ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 3031
ตอบกลับ: 3
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

~ หลวงปู่ผล ญาณจารี วัดหนองบัวน้อย ~

[คัดลอกลิงก์]

หลวงปู่ผล ญาณจารี
วัดหนองบัวน้อย
ต.ขามเรียน อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม


ประวัติและปฏิปทา

๏ อัตโนประวัติ

แม้ “หลวงปู่สาธุ์ สุขธมฺโม” วัดบ้านเหล่า ต.เม็กดำ อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม อดีตพระเกจิชื่อดังแห่งภาคอีสาน จะได้มรณภาพจากโลกนี้ไปนานกว่า 30 ปีแล้ว แต่ศรัทธาชาวอีสานที่มีต่อหลวงปู่สาธุ์ ยังคงไม่เสื่อมคลายตราบจนปัจจุบัน

ขณะเดียวกัน ได้มีพระเถระสืบทอดเป็นทายาทธรรมหลวงปู่สาธุ์ คือ “พระครูอรรถญาณโสภณ” หรือ “หลวงปู่ผล ญาณจารี” วัดหนองบัวน้อย ต.ขามเรียน อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม ที่พุทธศาสนิกชนชาวมหาสารคาม และจังหวัดใกล้เคียงให้ความเลื่อมใสศรัทธา

หลวงปู่ผล มีนามเดิมว่า ผล พันธ์พยัคฆ์ เกิดเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ.2463 ณ บ้านหนองบัวน้อย ต.ขามเรียน อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม


๏ การศึกษาเบื้องต้น

ในช่วงวัยเยาว์ เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านหนองแก ต.ลานสะแก อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม แล้วไม่ได้เรียนต่อ เพราะต้องออกมาช่วยงานครอบครัวทำไร่ทำนา เลี้ยงน้องๆ ตามวิถีชีวิตของชาวชนบทอีสาน

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-8-20 22:01 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๏ ศิษย์รุ่นสุดท้ายของหลวงปู่สาธุ์

ในช่วงนั้นหลวงปู่สาธุ์ วัดบ้านเหล่า มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วเขตทุ่งกุลาร้องไห้ ด.ช.ผล รับทราบกิตติศัพท์ เกิดศรัทธาอย่างแรงกล้าในวัตรปฏิบัติของหลวงปู่ ได้ขอให้บิดามารดานำไปบรรพชากับหลวงปู่สาธุ์ ณ วัดบ้านเหล่า

มีโอกาสรับใช้หลวงปู่สาธุ์อย่างใกล้ชิด ได้ศึกษาวิทยาคมจากหลวงปู่สาธุ์ โดยท่านเมตตาถ่ายทอดวิชาให้จนหมดสิ้น นับเป็นศิษย์รุ่นสุดท้ายของหลวงปู่สาธุ์ อยู่รับใช้หลวงปู่สาธุ์ มาจนถึงปี พ.ศ.2483 จึงกราบลาเดินทางกลับมาจำพรรษาที่วัดหนองบัวน้อยบ้านเกิด



๏ การอุปสมบท

ต่อมา ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดราษฎร์เจริญ บ้านมะโบ่ ต.ขามเรียน อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม โดยมีพระครูจันทรสีตคุณ วัดทองนพคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูบุญมานิตย์ วัดบ้านหัวหมู เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการพวง วัดอัมวัน บ้านสระแคน ต.ราษฎร์พัฒนา อ.พยัคฆภูมิพิสัย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ภายหลังอุปสมบท ญาติโยมได้นิมนต์ให้ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดหนองนาใน รวม 6 พรรษา

ด้วยเป็นพระที่มีปฏิปทางดงามวัตรปฏิบัติเสมอต้นเสมอปลายและเป็นศิษย์ของหลวงปู่สาธุ์ ทำให้เริ่มมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของพุทธศาสนิกชนอย่างรวดเร็ว

พ.ศ.2489 ญาติโยมชาวบ้านหนองบัวน้อย ได้นิมนต์หลวงปู่ผล จำพรรษาที่วัดหนองบัวน้อย

วัตรปฏิบัติของหลวงปู่ผล เป็นที่ทราบกันดีในหมู่ญาติโยม หลังออกพรรษาทุกปี ท่านจะออกธุดงควัตรไปตามป่าเขาลำเนาไพรหลายแห่งในภาคอีสาน บางครั้งเดินเข้าไปถึงประเทศลาว และเขมรเพื่อแสวงหาความหลุดพ้นตามรอยพระตถาคต

ด้วยความที่เป็นพระเคร่งครัดในพระธรรมวินัย ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระกัมมัฏฐานรูปหนึ่งที่พุทธศาสนิกชนกราบไหว้ได้อย่างสนิทใจ ในแต่ละวัน จะมีญาติโยมจากทั่วสารทิศ เดินทางมากราบนมัสการ ประพรมน้ำพุทธมนต์ รวมทั้งขอวัตถุมงคลตะกรุดโทน และเหรียญรูปเหมือนที่เข้มขลังจากหลวงปู่

สำหรับปัจจัยที่ได้จากการบริจาคของศรัทธาญาติโยม หลวงปู่ผลได้นำมาพัฒนาสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับวัด ทั้งสร้างอุโบสถ ศาลาการเปรียญ กำแพงแก้ว เป็นต้น รวมทั้ง ปรับปรุงพัฒนาภายในวัดให้มีความร่มรื่น สงบวิเวก เหมาะกับการเจริญภาวนาและปฏิบัติธรรมของภิกษุสงฆ์และศรัทธาญาติโยมยิ่งนัก



๏ งานด้านการศึกษา

นอกจากนี้ ท่านยังให้ความสำคัญทางด้านการศึกษา ได้จัดตั้งสำนักเรียนสอนธรรมและบาลี และให้ความอนุเคราะห์บริจาคปัจจัยเป็นอาหารกลางวันให้กับโรงเรียนต่างๆ ในพื้นที่
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-8-20 22:01 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๏ ลำดับงานปกครองและสมณศักดิ์

พ.ศ.2500 ได้รับตราตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านหนองบัวน้อย และเป็นเจ้าคณะตำบลเม็กดำ เขต 2 อ.พยัคฆภูมิพิสัย และเจ้าคณะตำบลขามเรียน กิ่ง อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม

พ.ศ.2517 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ.2520 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นตรีที่ “พระครูอรรถญาณโสภณ”

พ.ศ.2529 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นโท ในราชทินนามเดิม


๏ พระธรรมเทศนา

ธรรมะที่หลวงปู่พร่ำสอนเตือนใจศรัทธาญาติโยม เป็นหลักธรรมง่ายๆ คือ “ทำดี ละชั่ว แล้วชีวิตจะพบแต่สิ่งดีๆ”


๏ การมรณภาพ

ด้วยความไม่เที่ยงของสังขารบั้นปลายชีวิต หลวงปู่ผล ได้มรณภาพลงอย่างสงบด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2534 สิริอายุรวม 71 พรรษา 53 แต่คุณงามความดีของท่านยังคงเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชนตราบจนปัจจุบัน



.............................................................

คัดลอกมาจาก ::
หนังสือพิมพ์ข่าวสด หน้า 31
คอลัมน์ อริยะโลกที่ 6 โดย เชิด ขันตี ณ พล
วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 16 ฉบับที่ 5904

ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=26714

ขอบคุณครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้