ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 6855
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระรอดละโว้ วัดกำแพง ต.บ้านชี อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี

[คัดลอกลิงก์]
หลวงพ่อเดิมปลุกเสก พระรอดละโว้ สร้างในปี 2482



ได้มีการจัดสร้างวัตถุมงคลที่สืบสานตามตำราของวัดสามปลื้ม กรุงเทพ โดยวัตถุมงคลนั้นประกอบไปด้วย พระรอดละโว้เนื้อโลหะผสมและเนื้อผง แหวนเกราะเพชร ผ้ายันต์ธง 4 แบบ โดยจัดสร้างขึ้นโดยพระมหาพงศ์ พุทธสโร และมาทำพิธีที่ วัดกำแพง บ้านหมี่ ลพบุรี เมื่อวันอังคาร ที่ 19 มีนาคม 2482

ทั้งนี้พระมหาพงศ์ เดิมท่านเป็นคนพื้นเพที่บ้านหมี่ เมื่อท่านได้บวชและเล่าเรียนอยู่ที่วัดสามปลื้ม ได้กลับมาพบสภาพของวัดกำแพงที่ทรุดโทรม ก็ให้รู้สึกสลดใจ จึงมีความต้องการที่จะบูรณปฏิสังขรณ์ ให้กลับมามีสภาพดีใช้งานได้เช่นเดิม ท่านจึงได้นำความไปปรึกษากับ ท่านเจ้าคุณศรี(สนธิ์) ซึ่งมีความสนิทสนมกัน ท่านเจ้าคุณศรีท่านก็ให้ความเมตตารับเป็นผู้ดำเนินการทางด้านการจัดสร้าง และเป็นเจ้าพิธี กำหนดบริเวณปริมณฑลพิธี พร้อมทั้งกำหนดการนิมนต์พระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียโด่งดังในยุคนั้นที่ทรงไว้ ด้วยอาคมขลังร่วมนั่งปรกปลุกเสกในพิธีที่ วัดกำแพง ประกอบด้วย

เจ้าคุณธรรมทานาจารย์ วัดระฆัง
        หลวงพ่อพริ้ง วัดบางประกอก
        พระปาโมกข์มุนี วัดป่าโมก
        หลวงปู่เนียม วัดเสาธงทอง
        หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ
        เจ้าคุณศรี(สนธิ์) เป็นต้น
        ทั้งนี้ยังมีพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดลพบุรี และถิ่นใกล้เคียงอีกหลายท่านเข้าร่วมในพิธีด้วยหลายท่าน
พระรอดละโว้ วัดกำแพง ต.บ้านชี อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี เป็นพระที่จัดสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2482
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารายได้มาสร้างศาลาการเปรียญวัดกำแพงที่ยังไม่แล้วเสร็จ
        พระสุทธิพงศ์มุนี (พระมหาพงศ์ พุทธสโร) ซึ่งพื้นเพเป็นคนลพบุรี จึงปรึกษาพระอธิการทองดำ เจ้าอาวาสวัดกำแพงและคณะทายกทายิกา
        ว่าจะจัดสร้างวัตถุมงคลเพื่อเป็นที่ระลึก
        เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว พระสุทธิพงศ์มุนีจึงได้เสาะหาตำราของบูรพาจารย์รุ่นเก่าๆ เกี่ยวกับพิธีกรรมในการสร้างวัตถุมงคล
        จนไปพบตำราการสร้างพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์จากวัดสามปลื้ม วัดที่ท่านเคยได้จำพรรษาอยู่นั้นเอง
        ท่านจึงได้กราบทูลขอความอนุเคราะห์ในด้านชนวนโลหะและพิธีการสร้างจาก สมเด็จสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ฯ
        สมเด็จฯ ท่านจึงได้มอบหมายให้ท่านเจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์ ยติธโร) วัดสุทัศน์ฯ มาเป็นประธานและที่ปรึกษาแทนพระองค์ท่าน
        รายการพระเครื่องที่จัดสร้าง
1. พระรอดละโว้เนื้อโลหะ เฉพาะเนื้อโลหะ มี 4 พิมพ์ คือ
- พิมพ์ต้อ
- พิมพ์ชะลูด
- พิมพ์ต้อไม่มีรัศมี
- พิมพ์ประกบสองหน้ารัศมี มีรูปหลวงพ่อทั้งสองหน้า เป็นพิมพ์ที่หายากมากที่สุด
        ว่ากันว่า ใน 1 บาตรพระจะมีพระพิมพ์นี้อยู่แค่ 2 องค์ องค์หนึ่งเป็นของ ธงชัย แป้นวงศ์ (ตี๋สั้น) และอีกองค์เป็นของ ดร.ไสว พงษ์เก่า
2. พระรอดละโว้เนื้อผง จะมีทั้งหมด 7 สีประจำวัน ตามคติโบราณของไทย ซึ่งจะต่างกับปัจจุบันเล็กน้อย ดังนี้
- วันอาทิตย์ สีส้มหรือสีแดง
- วันจันทร์ สีขาวหรือสีนวล
- วันอังคาร สีชมพู
- วันพุธ สีเขียว
- วันพฤหัสบดี สีเหลือง
- วันศุกร์ สีน้ำเงินหรือสีฟ้า
- วันเสาร์ สีดำหรือสีม่วงแก่
        และมีสีดำและขาวเพิ่มขึ้นมาอีกสองสี รวมเป็นทั้งหมด 9 สีด้วยกัน หลังจากประกอบพิธีเสร็จ
3. ผ้ายันต์ธง 4 แบบ เช่น ผ้ายันต์ปลาตะเพียนคู่ ผ้ายันต์พระฉิมพลี ธงแม่โพสพ ธงกำจัดโรคภัย
4. แหวนเกราะเพชร (แหวนมงคล 7 ราศี) แหวนนี้จะมีทำสำหรับประจำวันต่างๆ ครบ 7 วัน เนื้อโลหะผสมออกทองแดง ด้านในหล่อเป็นยันต์นูน
        พิธีการสร้าง ณ วัดสุทัศน์ฯ กทม. เนื่องจากทางวัดกำแพงเครื่องไม้เครื่องมือไม่พร้อม จึงได้ทำพิธีการเททองหล่อขึ้นที่วัดสุทัศน์ฯ
        โดยมีท่านเจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์ ยติธโร) เป็นผู้ดำเนินการให้
        รวมไปถึงพระรอดละโว้เนื้อผงก็ทำการกดพิมพ์ด้วยมือที่วัดสุทัศน์ฯ เช่นกัน
        เมื่อแล้วเสร็จจึงได้ส่งไปปลุกเสกที่วัดกำแพง ลพบุรี (ไม่ได้มีการเททองหล่อพระที่วัดกำแพงเหมือนอย่างที่มีการกล่าวอ้างแต่อย่างใด)
พิธีพุทธาภิเษก ณ วัดกำแพง จังหวัดลพบุรี ในวันอังคารขึ้น 11 ค่ำ เดือน 4 ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 19 มีนาคม 2482
        (แต่ทางวัดได้จัดงานเฉลิมฉลองและมีมหรสพสมโภชตั้งแต่วันที่ 19-21 มีนาคม ไม่ได้ปลุกเสกกัน 3 วัน 2 คืนเหมือนอย่างที่มีการกล่าวอ้างกัน)
โดยมีท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ฯ เป็นเจ้าพิธี จัดพิธีถูกต้องตามตำราของวัดสุทัศน์ฯ ทุกประการ
        เป็นพิธีใหญ่ที่สุดที่เคยจัดมาของจังหวัดลพบุรีในสมัยนั้นเลยทีเดียว
        รายนามคณาจารย์ที่มาร่วมพิธีพุทธาภิเษก
1. ท่านเจ้าคุณศรีสนธิ์ วัดสุทํศน์ฯ กทม.
2. หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก กทม.
3. เจ้าคุณธรรมทานาจารย์ วัดระฆัง กทม.
4. พระครูปาโมกข์มุนี วัดป่าโมกข์ อ่างทอง
5. เจ้าคุณสังฆภารวาหมุนี (เนียม) วัดเสาธงทอง ลพบุรี
6. พระครูนิวาสธรรมขันธ์ (เดิม พุทธสโร) วัดหนองโพ นครสวรรค์
7. หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา
        ทั้งนี้ยังมีพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดลพบุรีและถิ่นใกล้เคียงอีกเข้าร่วมในพิธีด้วยหลายท่าน
        หลังจากเสร็จสิ้นพิธีการพุทธาภิเษกแล้ว ทางวัดกำแพงยังได้นำพระรอดละโว้ เฉพาะเนื้อผงเท่านั้น ไปที่วัดหนองโพ เพื่อให้หลวงพ่อเดิมปลุกเสกให้อีกครั้งหนึ่ง
        และได้มีการแบ่งถวายให้ที่วัดหนองโพส่วนหนึ่ง ซึ่งก็มีคนที่ได้รับพระผงพิมพ์นี้จากมือหลวงพ่อเดิมด้วย
        จนคนสมัยนั้นเรียกว่า พระผงหลวงพ่อเดิม แล้วเลยเถิดไปเรียกพระรอดเนื้อโลหะด้วยว่า พระรอดหลวงพ่อเดิม เพราะเห็นว่าเป็นพิมพ์เดียวกัน
        หมายเหตุ พระรอดละโว้เนื้อโลหะ มักจะมีตำหนิที่ใบหน้าและฐานบัวด้านล่างเนื่องจากโดนคีมที่จับชิ้นงานเพื่อตะไบตกแต่งบีบเอา
        ล่าสุดมีของเก๊ฝีมือระบาดจากลพบุรี ของแท้รอยตะไบจะใกล้เคียงกับรอยตะไบใต้ฐานพระพุทธชินราชอินโดจีน วัดสุทัศน์ฯ
        ข้อห้าม ผู้บูชาแขวนคอห้ามด่าพ่อแม่ผู้อื่น ห้ามเล่นการพนัน ห้ามผิดลูกเมียของผู้อื่น
        ผู้บูชาให้อาราธนาแล้วอธิษฐานก่อนคล้องคอ ลอดราวตากผ้า ลอดสะพานไม่เสื่อม ให้อาราธนาใหม่แล้วอธิษฐานใหม่คล้องคอตามเดิม
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้