ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนาน เรื่องเล่า เกร็ดความรู้ เรื่องลี้ลับ
»
เจ้าของฉายา..ปลัดขิกสร้างโบสถ์ “หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง”
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 3565
ตอบกลับ: 2
เจ้าของฉายา..ปลัดขิกสร้างโบสถ์ “หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง”
[คัดลอกลิงก์]
รามเทพ
รามเทพ
ออฟไลน์
เครดิต
8083
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2017-10-18 06:15
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
เรื่องเล่าครูบาอาจารย์
เจ้าของฉายา..ปลัดขิกสร้างโบสถ์ “หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง”
เกจิดังศิษย์ก๋งจาบ เชี่ยวชาญการทำน้ำมนต์รักษาโรค
แก้คุณไสยนานาชนิด..
ประวัติ พระครูกิตตินนทคุณ(หลวงพ่อกี๋) อดีตเจ้าอาวาสวัดหูช้าง นนทบุรี
พระครูกิตตินนทคุณ หรือ หลวงพ่อกี๋ อดีตเจ้าอาวาสวัดหูช้าง ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่โด่งดังมากในอดีตของจังหวัดนนทบุรี ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้สร้างตำนานปลัดขิกอันเลื่องชื่อ ปลัดขิกของท่านทุกวันนี้หาได้ยากอย่างยิ่ง ผู้คนจากทั่วสารทิศล้วนทราบดีถึงจริยวัตรอันงดงาม และความมีเมตตาของหลวงพ่อท่าน นอกจากนี้ยังเป็นที่ทราบกันดีว่า หลวงพ่อกี๋ท่านเป็นพระหมอที่มีความเชี่ยวชาญ ในการรักษาโรคต่างๆ และท่านยังสามารถทำพิธีแก้คุณไสยได้อีกด้วย
หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง นามเดิมท่านชื่อ กี๋ นามสกุลบุญใจใหญ่ โยมบิดาชื่อนายคอย โยมมารดาชื่อนางไฝ มีเชื้อสายตระกูล รัตนชื่น หลวงพ่อกี๋มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดาเดียวกัน ๑๓ คน ครอบครัวของท่านเป็นชาวจังหวัดนนทบุรีโดยกำเนิด ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๔ ส่วนวันที่เกิด ไม่ทราบหลักฐานแน่ชัด ต้นตระกูลของ หลวงพ่อกี๋ ทุกคนส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเป็นหมอรักษาโรค รวมทั้งตัวของหลวงพ่อกี๋ด้วย ทำให้ต่อมาท่านได้ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้คนที่เดินทางมาให้ท่านรักษาโรคเป็นจำนวนมาก
หลวงพ่อกี๋ ในวัยเยาว์ท่านให้ความสนใจ และศึกษาตำราการทำน้ำมนต์รักษาโรคต่างๆ โดยได้ศึกษาวิชาการทำน้ำมนต์จากคุณปู่ของท่านเอง ในสมัยนั้นคุณปู่ของท่านเก่งทางด้านการทำน้ำมนต์รักษาโรคต่างๆ กล่าวได้ว่าใครมีโรคอะไรก็จะเดินทางมาหา เนื่องจากสมัยนั้นโรงพยาบาลต่างๆ ก็ยังไม่ค่อยมีเหมือนปัจจุบัน จนต่อมาชาวบ้านต่างๆ ก็ขนานนามท่านว่าหมอบุญเทวดา ครั้นต่อมาเมื่อท่านมีอายุได้ ๒๐ ปีบริบูรณ์ โยมบิดา-มารดาก็จัดการอุปสมบทให้ ณ พัทธสีมา วัดหูช้าง ตำบลคูเวียง อำเภอบางกรวย นนทบุรี เมื่ออุปสมบทแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่ วัดหูช้าง หลังจากนั้น ๒พรรษาผ่านไป หลวงพ่อกี๋ ก็ได้ออกธุดงควัตรไปตามป่าเขาต่างๆ เพื่อแสวงหาความสงบวิเวกฝึกวิปัสสนากรรมฐานบำเพ็ญภาวนา หลวงพ่อกี๋ ท่านมีความมุ่งมั่นฝึกสมาธิเจริญภาวนาด้วยจิตที่ยึดมั่น และไม่ตั้งอยู่ในความประมาท จนจิตรวมเข้าสู่ฐานของสมาธิ ทำให้เกิดความสุขและความอิ่มเอิบ
เมื่อท่านเพียรภาวนาอยู่ตามป่าตามเขาพอควรแก่เวลาแล้ว ท่านก็ออกธุดงควัตรต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่งต่อมาท่านก็ได้พบกับ หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ เกจิอาจารย์ดังเจ้าของ ปลัดขิก อันลือชื่อที่เล่าขานกันว่าสามารถทวนน้ำได้ หลวงพ่อกี๋ เมื่อท่านได้พบกับ หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบแล้ว ท่านก็ได้รับการถ่ายทอดเคล็ดลับการสร้างปลัดขิกจากหลวงพ่ออี๋ ของดีของหลวงพ่อกี๋นั้น นอกจากปลัดขิกดังกล่าวแล้ว ก็ยังมี ตะกรุดธงผ้ายันต์สามเหลี่ยม พระเครื่อง พระสมเด็จ กำไล เหรียญรูปเหมือนท่าน เป็นต้น หลวงปู่กี๋ท่านเป็นศิษย์ก๋งจาบ แห่งสำนักวัดประดู่ทรงธรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและยังเป็นศิษย์หลวงปู่แดง วัดตะเคียน นนทบุรี และหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ท่านเป็นศิษย์ร่วมสำนักเดียวกับหลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราชและหลวงพ่อแทน วัดธรรมเสน ซึ่งเกจิร่วมสำนักทั้ง ๓ รูปนี้ได้ก่อปาฏิหาริย์ในคราวปลุกเสกพระที่วัดปราสาทบุญญาวาส สามเสนคือแผ่นทองแดงของพระอาจารย์ทั้ง๓ รูปหลอมไม่ละลายมาแล้ว
ปัจจุบันนี้วิชาสร้างปลัดขิกของหลวงพ่อกี๋ วัดหูช้างได้สืบทอดมาถึงหลวงพ่อตี๋ เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานแท้ๆของท่าน ได้รับการถ่ายทอดมาโดยตรงจากหลวงพ่อกี๋ ว่ากันว่าการเขียนยันต์ของหลวงพ่อตี๋นั้น หลวงพ่อกี๋ท่านเป็นคนจับมือหลวงพ่อตี๋เขียนกันเลยทีเดียว หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้างท่านละสังขารมรณภาพลงเมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๒ รวมสิริอายุได้ ๗๘ ปี ชื่อเสียงและเกียรติคุณของหลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง เป็นที่กล่าวขานกันสืบมาถึงความเมตตา และวัตรปฏิบัติ ที่งดงาม สมกับเป็นพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ แห่งยุคอีกรูปหนึ่ง
เบี้ยแก้จะลงคาถาหลักๆ คือ ปิดทวารทั้ง ๙ และเฑาะว์รันโต ส่วนปลัดขิกนั้นคาถาหลวงปู่กี๋ที่ขาดไม่ได้ คือ
“มะ อะ อุ นะ ละ กา ลัง จะ ภะ กะ สะ จิต ตัง พุท ธิ โส จิต ตัง พุท ธิ เม”
โดยหลวงปู่กี๋จะลง “นะ โม พุทธ า ยะ อิ กะ วิ ติ” ด้วยลายมือท่านเอง
ประวัติ วัดหูช้าง
วัดหูช้างแต่เดิมนั้นเป็นวัดร้างจากหลักฐานต่างๆและคำบอกเล่าของชาวบ้านในสมัยก่อนเข้าใจกันว่าเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา จะเป็นตอนต้นหรือตอนปลายมิได้ระบุไว้ สมัยก่อนบริเวณนี้เป็นที่อยู่ของฝูงช้างชาวบ้านโจษขานกันว่ามีผีดุนัก บูรณปฏิสังขรณ์กลับมาเป็นวัดอีกครั้งในสมัยพระครูวิหารกิจจานุการ(หลวงพ่อปาน โสนันโทเถระ) อดีตเจ้าอาวาสวัดบางนมโค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลวงพ่อปานท่านได้เดินธุดงค์มาเยี่ยมเยียนลูกหลานของท่านที่ย้ายจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยามาพักอาศัยอยู่ในย่านนี้ ท่านเห็นบริเวณนี้มีซากเจดีย์เก่าสมัยอยุธยาเป็นชัยภูมิที่ดีเหมาะกับการสร้างวัด ท่านจึงได้บอกบุญกับลูกหลานของท่านและชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงช่วยกันสร้างกลับขึ้นมาเป็นวัดอีกครั้ง
หลวงพ่อปานวัดบางนมโคท่านได้สร้างพระอุโบสถและกุฏิทรงไทยขึ้นไว้สามหลัง และท่านยังได้หล่อพระประธานไว้เพื่อประดิษฐานภายในพระอุโบสถวัดหูช้างอีกหนึ่งองค์ชื่อ พระพุทธนิมิตรกิจจานุการ เมื่อสร้างวัดเสร็จแล้วก่อนหลวงพ่อปานท่านจะเดินธุดงค์กลับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลวงพ่อปานท่านได้แต่งตั้งให้ศิษย์ของท่านคือหลวงพ่อจวนและหลวงพ่อแจ่มขึ้นเป็นเจ้าอาวาสปรกครองวัดหูช้าง
หลวงพ่อจวนท่านได้ปกครองดูแลวัดหูช้างจนอายุ ๖๐ ปีท่านก็ได้มรณภาพลง
หลวงพ่อแจ่มซึ่งเป็นพระน้องชายคู่แฝดของท่านได้ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดหูช้างปกครองดูแลวัดหูช้างต่ออีก ๓ปีท่านก็ได้มรณภาพลง
ชาวบ้านในสมัยนั้นจึงได้เชิญ หลวงพ่อกี๋ขึ้นปกครองวัดหูช้างสืบต่อมา ในช่วงสมัยหลวงพ่อกี๋ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสปกครองดูแลวัดหูช้างนั้น วัดหูช้างทรุดโทรมและขาดการพัฒนา หลวงพ่อกี๋ท่านได้ทำนุบำรุงวัดหูช้างขี้นมาใหม่อย่างจริงจังอีกครั้ง พระอุโบสถของวัดหูช้างในปัจจุบัน หลวงพ่อกี๋ท่านได้บูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่อย่างสวยงามในยุคของหลวงพ่อกี๋เป็นเจ้าอาวาส ในราว พ.ศ.๒๕๑๗ และเป็นที่รู้กันว่าปัจจัยที่ได้มาในการบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถส่วนใหญ่นั้น มาจากเงินทำบุญของผู้คนที่หมายปอง
“ปลัดขิก” อันโด่งดังของหลวงพ่อกี๋ จนมีคำพูดที่ว่า ปลัดขิกสร้างโบสถ์ ส่วนกุฏิและสิ่งก่อสร้างภายในวัดที่สร้างด้วยไม้ในยุคของหลวงพ่อกี๋เป็นเจ้าอาวาสนั้น ชาวบ้านผู้ศรัทธาในองค์หลวงพ่อกี๋ ได้ล่องไม้ซุงลงมาตามแม่น้ำ เพื่อให้หลวงพ่อกี๋ท่านใช้ในการสร้างและทำนุบำรุงวัดหูช้างจากทางจังหวัดตาก
เพราะท่านได้สร้างศรัทธาแก่ชาวบ้านที่นั่นเมื่อครั้งท่านยังธุดงค์กรรมฐานอยู่ในป่าลึกแถบภาคเหนือ
ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพ และที่มาเนื้อหาข้อมูลมา ณ ที่นี้
http://www.pra.kachon.com/
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
รามเทพ
รามเทพ
ออฟไลน์
เครดิต
8083
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2017-10-18 06:18
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หลวงพ่อกี๋ ท่านมีความมุ่งมั่นฝึกสมาธิเจริญภาวนาด้วยจิตที่ยึดมั่น และไม่ตั้งอยู่ในความประมาท จนจิตรวมเข้าสู่ฐานของสมาธิ ทำให้เกิดความสุขและความอิ่มเอิบ
เมื่อท่านเพียรภาวนาอยู่ตามป่าตามเขาพอควรแก่เวลาแล้ว ท่านก็ออกธุดงควัตรต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่งต่อมาท่านก็ได้พบกับ หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ เกจิอาจารย์ดังเจ้าของ ปลัดขิก อันลือชื่อที่เล่าขานกันว่าสามารถทวนน้ำได้ หลวงพ่อกี๋ เมื่อท่านได้พบกับ หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบแล้ว ท่านก็ได้รับการถ่ายทอดเคล็ดลับการสร้างปลัดขิกจากหลวงพ่ออี๋ ของดีของหลวงพ่อกี๋นั้น นอกจากปลัดขิกดังกล่าวแล้ว ก็ยังมี ตะกรุดธงผ้ายันต์สามเหลี่ยม พระเครื่อง พระสมเด็จ กำไล เหรียญรูปเหมือนท่าน เป็นต้น หลวงปู่กี๋ท่านเป็นศิษย์ก๋งจาบ แห่งสำนักวัดประดู่ทรงธรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและยังเป็นศิษย์หลวงปู่แดง วัดตะเคียน นนทบุรี และหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ท่านเป็นศิษย์ร่วมสำนักเดียวกับหลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราชและหลวงพ่อแทน วัดธรรมเสน ซึ่งเกจิร่วมสำนักทั้ง ๓ รูปนี้ได้ก่อปาฏิหาริย์ในคราวปลุกเสกพระที่วัดปราสาทบุญญาวาส สามเสนคือแผ่นทองแดงของพระอาจารย์ทั้ง๓ รูปหลอมไม่ละลายมาแล้ว
ปัจจุบันนี้วิชาสร้างปลัดขิกของหลวงพ่อกี๋ วัดหูช้างได้สืบทอดมาถึงหลวงพ่อตี๋ เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานแท้ๆของท่าน ได้รับการถ่ายทอดมาโดยตรงจากหลวงพ่อกี๋ ว่ากันว่าการเขียนยันต์ของหลวงพ่อตี๋นั้น หลวงพ่อกี๋ท่านเป็นคนจับมือหลวงพ่อตี๋เขียนกันเลยทีเดียว หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้างท่านละสังขารมรณภาพลงเมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๒ รวมสิริอายุได้ ๗๘ ปี ชื่อเสียงและเกียรติคุณของหลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง เป็นที่กล่าวขานกันสืบมาถึงความเมตตา และวัตรปฏิบัติ ที่งดงาม สมกับเป็นพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ แห่งยุคอีกรูปหนึ่ง
เบี้ยแก้จะลงคาถาหลักๆ คือ ปิดทวารทั้ง ๙ และเฑาะว์รันโต ส่วนปลัดขิกนั้นคาถาหลวงปู่กี๋ที่ขาดไม่ได้
คือ “มะ อะ อุ นะ ละ กา ลัง จะ ภะ กะ สะ จิต ตัง พุท ธิ โส จิต ตัง พุท ธิ เม”
โดยหลวงปู่กี๋จะลง “นะ โม พุทธ า ยะ อิ กะ วิ ติ” ด้วยลายมือท่านเอง
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
3
#
โพสต์ 2017-10-19 06:48
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...