ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนานพระเกจิอาจารย์แห่งแดนสยาม
»
พระอาจารย์เปิง วัดชินวราราม จ.ปทุมธานี
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 2126
ตอบกลับ: 1
พระอาจารย์เปิง วัดชินวราราม จ.ปทุมธานี
[คัดลอกลิงก์]
รามเทพ
รามเทพ
ออฟไลน์
เครดิต
8083
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2019-10-15 07:20
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
ประวัติ
พระอาจารย์เปิง วัดชินวราราม จ.ปทุมธานี
พ.ศ. ๒๓๘๐ - พ.ศ. ๒๔๖๘
พระอาจารย์เปิง วัดชินวราราม เป็นอดีตพระเกจจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียง ของเมืองปทุมธานี ท่านเป็นชาวรามัญโดยกำเนิด เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2380 ศึกษาพุทธาคมจาก หลวงพ่อเชย จันทสิริ อดีตเจ้าอาวาสวัดโพธิ์บางเขน (ปัจจุบันคือ วัดโพธิ์ทองล่าง จ.นนทบุรี)
ในอดีตเป็นสำนักตักศิลาทางด้านพุทธาคม หลวงพ่อเชย ท่านเป็นพระอุปัชาย์และเป็นอาจารย์ของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ชัยนาท
หลวงพ่อเชย เป็นพระสงฆ์ฝ่ายรามัญที่เคร่งในวัตรปฏิบัติและพระธรรมวินัย เชี่ยวชาญวิปัสสนากัมมัฏฐานและมีพุทธาคมแก่กล้า หลวงปู่ศุข ได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้มาพร้อมกับ อาจารย์เปิง วัดชินฯและหลวงปู่เฒ่า วัดหงส์ฯ อาจารย์เปิง จึงเป็นสหธรรมิกใกล้ชิดสนิทสนมกับ หลวงปู่ศุข นอกเหนือไปจจากเป็นศิษย์ร่วมสำนัก
เล่ากันว่า อาจารย์เปิง มีพุทธาคมเข้มขลัง สามารถระเบิดน้ำลงไปจารตะกรุดในน้ำโดยจีวรไม่เปียกแบบเดียวกับหลวงปู่ศุข แม้กระทั่งสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ วัดราชบพิธ ยังถูกอัธยาศัยใจคอกับอาจารย์เปิงเป็นอย่างยิ่ง
มักจะแวะมาพำนักค้างแรมที่วัดชินฯ เป็นประจำ ยังได้สร้าง พระตำหนักริมน้ำ ในปี พ.ศ. 2468 และทรงโปรดให้สร้างมณฑปบรรจุอัฐิของพระมารดาไว้ที่วัดชินฯ ด้วยหลักฐานยืนยันได้ถึงความสัมพันธ์ของท่านทั้งสอง คือ รูปเหมือนสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ขนาดเท่าองค์จริงที่ทรงประทานไว้ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ อีกทั้งพระองค์ได้ทรงบูรณะวัดชินวรารามขึ้นใหม่ช่วงปี 2454 จนแล้วเสร็จใน ปี 2456
ซึ่งในวาระนี้เองที่ท่านได้สร้างพระปิดตาองค์เล็กเท่าเม็ดบัวขึ้นแจกให้กับผู้ที่มาช่วยงาน ซึ่งก่อนหน้านั้นท่านก็เคยสร้างแจกแต่มีจำนวนน้อยและมักเป็นพิมพ์สี่เหลี่ยมหรือไม่ก็เป็นพิมพ์เม็ดบัวที่มีปีกกว้างหลังอูมขนาดเกือบเท่าหัวนิ้วโป้งปิดตาของท่านอ.เปิงน่าจะมีเกือบ 30 พิมพ์
แต่ละพิมพ์มีจำนวนไม่มากเพียงแค่หลักสิบหรือหลักร้อยกว่าๆที่มีน้อยเนื่องจากกรรมวิธีที่สร้างค่อนข้างยุ่งยาก
ทั้งการรวบรวมว่านที่มีคุณวิเศษในตัวการลบผงวิเศษทั้ง5ประการ
ว่านที่ท่านได้รวบรวมมาจะนำมาตากแห้งตัดเป็นท่อนเล็กๆก่อนจะนำไปบดด้วยรางบดยาแบบโบราณให้เป็นผงละเอียดแล้วนำไปร่อนในตะแกรงทองเหลืองที่ใช้ร่อนแป้งซึ่งทั้ง 2 อย่างนี้ยังคงเก็บรักษาไว้ที่วัด
เมื่อได้ผงว่านที่ร่อนแล้วยังต้องมาใส่ในผ้าขาวบางแช่น้ำเพื่อไล่ยางว่านออกก่อนนำไปบีบว่านยาให้ทะลุรอดผ้าขาวออกมาทิ้งไว้ให้แห้งเวลาจะสร้างพระก็เอาว่านยาที่ได้มาบดในรางบดยาอีกครั้งเนื้อหาของพระท่านจึงละเอียด
ส่วนตัวผสานเนื้อว่านบดกับผงวิเศษจะมี 2 อย่างคือกล้วยน้ำว้าสุกกับน้ำผึ้งจึงทำให้เนื้อหาของพระท่านมีหลายโซน
ทั้งสีน้ำตาลอ่อนแบบยานัตถ์ สีน้ำตาลเข้ม สีดำแบบผงคลุกรัก และแบบ2สีในองค์เดียวกัน
พระบางองค์จะเห็นแผ่นรักผสมอยู่ในเนื้อเพราะช่วงที่มีการบูรณะวัดได้มีการลอกรักออกจากตู้พระไตรปิฎกจึงนำแผ่นรักที่ลอกออกมาบดใส่ลงไปเนื่องจากพระเครื่องของท่านสร้างติดต่อกันนับ 10 ปี เนื้อหาจึงแตกต่างกันไปแต่แม่พิมพ์ยังคงเดิมดังนั้นถ้าจะศึกษาพระอาจารย์เปิงต้องยึดพิมพ์เป็นหลัก
ถัดมาคือธรรมชาติความเก่า และเนื้อหา ของเก๊ใช้วิธีซื้อของแท้มาถอดพิมพ์ทำให้พิมพ์ไม่คมและ ตำหนิในพิมพ์ไม่ครบ แต่ที่ผ่านๆมาคนทั่วไปมักดูเนื้อเป็นหลักพอเจอเนื้อจัดๆก็คิดว่าแท้ซึ่งถือว่าเป็นการศึกษาที่ผิดหลักเพราะเนื้อหาพระแบบคลุกรักคนทำพระเก๊ทำได้ใกล้เคียงแต่ยังต้องถอดพิมพ์อยู่ ธรรมชาติของพระแท้จึงทำออกมาไม่ได้ทั้งในแง่ความคมชัด ตำหนิในพิมพ์ ความเก่า และเชิงช่างของผู้ที่แกะพิมพ์
อาจารย์เปิง มีศิษย์สืบทอดพุทธาคมที่พอทราบได้ ดังนี้
1. พระครูปัญญารัตน์(ติ๊ก) อดีตเจ้าอาวาสวัดชินฯ
2. พระอริยะธัชเถระ อดีตเจ้าอาวาสวัดสวนมะม่วง
3. พระอาจารย์พลาย อดีตเจ้าอาวาสวัดมะขาม
4. พระครูปทุมวรคุณ (เอี่ยม) อดีตเจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนาราม
อาจารย์เปิง จัดสร้างวัตถุมงคลไว้หลายแบบ ที่ได้รับความนิยมได้แก่ พระปิดตาเนื้อผลคลุกรัก นอกจากนี้ยังมี ตะกรุดเงิน ลงอักขระมอญ (จารนอกจารใน) และประคำเนื้อผลคลุกรัก เป็นต้น
สำหรับพระปิดตาอาจารย์เปิง ทำจากเนื้อผลพุทธคุณผสมว่านและเกสร 108 คลุกรักแดง มีความละเอียดเนียนลักษณะเดียวกับ พระปิดตาสายเมืองชลฯ พุทธคุณโดดเด่นด้านเมตตามหาเสน่ห์ แม้กระทั่ง หลวงปู่ศุข ยังเคยแบ่งผงพุทธคุณอาจารย์เปิงไปผสมทำพระปิดตาของท่านเพื่อเสริมด้านเมตตา หลวงปู่ศุขยังเคยแนะนำ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ว่าถ้าอยากเรียนทางด้านเมตตา ให้มาศึกษากับอาจารย์เปิง ท่านบอกว่า ...เรื่องเมตตา ท่านเปิงเขาเก่งกว่าฉัน... อาจารย์เปิง วัดชินวราราม มรณภาพในปี พ.ศ. 2468 สิริอายุได้ 88 ปี
ขอขอบคุณ
http://www.spirit-pra.com
รูปภาพพระปิดตา จาก..
http://www.prapantip.com/memshopview.php/41740/100814/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%A1/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%AD.%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%87%20%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%20%E0%B8%88.%E0%B8%9B%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5%20/
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
2
#
โพสต์ 2020-2-8 09:18
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...