ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

~ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร วัดโฆสิตาราม (บ้านแค) ~

[คัดลอกลิงก์]
21#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-8-27 20:23 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
  

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
22#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-8-27 20:25 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
กราบหลวงปู่ครับ
กราบนมัสการหลวงพ่อเจ้าข้า
กราบหลวงพ่อครับ

ขอบคุณครับ
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-1-21 07:29
sritoy ตอบกลับเมื่อ 2013-8-30 18:58
กราบหลวงพ่อครับ









https://th-th.facebook.com
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-4-10 18:49

คำสอนของหลวงพ่อ

หลวงพ่อเป็นพระที่พูดน้อย จึงไม่ค่อยได้สอนศิษย์มากนัก หลวงพ่อมักจะทำให้ดู โดยเฉพาะการพูดคุย หรือสอนการนั่งวิปัสสนานั้นหลวงพ่อจะไม่พูดถึงเล่น ๆ เด็ดขาด หลวงพ่อกลัวเขาว่าอวดอุตริ แต่หลวงพ่อก็มีคำสอนเขียนเอาไว้ตรงข้างฝา หรือใต้รูป หลังรูป พอให้ศิษย์ได้อ่านกัน ท่านไม่ได้แต่งเอง ความหมายจึงไม่ตรงมากนัก แต่ก็ให้ความหมายใกล้เคียงพอเข้าใจ เช่น

ท่านเขียนไว้ที่ข้างฝา ว่าดังนี้


“อยู่คนเดียว เปลี่ยวกาย แสนสบายแต่ไม่สนุก อยู่สองคนมีแต่ความทุกข์ แสนสนุกแต่ไม่สบาย”

ท่านเขียนไว้ใต้รูปท่านพรรษาต้น ๆ ว่าดังนี้

“ศีล เป็น อาภรณ์อันประเสริฐ”

ท่านเขียนไว้ใต้รูปท่าน ตอนปลุกเสกแหวนแขน ที่ วัดชิโนรส ว่าดังนี้

“มีวิชา เหมือนมีทรัพย์ อยู่นับแสน จะตกถิ่นฐานใด คงไม่แคลน ถึงคับแค้นก็ยัง ปะทังตน”

ท่านเขียนไว้ด้านหลังหนังสือธรรมเล่มหนึ่ง ท่านเขียนว่า “ภาษิตของพระพุทธเจ้า”

“วีรชน ต้องสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะไว้ ต้องสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิตไว้ เมื่อระลึกถึงธรรมต้องกล้าสละทุกอย่าง ทั้งทรัพย์ ทั้งอวัยวะ แม้กระทั่งชีวิต ก็กล้าสละได้”

ท่านเขียนไว้ที่ตำราคาถาว่าดังนี้

“วิชา เหมือนสินค้า อันมีค่าอยู่แดนไกล ต้องยากลำบากไป จึงจะได้สินค้ามา”

อีกบทหนึ่งท่านเขียนว่า
“เมื่อไม่เรียนแล้วไยเล่าเจ้าจะรู้ เมื่อไม่ดูแล้วไยเล่าเจ้าจะเห็น เมื่อไม่ทำแล้วไยเล่าเจ้าจะเป็น จึงยากเข็ญขัดสนจนปัญญา”

คำกลอน ๖ บทนี้ท่านเขียนไว้ในสมุดบัญชีคนทำบุญ

“ปล่อยให้ยุ่งแล้วมันแย่แก้มันยาก ยิ่งยุ่งมากมันยิ่งแย่แก้ไม่ไหว อย่างให้ยุ่งนุงนังนักจะหนักใจ จงแก้ไขอย่างให้ยุ่งนุงนังเอย”

“ห้ามอันใดพอห้ามได้ดูไม่ยาก แต่ห้ามปากยากจิตคิดไฉน ใจมันอยากปากจะกินจนสิ้นใจ เหลืออะไรที่จะห้ามปราบปรามมัน”

“อันวาสนาของมนุษย์สุดคาดหมาย ย่อมกลับกลายไม่แน่นักมักแปรผัน ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหนระคนกัน มีจนนั้นผันแปรไม่แน่นอน”

“มีจะมาก็เพราะหาเข้ามาไว้ มีไม่ได้เพราะนิสัยไม่ขยัน มีมากแล้วใช้หมดก็อดกัน วันหน้านั้นกินอะไรเพราะไม่มี”

“ถึงมีมากใช้มากก็มักหมด พอยามอดก็เสียใจเพราะไส้แห้ง เป็นหนี้สินรุงรังนั่งตาแดง ใครเขาแกล้งเหตุเพราะตัวมัวเมาเอง”

“มีเฟื้องมีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท อย่าให้ขาดโดยเป็นของต้องประสงค์ มีน้อยใช้น้อยค่อยบรรจง อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน”



ท่านเขียนไว้ใต้รูปก่อนพรรษาสุดท้ายว่า

“อันความตายชายนารีหนีไม่พ้น จะมีจนก็ไม่พ้นตนเป็นผี ถึงแสนรักก็ต้องร้างห่างทันที ไม่วันนี้ก็วันหน้าจริงหนาเรา”


ท่านเขียนไว้ที่ปฏิทินสมัยที่ท่านสักให้ศิษย์ว่า

“อย่าประมาทขาดสติ ศิษย์มีหลักเหมือนพยัคฆ์มีเขี้ยว ศิษย์มีครูเหมือนงูมีพิษ ปัจจามิตรพินาศสูญ”

คือหลวงพ่อสอนให้ศิษย์ไม่ให้ประมาท ขาดสติ ข้อนี้เป็นข้อยุติ



ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้