ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 11952
ตอบกลับ: 6
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

หลวงพ่อโต วัดบ้านเชี่ยน

[คัดลอกลิงก์]
หลวงพ่อโต วัดบ้านเชี่ยน




หลวงพ่อโตเป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมืองจังหวัดชัยนาท จนมีการกล่าวเอาไว้ว่า “ไปชัยนาทหากไม่ได้ไปเที่ยวสวนนก ก็เหมือนไม่ได้เที่ยวชัยนาท แต่หากไปชัยนาทได้เที่ยวสวนนกแต่ไม่ได้ไปกราบหลวงพ่อโตวัดบ้านเชี่ยน ก็เหมือนกับว่าได้เที่ยวชัยนาทแต่ยังไม่ทั่วชัยนาท”

หลวงพ่อโตเป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่ลักษณะเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระ บาททั้งสองข้าง บนฐานชุกชีที่ก่อด้วยอิฐถือปูน ส่วนองค์ปั้นด้วยปูนสอ เชื่อกันมาแต่โบราณว่า แต่เดิมหลวงพ่อโตสร้างขึ้นไว้บนตอไม้ตะเคียน เมื่อครั้งสร้างอุโบสถหลังใหม่ จึงได้เคลื่อนย้ายองค์หลวงพ่อโตถอยหลังไป 4 เมตรเศษ เมื่อขุดจึงพบจอมปลวกอยู่ใต้ฐานชุกชีและเป็นโพรงอยู่บ้าง จึงเข้าใจว่าเป็นจริงตามที่เชื่อกันว่า

ที่น่าอัศจรรย์มากและเชื่อกันว่า หลวงพ่อโตศักดิ์สิทธิ์จริงก็เมื่อนายช่าง เคลื่อนย้าย หลวงพ่อโตไม่ขยับเขยื้อนจากที่

นายช่างจึงต้องจุดธูปเทียนบูชาขออาราธนาให้ย้ายที่ไป โดยบอกว่า ที่ประทับใหม่จะทำให้ดีจึงจะย้ายได้โดยสะดวก

ไม่ปรากฏว่าองค์หลวงพ่อชำรุดแต่ประการใด ทั้งที่เป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่และเก่าแก่มาก ที่สำคัญทำด้วยปูนสอ
ใน

หนังสือประวัติศาสตร์วัดพิชัยนาวาส หรือวัดบ้านเชี่ยน ได้กล่าวถึงความเป็นมาในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของ

หลวงพ่อโต ไว้ตอนหนึ่งว่า... “ชาวบ้านชาวเมืองจังหวัดชัยนาทเชื่อกันว่า หลวงพ่อโตเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์
ท่านสามารถจะบันดาลอะไรให้ได้ทุกสิ่งทุกอย่าง หลวงพ่อโตจึงเป็นที่พึ่งของคนทั้งหลาย

เมื่อเป็นเช่นนี้ใครก็ตามที่ได้รับความเดือดร้อนไม่ว่าในเรื่องใด ก็มักจะคิดถึงหลวงพ่อเป็นอันดับแรก

มาขอความช่วยเหลือจากองค์ท่านโดยมาขอพรบนบาน...”

และนี่ก็คือความ ศักดิ์สิทธิ์ขององค์หลวงพ่อโต แห่งวัดพิชัยนาวาส (วัดบ้านเชี่ยน)



และยังเป็นที่นับถือของประชาชนในพื้นที่ และชาวต่างประเทศซึ่งทุกปีจะมีชาวต่างชาติเดินทางมาเข้าร่วมงานปิดทอง

ประจำปีหลวงพ่อโต ซึ่งเป็นที่เคารพกราบไหว้บูชาของชาวชัยนาทกันอย่างเนืองแน่น
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-10-16 17:42 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ประวัติความเป็นมา
         






สันนิษฐานว่า ตำบลบ้านเชี่ยนเกิดในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลางโดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ได้แก่ พระประธานในอุโบสถวัดพิชัยนาวาส ที่ขนานนามเรียกติดปากว่า “หลวงพ่อโตวัดบ้านเชี่ยน” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางป่าเลไลย์ที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี แต่ยังสร้าง ไม่สมบูรณ์แบบ เพราะยังขาดลิงกับช้าง โดยสาเหตุที่สร้างไม่สมบูรณ์แบบเนื่องจากกรุงศรีอยุธยาเกิดการพิพาทกับพม่า พม่าจึงยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาโดยผ่านตำบลบ้านเชี่ยนแห่งนี้ พอกองทัพพม่ามาถึงยังบริเวณวัดโคก (ปัจจุบันคือที่ตั้งสำนักงานเทศบาลตำบลบ้านเชี่ยน) จึงพักกองทัพเพื่อรวมกำลังพลไปตีเมืองแพรกศรีราชา (อำเภอสรรคบุรี) ต่อมาเมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ได้ทรงกระจายอำนาจในการปกครอง จึงแบ่งเขตการปกครองขึ้นซึ่งบ้านเชี่ยน ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอบ้านเชี่ยน เมื่อช่วงปี พ.ศ. 2433 ซึ่งอำเภอบ้านเชี่ยนได้ดำรงฐานนะเป็นอำเภออยู่นานถึง 39 ปีเศษ จนในปี 2472 ทางราชการจึงย้ายอำเภอบ้านเชี่ยนไปตั้งที่บ้านหันคา โดยมีชื่อเรียกใหม่ว่าที่ว่าการอำเภอหันคา จนกระทั่งถึงปัจจุบัน

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้