๆ  จนถึงวัดบ้านแก่ง  ท่านได้พบกับครูฝึกมวยคนหนึ่ง ชื่อ เที่ยง จึงฝากตัวเป็นศิษย์แล้วท่านเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ทองดี” ครูเที่ยง มักเรียกท่านว่านายทองดี ฟันขาว เนื่องจากท่านไม่เคี้ยวหมากพลูเหมือนคนสมัยนั้น  ด้วยความขยันขันแข็งเอาใจใส่การฝึกมวย  ทำให้ลูกหลานครูเที่ยงอิจฉาท่านมาก จนหาทางกลั่นแกล้งต่างๆ นานา  ท่านจึงกราบลาครูขึ้นเหนือต่อไป
เมื่อเดินถึงบางโพ  ได้เข้าพักที่วัดวังเตาหม้อ (ปัจจุบันคือวัดท่าถนน) แล้วต่อไปที่ท่าเสา ขอสมัครเป็นลูกศิษย์ ครูเมฆ ซึ่งมีชื่อเสียงในการสอนมวยมาก ครูเมฆ รักนิสัยใจคอท่าน จึงถ่ายทอดวิชาการชกมวยให้จนหมดสิ้น ขณะนั้นท่าน อายุได้ 18 ปี ต่อมาได้มีโอกาสชกมวยในงานไหว้พระแท่นศิลาอาสน์ กับนายถึก ศิษย์เอกของครูนิล นายถึกถูกท่านเตะสลบไปนาน ประมาณ 10 นาที ครูนิลอับอายมาก จึงท้าครูเมฆชกกัน  ทองดี ได้กราบอ้อนวอน ขอชกแทนครูเมฆ และได้ตลุยเตะต่อย จนครูนิลฟันหลุดถึง 4 ซี่  เลือดเต็มปากสลบอยู่เป็นเวลานาน
ชื่อเสียงนายทองดี ฟันขาว กระฉ่อนไปทั่วเมืองทุ่งยั้ง ลับแล พิชัย และเมืองฝาง ต่อมาท่านก็ขอลาไปศึกษา การฟันดาบ ที่เมืองสวรรคโลก ด้วยความฉลาดมีไหวพริบ เขาใช้เวลาเพียง 3 เดือน ก็เรียนฟันดาบสำเร็จ เป็นที่พิศวงต่อครูผู้สอนยิ่งนัก  จากนั้น ก็เดินทางไปต่อที่เมืองสุโขทัย และเมืองตาก  ระหว่างทางได้รับศิษย์ไว้ 1 คน ชื่อบุญเกิด (ต่อมาเป็นหมื่นหาญณรงค์)  เพราะเมื่อครั้งที่บุญเกิดถูกเสือคาบไปนั้น ทองดีได้ช่วยบุญเกิดไว้  โดยการแทงมีดที่ปากเสือจนหนีไป จนเป็นที่ร่ำลือไปทั่ว
เมื่อท่านเดินทางถึงเมืองตาก ขณะนั้นได้มีพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาที่วัดใหญ่  เจ้าเมืองตาก  จึงจัดให้มีมวยฉลองด้วย นายทองดี เข้าไปเปรียบมวยกับครูห้าว ครูมวยมือดีของเจ้าเมืองตาก และมีอิทธิพลมาก นายทองดี ใช้ความว่องไวใช้หมัดศอก และเตะขากรรไกร จนครูห้าวสลบไป  เจ้าเมืองตาก ถามว่าสามารถชกนักมวยอื่นอีกได้หรือไม่ นายทองดี ตอบรับ เจ้าเมืองตากจึงให้ชกกับครูหมึก  ครูมวยร่างสูงใหญ่ ผิวดำ นายทองดี เตะซ้ายเตะขวา บริเวณขากรรไกร จนครูหมึกล้มลงสลบไป
เจ้าเมืองตากพอใจมาก  ให้เงิน 3 ตำลึง และชักชวนให้อยู่ด้วย นายทองดี จึงได้ถวายตัวเป็นทหารของเจ้าเมืองตาก ตั้งแต่บัดนั้น รับใช้เป็นที่โปรดปรานมาก ได้รับยศเป็น "หลวงพิชัยอาสา" ต่อมาเมื่อเจ้าเมืองตาก  ได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาวชิรปราการ ครองเมืองกำแพงเพชร  หลวงพิชัยอาสา ได้ติดตามไปรับใช้อย่างใกล้ชิด และเป็นเวลาเดียวที่พม่ายกทัพล้อม กรุงศรีอยุธยา พอดี
พระยาวชิรปราการ  พร้อมด้วยหลวงพิชัยอาสา  และทหาร ได้เข้าปะทะต่อสู้จนชนะ ได้ช้างม้าอาหารพอสมควร และเข้าสู้รบกับทัพพม่าหลายคราวจนได้รับชัยชนะ  ได้รับการต้อนรับจากประชาชน และยกย่องขึ้นเป็นผู้นำ คือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี  เมื่อกอบกู้เอกราชได้แล้ว พระองค์ทรงขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองกรุงธนบุรี  และได้โปรดเกล้าฯ ให้หลวงพิชัยอาสา เป็นเจ้าหมื่นไวยวรนาถ เป็นทหารเอกราชองครักษ์ในพระองค์
ในปี พ.ศ. 2311 พม่าได้ยกทัพมา 1 หมื่นคน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พร้อมด้วยหมื่นไวยวรนาถ ได้เข้าโจมตีพม่าจนแตกพ่าย และได้มีการสู้รบปราบก๊กต่าง ๆ อีกหลายคราว  จึงทรงโปรดตั้งเจ้าหมื่นไวยวรนาถ  เป็น "พระยาสีหราชเดโช" มีตำแหน่งเป็นนายทหารเอก ราชองครักษ์ตามเดิม   เมื่อปราบก๊กพระเจ้าฝางได้แล้ว  สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ปูนบำเหน็จความชอบให้พระยาสีหราชเดโช  ให้เป็นพระยาพิชัย  ปกครองเมืองพิชัย อันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนแต่เยาว์วัยของพระยาพิชัย  
ในปี พ.ศ. 2313 - 2316 ได้เกิดการสู้รบกับกองทัพพม่าอีกหลายคราว และทุกคราวที่กองทัพพม่าแตกพ่ายไป  ก็สร้างความอัปยศอดสูแก่แม่ทัพนายกองเป็นทวีคูณ  พอสิ้นฤดูฝนปีมะเส็ง พ.ศ. 2316 โปสุพลา แห่งพม่า ยกกองทัพมาหมายตีเมืองพิชัยอีก ศึกครั้งนี้พระยาพิชัย จับดาบสองมือคาดด้าย ออกไล่ฟันแทงพม่าอย่างชุลมุน ณ สมรภูมิบริเวณ วัดเอกา จนเมื่อพระยาพิชัยเสียการทรงตัว ก็ได้ใช้ดาบข้างขวาพยุงตัวไว้  “จนดาบข้างขวาหักเป็นสองท่อน" ในที่สุดก็ชนะพม่า กองทัพโปสุพลา  ก็แตกพ่ายกลับไป เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2316

พระยาพิชัยดาบหัก  ได้สร้างมรดกอันควรแก่การยกย่องสรรเสริญ ให้สืบทอดมาถึงปัจจุบันได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริต ความกตัญญูกตเวที ความเด็ดเดี่ยวเฉียบขาดกล้าหาญ รวมถึงความรักชาติ ต้องการให้ชาติเจริญรุ่งเรืองมั่นคง  ท่านได้รับความเคารพนับถือจากคนอุตรดิตถ์ และคนไทยจำนวนมาก

เป็นที่กล่าวขานในความศักดิ์สิทธิ์ว่า ดาบของท่านยังคงปัดเป่าทุกข์ภัยให้ลูกหลายตลอดมา
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้