ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 3233
ตอบกลับ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ประวัติหลวงพ่อชุ่ม วัดท่ามะเดื่อ

[คัดลอกลิงก์]
ประวัติหลวงพ่อชุ่ม วัดท่ามะเดื่อ เหรียญหายากจังหวัดราชบุรี  





เหรียญหลวงพ่อชุ่ม วัดท่ามะเดื่อ รุ่นแรก ปี2463
(
ขอขอบคุณรูปจาก คุณเม่นวัดดอน)

หลวงพ่อชุ่ม  วัดท่ามะเดื่อ นับย้อนหลังไปเมื่อปีพ.ศ.2428  "หลวงพ่อชุ่ม จันทโชติ" อดีตเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดท่ามะเดื่อ  ต.วนกล้วย อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี  เป็นพระเกจิที่มีพุทธาคมเข้มขลังในสายพระนักปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐาน  หลวงพ่อชุ่ม วัดท่ามะเดื่อ ผู้สร้างตำนาน "ปาฏิหาริย์ปราบผี"  จนมีชาวบ้านให้ความเลื่อมใสศรัทธาตลอดมา

ประวัติหลวงพ่อชุ่ม  วัดท่ามะเดื่อ จ.ราชบุรี หลวงพ่อชุ่ม  เป็นคนบ้านดอนยายหอม อ.เมือง จ.นครปฐม เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่ออายุ 23 ปี  พ.ศ.2528 อยู่วัดโพธิบัลลังก์ เป็นพระเถราจารย์ยุคเดียวกับหลวงพ่อกล่อม วัดขนอน  ในพิธีอุปสมบทพระใหม่แต่ละครั้ง หลวงพ่อกล่อมเป็นพระอุปัชฌาย์  หลวงพ่อชุ่มกับหลวงพ่อหวาน วัดโพธิ์บัลลังก์ เป็นพระคู่สวด หลวงพ่อชุ่ม  วัดท่ามะเดื่อ เป็นพระนักปฏิบัติธรรมชอบสมถะ เชี่ยวชาญทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน  ตลอดจนรอบรู้วิทยาคม เวทมนตร์อาคมต่างๆ  สานุศิษย์ทั้งหลายให้ความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างมาก  วัดท่ามะเดื่อตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลองด้านตะวันออก ที่บ้านสวนกล้วย อ.บ้านโป่ง  แต่เดิมบริเวณวัดมีต้นมะเดื่อใหญ่อยู่ที่ท่าน้ำ ชาวบ้านจึงเรียกชื่อว่า  วัดท่ามะเดื่อ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดอุทุมพราราม แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า  วัดท่ามะเดื่อ จนถึงปัจจุบัน วัดท่ามะเดื่อเป็นวัดที่ตั้งมากว่าร้อยปี  ไม่ปรากฏนามผู้สร้าง  เล่ากันว่าบริเวณที่ตั้งวัดแต่เดิมเป็นป่ารกทึบแนวเดียวกับวัดบ้านโป่ง  มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่มาก มีต้นมะเดื่อใหญ่ริมแม่น้ำแม่กลอง


ประวัติหลวงพ่อชุ่ม วัดท่ามะเดื่อ เหรียญหายากจังหวัดราชบุรี สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2  ทหารญี่ปุ่นเข้ามาตั้งฐานทัพในเขตอำเภอบ้านโป่งหลายแห่ง ที่หนองปลาดุก  หนองตะแคงได้สร้างทางรถไฟไปจังหวัดกาญจนบุรี  ทหารอเมริกันทิ้งระเบิดทางเครื่องบินโจมตีทหารญี่ปุ่น 4 ลูก  ถูกต้นโพธิ์ใหญ่ที่ท่าวัด มีพระภิกษุบาดเจ็บจากแรงระเบิดหลายรูปด้วยกัน ตามประวัติ  ก่อนที่หลวงพ่อชุ่มมาปกครองวัดท่ามะเดื่อ มีพระโยคาวจร  ผู้ถือธุดงค์ผ่านมาแวะอาศัยเพียงระยะสั้นๆ นอกฤดูพรรษา  บางคราวมีพระภิกษุบางรูปอยู่จำพรรษา แต่ที่สุดก็จาริกจากไป สิ่งก่อสร้างทั้งหมดได้เริ่มขึ้นสมัยหลวงพ่อชุ่มมาอยู่วัดท่ามะเดื่อ  ทั้งอุโบสถ กุฏิสงฆ์ หอฉันศาลาการเปรียญหลังเก่า ซึ่งปัจจุบันพระมหาปรีชา สามตถิโก  เจ้าคณะตำบลปากแรด และเจ้าอาวาสวัดท่ามะเดื่อรูปปัจจุบัน  ได้ทำการบูรณะในสิ่งที่ชำรุดไปบ้างแล้ว



เหรียญหลวงพ่อชุ่ม วัดท่ามะเดื่อ  รุ่นแรก ปี2463




เหรียญหลวงพ่อชุ่ม วัดท่ามะเดื่อ  รุ่นแรก ปี 2463




จัดสร้างพระเครื่องขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2463  เป็นเหรียญรูปไข่ ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปหลวงพ่อชุ่มครึ่งองค์ ซ้อนวงกลม 2 ชั้น  ด้านในวงกลมล่างเป็นโบซ้อน ระบุ พ.ศ.2463 ขอบเหรียญด้านหน้าเขียนอักขระล้อมรอบวงกลม ส่วนด้านบนมีหูเชื่อม ด้านหลังเหรียญเขียนเป็นอักขระ  ด้านล่างเขียน "ไว้เปนที่ระฎก" เหรียญหลวงพ่อชุ่ม  ดังกล่าวได้รับการยอมรับว่ามี พระเครื่องหลวงพ่อชุ่ม พุทธคุณด้านเมตตา แคล้วคลาด คงกระพันชาตรี  เหรียญหายากเป็นที่นิยมของวงการพระเครื่องและชาวราชบุรีเป็นอย่างมาก


เหรียญรุ่นเสมาหลวงพ่อชุ่ม วัดท่ามะเดื่อ  เท่าที่พบมีน้อยมากว่ากันว่าหลวงพ่อดี วัดบ้านยาง  สร้างให้เป็นที่ระลึกในงานศพหลวงพ่อชุ่ม ยังมีพระผงผสมดินเผา  ขนาดย่อมและบางกว่าพระดินเผาขี่สัตว์ของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ลูกอม ตะกรุดเป็นต้น ที่สำคัญเหรียญรูปไข่หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม พ.ศ.2492  หลวงพ่อเงินสร้างขึ้นมอบให้วัดท่ามะเดื่อทั้งหมด  เพื่อนำออกให้สาธุชนบูชานำรายได้ซ่อมแซมเสนาสนะของวัดท่ามะเดื่อ  เนื่องจากหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม มีศักดิ์เป็นหลานหลวงพ่อชุ่ม  และมาบวชเป็นสามเณรอาศัยวัดท่ามะเดื่อ ศึกษาวิทยาอาคมกับหลวงพ่อชุ่มซึ่งเป็นหลวงน้า  ประสงค์จะแทนคุณทางวัดและ พระอธิการชุ่ม วัดท่ามะเดื่อ เหรียญรุ่นนี้เป็นที่นิยมไม่แพ้รุ่นอื่นๆ  ของท่า


ควายธนูหลวงพ่อชุ่ม วัดท่ามะเดื่อ
ควายธนูเป็นเครื่องรางของขลังของหลวงพ่อชุ่ม วัดท่ามะเดื่อ  เป็นที่กล่าวขานกันว่า  ครั้งหนึ่งมีโจรเข้าไปขโมยควายของญาติที่เป็นลูกพี่ลูกน้องกับหลวงพ่อ  หลวงพ่อชุ่มได้เสกควายธนูไล่จนโจรหนีหายเตลิดเปิดเปิง แม้แต่สัตว์มีพิษ เช่น งู  ตะขาบ แมงป่อง ยังไปอยู่ร่วมห้อง โดยที่ไม่ทำอันตรายหลวงพ่อแม้แต่น้อย  ส่วนเรื่องราวการปราบผี ในอดีตบริเวณวัดท่ามะเดื่อเป็นป่ารกร้างน่ากลัว  ชาวบ้านกล่าวกันว่ามีผีดุ เมื่อเดินผ่านหน้าวัดจะถูกผีหลอกเป็นประจำ  หลวงพ่อชุ่มใช้วิทยาคมปราบผีปีศาจจนหนีกระเจิง หลวงพ่อชุ่มเป็นพระถือสันโดษ  เคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีปฏิปทาปฏิบัติน่าเลื่อมใส  ทำวัตรสวดมนต์ถือครองผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต บิณฑบาตเป็นกิจไม่เคยขาด หลวงพ่อชุ่ม  วัดท่ามะเดื่อมรณภาพลงด้วยโรคชราเมื่อปี 2465 แม้ท่านจะละสังขารไปแล้ว  แต่ความเลื่อมใสศรัทธาที่มีหลวงพ่อชุ่ม วัดท่ามะเดื่อ  ยังคงปรากฏอยู่จนถึงทุกวันนี้


ข่าวพระเครื่องที่มา...หนังสือพิมพ์ข่าวสด
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้