ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2245
ตอบกลับ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระคาถาพระยาไก่เถื่อน

[คัดลอกลิงก์]

คาถาพญาไก่เถื่อน
สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน)


ประวัติพระคาถาพระยาไก่เถื่อน
               พระคาถาพระยาไก่เถื่อนนี้ ผู้ใดภาวนาได้สามเดือนทุกๆ วันโดยไม่ขาด ผู้นั้นจะมีปัญญาดั่งพระพุทธโฆษาฯ และไก่ป่านี้ขันขานไพเราะนัก ด้วยอำนาจแห่งพระคาถาพระยาไก่เถื่อนให้สวดสามจบ จะไปเทศน์ ไปสวด ไปร้อง หรือไปเจรจาสิ่งใดๆ ดีนัก มีตบะเดชะนัก ถ้าแม้นสวดได้เจ็ดเดือน อาจสามารถรู้ใจคน เหมือนดังไก่ป่ารู้กลิ่นตัวคนฉะนั้น ถ้าสวดครบหนึ่งปีจะมีตบะเดชะเหนือกว่าคนทั้งหลายทั้งปวงแม้จะเดินทางไกล ให้สวดแปดจบเหมือนไก่ขันยาม เป็นสวัสดีกว่าคนทั้งหลาย
               ใช้เสกหิน เสกแร่ ไว้สี่มุมเรือน โจรผู้ร้ายไม่เข้าปล้นเหมือนไก่ป่าไม่ทิ้งรัง แม้ผีร้ายเข้ามาในเขตบ้าน ก็คร้ามกลัวยิ่งนัก เสกข้าวสารปรายหนทางก็ดี ประตูก็ดี ผีกลัวยิ่งนัก คนเดินไปถูกเข้าก็ล้มแล แพ้แก่อำนาจเรา
               พระคาถานี้ได้เมื่อพระกกุสันโธเสวยพระชาติเป็นไก่ป่า เป็นอาการสามสิบสองของพระพุทธเจ้าทั้งห้าพระองค์ คือ พระกกุสันโธ พระโกนาคมโน พระกัสสโป พระโคตโม พระศรีอริยเมตไตย พระคาถาบทนี้ ถ้าจำเริญภาวนา จะมีอานุภาพมาก ผู้ใดภาวนาเป็นนิจสิน จะเกิดลาภยศมิรู้ขาด ทำมาค้าขึ้น ทำนา ทำสวน ทำไร่ เจริญงอกงามดี ทั้งทำให้บังเกิดสติปัญญาด้วย ถ้าเดินทางไปทางบกหรือเข้าป่า สวดภาวนาให้คลาดแคล้วจากภัยอันตรายดีนักแล ในบั้นปลายก็จะบรรลุพระนิพพานด้วยเมตตาบารมีนี้เอง


               พระธรรมพระคาถาพระยาไก่เถื่อน เป็น พระคาถานำ พระคาถาทั้งปวง ใช้ในทางสำเร็จประโยชน์ ผู้ใช้พระคาถานี้ ต้องมีสมาธิจิตเป็นเอกัคตาจิตขั้นสูง ถึงเมตตาเจโตวิมุตติ จึงจะใช้พระคาถานี้ได้ เพราะเป็นพระคาถามหาเมตตา ปลดปล่อยสัตว์และปลดปล่อยจิต ตัวเอง
               พระธรรมพระคาถาพระยาไก่เถื่อน เกี่ยวเนื่องกับ ไก่ป่ามากมาย และทรงกล่าวกับพระอริยเถราจารย์ ครูบารุ่งเรือง ว่าไก่ป่านี้ปราดเปรียวคอยหนีคน หนีภัยอย่างเดียว เหมือนกับจิตของคน ไก่ป่าเชื่องคนยาก เหมือนจิตของคนเรา ก็เชื่องต่ออารมณ์ยากมากเหมือนกัน ไก่ป่าแม้เสกข้าวด้วยเมตตาให้กิน แรกๆมันก็จะไม่กล้า เข้ามาหาคน นานๆเข้า จึงจะกล้าเข้าหาคนเหมือนจิตคนเรา ก็ชอบท่องเที่ยว ไปไกลตามธรรมารมณ์ต่างๆ ฝึกตั้งจิตเป็นสมาธิแรกๆนั้น จิตมักจะอยู่ พักเดียว ก็เตลิดต่อนานๆไป เมื่อจิตชินต่ออารมณ์ดีแล้ว จึงจะเชื่อง และตั้งมั่นเป็นสมาธิ
               พระอริยเถราจารย์ ครูบารุ่งเรือง ถามพระอาจารย์สุก อีกว่า "พระคาถาไก่เถื่อน ๔วรรค แต่ละวรรค กลับไป กลับมา เป็นอนุโลม ปฏิโลม หมายถึง"
พระอาจารย์สุกตอบว่า
"แต่ละวรรค หมายถึงโลกธรรมแปด
วรรค ๑ หมายถึง มีลาภ เสื่อมลาภ
วรรค ๒หมายถึงมียศ เสื่อมยศ
วรรค๓หมายถึง มีสรรเสริญ ก็มีนินทา
วรรค๔ หมายถึง มีสุข ก็มีทุกข์ ทุกอย่างย่อมแปรปรวน
มีดี และมีชั่ว ไม่แน่นอน ไม่ควรยึดติด มีหยาบ มีละเอียด"
           
               ต่อมาพระอาจารย์สุก ทรงยกองค์คุณแห่ง ไก่ปา ในมิลินท์ปัญหา มาให้พระอริยเถราจารย์ ครูบารุ่งเรืองฟังว่า ผู้ที่จะได้บรรลุมรรด ผล นิพพานต้องประกอบด้วยคุณสมบัติอันเปรียบเทียบได้กับ องค์คุณแห่ง ไก่ หรือไก่ป่า มี ๕ ประการ ดังนี้คือ
               ๑.เมื่อเวลายังมืดอยู่ ก็ไม่บินลง หากิน
               ๒. พอสว่าง ก็บินลง หากิน
               ๓.จะกินอาหาร ก็ใช้เท้าเขี่ยเสียก่อน แล้วจึงจิกกิน
               ๔.กลางวันมีตาใสสว่างเห็นอะไรได้ถนัดแต่เวลากลางคืนตาฟางคล้ายคนตาบอด
               ๕. เมื่อถูกเขาขว้างปา หรือถูกตะเพิดไม่ให้เข้ารัง ก็ไม่ทิ้งรังของตน   


           

               นี้เป็นองค์คุณ ๕ ประการของไก่ผู้มุ่งมรรค ผล ต้องประกอบให้ได้ กับคุณสมบัติ อันเปรียบเทียบได้กับองค์คุณเหล่านี้คือ
               ๑. เวลาเช้าปัดกวาดที่อยู่ และจัดตั้งเครื่องใช้สอย ไว้ให้เรียบร้อย อาบน้ำชำระกายให้สะอาด บูชากราบไหว้ ปูชณียวัตถุ และวัฒบุคคล
               ๒.ครั้นสว่างแล้ว จึงกระทำการหาเลี้ยงชีพ ตามหน้าที่แห่งเพศของตน
               ๓. พิจารณาก่อนแล้ว จึงบริโภคอาหาร ดังพุทธภาษิตว่า ผู้บริโภคอาหารพึงพิจารณา เห็นเหมือนคนบริโภคเนื้อบุตร ของตนในทางกันดาร แล้วไม่มัวเมา มุ่งแต่จะทรงชีวิตไว้ เพื่อทำประโยชน์สุข แก่ตน และผู้อื่น
               ๔. ตาไม่บอด ก็พึงทำเหมือนคนตาบอด คือไม่ยินดี ยินร้าย ดุจภาษิต ที่พระมหากัจจายนะกล่าวไว้ว่า มีตาดี ก็พึง ทำเป็นเหมือนคนตาบอด มีหูได้ยิน ก็พึงเป็นเหมือนหูหนวก มีลิ้นเจรจาได้ ก็พึงเป็นเหมือนคนใบ้ มีกำลังก็พึง เป็นเหมือนคนอ่อนเพลีย เรื่องร้ายเกิดขึ้น ก็พึงนอนนิ่งเสีย เหมือนคนนอนเฉยอยู่ฉะนั้น
               ๕. จะทำ จะพูด ไม่พึงละสติ สัมปชัญญะ ประหนึ่งไก่ป่า ไม่ทิ้งรังฉะนั้น ถ้าปฏิบัติได้อย่างนี้จะบรรลุ มรรด ผล นิพพาน



http://somdechsuk.com/content-detail.php?id=88#
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้