แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-9-3 08:01
องค์พ่อศรีชัยวรมัน
พระเจ้าอโศก แห่งอุษาคเนย์
พ.ศ.๑๗๒๑ชัยวรมันที7 พระองค์ทรงรวบรวมกองทัพจัดเตรียมกำลังพลครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในการศึกทางเรือ ทรงพิชิตจามปาอย่างเหี้ยมโหดและสามารถสังหารกษัตริย์ และกองทัพจามปา ด้วยธนูโกฏิดอก
อย่างไรก็ตาม ในความเป็นพุทธราชาของพระองค์ทรงยอมสละพระองค์ เพื่อขจัดทุกข์ของประชาราษฎร์โดยโปรดให้สร้างถนนตลอดทั่วราชอาณาจักร ถนนเหล่านี้เป็นหลักฐานแห่งความเมตตากรุณาของพระองค์
จากจารึกบอกว่า..
“พระองค์ทรงเป็นทุกข์เกี่ยวกับความเดือดร้อน ของราษฎรมากกว่าเรื่องส่วนพระองค์
ความเจ็บปวดทางร่างกายสำหรับ มนุษย์เป็นความเจ็บปวดทางจิตรวิญญาณ
สำหรับพระองค์ ดังนั้นการสร้างถนนหนทางวัดวาอาราม ที่พักการเดินทาง สระน้ำ และอโรคยาศาลา นับแต่ขึ้นครองราชย์ไปจนถึงช่วงปีหลังๆแห่งรัชกาล ปรากฏว่าอาคารเหล่านี้ หลายหลังสร้างอย่างลวกๆ
อย่างไรก็ตาม การสร้างอโรคยาศาลาสามารถให้บริการรักษาโรคแก่ประชาชนอย่างทั่วถึงมากถึง ๘๓๘ หมู่บ้านจุดพักการเดินทางทุกระยะ ๑๖ กิโลเมตร ตลอดถนนสายหลักๆของกัมพูชา เช่นบนเส้นทางระหว่างเมืองพระนคร กับเมืองหลวงของจามปา มีที่พัก ๕๗ แห่ง และอีก ๑๗แห่งระหว่างเมืองพระนคร กับ ปราสาทเมืองพิมาย
( สัณนิษฐานว่า พระเจ้าศรีชัยวรมันที7ทำสงครามชิงอำนาจในหมู่พี่น้อง เครือญาติและกู้ชาติจากการยึดครองของจามปา ขยายดินแดนไปจดพม่าและยูนนาน ทำให้พลเมืองและผู้คนบาดเจ็บล้มตายไปจำนวนมหาศาล เพราะองค์น่าจะกลับสติใด้ในที่สุดว่าการเอาชนะตนเองนั้นคือการชนะสูงสุดตามหลักพุทธศาสนา ดังเช่นองค์คุลีมารทีสามารถกลับสติใด้และหยุดการฆ่ามนุษย์ พระเจ้าศรีชัยวรมันที7 มีประวัติชีวิตคล้ายๆอโศกมหาราชที่เปลี่ยนจากศาสนาฮินดู (GOD KING )มานับถือพุทธศาสนา( BUDDHA KING )โดยมีพระมเหสีศรัทธาในพุทธศาสนามาก่อนและมีอิทธิพลอยู่เบื้องหลัง )
“ คำแปล” ฉันทลักษณ์ 49 บท ของจารึกประจำอโรคยาศาลแบบสมบูรณ์ของจารึกกู่คันธนาม อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด โดยคุณชะเอม แก้วคล้าย มีดังนี้
ด้านที่ 1
(บทที่ 1) ขอความนอบน้อม จงมีแก่พระพุทธเจ้า ผู้มีนิรมาณกาย ธรรมกาย และสัมโภคกายผู้ล่วงพ้นภาวะและอภาวะทั้งสอง ผู้มีอาตมันเป็นสองผู้หาอาตมันมิได้
(บทที่ 2) ข้าพเจ้าขอนมัสการพระชินะ ผู้เป็นราชาแห่งรัศมีคือพระไภษัชยคุรุไวฑูรยะ เพราะพระองค์ จึงเกิดความเกษมและความไม่มีโรค แก่ประชาชนผู้ฟังอยู่แม้เพียงชื่อ
(บทที่ 3)พระศรีสูรยะไวโรจนจันทโรจิและพระศรีจันรไวโรจนโรหิณัศะผู้ขจัดความมืดคือโรคของประชาชน ขอจงชนะที่เชิงเขาคือพระพุทธเจ้า
(บทที่ 4) ได้มีพระเจ้าแผ่นดินนามว่า ศรีชัยวรมันผู้เป็นโอรสของพระเจ้าศรีธรณีนทรวรมัน ผู้ประสูติแต่เจ้าหญิงแห่งเมืองชยาทิตยปุระ ผู้ได้รับราชสมบัติเพราะพระจันทร์อันยอดเยี่ยมบนท้องฟ้าคือพระเวท (ปี พ.ศ. 1724)
(บทที่ 5) พระองค์ผู้มีพระบาทเหมือนดอกบัวเป็นเครื่องประดับเหนือเศียรของพระราชาทั้งหมด ผู้มีศัตรูอันพระองค์ทรงชนะแล้วในสงคราม ได้รับแล้วซึ่งสตรีคือแผ่นดินอันเป็นภาระแห่งเกียรติยศของพระองค์ผู้มีรัตนะคือคุณความดีเป็นเครื่องประดับ
(บทที่ 6) ผู้มีสายน้ำคือทานอันพระองค์ให้เพิ่มขึ้นแล้วด้วยความเพลิดเพลินในกาลทุกเมื่อผู้มั่งคั่งด้วยทรัพย์สมบัติคือทานและความเจริญรุ่งเรืองผู้เป็นที่รักแห่งศัตรูของเทพ ที่พระองค์ทรงให้ลำบากแล้วด้วยเครื่องสังเวยผู้แม้เหมือนพระกฤษณะแต่มีวรรณะขาว
(บทที่ 7) พระองค์ยังนางลักษมีผู้อันพระราชาทั้งหลายปรารถนาแล้ว. ซึ่งได้โดยยาก ผู้ทรงอุเบกขาซึ่งเข้ามาใกล้แล้ว และยังนางกีรตี ผู้แล่นไปในทิศทั้งหลายให้ยินดีแล้วน่าอัศจรรย์หนอ ความงามอันวิจิตรแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย
ด้านที่ 2
(บรรทัดที่) 1 – 2 โรคทางร่างกายของประชาชนนี้ เป็นโรคทางใจที่เจ็บปวดยิ่ง เพราะว่าความทุกข์ของราษฎร แม้มิใช่ความทุกข์ของพระองค์ แต่เป็นความทุกข์ของเจ้าเมือง
3 – 4 พระองค์พร้อมด้วยแพทย์ทั้งหลายผู้แกล้วกล้าและคงแก่เรียนในอายุรเวทและอัสตรเวทได้ฆ่าศัตรูคือโรคของประชาชนด้วยอาวุธคือเภษัช. 5 – 6 เมื่อพระองค์ได้ชำระโทษของประชาชนทั้งปวงโดยรอบแล้วได้ชำระโทษแห่งโรคทั้งหลาย เพราะโทษแห่งยุค
7 – 8 พระองค์ได้สร้างโรงพยาบาล และรูปพระโพธิสัตว์ไภษัชยสุคตพร้อมด้วยรูปพระ ชิโนรสทั้งสองโดยรอบ เพื่อความสงบแห่งโรคของประชาชนตลอดไป
9 – 10 พระองค์ได้สร้างโรงพยาบาลหลังนี้และรูปพระโพธิสัตว์ไภษัชยสุคต พร้อมด้วยวิหารของพระสุคตด้วยดวงจันทร์คือพระหฤทัยในท้องฟ้าคือพระวรกายอันละเอียดอ่อน (ปีพ.ศ.1729)
11- 12พระองค์ได้รูปจำลองของพระไวโรจนชินเจ้าที่ขึ้นด้วยสูรยะและจันทระอันงดงามนี้ให้เป็นผู้ทำลายโรคแห่งประชาชน ผู้มีโรคทั้งหลายในที่นี้
13 – 14 เพื่อการรักษาพยาบาล ในที่นี้ จึงให้มีผู้ดูแลสี่คน แพทย์สองคน บรรดาคนทั้งสามคือจะเป็นบุรุษหนึ่งคนหรือสตรีสองคนเป็นผู้ให้สถิติ
|