ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนาน เรื่องเล่า เกร็ดความรู้ เรื่องลี้ลับ
»
“พระอุปคุต” หมั่นบูชาจะบังเกิดโชคลาภ
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 2056
ตอบกลับ: 0
“พระอุปคุต” หมั่นบูชาจะบังเกิดโชคลาภ
[คัดลอกลิงก์]
รามเทพ
รามเทพ
ออฟไลน์
เครดิต
8083
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2020-1-1 08:41
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
เปิดตำนาน “พระอุปคุต” หมั่นบูชาจะบังเกิดโชคลาภ
ประวัติพระอุปคุต พระเถระ ที่เกิดในช่วงยุคหลังของพระพุทธเจ้า
เชื่อกันตามประวัติกล่าวว่าท่านเป็นบุตรของเศรษฐีของเมืองมถุรา ริมฝั่งแม่น้ำยมนา เกิดหลังพระพุทธองค์ปรินิพานแล้ว ๒๐๐ ปีแต่เนื่องจากบิดาได้เคยสัญญาก่อนที่จะมีบุตรต่อพระสาณวารี ว่าหากมีบุตรชายจะให้ออกบวช จนกระทั้งได้บุตรชาย ( พระอุปคุต ) เมื่อถึงอายุบวชท่านก็ได้ออกบวชหลังจากออกบวชในบวรพระพุทธศาสนา
พระอุปคุตได้บำเพ็ญธรรมตามรอยพระพุทธองค์และได้บำเพ็ญอยู่ใต้ท้องทะเล หรือสะดือทะเลจากนั้นไม่นาน ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ในครั้งนั้นพุทธศาสนาเสื่อมถอยลงเนื่องจาก มีกลุ่มชาวบ้านแฝงมาอาศัยผ้าเหลืองหากินทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่เสื่อมศรัทธาในพระศาสนา ในครั้งนั้นพระเจ้าอโศกมหาราช พระราชดำรัสที่จะชำระพระพุทธศาสนาให้บริสุทธิ์ ตามเจตนารมณ์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่วางการดำเนินแนวทางไว้ให้ จึงทรงสร้างพระสถูปเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์
ครั้นบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเรียบร้อยแล้ว ทรงมีพระราชประสงค์จะจัดการฉลองสมโภชองค์พระมหาเจดีย์ ให้สมพระราชศรัทธา โดยจะจัดฉลองเป็นเวลาถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน ทรงเห็นว่า งานสมโภชพระมหาธาตุนี้เป็นงานใหญ่ เกรงว่า จะมีอันตรายและมีปัญหาต่างๆพระองค์ทรงขอให้คณะสงฆ์หาทางช่วยป้องกันเหตุต่างๆโดยขอให้คัดเลือกพระเถระผู้สามารถมาช่วยป้องกันภัยอันตราย เมื่อพระเถระเข้าญาณพิจารณา ก็ทราบด้วยญาณของตนว่า เนื่องในงานสมโภชพระมหาเจดีย์ครั้งนี้ภัยจะเกิดขึ้น ต่างก็หาวิธีแก้ไขต่างๆ จึงได้ทำการปรึกษากับคณะสงฆ์
พระสงฆ์ทั้งปวงจึงกล่าวว่า “พระอุปคุตที่จำศีลอยู่กลางสะดือทะเล เป็นพระอรหันต์ที่มีฤทธิ์มากสามารถเนรมิตครอบแก้วคลุมตนไว้ ควรที่มหาบพิตรจะไปอาราธนามาดูแลละป้องกันภัยต่างๆที่จะเกิดขึ้น”พระองค์ทรงทราบความจึงขอให้คณะสงฆ์ ไปทำการอาราธนา พระเถระทั้งหลายจึงให้พระภิกษุหนุ่ม ๒ รูป ผู้ทรงอภิญญาสมาบัติไปอาราธนาพระอุปคุต ( ชื่อเต็มว่า พระกีสนาคอุปคุตมหาเถระ ) มาสู่ที่ประชุม พระภิกษุ ๒ รูปนั้น จึงเข้าญาณสมาบัติระเบิดน้ำลงไปหาท่านพระอุปคุตแล้วแจ้งให้ทราบว่า “บัดนี้คณะสงฆ์ทั้งหลายมีเถรบัญชาให้ข้าพเจ้าทั้งสองมาอาราธนาพระคุณท่านไปร่วมการประชุมเพื่อปรึกษางานพระพุทธศาสนา”
พระอุปคุตเถระทราบสังฆบัญชาเช่นนั้น คิดว่าจะต้องไปร่วมการประชุมในครั้งนี้ จะขัดคณะสงฆ์ไม่ได้ ต้องเคารพอำนาจแห่งหมู่สงฆ์ และงานนี้ก็เป็นงานพระพุทธศาสนา จากนั้นพระอุปคุตเถระจึงบอกภิกษุ ๒ รูปนั้นว่า “ท่านจงกลับไปก่อนเถิด เราจะตามไปทีหลัง” พระภิกษุหนุ่ม ๒ รูปนั้นกราบลาเดินทางล่วงหน้ามาก่อน พระอุปคุตจึงเข้าญาณสมาบัติมาถึงสำนักพระเถรานุเถระทั้งหลาย ก่อนภิกษุหนุ่ม ๒ รูป พระสงฆ์เถระประชุมสงฆ์ จึงกล่าวแก่พระอุปคุตว่า “คณะสงฆ์จะลงทัณฑกรรมแก่ท่าน เพราะความผิดที่ท่านไม่มาร่วมสังฆกรรม ทำอุโบสถ ฟังพระปาฏิโมกข์ร่วมกับคณะสงฆ์ “พระอุปคุตจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้ายินดีรับทัณฑกรรมที่คณะสงฆ์จะลงโทษ”
พระสงฆ์เถระในที่ประชุมสงฆ์แล้วว่า “บัดนี้พระยาศรีธรรมาโศกราช ทรงปรารถนาจะทำการสมโภชพระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมธาตุ ๘๔,๐๐๐ องค์ ที่ทรงสร้างไว้ในชมพูทวีปทั้งหมด ต้องใช้เวลาถึง ๗ปี ๗เดือน ๗ วัน ให้สมพระราชศรัทธา แต่เกรงว่าการสมโภชนั้นจะไม่พ้นภัย เกรงพญามารจะขัดขวางทำลายไม่ให้พระราชพิธีสมโภชนั้นดำเนินไปด้วยดี พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ตรัสให้คณะสงฆ์ช่วยป้องกัน พระอุปคุต จึงถาม “พระคุณเจ้าทั้งหลายแจ้งมาว่า จะให้ข้าพเจ้าทำประการใด” พวกเราไม่มีใครสามารถจะช่วยได้ เห็นแต่ท่านผู้เดียวเท่า
พระอุปคุตจึง ก้มลงกราบแล้วกล่าวว่า “ข้าพเจ้ายินดียอมรับทัณฑกรรม” เมื่อได้ผู้ป้องกันภัยอันตรายในการบำเพ็ญกุศลแล้ว คณะสงฆ์ โดยมี พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ เป็นประธาน จึงถวายพระพรให้ พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ๆ ทรงโสมนัสยิ่งนัก นั้นอีก แล้วมาเพื่อป้องกันภัยในครั้งนั้น จากนั้นข่าวการสมโภชพระมหาธาตุก็ได้กระจายไปทั่ว ครั้งต่อมาพระองค์ทอดพระเนตรเห็นองค์พระอุปคุตมหาเถระแล้วก็หนักพระทัย เพราะท่านมีร่างกายผ่ายผอมและทรงเล็กมาก พระองค์จึงทดสอบโดยเมื่อครั้นรุ่งเช้าทอดพระเนตรเห็นพระอุปคุตเดินไปบิณฑบาตทรงมีพระราชบัญชาสั่งให้พนักงานเลี้ยงช้าง ปล่อยช้างตกมันไล่พระอุปคุตเพื่อทดสอบ
พระอุปคุตมหา เถระเห็นช้างวิ่งไล่มาข้างหลัง จึงเข้าญาณสมาบัติอธิษฐานจิตให้ช้างตัวนั้นแข็งประดุจหิน ไม่อาจขยับเขยื้อนได้ พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ทอดพระเนตรเห็นดังนั้น จึงทรงขอขมาและทรงพอพระทัยยิ่งนัก เกิดความเคารพนับถือพระมหาเถระอุปคุตเป็นอันมาก ครั้นได้มงคลฤกษ์จึงเริ่มบุญพิธีสมโภชพระมหาเจดีย์ตามพระราชประสงค์ ครั้งพญามารรู้ข่าวจึงคิดจะหยุดงานสมโภช ตำนานกล่าวว่า พญามาร หรือ พญาวัสวดีมาราธิราช ซึ่งเป็นตนเดียวกับที่ขัดขวางพระพุทธองค์ครั้งบำเพ็ญเพียรก่อนที่จะตรัสรู้ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ คิดจะทำลายพิธีนั้น จึงแสดงอิทธิฤทธิ์ให้บังเกิดมหาวาตพายุอย่างร้ายแรง มีกำลังพัดมาประหนึ่งจะถล่มแผ่นดินให้ทลาย พระอุปคุตเถระเห็นอากาศวิปริตอย่างนั้นทราบชัดด้วยญาณอันประเสริฐของท่าน ว่า บัดนี้พญามารมาทำลายแล้ว
ท่านจึงเข้าญาณสมาบัติโดยพลัน อธิษฐานให้เกิดเป็นลมเหมือนกัน แต่ลมของพญามารก็พ่ายแพ้ พญามารก็แผลงฤทธิ์ใหม่ เป็นลมกรด เป็นเพลิง เป็นทรายเพลิง เร่าร้อนด้วยไฟ และประการอื่นอีกหลายอย่างเพื่อทำลายพิธีฉลองสมโภชองค์พระมหาเจดีย์ จนพญามารเกิดโทสะแรงกล้าพยายามจะทำลายล้างพระมหาเถระ จึงปรากฏตัวเป็นพญามาร
คาถาบูชา พระอุปคุต
อุปะคุตโต จะ มะหาเถโร สัมพุทเธนะ วิยากะโต มารัญจะ มาระพะลัญจะ โส อิทานิ มะหาเถโร นะมัสสิตะวา ปะติฎฐิโต อะหัง วันทามิ อิทาเนวะ อุปะคุตตัง จะ มาหาเถรัง ยัง ยัง อุปัททะวัง ชาตัง วิธัง เสติ อะเสสะโต มะหาลาภัง ภะวันตุเม ฯ
หรือ (แบบย่อ) อุปะคุตโต จะ มะหาเถโร ยักขาเทวา นะระปูชิโต โสระโห ปัจจะ ยาทิมปิ มะหาลาภัง ภะวันตุเม ฯ
(เกิดโชคลาภและคุ้มกันภัยภิบัติอันตรายทั้งปวง)
คำบูชาพระมหาอุปคุต นโม ๓ จบ
พระมหาอุปคุตโต พระมหาอุปคุตตัง จะมหาเถโร สัพเพชะนา พะหูชะนา อิถีชะนา มามังพุทธะจิตตัง จะมหาลาโภ พุทธะธัมโม จะมหาลาภัง พุทธะสังฆัง จะมหาสัจจัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม ฯ
อุปคุตตะ จะมหาเถโร สัพพะเสน่หาปุพชิโต โสระโห อุปะคุตะ ปัจจะยา ธิมะหิ อุตตะโม โหติ สัพพะทุกขะ สัพพะภะยะ สัพพะโรคะ พุทธา ธัมมา สังฆา อานุภาเวนะ วินาสสันติ ฯ
(นิยมสวดบูชาพระบัวเข็ม หรือ พระธาตุอุปคุต)
คำบูชาขอลาภพระอุปคุต
มหาอุปคุตโต จะมหาลาโภ พุทโธลาภัง สัพเพชะนา พะหูชะนา ราชาปุริโส อิถีโยมานัง นะโมโจรา เมตตาจิตตัง เอหิจิตติจิตตัง ปิยังมะมะ สะเทวะกัง สะพรหมมะกัง มะนุสสานัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม ฯ
เอหิจิตติ จิตตังพันธะนัง อุปะคุตะ จะมหาเถโร พุทธะสาวะกะ อานุภาเวนะ มาระวิชะยะ นิระภะยะ เตชะปุญณะตา จะเทวะตานัมปิ มะนุสสานันปิ เอหิจิตตัง ปิยังมะมะ อิมังกายะ พันธะนัง อะทิถามิ ปะอัยยิสสุตัง อุปัจสะอิ ฯ
https://www.springnews.co.th/social/264768
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...