คนไทยยุคบรรพกาล ยามบ้านเมืองสงบก็กลัวเกรงบาปมากกว่ากลัวของมีคม แต่หากแผ่นดินลุกเป็นไฟก็ไม่กลัวศาสตราใดๆ ว่ากันว่าต่างคนต่างก็มีของดีพกติดตัว บ้างก็มีวิทยาคม ตั้งแต่ระดับชาวบ้าน อย่างนายจันหนวดเขี้ยว แห่งบ้านบางระจัน หรือบรรดาขุนทหารอย่างขุนรองปลัดชู แห่งบ้านวิเศษชัยชาญ กระทั่งพระเจ้าแผ่นดิน อย่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระองค์ทรงมีพระหูยาน กรุลพบุรีติดอยุ่กับพระมาลาเบี่ยงของพระองค์และผ้ายันต์วัดป่าแก้วเป็นที่ยึดเหนี่ยวพระทัยในยามศึกสงคราม อันเป็นที่มาของตำนานพระแสงดาบคาบค่ายอีกด้วย ย้อนไปเมื่อครั้งพระองค์ทรงทำยุทธวิธีการรบแบบกองโจรอันเป็นยุทธวิธีของการรบที่ใช้กำลังน้อยเอาชนะฝ่ายที่มีกำลังมากกว่า ซึ่งเป็นที่มาของตำนานพระแสงดาบคาบค่าย การรบแบบกองโจรตามแบบฉบับของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หากย้อนไปในอดีตเมื่อประมาณ ๔๐๐ กว่าปีก่อน
ในปีพ.ศ.๒๑๒๙ พระเจ้านันทบุเรงประชุมกองทัพจำนวน ๒๕๐,๐๐๐ คนยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ในช่วงต้นเดือนยี่ข้าวในนายังเกี่ยวไม่เสร็จ สมเด็จพระนเรศวรจึงรับสั่งให้เจ้าพระยากำแพงเพชรยกทัพออกไปป้องกันชาวนาที่กำลังเกี่ยวข้าว พอทัพพม่าของพระมหาอุปราชยกทัพมาถึงก็ให้ทัพม่าเข้าตีจนทัพเจ้าพระยากำแพงเพชรแตกพ่ายหนีเข้าเมือง สมเด็จพระนเรศวรทรงพิโรธอย่างมาก เพราะไทยไม่เคยแตกพ่ายแพ้ต่อข้าศึกอาจทำให้ทหารขวัญเสีย พระองค์และสมเด็จเอกาทศรถเสด็จลงเรือพระที่นั่งออกไปรบทันที (สมเด็จพระเอกาทศรถทรงถูกกระสุนปืนแต่ไม่เป็นอะไร เพียงแค่ฉลองพระองค์ขาดเท่านั้น) ผลปรากฏว่าทรงยึดค่ายคืนมาได้ สมเด็จพระนเรศวรมีรับสั่งประหารชีวิตเจ้าพระยากำแพงเพชร แต่โชคดีที่พระบิดาสมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงขอชีวิตเอาไว้ การศึกครั้งนี้พม่าหมายมั่นจะตีกรุงศรีอยุธยาให้ได้ แต่ด้วยความแข็งแกร่งของทหารไทยจึงรักษาที่มั่นเอาไว้ได้เสมอ เสด็จออกปล้นค่ายพม่าซึ่งเป็นทัพหน้าของหงสาวดี ข้าศึกแตกพ่ายถอยหนี พระองค์จึงไล่ตีมาจนถึงค่ายหลวงของพระเจ้านันทบุเรง เสด็จลงจากม้าคาบพระแสงดาบแล้วนำทหารปีนบันไดขึ้นกำแพงข้าศึก แต่ถูกพม่าใช้หอกแทงตกลงมาข้างล่างหลายครั้งจึงเสด็จกลับพระนคร พระแสงดาบนี้มีนามว่า พระแสงดาบคาบค่าย ในพงศาวดารกล่าวว่า พระเจ้านันทบุเรงทรงทราบการกระทำอันห้าวหาญของสมเด็จพระนเรศวรจึงตรัสว่า ถ้าพระนเรศวรออกมาอีกจะต้องจับพระองค์ ให้ได้ถึงแม้ว่าจะใช้ทหารมากมายเพียงใด จึงวางแผนให้ลักไวทำมูนำทหารจำนวน ๑๐,๐๐๐ ไปดักจับ สมเด็จพระนเรศวรทรงออกไปปล้นค่ายหลวงพม่าอีก พม่าจึงใช้ทหารจำนวนน้อยเข้าล่อให้พระองค์ไล่ตี เข้ามาจนถึงบริเวณที่ลักไวทำมูซุ่มรออยู่ ลักไวทำมูจะเข้ามาจับพระองค์ สมเด็จพระนเรศวรจึงใช้พระแสงทวนแทงลักไวทำมูตายทันที แต่พระองค์ยังถูกล้อมอยู่และสู้กับทหารพม่า จำนวนมากนานร่วมชั่วโมง จนทัพไทยตามมาทันจึงเสด็จกลับพระนครได้ สุดท้ายกองทัพหงสาวดีบอบช้ำจากการสู้รบกับไทยอย่างมากจึงถอยทัพกลับไปเช่นเดิม สำหรับในด้านจิตวิทยานั้น ก็นับว่าเป็นยอด สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ทรงปลุกปลอบน้ำใจทหารหาญของพระองค์มิให้ครั่นคร้ามขามเกรงต่อข้าศึก โดยเสด็จออกนำหน้าทหารทุกครั้ง ในฐานะที่พระองค์เป็นศิษย์ต้นของสมเด็จพระพนรัตน์ มหาเถระ วัดป่าแก้ว ปรากฎว่าพระองค์ทรงเชื่อมั่นในอำนาจคุณพระอย่างยิ่ง นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่า ที่พระมาลาเบี่ยงของพระองค์นั้น มีพระเครื่องตระกูลลพบุรี ประดิษฐานไว้โดยรอบด้านนอก ส่วนด้านใน พระมาลามีพระหูยานลพบุรี กลัดติดไว้ ๒ องค์ พร้อมด้วยผ้ายันต์จากวัดป่าแก้ว พระองค์จึงทรงไว้ซึ่งอำนาจพุทธาคมเป็นอัศจรรย์ ในการรบกับพม่าครั้งหนึ่ง พระองค์ทรงคาบพระแสงดาบด้วยพระโอษฐ์ สองพระหัตถ์ปีนขึ้นค่ายพม่า ถูกทหารพม่าใช้หอกแทงพระองค์ตกลงมาจากค่ายถึง ๒ ครั้ง แต่คมหอกหาได้ระบายเคืองผิวหนังของพระองค์ไม่ แม้แต่น้อย แต่ตรงกันข้ามพระองค์ กลับทรงประหารนายทหารเอกของฝ่ายพม่าตายไป นั่นก็คือ ลักไวทำมู จากเกร็ดพงศาวดารเก่าแก่ฉบับหนึ่ง พรรณาไว้ว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงตระหนักอย่างยิ่งในเรื่องพิธีกรรมบำรุงขวัญทหาร หาญของพระองค์ และทรงนับถือคาถาที่ศักดิ์สิทธิ์ ในการยกกองทัพออกศึกสงครามทุกครั้ง พระองค์จะต้อง อาศัยฤกษ์อันเป็นอุดมมงคลทุกครั้งและทรงประกอบพิธีที่วัดป่าแก้ว (วัดใหญ่ชัยมงคล) เป็นประจำ ครั้นได้อุดมมงคลฤกษ์แล้ว พระองค์จะทรงพนมหัตถ์ทำพระทัยให้สงบนิ่งแล้วทรงบริกรรมคาถาพระเจ้าห้าพระองค์ ดังนี้
|