ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 3951
ตอบกลับ: 3
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พลายชุมพล หลวงพ่อคำ วัดหนองแก ประจวบคีรีขันธ์

[คัดลอกลิงก์]
พลายชุมพล
หลวงพ่อคำ วัดหนองแก
ประจวบคีรีขันธ์




พลายชุมพล












2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2019-11-30 08:12 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พลายชุมพล เป็นลูกของขุนแผนกับนางแก้วกิริยา เป็นน้องของพลายงาม เมื่อขุนแผนเป็นเจ้าเมืองกาญจนบุรี นางทองประศรีก็ขอมาเลี้ยงไว้ที่กรุงศรีอยุธยาตั้งแต่เด็ก ๆ ครั้นเกิดเรื่องหึงหวงกันระหว่างนางศรีมาลากับนางสร้อยฟ้า พลายชุมพลก็หนีไปหาพ่อแม่ที่กาญจนบุรี แล้วหนีต่อไปหายายที่สุโขทัย ได้บวชเณรและเรียนวิชาล่องหนหายตัว ดำดิน เสกหุ่นหญ้า อยู่ยงคงกระพัน สำเร็จวิชาแล้วก็สึกจากเณรปลอมตัวเป็นมอญ ใช้ชื่อว่า สมิงมัตรา ยกทัพหุ่นหญ้าเสกมาสมทบกับขุนแผนเพื่อจับตัวพลายงาม
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2019-11-30 08:14 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
"รำพลายชุมพล : ภาพสะท้อนการแต่งกายของมอญใหม่สมัยต้นรัตนโกสินทร์"

"แล้วจัดแจงแต่งกายพลายชุมพล (ซ้ำ) ปลอมตนเป็นมอญใหม่ดูคมสัน
นุ่งผ้าตาหมากรุกของรามัญ (ซ้ำ) ใส่เสื้อลงยันต์ย้อมว่านยา
คอผูกผ้าประเจียดของอาจารย์ (ซ้ำ) โอมอ่านเสกผงผัดหน้า
คาดตะกรุดโทนทองของบิดา (ซ้ำ) โพกผ้าสีทับทิมริมขลิบทอง
ถือหอกสัตตโลหะชนะชัย (ซ้ำ) เหมือนสมิงมอญใหม่ดูไวว่อง
ขุนแผนขี่สีหมอกออกลำพอง (ซ้ำ) ชุมพลขึ้นกระเลียวผยองนำโยธา"

แม้ว่าวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนจะมีมาอยู่เดิมตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว แต่ต้นฉบับนั้นได้กระจัดพลัดพรายไปในช่วงสงครามปลายอยุธยา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 จึงได้โปรดให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งขึ้นใหม่ในรัชสมัยของพระองค์
  ตอนหนึ่งกล่าวถึงพลายชุมพล เมื่อจะแต่งกายออกรบ ได้ปลอมตัวเป็นมอญ ในเรื่องขุนช้างขุนแผนได้บรรยายภาพว่าเป็นการแต่งกายแบบ "มอญใหม่" ซึ่งหมายถึงการอพยพครั้งใหญ่ของชาวมอญในสมัยรัชกาลที่ 2 จำนวนกว่าสองแสนคนตามบันทึก นับเป็นการอพยพครั้งสำคัญของชาวมอญที่มีผู้คนจดจำได้มาก และเล่ากันติดปากว่าเป็นเรื่องใหญ่ขนาดพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 2 โปรดให้พระราชโอรสของพระองค์เองจัดกองทหารออกไปรับ ณ ชายแดนทางทิศตะวันตก
  ภาพการแต่งกายที่ชัดเจนของมอญใหม่  ก็เห็นจะได้แก่ ผ้าโพกหัว (สีชมพู - เป็นหนึ่งในสียอดนิยมของชาวมอญ) นุ่งผ้าตาหมากรุกที่ยังพบได้เห็นชายชาวมอญในประเทศไทยนุ่งอยู่แม้ในปัจจุบัน
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้